การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ กทพ. (อังกฤษ: Expressway Authority of Thailand ย่อว่า EXAT) เดิมชื่อ สำนักงานการทางพิเศษยกระดับและการทางพิเศษระหว่างเมืองแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ก่อตั้งขึ้นตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้าง หรือจัดให้มีทางพิเศษด้วยวิธีการใดๆ ตลอดจนบำรุงรักษาทางพิเศษและดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล[2][3]

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
Expressway Authority of Thailand
Emblem of the Expressway Authority of Thailand.svg
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 (50 ปี)
สำนักงานใหญ่อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. 111 ถนนริมคลองบางกะปิ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
งบประมาณประจำปี550 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
เว็บไซต์www.exat.co.th
แผนที่
{{{map_alt}}}

ประวัติแก้ไข

ในช่วงปี พ.ศ. 2512 รัฐบาลของ จอมพลถนอม กิตติขจร ได้มีการเตรียมเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการก่อตั้งหน่วยงานที่ดูแลการก่อสร้างทางพิเศษและรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน[4]ซึ่งทางรัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นศึกษาผลกระทบในการก่อสร้างทางพิเศษแต่ด้วยอุปสรรคหลายอย่างทำให้รัฐบาลไม่สามารถเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่ สภาผู้แทนราษฎร ได้จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติตัวเองของจอมพลถนอมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514

กระทั่งวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 จอมพลถนอมในฐานะประธาน สภาบริหารคณะปฏิวัติ จึงได้ลงนามในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 เรื่องจัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งได้ลงประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 แต่ทางการทางพิเศษได้ถือเอาวันที่ 27 พฤศจิกายน เป็นวันก่อตั้งองค์กรโดยในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2516 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติแต่งตั้งนายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ เป็นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยคนแรก

ในปี พ.ศ. 2530 คณะรัฐมนตรีและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ซึ่งมีสาระสำคัญคือให้ยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต่อ สภาผู้แทนราษฎร และได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2530 [5]

ในปี พ.ศ. 2535 มีการจัดตั้ง องค์การรถไฟฟ้ามหานคร เพื่อเป็นหน่วยงานที่ดูแลรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนโดยเฉพาะอันเนื่องมาจากการจราจรที่ติดขัดอย่างหนักในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อความคล่องตัวในการจัดการการก่อสร้างและการบริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

ต่อมาในปี 2550 คณะรัฐมนตรีและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยสาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้คือให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 และ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2530 รวมถึงการแก้ไขวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งซึ่งไม่เข้ากับยุคสมัย

สายทางพิเศษแก้ไข

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ปัจจุบันได้เปิดให้บริการทางพิเศษ 8 สายทาง คือ

ศูนย์ควบคุมแก้ไข

  • ศูนย์ควบคุมทางพิเศษเฉลิมมหานคร (CCB1)
  • ศูนย์ควบคุมทางพิเศษศรีรัช (CCB2)
  • ศูนย์ควบคุมทางพิเศษฉลองรัช (CCB3)
  • ศูนย์ควบคุมทางพิเศษบูรพาวิถี (CCB4)
  • ศูนย์ควบคุมทางพิเศษอุดรรัถยา (CCB5)
  • ศูนย์ควบคุมทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์ (CCB6)
  • ศูนย์ควบคุมทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก (CCB7)

ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์แก้ไข

การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เปิดให้บริการระบบจัดเก็บค่าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Toll Collection System: ETCs) โดยเรียกว่า Easy Pass เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553 ในสายทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ทางพิเศษฉลองรัช และทางพิเศษวงแหวนรอบนอกด้านใต้ (บางพลี-บางขุนเทียน) และวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ในสายทางพิเศษศรีรัช กทพ. ได้นำ Easy Pass เข้ามาใช้แทนระบบ Tag ของเดิมที่ได้ถูกยกเลิกการใช้งานแล้ว เพื่อขยายปริมาณการรองรับการจราจรบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง โดยสามารถทำได้สูงสุด 1200 คันต่อชั่วโมงต่อช่องทาง

อ้างอิงแก้ไข

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๙๑ ก วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
  2. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๐ เพื่อกำหนดให้จัดตั้ง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการสร้างทางพิเศษ (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๘๙, ตอน ๑๘๒ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๗๖, ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕.
  3. พระราชบัญญัติ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๐, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๔ ก, ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑.
  4. ข้อมูลทั่วไปของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  5. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๐ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ พ.ศ. ๒๕๓๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔ ตอน ๑๖๔ ก พิเศษ หน้า ๓๖ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
  6. ประจิมรัถยา นามพระราชทานใหม่ ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ

ดูเพิ่มแก้ไข