เกรียงไกร ศรีรักษ์

พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์ เป็นว่าที่รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง เป็นสมาชิกวุฒิสภา[1] อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และเป็นอดีตประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[2]

เกรียงไกร ศรีรักษ์
รองประธานวุฒิสภา
ก่อนหน้าพลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร
สมาชิกวุฒิสภา กลุ่มบริหารรัฐกิจ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน​ 2566
แม่ทัพภาคที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มีนาคม พ.ศ. 2506 (61 ปี)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองอิสระ
คู่สมรสดร.คนึงนิตย์ ศรีรักษ์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พลเอก
บังคับบัญชากองทัพภาคที่ 4
สงคราม/การสู้รบความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

ประวัติ

แก้

พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2506 ที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 22 (ตท.22) และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 33 (จปร.33) ด้านครอบครัวสมรสกับ ดร.คนึงนิตย์ ศรีรักษ์

การทำงาน

แก้

ด้านการเมือง

แก้

พล.อ.เกรียงไกร ได้ลงสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 ในกลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง โดยได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่ 1[3] และได้รับการเสนอชื่อจากกลุ่ม สว.สายสีน้ำเงิน ให้เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง[4][5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "พล.อ.เกรียงไกร" รับเป็น สว.ทหาร ถนัดงานความมั่นคง
  2. ‘อนุทิน’ เซ็นตั้ง ‘บิ๊กเกรียง’ อดีตแม่ทัพกระดูกเหล็ก เป็น ปธ.ที่ปรึกษามท. 1
  3. ราชกิจจาฯ ประกาศผลเลือก สว. 200 คน บัญชีสำรอง 99 คน
  4. เกรียงไกร นั่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ตามโผ ส.ว.สีน้ำเงินโหวตเป๊ะ 150 เสียง รวดเดียวจบ
  5. สว.น้ำเงินยึดสภาสูง เคาะ“มงคล”นั่งประธานวุฒิสภา “เกรียงไกร-บุญส่ง”รอง
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓๐, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓, ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๑๙๗, ๘ กันยายน ๒๕๕๓