มงคล สุระสัจจะ

ประธานวุฒิสภาไทย

มงคล สุระสัจจะ ม.ว.ม. ป.ช. (เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2495) ชื่อเล่น จ้อน เป็นว่าที่ประธานวุฒิสภาไทย สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 13

มงคล สุระสัจจะ
รองประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานวุฒิสภา
ว่าที่ตำแหน่ง
รอพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รองพลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์
บุญส่ง น้อยโสภณ
รับช่วงจากพรเพชร วิชิตชลชัย
สมาชิกวุฒิสภาไทย
จากกลุ่มการบริหารรัฐกิจ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
(0 ปี 13 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 สิงหาคม พ.ศ. 2495 (71 ปี)
อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี
พรรคการเมืองอิสระ
การศึกษาปริญญาตรี
ศิษย์เก่าโรงเรียนการช่างนครนายก
โรงเรียนพานิชยการพระนครศรีอยุธยา
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประวัติ

แก้

มงคลเกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2495 ที่ตำบลบ้านกลับ อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี เข้าศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่โรงเรียนการช่างนครนายกในปี พ.ศ. 2511 ก่อนย้ายมาจบการศึกษาที่โรงเรียนพานิชยการพระนครศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2512 - 2515

เดิมที่มงคลไม่ต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เนื่องจากเกิดในครอบครัวฐานะยากจน แต่เมื่อปี พ.ศ. 2514 มีการเปิดมหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา จึงตัดสินใจเข้าเรียนในคณะรัฐศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2516 ซึ่งในขณะนั้นคิดค่าหน่วยกิต 18 บาท โดยหวังว่าหลังจากจบการศึกษาแล้วจะสมัครเป็นปลัดอำเภอหนองโดนต่อไป โดยระหว่างศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหงนั้น ในปี พ.ศ. 2517 มงคลได้ร่วมกิจกรรมกับกลุ่มพัฒนาการศึกษาชนบท และเดินเข้าค่ายฝึกกำลังคน ในหมู่บ้านชาวปกาเกอะญอ (ชาวกะเหรี่ยง) ที่บ้านแม่แฮใต้ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีแกนนำคือ ธงชัย สุวรรณวิหค หรือ สหายช่วง ทิวเขาบรรทัด

ต่อมาในเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 นักศึกษาจำนวนมากในขณะนั้นได้หลบเขาไปใช้ชีวิตในเขตป่าเขา เพื่อร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย รวมถึงมงคลที่ลี้ภัยไปอยู่ที่ภูบรรทัด จังหวัดสตูลด้วยเช่นกัน เป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปี หลังจากเหตุการณ์สงบลงจึงกลับมาศึกษาต่อจนจบ

การทำงาน

แก้

รับราชการ

แก้

ภายหลังจบการศึกษา มงคลเข้ารับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2522 ในตำแหน่งปลัดอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย[1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 มงคลย้ายมาเป็นปลัดอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จึงได้พบกับเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ที่เวลานั้นเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ต่อมาเสริมศักดิ์ได้สนับสนุนให้มงคลเข้าศึกษาที่วิทยาลัยการปกครอง เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำรงตำแหน่งนายอำเภอ หลังเรียนจบแล้ว มงคลเป็นนายอำเภอครั้งแรกที่อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี ต่อมาเสริมศักดิ์ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม มงคลจึงตามไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอศรีสงคราม ก่อนย้ายมาที่อำเภอธาตุพนม, อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก และอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดศรีสะเกษตามลำดับ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 มงคลย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้รู้จักกับ เนวิน ชิดชอบ ซึ่งเวลานั้นสังกัดพรรคพลังประชาชน ก่อนที่ภายหลังพรรคถูกยุบ จะแยกตัวออกมาก่อตั้งพรรคภูมิใจไทย ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2552 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้โยกย้ายมงคลจากผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ มาเป็นอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59 มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งมงคลเป็นอธิบดีกรมการปกครอง และปลายปีเดียวกัน มีการเสนอชื่อมงคลเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งหากได้รับการแต่งตั้ง จะเป็นศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คนแรกที่ดำรงตำแหน่งนี้ และที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้ง[2][1] แต่ภายหลังมีประชาชนจากสมาคมข้าราชการบำนาญกระทรวงมหาดไทยทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาคัดค้านการแต่งตั้ง[3] จากกรณีทุจริตการเช่าซื้อคอมพิวเตอร์[4] มงคลจึงแถลงถอนตัวเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553[5] และเกษียณอายุในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย[6]

ภายหลังเกษียณอายุ มงคลได้กลับไปใช้ชีวิตเกษตรกร โดยก่อตั้งไร่เพื่อนคุณ ที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อปี พ.ศ. 2558[7]

สมาชิกวุฒิสภา

แก้

มงคลได้ลงสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 ในกลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง โดยได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่ 3[8] และได้รับการเสนอชื่อจากกลุ่ม สว.สายสีน้ำเงิน จำนวน 150 คน ให้เป็นประธานวุฒิสภา[9]

ในการประชุมครั้งแรกของวุฒิสภาไทย ชุดที่ 13 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 มงคลได้รับการเสนอชื่อจาก พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์ ให้เป็นประธานวุฒิสภา โดยมี นายแพทย์ เปรมศักดิ์ เพียยุระ และ ดร.นันทนา นันทวโรภาส เป็นคู่ชิงตำแหน่ง ผลการลงมติปรากฎว่ามงคลชนะด้วยคะแนนเสียง 159–13–19 (งดออกเสียง 4 บัตรเสีย 5)[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ตั้ง "มงคล" เป็นปลัด มท.คนใหม่ เป็นศิษย์เก่า ม.ร. คนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้" (PDF). ข่าวรามคำแหง ปีที่ 40. 19: 12. 23–29 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2024.{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  2. "สิงห์ทองคนแรก"มงคล"นั่งปลัดมท.คนใหม่". คมชัดลึก. 11 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "ระเบิดลูกใหญ่ใส่ภท.บิ๊กมท.ถวายฎีกา-ไม่สนมาร์ค". โพสต์ทูเดย์. 13 กันยายน 2010. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "เปิดชื่อ 6 คณะทำงาน มท.3 ตั้งอดีตอธิบดี ปค. ยุคจัดซื้อคอมพ์ฉาว 3 พันล.-ภท.คุมมหาดไทย นั่งประธานชุดล่าสุด". ผู้จัดการออนไลน์. 25 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. ""มงคล สุระสัจจะ" แถลงไม่รับตำแหน่งปลัดมหาดไทย". ทีวีไทย. 16 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ข้าราชการพ้นจากราชการเพราะอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ (ครบเกษียณอายุ) ในสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕
  7. ""ข้อมูล" อาวุธสำคัญของเกษตรยุคใหม". สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "ราชกิจจาฯ ประกาศผลเลือก สว. 200 คน บัญชีสำรอง 99 คน". ไทยพีบีเอส. 10 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "150 สว.น้ำเงินยึดสภาสูง เคาะ"มงคล"นั่งประธานวุฒิสภา "เกรียงไกร-บุญส่ง"รอง". ฐานเศรษฐกิจ. 21 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. ""มงคล สุระสัจจะ"ผงาดนั่ง "ประธานวุฒิสภา" คนใหม่ ด้วยมติสว.ท่วมท้น 159 คะแนน". ฐานเศรษฐกิจ. 23 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๕, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๓๘, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖๑, ๑๙ เมษายน ๒๕๒๕
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๗
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒๗๘, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๑๑, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า มงคล สุระสัจจะ ถัดไป
พรเพชร วิชิตชลชัย    
รองประธานรัฐสภา
(ประธานวุฒิสภา)

(23 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
(รอพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง))
  อยู่ในวาระ