อำเภอบ้านนา
บ้านนา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครนายก ภาคกลางของประเทศไทย
อำเภอบ้านนา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Ban Na |
น้ำตกกะอาง | |
คำขวัญ: หลวงพ่อเกิดพระขลัง มั่งคั่งการค้า ระบำบ้านนาคู่เมือง ลือเลื่องงานสงกรานต์ ถิ่นฐานเกษตรกรรม งามเลิศน้ำตกกะอาง | |
แผนที่จังหวัดนครนายก เน้นอำเภอบ้านนา | |
พิกัด: 14°16′0″N 101°3′41″E / 14.26667°N 101.06139°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครนายก |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 388.4 ตร.กม. (150.0 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 69,269 คน |
• ความหนาแน่น | 178.35 คน/ตร.กม. (461.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 26110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2603 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบ้านนา หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก 26110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอบ้านนามีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวิหารแดงและอำเภอแก่งคอย (จังหวัดสระบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองนครนายก
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองนครนายกและอำเภอองครักษ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอองครักษ์ อำเภอหนองเสือ (จังหวัดปทุมธานี) และอำเภอวิหารแดง (จังหวัดสระบุรี)
ประวัติ
แก้แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า อำเภอท่าช้าง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบ้านนา เมื่อปี พ.ศ. 2446 ตามประวัติอำเภอนี้เคยเป็นแขวงเมืองนครนายก ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยเฉพาะท้องที่อำเภอบ้านนาเคยเป็นที่ตั้งกองโพนช้างหรือกองจับช้างป่าไว้เป็นพาหนะสำคัญในการทำศึกสงครามมาแต่สมัยโบราณ ปรากฏว่ายังมีหลักฐานอยู่ที่บ้านมะเฟือง ตำบลป่าขะ อำเภอบ้านนา ซึ่งในอดีตเมื่อ 30 กว่าปี หมู่บ้านนี้มีชื่อเรียกว่า "โรงช้าง" และยังมีเศษเสาโรงช้างของกรมพาหนะคชบาล เหลือซากอยู่เป็นหลักฐาน แต่ในปัจจุบันเสาโรงช้างได้ชำรุดผุพังไปจนหมดสิ้นแล้ว
อำเภอบ้านนาเคยโอนไปขึ้นอยู่กับจังหวัดสระบุรีครั้งหนึ่ง เนื่องจากได้มีพระราชบัญญัติยกเลิกจังหวัดนครนายกโดยให้อำเภอต่าง ๆ ไปขึ้นอยู่กับจังหวัดปราจีนบุรี ยกเว้นอำเภอบ้านนาให้ไปขึ้นกับจังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดนครนายกขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 อำเภอบ้านนาจึงได้กลับมาขึ้นกับจังหวัดนครนายกจนกระทั่งปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอบ้านนาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 116 หมู่บ้าน
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[1] |
---|---|---|---|---|
1. | บ้านนา | Ban Na | 11
|
8,142
|
2. | บ้านพร้าว | Ban Phrao | 12
|
5,219
|
3. | บ้านพริก | Ban Phrik | 12
|
10,714
|
4. | อาษา | Asa | 8
|
2,520
|
5. | ทองหลาง | Thonglang | 8
|
5,044
|
6. | บางอ้อ | Bang O | 14
|
4,080
|
7. | พิกุลออก | Phikun Ok | 12
|
5,729
|
8. | ป่าขะ | Pa Kha | 13
|
8,802
|
9. | เขาเพิ่ม | Khao Phoem | 16
|
8,229
|
10. | ศรีกะอาง | Si Ka-ang | 10
|
10,530
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอบ้านนาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบ้านนา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านนาและบางส่วนของตำบลพิกุลออก
- เทศบาลตำบลพิกุลออก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพิกุลออก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านนา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านนา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านนา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านพร้าวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพริก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านพริกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลอาษา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอาษาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทองหลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทองหลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางอ้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางอ้อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าขะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าขะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาเพิ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาเพิ่มทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลศรีกะอาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีกะอางทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- น้ำตกกะอาง
ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีกะอาง จากตัวเมืองไปตามถนนสุวรรณศรถึงอำเภอบ้านนา เยื้องกับสถานีตำรวจภูธรบ้านนา มีถนนแยกไปน้ำตกกะอางระยะทาง 11 กิโลเมตร ลักษณะเป็นลานหินกว้าง มีน้ำตกไหลผ่านตามช่องหิน นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงมีพระพุทธรูปปางสมาธิก่อด้วยอิฐประดิษฐานอยู่บนเนินเขา และมีสถานีเพาะชำกล้าไม้ของกรมป่าไม้ตั้งอยู่ด้วย
- พระพุทธบาท 4 รอย
ประดิษฐาน ณ มณฑป วัดทองย้อย เป็นโบราณสถานอันเก่าแก่ มีคุณค่าทางศิลปะซึ่งแสดงถึงความประณีตงดงามในการประดิษฐ์ และการหล่อของฝีมือช่างไทยสมัยโบราณ โดยทางวัดจะจัดให้มีงานนมัสการทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
สถานศึกษา
แก้ชื่อย่อ รร.ตท.(อังกฤษ: Armed Forces Academies Preparatory School ) เป็นสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร เรียกว่า นักเรียนเตรียมทหาร (นตท.)
อ้างอิง
แก้- สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอบ้านนา เก็บถาวร 2007-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประวัติอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เก็บถาวร 2007-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.