พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านฤมล

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านฤมล[1] หรือ น้อยนฤมล[2] (พ.ศ. 2347 — พ.ศ. 2367) พระราชธิดาพระองค์ที่ 14 ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้านฤมล
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 2
ประสูติพ.ศ. 2347
สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2367 (20 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
พระมารดาเจ้าจอมมารดาสำลี

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านฤมล ประสูติเมื่อพ.ศ. 2347 เป็นพระธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสำลี พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระเชษฐา พระเชษฐภคินีร่วมเจ้าจอมมารดา 6 พระองค์

พระองค์เจ้านฤมลเป็นเจ้านายฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล 1 ใน 2 พระองค์ที่ได้โสกันต์ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (อีกพระองค์หนึ่งคือพระองค์เจ้าพงศ์อิศเรศร์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2356) โดยพระองค์ได้รับพระราชทานโสกันต์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2358 ซึ่งในครั้งนั้นมีเขาไกรลาสด้วย แต่ขนาดเล็กกว่าในพระบรมมหาราชวัง และเป็นพระราชพิธีคล้ายกับพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้า เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงนับถือว่าพระองค์เจ้า 2 พระองค์นั้น ประสูติแต่พระมารดาเป็นพระราชธิดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่เพราะมีเหตุจึงมิได้โปรดให้เป็นเจ้าฟ้า[2]

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านฤมล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 2 เมื่อพ.ศ. 2367 พระชันษา 20 ปี[3]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 112. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-05-10.
  2. 2.0 2.1 ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย-ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-ภาคที่-๒-หมวดราชประเพณีโบราณ/๒-ประเพณีลงสรงโสกันต์
  3. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑ ฉบับพิมพ์พ.ศ. ๒๕๐๙