เปรมศักดิ์ เพียยุระ
ดร.นายแพทย์ เปรมศักดิ์ เพียยุระ หรือ พระเปรมศักดิ์ เปมสกฺโก (เกิด 10 มิถุนายน พ.ศ. 2508) สมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น อดีตนายกเทศมนตรีเมืองบ้านไผ่[1]
เปรมศักดิ์ เพียยุระ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น | |
ดำรงตำแหน่ง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2508 จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ (2538–2545) ไทยรักไทย (2545–2549) ชาติไทย (2550–2551) ภูมิใจไทย (2551–2561) พลังประชารัฐ (2561) พลังท้องถิ่นไท (2561–2565) รวมไทยสร้างชาติ (2565–2567) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
การศึกษา
แก้ดร.นายแพทย์ เปรมศักดิ์ เพียยุระ จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง และระดับปริญญาโทพุทธศาสนามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
งานการเมือง
แก้เปรมศักดิ์ เพียยุระ เริ่มงานการเมืองโดยเป็น ส.ส.ขอนแก่น ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) เมื่อพรรคความใหม่ควบรวมกับพรรคไทยรักไทย นายแพทย์เปรมศักดิ์ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย โดยเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ[ต้องการอ้างอิง]
การอุปสมบทในระหว่างการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549
แก้เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2549 นายแพทย์เปรมศักดิ์ได้ยื่นใบลาออกจากสมาชิกพรรคพรรคไทยรักไทยอย่างกะทันหัน และเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดพิกุลทอง จากนั้นได้เดินทางไปจำวัดที่วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีพระพยอม กัลยาโณ เป็นเจ้าอาวาส[ต้องการอ้างอิง]
การลาออกของนายแพทย์เปรมศักดิ์ ส่งผลให้พรรคไทยรักไทยมี ส.ส.บัญชีรายชื่อ เหลือเพียง 99 คน เมื่อรวมกับ ส.ส.ระบบเขตอีก 400 คน เป็น 499 คน ไม่ครบตามที่ระบุไว้ในมาตรา 98 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และมีคำวิพากษ์วิจารณ์ว่า เมื่อจำนวน ส.ส.ไม่ครบที่จะเป็นองค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่สามารถประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร [2] และไม่สามารถประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อคัดเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและนายกรัฐมนตรีได้[ต้องการอ้างอิง]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การเมืองหลังรัฐประหาร
แก้เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล) โดยมอบหมายให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรและผู้ยากจนทั่วประเทศ รวมทั้งให้คำปรึกษาเพื่อเสนอแนะรัฐมนตรีโดยตรง[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมานายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย[3]ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557
จากนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 ได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ[ต้องการอ้างอิง] แต่ในเวลาต่อมาย้ายมาสังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไท[4] เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไท แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5] ต่อมานายแพทย์เปรมศักดิ์ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคพลังท้องถิ่นไท กระทั่งวันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 นายแพทย์เปรมศักดิ์ได้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 11 จังหวัดขอนแก่น พรรครวมไทยสร้างชาติ[6] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ปีต่อมาเขาลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา และได้รับเลือกเข้ามาในกลุ่มที่ 4 ในอันดับที่ 8[7]
คดีความ
แก้เขาถูกสื่อมวลชนแจ้งความตามความผิดประมวลกฎหมายอาญา กักขัง หน่วงเหนี่ยว[8] และเขาแจ้งความสื่อมวลชนด้วยเช่นเดียวกัน ฐานบุกรุกและละเมิดสิทธิ์[9]
ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ได้มีการเผยแพร่คำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 50/2559 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 พักงานนายแพทย์เปรมศักดิ์ในฐานะนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองบ้านไผ่ โดยไม่พ้นจากตำแหน่งจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงพร้อมกับ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่ถูกพักงานในฐานะ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [10]
วันที่ 21 มิถุนายน 2561 ศาลจังหวัดพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่สื่อมวลชน จังหวัดขอนแก่น 5 คน เป็นโจทก์ฟ้อง นายแพทย์ เปรมศักดิ์ เพียยุระ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองบ้านไผ่ จำเลยที่ 1 และ ว่าที่ร้อยตรี บัวทอง โลขันธ์ อดีตเลขานุการนายกรัศมนตรีเมืองบ้านไผ่ จำเลยที่ 2 ในข้อกล่าวหากระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัน จับผู้สื่อข่าวผู้ชายแก้ผ้า ขณะเข้าไปสอบถามหลังมีภาพภายในห้องปฏิบัติราชการนายกเทศมนตรีเมืองบ้านไผ่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่นโดยทางศาล ได้มีคำพิพากษาจำคุก นพ.เปรมศักดิ์ และ ร.ต.โพธิ์ทอง คนละ 2 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ภายหลังศาลได้ให้ประกันตัวจำเลยทั้งสองด้วยหลักทรัพย์คนละ 120,000 บาท โดยทนายได้นำหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินยื่นประกันตัว โดยทั้งนี้ ศาลได้ให้โจทก์สามารถยื่นอุทธรณ์ได้[11]
ทนายความฝ่ายโจทก์ เปิดเผยว่า ศาลจังหวัดพล จ.ขอนแก่น ได้ส่งหนังสือมายังฝ่ายโจทก์ โดยแจ้งว่า นพ.เปรมศักดิ์ จำเลยที่ 1 และ ร.ต.บัวทอง ที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอรับสารภาพผิดตามฟ้องตลอดข้อกล่าวหา และให้ยกเลิกหมายนัดการฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2562 โดยการรับสารภาพผิดตามฟ้องเป็นการรับสารภาพในชั้นอุทธรณ์[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ 'พลังท้องถิ่นไท' โหวต 'ชัช เตาปูน' หัวหน้าพรรค ลั่นพร้อมเป็นนายก
- ↑ "'หมอเปรม'บวชผ่าทางตัน!ทรท.ระส่ำกลัวสภาไม่500". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-02.
- ↑ เปรมศักดิ์ เพียยุระย้ายพรรคภูมิใจไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ 'ฟิล์ม รัฐภูมิ' ถูกซื้อตัว30ล้าน เชื่อ 'เปรมศักดิ์' ได้เป็นส.ส.แน่
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "รวมไทยสร้างชาติ"เปิดตัว"หมอเปรม-วุฒิพงศ์"ลงส.ส.ขอนแก่น ชูนโยบาย"กองทุนฉุกเฉิน-กองทุนสร้างชาติ"แก้หนี้สินปชช.
- ↑ "เปิดรายชื่อ 200 สว. "สมชาย" ตกรอบ "ศรีวราห์-ทนายตั้ม" ติดสำรอง". ไทยพีบีเอส.
- ↑ 5 นักข่าว จ่อแจ้งความ 'หมอเปรม'-ส.สื่อขอนแก่นประณาม โหดร้าย-ป่าเถื่อน
- ↑ 'หมอเปรม' แจ้งความนักข่าวบุกรุกห้องทำงาน บีบคั้นกดดัน ละเมิดสิทธิ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 188 ง พิเศษ หน้า 17 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559
- ↑ ข้อกล่าวหากระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัน จับผู้สื่อข่าวแก้ผ้า[ลิงก์เสีย]
- ↑ เลื่อนอีก! ตัดสินอุทธรณ์คดี “หมอเปรม” แก้ผ้านักข่าว เจ้าตัวยื่นคำร้องรับสารภาพผิดตามฟ้อง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ส่วนตัวนายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ[ลิงก์เสีย]
- ประวัติ จากพรรคไทยรักไทย เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประวัติ จากสภาผู้แทนราษฎรไทย เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน