สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ พระนามเดิม จุ้ย (29 มีนาคม พ.ศ. 2316 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กับสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี และเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ | |
---|---|
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล | |
ดำรงพระยศ | 22 กันยายน พ.ศ. 2352 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360 |
อุปราชาภิเษก | 22 กันยายน พ.ศ. 2352 |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร |
ถัดไป | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ |
พระราชสมภพ | 29 มีนาคม พ.ศ. 2316[1] |
สวรรคต | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360 (44 พรรษา) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระราชบิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
พระราชมารดา | สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี |
พระราชประวัติ
แก้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เป็นพระราชโอรสลำดับที 7 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี หลังพระราชพิธีปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์[2] ถึงปี พ.ศ. 2346 จึงเลื่อนเป็น กรมหลวงเสนานุรักษ์[3] ในปี พ.ศ. 2349 (นับแบบเก่า) เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร อุปราชาภิเษกขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระบัณฑูรน้อยด้วย [4]
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2352 กรมพระราชวังบวรสถานมงคลได้รับราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี (ภายหลังได้รับเฉลิมพระนามเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) จึงโปรดเกล้าฯ ให้อุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตำแหน่งพระมหาอุปราชสืบแทนในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2352 ไปประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระบรมเชษฐาหลายประการ อาทิ ทรงจะตรวจข้อราชการจากเสนาบดี กรม กองต่าง ๆ ที่จะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ก่อนทุกครั้ง
ในรัชกาลที่ 1 ย้อนไปสมัยพระเจ้าปดุงทรงทราบว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระชรามาก และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเสด็จสวรรคตแล้ว จึงคิดจะขยายอำนาจเข้ามาเขตสยามประเทศ พระเจ้าปดุงจึงให้อะเติงหวุ่นเป็นแม่ทัพลงมาเกณฑ์พลที่เมืองเมาะตะมะเตรียมตีไทยเป็นการใหญ่ การเตรียมไม่ได้ผลสมคาดจึงได้ระงับการมาตีไทยไว้ก่อนกอปรกับกรุงรัตนโกสินทร์ผลัดแผ่นดิน จากนั้นพม่าจึงคิดมาตีหัวเมืองชายทะเลอีกครั้ง การมาตีสยามครั้งนี้อะเติงหวุ่นไม่ได้มาเองเพียงแต่จัดทัพให้ทัพบกเข้าตีเมืองชุมพรและเมืองไชยา ทัพเรือตีเมืองตะกั่วป่าและเมืองตะกั่วทุ่งแล้วเข้าล้อมเมืองถลาง 27 วัน จึงเข้าตีเมืองถลางได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เป็นแม่ทัพยกไปทางกาญจนบุรีเพื่อสกัดทัพพม่า แต่การข่าวการศึกแจ้งมาภายหลังว่าทัพพม่ามิได้เข้ามาทางกาญจนบุรี กรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงยกทัพลงไปบัญชาศึกที่ทางใต้แทนจนทัพกรุงรัตนโกสินทร์ตีทัพพม่าแตกพ่ายกลับไปหมด ผลของการสงครามคือกรุงรัตนโกสินทร์ได้เมืองถลางคืนมา แต่ยับเยินเพราะถูกพม่าเผา นับเป็นการสงครามระหว่างไทยและพม่าครั้งสุดท้ายในสมัยพระเจ้าปดุง
กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงจัดการกับหัวเมืองทางใต้ใหม่คือเมือง พังงา เมื่อ พ.ศ. 2352 ต่อมาใน พ.ศ. 2357 ทรงเป็นแม่กองตั้งเมืองใหม่เป็นเมืองด่านหน้าทางทะเล พระราชทานชื่อว่า นครเขื่อนขันธ์ นอกจากนั้นยังทรงปฏิสังขรณ์วัดเก่า 2 วัด คือ วัดลิงขบ พระราชทานชื่อว่าวัดบวรมงคล และวัดเสาประโคนพระราชทานชื่อว่าวัดดุสิดารามวรวิหาร และทรงสร้างวัดใหม่ชื่อว่าวัดทรงธรรม
กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงอภิเษกกับพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360 ขณะพระชนมายุ 44 พรรษา ณ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศร์ ในหมู่พระวิมาน พระราชวังบวรสถานมงคล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพประดิษฐานพระบรมศพไว้ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง ในวันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2361 หลังจากงานพระบรมศพแล้วพระบรมอัฐิถูกอัญเชิญไปประดิษฐานพระบุษบกทรงปราสาทเคียงข้างพระบรมอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ณ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศและถูกอัญเชิญมาประดิษฐานอีกครั้งที่หอพระนาคในพระบรมมหาราชวัง และพระบรมอัฐิบางส่วนถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่ท้ายจระนำวัดชนะสงคราม หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอีกเลยตลอดรัชกาล ตำแหน่งวังหน้าจึงว่างลงนับแต่บัดนั้น
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถวายพระนามใหม่ว่ากรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์[5] จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เปลี่ยนคำนำพระนามจาก “กรมพระราชวังบวร” เป็น “สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์”[6]
พระโอรส-ธิดา
แก้ประสูติก่อนอุปราชาภิเษก
แก้- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2334) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าตากสิน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 1
- พระองค์เจ้าชายประยงค์ (พ.ศ. 2334—2400) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็นกรมหมื่นธิเบศร์บวร ในรัชกาลที่ 2 เป็น กรมขุนธิเบศร์บวร ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล บรรยงกะเสนา
- พระองค์เจ้าหญิงประชุมวงศ์ (พ.ศ. 2337) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
- พระองค์เจ้าชายปาน (พ.ศ. 2337) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นอมรมนตรี ในรัชกาลที่ 3 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
- พระองค์เจ้าหญิงนัดดา (พ.ศ. 2339) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
- พระองค์เจ้าหญิงขนิษฐา (พ.ศ. 2341—2419) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2342) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
- พระองค์เจ้าชายพงศ์อิศเรศ (พ.ศ. 2343—2417) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช เมื่อ พ.ศ. 2405 ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล อิศรเสนา
- พระองค์เจ้าหญิงสุวรรณ (พ.ศ. 2344) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาก้อนทอง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
- พระองค์เจ้าชายไม้เทศ (พ.ศ. 2345) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเหมใหญ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
- พระองค์เจ้าชายภุมริน (พ.ศ. 2345) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 ทรงเป็นต้นสกุล ภุมรินทร์
- พระองค์เจ้าหญิงอำพัน (พ.ศ. 2346-2424) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปิ่น
- พระองค์เจ้าชายภุมเรศ (พ.ศ. 2346) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นอมเรศรัศมี ในรัชกาลที่ 4 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
- พระองค์เจ้าหญิงนฤมล (พ.ศ. 2347) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
ประสูติเมื่อเป็นพระบัณฑูรน้อย
แก้- พระองค์เจ้าหญิงงาม (พ.ศ. 2349) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาก้อนทอง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
- พระองค์เจ้าชายเสือ (พ.ศ. 2349) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล พยัคฆเสนา
- พระองค์เจ้าชายใย (พ.ศ. 2350) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล รังสิเสนา
- พระองค์เจ้าชายกระต่าย (พ.ศ. 2350) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
- พระองค์เจ้าชายทับทิม (พ.ศ. 2351) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
- พระองค์เจ้าหญิงมณฑา (พ.ศ. 2352) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
- พระองค์เจ้าชายฤกษ์ (พ.ศ. 2352—2435) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ผนวชเป็นสามเณรตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ได้รับเลื่อนพระยศเป็น สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ในรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 8 ของกรุงรัตนโกสินทร์
ประสูติเมื่ออุปราชาภิเษกแล้ว
แก้- พระองค์เจ้าชายแฝด (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์
- พระองค์เจ้าหญิงแฝด (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทรัพย์
- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
- พระองค์เจ้าหญิงปทุเมศ (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเยี่ยม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5
- พระองค์เจ้าหญิงเกสร (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปิ่น สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
- พระองค์เจ้าชายชุมแสง (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล สหาวุธ
- พระองค์เจ้าชายสาททิพากร (พ.ศ. 2353) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2354) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาม่วง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
- พระองค์เจ้าหญิงนุ่ม (พ.ศ. 2354—2421) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานิ่ม
- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2355) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานก (ต่อมาเจ้าจอมมารดานกได้เฉลิมนามเป็น ท้าวสมศักดิ์) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2
- พระองค์เจ้าชายยุคันธร (พ.ศ. 2355) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2410 ในรัชกาลที่ 4 ว่ากรมทหารช่าง เมืองญวน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นต้นสกุล ยุคันธร
- พระองค์เจ้าชายสีสังข์ (พ.ศ. 2356) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอี่ยม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2388 ทรงเป็นต้นสกุล สีสังข์
- พระองค์เจ้าหญิงดวงจันทร์ (พ.ศ. 2356) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศรี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
- พระองค์เจ้าชายรัชนิกร (พ.ศ. 2357) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพลับ (จินตหรา) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 ทรงเป็นต้นสกุล รัชนิกร
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2357) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาม่วง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
- พระองค์เจ้าชายทัดทรง (พ.ศ. 2359) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแจ่ม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5
- พระองค์เจ้าชายรองทรง (พ.ศ. 2359—2419) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาภู่ (อิเหนา) ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ เมื่อ พ.ศ. 2410 ในรัชกาลที่ 5 ทรงว่าการโรงทอง ทรงเป็นต้นสกุล รองทรง
- พระองค์เจ้าชายสุดวอน (พ.ศ. 2360) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามี (บุษบา) สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 มีพระธิดาคือ หม่อมเจ้าหญิงบู่
- พระองค์เจ้าหญิงสุดศาลา (พ.ศ. 2360) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาม่วง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5
พระเกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าละอองพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ |
พระอิสริยยศ
แก้- จุ้ย
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์
- กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
- สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
แผนผัง
แก้ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ : ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ถวายพระนามพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมราชชนนี และกรมพระราชวังบวรที่สวรรคตแล้ว
- ↑ ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 213. ISBN 978-974-417-594-6
- บรรณานุกรม
- เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) (๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๑). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) (๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๗). "พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
ก่อนหน้า | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เจ้าฟ้าฉิม) | กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ราชวงศ์จักรี) (22 กันยายน พ.ศ. 2352 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2360) |
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ |