สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

สมเด็จพระราชบิดาในรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9

พันเอก(พิเศษ) จอมพลเรือ นายกองเอก นายแพทย์ ดร.สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (1 มกราคม พ.ศ. 2434 – 24 กันยายน พ.ศ. 2472) พระนามเดิม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นต้นราชสกุลมหิดล ซึ่งเป็นราชสกุลที่สืบราชสมบัติอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็น​สมเด็จพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิบดีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร
อดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก
พระฉายาลักษณ์ ฉายเมื่อ พ.ศ. 2464
อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย
ดำรงตำเเหน่ง
11 ตุลาคม พ.ศ. 2466 [1] - 25 มิถุนายน พ.ศ. 2467
เสนาบดีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
พระราชสมภพ1 มกราคม พ.ศ. 2434
พระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี พระบรมมหาราชวัง จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)
สวรรคต24 กันยายน พ.ศ. 2472 (38 พรรษา)
วังสระปทุม จังหวัดพระนคร มณฑลกรุงเทพ ประเทศสยาม (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)
ถวายพระเพลิง16 มีนาคม พ.ศ. 2473
พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง
บรรจุพระอัฐิพระวิมานตะวันตก
บนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระวรชายาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมรส 2463)
พระราชบุตร
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลมหิดล
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชมารดาสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ศาสนาพุทธเถรวาท
อาชีพ
  • ทหาร
  • ข้าราชการ
  • แพทย์
ลายพระอภิไธย
การศึกษา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ประเทศสยาม
แผนก/สังกัด
ประจำการพ.ศ. 2451 – 2472
ชั้นยศ

มีพระโสทรเชษฐาและพระโสทรเชษฐภคินีที่ประสูติร่วมพระราชมารดา 7 พระองค์ มีพระคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทยประชาชนโดยทั่วไปคุ้นเคยกับพระนามว่า "กรมหลวงสงขลานครินทร์" หรือ "สมเด็จพระราชบิดา" และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า "เจ้าฟ้าทหารเรือ" และ "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย" ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า "เจ้าฟ้ามหิดล"

หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกก็ประชวร ต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม และสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. ด้วยพระโรคฝีบิดในพระยกนะ (ตับ) โดยมีโรคแทรกซ้อนคือพระปัปผาสะบวมน้ำและพระหทัยวาย สิริพระชนมายุได้ 38 ปี 267 วัน

พระราชประวัติ

แก้
 
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ขณะมีพระชนมายุ 5 พรรษา

ขณะทรงพระเยาว์

แก้

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ 7 ในสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (ต่อมาคือ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ. 1253 (ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 ตามปฏิทินเก่า ถ้านับตามปฏิทินสากล ต้องเป็น พ.ศ. 2435) ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ภายในพระบรมมหาราชวัง

หลังจากประสูติครบ 1 เดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชเดือนตามขัตติยราชประเพณีที่พระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชเทวี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2435 พร้อมทั้งพระราชทานนามสมมติว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรศิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ ลักษณวิจิตรพิสิฐบุรุษ ชนุตมรัตน์พัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร"[2] และได้รับการออกพระนามลำลองว่า ทูลกระหม่อมแดง[3]

พระองค์มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีที่ประสูติร่วมพระราชมารดา ได้แก่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา อดุลยาดิเรกรัตน ขัตติยราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ , สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี

เมื่อทรงพระเยาว์ประทับอยู่กับพระมารดาในพระบรมมหาราชวังโดยมีพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา (ต่อมาคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ) เป็นผู้ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด พระพี่เลี้ยงคือหม่อมเจ้ากุสุมา เกษมสันต์ เนื่องจากพระพลานามัยไม่สมบูรณ์นักต้องเสวยน้ำมันตับปลาเป็นประจำ[4] พระกระยาหารที่โปรดมากคือปลากุเลากับส้มโอฉีก ส่วนเครื่องหวานโปรดอ้อยควั่นแช่น้ำดอกไม้สด[5]

 
พระฉายาลักษณ์ในพระราชพิธีโสกันต์ (วันฟังสวด) เมื่อพระชันษา 13 พรรษา

เมื่อพระชนม์ได้ 12 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีมหามงคลโสกันต์ มีการสมโภช 7 วัน 7 คืน ตั้งแต่ วันที่ 24 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2446 หลังโสกันต์แล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนามตามขัตติยราชประเพณีพร้อมทั้งสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม ให้ทรงศักดินา 40,000 ตามพระราชกำหนด อย่างสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าต่างกรม ในพระบรมราชตระกูลอันสูงศักดิ์ มีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรศิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ ลักษณวิจิตร์พิสิฐบุรุศย์ ชนุตมรัตนพัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร กรมขุนสงขลานครินทร์[6]

ผนวช

แก้

ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2447 หลังจากพิธีโสกันต์ได้ 1 ปี สมเด็จพระบรมราชชนก พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ และหม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรตเป็นพระศีลาจารย์[7] ได้รับพระนามฉายาว่า มหิตลาตุโล[8] ระหว่างผนวชประทับที่ตำหนักทรงพรต วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม ศกนั้น จึงฉลองการทรงผนวช ณ ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท[9] และทรงลาผนวชเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2447[10]

การศึกษา

แก้

พระองค์ได้รับการถวายพระอักษรตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์มากที่โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพระยาอิศรพันธุ์โสภณ (หนู) เป็นพระอาจารย์ภาษาไทยคนแรก มีพระสหายสนิท คือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร) และเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยพิเศษ โรงเรียนนายร้อยชั้นประถม พร้อมกับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครราชสีมา, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา[11]

หลังจากนั้น พระองค์ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่ยุโรปพร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครราชสีมา, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย และนักเรียนทุนหลวงอีกหลายคน โดยพระองค์เข้าศึกษาที่โรงเรียนแฮร์โรว์ (Harrow) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จนถึงปี พ.ศ. 2450 ได้ย้ายไปศึกษาต่อในวิชาทหารบกที่โรงเรียนนายร้อยชั้นต้น เมืองพ็อทซ์ดัม ประเทศเยอรมนี[12] และโรงเรียนนายร้อยชั้นสูงทหารบกที่โกรส-ลิชเทอร์เฟ็ลเดอ (Groß-Lichterfelde) เมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี[13]

ในระหว่างศึกษาอยู่ที่ประเทศเยอรมันนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 พระองค์จึงเสด็จกลับประเทศสยาม พร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย และพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ เพื่อร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระบรมชนกนาถ

เมื่อเสร็จสิ้นงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระองค์ได้เสด็จกลับไปประเทศเยอรมนีเพื่อศึกษาต่อ พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารบกและสอบได้เป็นเฟนริช (Fähnrich) คือ นักเรียนทำคะแนนได้ดีมาก โดยพระองค์เขียนและแต่งเรียงความได้อย่างดีไม่ต้องสอบปากเปล่า การสอบในครั้งนั้นมีนักเรียนเข้าสอบประมาณ 400 คน โดยมีคนที่ทำคะแนนได้เท่าพระองค์เพียงคนเดียว ซึ่งนับว่าพระองค์เป็นคนไทยคนแรกที่สอบไล่ได้คะแนนสูงสุดเช่นนี้[14]

หลังจากนั้น พระองค์ได้เปลี่ยนไปศึกษาวิชาทหารเรือแทนวิชาทหารบกที่ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้ เนื่องจากกองทัพสยามในสมัยนั้นยังขาดแคลนนายทหารเรือที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมาก พระองค์เข้าศึกษาวิชาทหารเรือ ณ โรงเรียนนายเรือเมือร์วีค (Marineschule Flensburg-Mürwik) เมืองเฟล็นส์บวร์ค โดยเป็นนักเรียนนายเรือเยอรมันรุ่น 2455 (CREW 1912) และสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรด้วยผลการศึกษาขั้นดีเยี่ยมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ[14] และทรงเข้ารับราชการในกองทัพเยอรมัน ซึ่งก่อนหน้านี้พระองค์ได้รับพระราชทานยศนายเรือตรีแห่งราชนาวีสยามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2454 [15] และยศนายเรือตรีแห่งจักรวรรดินาวีเยอรมันจากจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี[16]

เสด็จนิวัตกลับประเทศไทย

แก้
 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

ในปี พ.ศ. 2457 เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้นเป็นผลให้พระองค์ต้องออกจากกองทัพเรือเยอรมันและเสด็จนิวัตกลับประเทศไทย พระองค์เข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือ ในตำแหน่งสำรองราชการ กรมเสนาธิการทหารเรือ โดยได้รับพระราชทานยศเป็น "นายเรือโท" ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2457[17]และย้ายไปรับตำแหน่งในกองอาจารย์นายเรือ แผนกแต่งตำรา กรมยุทธศึกษาทหารเรือในเวลาต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงเขียนถึงช่วงเวลาที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงรับราชการทหารเรือ ตอนหนึ่งว่า

...ท่าน [สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก] ...ทรงโปรดราชการทหารเรืออย่างยิ่ง แต่ท่านอยากจะทรงบังคับการเรือตอร์ปิโดและอยากออกทะเล บังเอิญทางราชการเห็นว่า ไม่สมควรที่เจ้าฟ้าจะทรงทำเช่นนั้น ท่านจึงไม่ได้บังคับเรือแต่อย่างใดหรือออกทะเลตามลำพังพระองค์เลย ท่านจึงเกิดเบื่อหน่ายเป็นอันมาก...

— พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์[18]

ต่อมา พระองค์ลาออกจากราชการในกระทรวงทหารเรือ มีการกล่าวถึงสาเหตุที่ลาออกจากราชการทหารเรือหลายสาเหตุ เป็นต้นว่าพระองค์มีพระราชดำริขัดแย้งกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่จากการประชุมนายทหารเรือเพื่อปรับปรุงความสมบูรณ์ของกองทัพเรือ โดยพระองค์เห็นว่า การมีเรือรบขนาดใหญ่ยังไม่มีประโยชน์มากนัก ควรมีเรือขนาดเล็ก เช่น เรือดำน้ำ เรือตอร์ปิโด ซึ่งเข้าแม่น้ำได้สะดวกจะมีประโยชน์มากกว่า แต่นายทหารชั้นผู้ใหญ่มีความเห็นว่าควรมีเรือขนาดใหญ่เพื่อจะได้ฝึกทหารไปในตัว พระองค์ทรงรับฟังแต่ก็ทรงน้อยพระทัยว่า อุตส่าห์ไปทรงศึกษาวิชาทหารเรือโดยตรงแต่พอถึงเวลาปฏิบัติงานจริงกลับไม่ได้ดังพระราชประสงค์[19]

อีกสาเหตุนั้นกล่าวว่า จากการที่พระองค์ทรงสนพระทัยเรือดำนำเป็นพิเศษซึ่งถ้ามีเรือดำน้ำมาประจำการในกองทัพเรือจะทำให้เกิดมีปัญหาเรื่องอาหารได้ เนื่องจากคนไทยนิยมกินข้าวหลังจากปรุงขึ้นทันทีซึ่งไม่สามารถทำได้ในเรือดำน้ำ พระองค์จึงสนพระทัยที่จะศึกษาและทดลองเพื่อค้นหาอาหารที่เหมาะกับทหารเรือไทยที่ประจำอยู่กองเรือดำน้ำ ประกอบกับพระสุขภาพของพระองค์ไม่สมบูรณ์นักจึงมีพระดำริที่จะไปรักษาพระองค์ในประเทศหนาว พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์จึงทรงแนะนำให้พระองค์เสด็จไปศึกษาต่อเรื่องอาหารและสุขวิทยาที่สหรัฐ[20] พระองค์ทรงรับราชการในกระทรวงทหารเรือเป็นเวลา 9 เดือน 18 วัน[19]

เมื่อพระองค์ทรงลาออกจากการรับราชการในกระทรวงทหารเรือแล้ว พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการและผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย ในขณะนั้น พร้อมด้วยหม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรี ได้เสด็จไปเข้าเพื่อชักชวนให้มาช่วยโรงพยาบาลศิริราช โดยพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ได้ทูลเชิญทูลกระหม่อมให้แวะที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อทอดพระเนตรเห็นโรงคนไข้มีสถานที่คับแคบไม่พอที่จะรองรับคนไข้ได้อย่างเพียงพอทำให้คนไข้ต้องไปนั่งรอที่โคนต้นไม้ นอกจากนี้ โรงพยาบาลยังขาดแคลนอุปกรณ์ทางแพทย์ พระองค์ทรงสลดพระทัยเป็นอย่างยิ่งและทรงตกลงพระทัยที่จะช่วยในการปรับปรุงการแพทย์ไทย แต่พระองค์มีพระดำริว่า "ก่อนจะทรงช่วยเหลือจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ จึงตั้งพระทัยจะเสด็จไปทรงศึกษาด้านการแพทย์เสียก่อน"[21]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร อธิบายถึงเหตุผลที่ชักชวนทูลกระหม่อมให้มาช่วยเหลืองานด้านการแพทย์และสาธารณสุขไทยว่า

เพราะสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นสูง ถ้าเข้ามาทรงจัดการเรื่องนี้แล้วจะทำให้กิจการแพทย์เด่นขึ้น มีผู้โดยเสด็จช่วยเหลืองานนี้มากขึ้น อนึ่ง ทูลกระหม่อมทรงมีรายได้สูง แต่พอพระทัยจะใช้ในการบำเพ็ญพระกุศลสาธารณะ และประการสำคัญที่สุด ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่มีพระปัญญาหลักแหลม มีความเพียรกล้า จะทรงทำอะไรก็ทำจริงไม่ย่อท้อ กิจการแพทย์จะเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

— สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร[22]

ทรงศึกษาต่อ

แก้

พระองค์ตัดสินพระทัยเสด็จไปศึกษาต่อยังสหรัฐโดยมีพระยากัลยาณไมตรี (เจนส์ ไอเวอร์สัน เวสเตนการ์ด) เป็นผู้ถวายคำปรึกษาในการเลือกมหาวิทยาลัย[23][24] โดยทรงเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ โดยทรงเข้าศึกษาชั้นเตรียมแพทย์ก่อนเป็นเวลา 1 ปี และลงทะเบียนเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในปี พ.ศ. 2460

หลังจากที่สำเร็จการศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิกแล้ว พระองค์ทรงหยุดการศึกษาแพทย์ชั่วคราวและลงทะเบียนเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธารณสุขซึ่งจัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เมื่อปี พ.ศ. 2462[25] ระหว่างการศึกษาพระองค์ได้พระราชนิพนธ์รายงานการศึกษาเรื่อง A sanitary survey of the city of Gloucester, Massachusetts 1921 และทรงสำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2464[26]

ขณะที่ทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพระองค์เช่าอพาร์ทเม็นต์และมีคนใช้จำนวน 1 คน พระองค์ใช้พระนามว่า มิสเตอร์มหิดล สงขลา ซึ่งนายแพทย์แอลเลอร์ เอลลิส (A.G. Ellis) ได้กล่าวถึงพระองค์ขณะที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดไว้ว่า

ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็ทรงเป็นเพียงนักเรียนแพทย์ผู้หนึ่งที่ไม่ใช่เจ้านาย ในพระนามบัตรก็มีว่า "มิสเตอร์มหิดล สงขลา" ในเวลาที่ประทับอยู่ในประเทศที่ไม่มีเจ้านาย พระองค์ท่านก็ไม่ใช่เจ้านาย เราถือว่าการที่วางพระองค์เช่นนี้ เป็นการให้เกียรติยศอันแท้จริงแก่ประเทศของเราและสมกับพระลักษณะของการเป็นเจ้านายที่แท้จริง

— ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์ แอลเลอร์ กัสติน เอลลิส[19]

หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรสาธารณสุขแล้ว พระองค์รับหน้าที่เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการเจรจากับมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านการศึกษาวิชาแพทย์และวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย กล่าวคือการพัฒนาหลักสูตร คณาจารย์และสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่ขณะนั้นยังอยู่ในสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้น พระองค์ตัดสินพระทัยเข้าศึกษาวิชาแพทย์ต่อในชั้นปีที่ 3 ที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระ เมืองเอดินบะระ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร แต่พระองค์ประชวรด้วยโรคพระวักกะ (โรคไต) ซึ่งสภาพอากาศที่อังกฤษมีอากาศชื้นและหนาวเย็น ไม่เหมาะกับพระโรค ดังนั้น พระองค์จึงต้องเสด็จนิวัตกลับพระนคร โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2466[27][28]

ในปี พ.ศ. 2469 พระองค์ได้เสด็จไปศึกษาวิชาแพทย์ต่ออีกครั้ง ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐ จนกระทั่งทรงสำเร็จการศึกษาได้ปริญญาแพทยศาสตร์ เกียรตินิยมระดับ Cum Laude เมื่อปี พ.ศ. 2471[29] หลังจากนั้น พระองค์เสด็จนิวัตกลับประทศไทยเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2471 โดยประทับอยู่ที่พระตำหนักใหม่ วังสระปทุม

แพทย์เจ้าฟ้า

แก้

พระราชกรณียกิจประการแรก เมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทยก็คือพระราชทานทุนให้นักเรียนออกไปศึกษา 10 ทุน ในสาขาที่เกี่ยวกับการแพทย์[30] พระองค์มีความเห็นว่านักเรียนแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศจะได้ศึกษาเพียงเฉพาะโรคที่เกิดขึ้นในเขตนั้นเท่านั้น เมื่อกลับมาประเทศไทยควรจะศึกษาต่ออีก 1 ปี เพื่อจะให้ได้รับความรู้และความชำนาญโรคของประเทศไทย แต่ทางการก็มิอาจทำได้ดังพระราชประสงค์ เป็นเหตุให้ไม่ทรงพอพระราชหฤทัย ดังนั้น พระองค์จึงเปลี่ยนพระราชหฤทัยจากจะทรงทำงานในโรงพยาบาลศิริราช มาเป็นเสด็จไปโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ พระองค์เสด็จถึงจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2472 ทรงประทับกับครอบครัวผู้อำนวยการโรงพยาบาลขณะนั้น ดร. อี.ซี. คอร์ท เป็นตึกเล็ก และทรงมีมหาดเล็กเพียงคนเดียว[31]

พระองค์มีความเอาใจ่ใส่ในการรักษาประชาชนอย่างมาก ชาวเมืองเชียงใหม่จึงขนานพระนามของพระองค์ว่า หมอเจ้าฟ้า[32] พระองค์ได้ประทับทีเมืองเชียงใหม่ประมาณ 3 สัปดาห์ ก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพมหานครในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 เนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

สวรรคต

แก้
 
พระโกศทองน้อยทรงพระบรมศพ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ ท้องพระโรง วังสวนกุหลาบ
 
พระเมรุมาศสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระองค์มีพระราชประสงค์จะเสด็จกลับไปเมืองเชียงใหม่ แต่ก็มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์ เนื่องจากทรงพระประชวร ต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม พร้อมด้วยพระมารดา โดยไม่ได้เสด็จออกจากวังอีกเลย[32]

สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงมีพระราชหฤทัยห่วงถึงโรงพยาบาลศิริราช ยามใดที่มีผู้ใกล้ชิดเข้าเฝ้าจะรับสั่งถึงงานโรงพยาบาลศิริราชเสมอ พระอาการดีขึ้นและแล้วก็ทรุดลง แพทย์ประจำพระองค์คือ ศาสตราจารย์ที พี โนเบิล และดับบลิว เอช เปอร์กินส์ ได้ถวายการรักษาอย่างสุดความสามารถแต่พระอาการก็ทรุดลงเรื่อย ๆ[19]

วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคฝีบิดในพระยกนะ (ตับ) โดยมีโรคแทรกซ้อนคือพระปัปผาสะบวมน้ำและพระหทัยวาย พระชนมายุได้ 38 พรรษา 8 เดือน 23 วัน หลังจากทรงทนทรมานอยู่ได้ 3 เดือนครึ่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต​ เสด็จแทนพระองค์ไปในการถวายน้ำสรงพระบรมศพ ณ วังสระปทุม และอัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ วังสวนกุหลาบ[33][28] มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2473[34][35]

ชีวิตส่วนพระองค์

แก้

พระนามและราชสกุลมหิดล

แก้
 
ตราประจำราชสกุลมหิดล

พระนามเดิมของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก นั้น สามารถพบได้ 2 แบบ ได้แก่ มหิดลอดุลเดช และ มหิดลอดุลยเดช โดยเมื่อแรกเริ่มนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามแก่พระองค์ในการสมโภชเดือนว่า "มหิดลอดุลเดช"[2] ต่อมา เมื่อพระองค์ทรงเจริญพระชันษาได้ 12 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์และพระราชทานพระสุพรรณบัฏขึ้น พร้อมกันนี้ พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมที่ "กรมขุนสงขลานครินทร์" โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัตรในครั้งนี้ ว่า "มหิดลอดุลยเดช"

หลังจากนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระนามกรมของพระองค์ขึ้นเป็น "กรมหลวงสงขลานครินทร์" และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐรามาธิบดินทรเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบพระราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนามของพระองค์ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏจึงกลับมาใช้ว่า "มหิดลอดุลเดช" อีกครั้ง

ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเฉลิมพระนามพระอัฐิสมเด็จพระราชบิดาว่า "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก" และในสมัยปัจจุบันการเขียนพระนามของพระองค์ก็นิยมเขียนว่า "มหิดลอดุลยเดช"[36]

ส่วนนามสกุลนั้น เมื่อสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศนั้น พระองค์ใช้พระนามว่า Mr. Mahidol Songkla ส่วนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีใช้พระนามว่า Mrs. Songkla ดังนั้น พระโอรสและพระธิดาของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกจึงใช้นามสกุลว่า "สงขลา"[36]

หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามสกุลสำหรับผู้สืบสายพระบรมราชวงศ์ชั้น 5 เมื่อ พ.ศ. 2472 โดยเชื้อพระวงศ์ที่สืบสายพระโลหิตจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกให้ใช้ราชสกุลว่า "มหิดล" จนถึงปัจจุบัน[37]

อภิเษกสมรส

แก้
 
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์กับหม่อมสังวาลย์
 
พระบรมรูปหุ่นขี้ผึ้ง จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ กรุงเทพฯ

ระหว่างที่พระองค์ทรงศึกษาอยู่ที่สหรัฐอเมริกาได้พระราชทานทุนให้แก่นักเรียนแพทย์ ไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาจำนวน 2 ทุน[4] ซึ่งทางโรงเรียนแพทย์ได้คัดเลือกออกมา ปรากฏว่าได้นักเรียนพยาบาลมา 2 คน คือ สังวาลย์ ตะละภัฏ (ต่อมาคือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) และอุบล ปาลกะวงษ์ ณ อยุธยา (ต่อมาคือ อุบล ลิปิธรรมศรีพยัตต์)[30] สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงดูแลเอาใจใส่นักเรียนทั้ง 2 ของพระองค์อย่างดี ทั้งทรงแนะนำวิธีการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีของต่างประเทศ

ขณะทรงศึกษาวิชาสาธารณสุขชั้นปีที่ 3 ที่สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จกลับมาร่วมงาน ถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2463 สมเด็จพระบรมราชชนกได้อภิเษกสมรสกับนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ณ วังสระปทุม[5]

พระราชโอรส-พระราชธิดา

แก้

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชโอรส-พระราชธิดา 3 พระองค์ดังนี้

พระบรมฉายาลักษณ์/พระรูป พระปรมาภิไธย/พระนาม พระราชสมภพ/ประสูติ สวรรคต/สิ้นพระชนม์ คู่อภิเษกสมรส พระราชบุตร/พระบุตร
  สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 2 มกราคม พ.ศ. 2551 (84 พรรษา) อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ไม่มี
  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร 20 กันยายน พ.ศ. 2468 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (20 พรรษา) ไม่ได้อภิเษกสมรส ไม่มี
  พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (88 พรรษา) สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

แก้

ในช่วงเวลาที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงรับราชการในกองทัพเรือ ได้ทรงจัดทำโครงการเกี่ยวกับเรือดำน้ำ ถึงแม้จะไม่ได้ดังพระประสงค์ในช่วงเวลานั้น แต่อีก 20 ปีต่อมา กองทัพเรือก็ได้สั่งต่อเรือดำน้ำจำนวน 4 ลำ คือ เรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล[38] นอกจากเรื่องเรือดำน้ำ พระองค์ยังได้ทรงร่างโครงการสร้างกำลังทางเรือทั้งกองทัพไว้อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันกองทัพเรือได้จัด ตั้งฐานทัพเรือและสถานี ทหารเรือ พร้อมกับจัดส่งกำลังทางเรือ ไปประจำตามฐานทัพเรือและสถานีเรือ สอดคล้องกับแนวพระราชดำริโครงการสร้างกองเรือรบ

ทางด้านการแพทย์ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ทรงเกี่ยวข้องกับการแพทย์ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจไว้มากมาย ทรงอุทิศทั้งพระราชทรัพย์และพระวรกาย พระสติกำลังเพื่อการแพทย์โดยแท้ กล่าวคือพระราชทานทุนเพื่อการศึกษาและค้นคว้า พระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อการก่อสร้างตึกต่าง ๆ และขยายพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช[32]

ในด้านการสาธารณสุขทรงเคยสำรวจสุขาภิบาลในกรุงเทพ เพื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศที่ทรงศึกษามา ทรงช่วยอบรมสาธารณสุขมณฑล และเคยทรงปรารภว่าจะให้มีการเผาศพด้วยไฟฟ้า เพื่อให้เป็นไปตามหลักสูตรสุขาภิบาล[4] นอกจากนี้ยังทรงมีน้ำพระราชหฤทัยเมตตา ช่วยเหลือการศึกษาด้านอื่นนอกเหนือจากการแพทย์ เป็นต้นว่า พระราชทานทุน 1 แสนบาทเพื่อส่งคนไปศึกษาต่างประเทศด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อการโภชนาการที่ดีของคนไทย จึงได้รับการถวายสมญานามว่า "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย" พระราชทานทุนให้แก่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยเพื่อจัดหาอาจารย์ชาวต่างประเทศมาสอน พระราชทานเงินให้โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จัดซื้อเครื่องเอกซเรย์ และพระราชทานเงินบำรุงโรงพยาบาลสงขลาเป็นรายปี[39]

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร
อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าละอองพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้า/เพคะ
 
พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ โรงพยาบาลศิริราช

พระราชอิสริยยศ

แก้
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรศิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ ลักษณวิจิตรพิสิฐบุรุษ ชนุตมรัตน์พัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร[2] (1 มกราคม พ.ศ. 2435 - 10 มกราคม พ.ศ. 2447)
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรศิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ ลักษณวิจิตรพิสิฐบุรุศย์ ชนุตมรัตน์พัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร กรมขุนสงขลานครินทร์[6] (10 มกราคม พ.ศ. 2447 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์[40] (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
  • สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 24 กันยายน พ.ศ. 2472)
  • สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรสิริสวัสดิ ขัตติยวโรภโตสุชาต คุณสังกาศเกียรติประกฤษฏ์ ลักษณวิจิตรพิสิฐบุรุษ ชนุดมรัตนพัฒนศักดิ อัครวรราชนรินทรเชษฐาธิบดี กรมหลวงสงขลานครินทร์[41] (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2478)
  • สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์[42] (25 มีนาคม พ.ศ. 2478 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2513)
  • สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก[43] (9 มิถุนายน พ.ศ. 2513 - ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[44]

พระยศ

แก้
พันเอก(พิเศษ) จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก
รับใช้  ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกสยาม, กองทัพเรือสยาม และกองเสือป่า
ประจำการ
  •   พ.ศ. 2451 - 2472
  •   พ.ศ. 2454 - 2472
  •   พ.ศ. 2466 - 2468
ชั้นยศ

พระยศพลเรือน

แก้
  • มหาอำมาตย์ตรี

พระยศทหาร

แก้
  • 13 ธันวาคม พ.ศ. 2466: นายพันโท[52]
  • 19 เมษายน พ.ศ. 2467: นายนาวาเอก[53]
  • 22 เมษายน พ.ศ. 2469: นายพันเอกพิเศษ[54]
  • 8 มกราคม พ.ศ. 2541: จอมพลเรือ[55]

พระยศเสือป่า

แก้
  • – นายกองตรี
  • 2 มีนาคม พ.ศ. 2467: นายกองเอก[56]

พระราชสมัญญานาม

แก้
  • พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2555[57]
  • พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย[58][59]

พระนามาภิไธยพระราชทาน

แก้
สถาบันการศึกษาด้านการสาธารณสุข
สถาบันการศึกษา
พันธุ์สัตว์
อื่น ๆ

พงศาวลี

แก้

แผนผัง

แก้
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
  (1)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
 
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 (2)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 (3)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 (4)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าปิ๋ว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าโสมนัส
 
 (5)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
 
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
 
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์
 
 (6)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
 
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
 
 (7)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 (8)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
 
 (9)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 (10)
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

อ้างอิง

แก้
  1. แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกศึกษาธิการ เรื่อง ตั้งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย
  2. 2.0 2.1 2.2 ราชกิจจานุเบกษา, [1]ข่าวสมโภชเดือนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, เล่ม 8, ตอน 45, 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434, หน้า 406
  3. "ตอนที่ 320 "สมเด็จหญิง" ในความทรงจำ" (Press release). วาทตะวัน สุพรรณเภษัช. 8 มกราคม 2551. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 4.2 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, พระราชบิดาแห่งการแพทย์ไทย - ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการแพทย์ฉุกเฉินไทย[ลิงก์เสีย], เข้าถึงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
  5. 5.0 5.1 ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย พระประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก เก็บถาวร 2017-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
  6. 6.0 6.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช, เล่ม 20, ตอน 41, 10 มกราคม พ.ศ. 2446, หน้า 708
  7. ราชกิจจานุเบกษา, การทรงผนวชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฐราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร, เล่ม ๒๑, ตอน ๒๒, ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๓๕๒
  8. เทิดพระนามมหิดล, หน้า 20
  9. ราชกิจจานุเบกษา, การฉลองสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๘, ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๖๘๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทรงลาผนวช, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๙, ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๖๙๗
  11. พระประวัติสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์, ชุมนุมพระนิพนธ์และบทความเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชบิดาฯ, นายยงยุทธ์ วัชรดุลย์
  12. เทิดพระนามมหิดล, หน้า 24
  13. เทิดพระนามมหิดล, หน้า 26
  14. 14.0 14.1 เจ้าฟ้าทหารเรือ,นาวิกศาสตร์, ปีที่ 85, เล่มที่ 9, กันยายน 2545
  15. พระราชทานยศนายทหารเรือ
  16. เทิดพระนามมหิดล, หน้า 28
  17. พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเรือ
  18. เกิดวังปารุสก์ ฉบับ 100 ปีจุลจักรพงษ์, หน้า 66
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เก็บถาวร 2007-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, กองทัพเรือ, เข้าถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
  20. ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด แสงวิเชียร, พระประวัติ สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ C.P.H., M.D. (Harvard), ชุมนุมพระนิพนธ์และบทความเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชบิดา
  21. เทิดพระนามมหิดล, หน้า 31
  22. กระทรวงวัฒนธรรม, สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน, เข้าถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
  23. เทิดพระนามมหิดล, หน้า 32
  24. ศาสตราจารย์ หลวงพิณพากย์พิทยาเภท, พระกรณียกิจเกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุขของสมเด็จพระราชบิดา, ชุมนุมพระนิพนธ์และบทความเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชบิดาฯ
  25. เทิดพระนามมหิดล, หน้า 35
  26. เทิดพระนามมหิดล, หน้า 40
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ แผนกศึกษาธิการ ตั้งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย, เล่ม ๔๐, ตอน ๐ ง, ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๖, หน้า ๒๒๐๕
  28. 28.0 28.1 มหาวิทยาลัยมหิดล สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เก็บถาวร 2015-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
  29. เทิดพระนามมหิดล, หน้า 56
  30. 30.0 30.1 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ประวัติสมเด็จพระราชบิดา, เข้าถึงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
  31. โรงพยาบาลแมคคอร์มิค รู้จักแมคคอร์มิค - McCormick Hospital เก็บถาวร 2016-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงเมื่อ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
  32. 32.0 32.1 32.2 สุทธิลักษณ์ วุฒิเสน. กองทุนหมอเจ้าฟ้า / คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ธนบรรณการพิมพ์, 2535. 74 หน้า. ISBN 9746723022
  33. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๔๖, ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒, หน้า ๒๑๔๓
  34. ราชกิจจานุเบกษา, การพระเมรุมาศท้องสนามหลวงถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์, เล่ม 46, ตอน ง, 30 มีนาคม พ.ศ. 2472, ฉบับพิเศษ หน้า 4608
  35. กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์ เก็บถาวร 2017-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ:สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. 2554, หน้า 144
  36. 36.0 36.1 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา, เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์, ซิลค์เวอร์ม บุคส์, พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549, 450 หน้า, ISBN 974-7047-55-1
  37. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น 5 เก็บถาวร 2009-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 46, ตอน 0 ก, 9 มิถุนายน พ.ศ. 2472, หน้า 21
  38. ศิริพงษ์ บุญราศรี. เรือดำน้ำแห่งราชนาวีสยาม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, พ.ศ. 2547. 168 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-276-277-5
  39. "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุล ยเดชวิกรม พระบรมราชชนก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-10. สืบค้นเมื่อ 2016-09-03.
  40. "พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27: 1. 30 ตุลาคม 2453. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  41. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เลื่อนพระนามกรม สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวง, เล่ม 46, ตอน 0ก, 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472, หน้า 198
  42. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง ถวายพระนามพระอัยยิกา พระราชบิดา และพระราชชนนี,เล่ม 519 ตอน 0 ก, 25 มีนาคม พ.ศ. 2477, หน้า 1409
  43. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมราชชนก และ สมเด็จพระบรมราชชนนี เก็บถาวร 2011-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 87, ตอน 52, 12 มิถุนายน พ.ศ. 2513, ฉบับพิเศษ หน้า 1
  44. "ข่าวสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 46 (ตอน 0 ง): หน้า 2143. 29 กันยายน พ.ศ. 2472. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  45. "พระราชพิธีมหามงคลการโสกันต์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 20 (ตอน 41): หน้า 703. 10 มกราคม ร.ศ. 122. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  46. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน ๐ ง): หน้า 48. 9 เมษายน ร.ศ. 130. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  47. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 32 (ตอน 0 ง): หน้า 1895. 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  48. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 40 (ตอน 0 ง): หน้า 3420. 7 มกราคม พ.ศ. 2466. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  49. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 50. 9 เมษายน ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  50. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 27 (ตอน 0 ง): หน้า 3094. 19 มีนาคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  51. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 45 (ตอน 0 ง): หน้า 2972. 23 ธันวาคม พ.ศ. 2471. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  52. พระราชทานยศทหารบก
  53. พระราชทานยศทหารเรือ
  54. ราชกิจจานุเบกษาพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 43 ตอนพิเศษ 25 เมษายน พ.ศ. 2469 หน้า 336
  55. ราชกิจจานุเบกษาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (พระยศ จอมพลเรือ ถวายแด่ นายนาวาเอก สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) เก็บถาวร 2011-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 115 ตอนทะเบียนฐานันดรฯ 2 มีนาคม พ.ศ. 2541
  56. พระราชทานยศนายเสือป่า (กรมนักเรียนแพทย์เสือป่าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์)
  57. พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย
  58. "พระราชประวัติ | วันมหิดล 24 กันยายน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-08. สืบค้นเมื่อ 2018-07-12.
  59. หนังสือฉบับอิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ ๑๒๐ พรรษา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
  60. 12 พฤศจิกายน 2536 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานนามอาคารคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่กำลังก่อสร้าง เป็น “อาคารมหิตลาธิเบศร” ตามพระนามของ “พระบิดาแห่งการสาธารณสุขไทย” 25 มกราคม 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารภายในมหาวิทยาลัยบูรพา ประกอบด้วย อาคารมหิตลาธิเบศร อาคารศรีนครินทร์ และอาคาร 60 พรรษา มหาราชินี
  61. "โรงเรียนมหิดล อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
  62. Mahidolia mystacina (Valenciennes, 1837)

บรรณานุกรม

แก้
  • 100 ปี สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก 25352)จัดทำโดยคณะกรรมการฝ่ายจัดพิมพ์หนังสืองานฉลองครบรอบ 100 ปีแห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
  • ศุภกฤต โสภิกุล.(2552).เอกสารประกอบการบรรยายการจัดตั้งเครือข่ายสหวิทยาการแห่งราชบัณฑิตยสถาน ภาคตะวันออก (โครงการนำร่องการจัดทำเขตอนุรักษ์ปลาบู่มหิดลในแหลมสิงห์). ราชบัณฑิตยสถาน.กรุงเทพมหานคร.
  • เทิดพระนามมหิดล, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยมหิดล,2552, 332 หน้า
  • ชุมนุมพระนิพนธ์และบทความเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ พระบิดาแห่งวงการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์, เกิดวังปารุสก์ ฉบับ 100 ปีจุลจักรพงษ์. --กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ จำกัด, 2552

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้