เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์)

เจ้าพระยาสุรินทราชา นามเดิมจันทร์ ประชาชนชาวนครศรีธรรมราชขนานนามว่า อุปราชจันทร์แห่งเมืองนครศรีธรรมราช ต้นสกุล จันทโรจวงศ์ เป็นข้าหลวงสำเร็จราชการหัวเมือง ฝั่งตะวันตก ระหว่าง พ.ศ. 2329-2350 [1]

เจ้าพระยาสุรินทราชาเป็นบุตรเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ [2] ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐครั้งกรุงศรีอยุธยา มารดาเป็นพี่มารดาเจ้าขรัวเงิน[3] พระชนกสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทำราชการในกรุงเก่า เป็นที่หลวงฤทธิ์นายเวรมหาดเล็ก (ในหนังสือปฐมวงศ์ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 4 เรียกว่านายฤทธิ์)ได้ภรรยาเป็นหลานหลวงนายสิทธิ์ ที่ตั้งตัวเป็นเจ้านครศรีธรรมราช เมื่อกรุงเก่าเสีย บ้านเมืองอยู่ในสภาพจลาจล หลวงนายฤทธิ์ หลานเขยผู้เป็นบุตรเสนาบดีผู้ใหญ่ เข้าใจในขนบธรรมเนียมราชประเพณีดี[4] เจ้านครจึงตั้งให้เป็นอุปราชเมืองนครศรีธรรมราช ครั้งพระเจ้ากรุงธนบุรีตีได้เมืองนครศรีธรรมราช จับได้ทั้งเจ้านครฯ และอุปราช เอาตัวเข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี อุปราชจันทร์ได้เป็นที่พระยาอินทรอัครราช ถึงรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ ได้เป็นที่พระยาราชวังเมืองในกรมช้าง แล้วเลื่อนขึ้นเป็นพระยาสุรินทราชานราบดีศรีสุริยศักดิ์ ตำแหน่งสมุหคชบาลซ้าย แล้วโปรดให้ออกไปอยู่เมืองถลาง กำกับหัวเมืองภูเก็ต ทำนองอย่างสมุหเทศาภิบาลทุกวันนี้ ได้เลื่อนยศเป็นเจ้าพระยาสุรินทราชาฯ มีจดหมายเหตุปรากฏว่า เมื่อเจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) [5] ถึงอสัญกรรม ในรัชกาลที่ 1 โปรดฯ ให้เจ้าพระพระยาสุรินทราชา เข้ามาเป็นที่พระสมุหพระกลาโหม [6] กราบทูลขอตัวว่าแก่ชราแล้ว จึงรับราชกาลหัวเมืองอยู่จนอสัญกรรม

ชีวิตด้านครอบครัว

แก้

เจ้าพระยาสุรินทราชา มีบุตรหลายคน ที่ทราบชื่อ จุ้ย ได้เป็นพระยาพัทลุง คน 1 ชื่อฤกษ์ หรือ เริก อยู่เมืองถลาง ได้แต่งพงศาวดารเมืองถลาง คน 1 ชื่อ อิน คน 1 ซึ่งเป็นบิดาพระยาวรวุฒิวัย น้อยฯ เป็นบิดาพระยาอภัยบริรักษ์ เนตร หลวงศรีวรวัตร พิณ และแข คุณหญิงเพชราภิบาล ภรรยาพระยาหนองจิก พ่วง ณ สงขลา ชั้นลูกพระยาวรวุฒิวัยจึงได้พระราชทานนามสกุลว่า จันทโรจวงศ์ อยู่บัดนี้

  • 1.ทัด
  • 2.พระยาวรนารถสัมพันธพงศ์(พิม)
  • 3.พระยาพัทลุง(จุ้ย)[7] [8] [9]
  • 4.อิน เป็นบิดาพระยาอภัยบริรักษ์ (เนตร), หลวงศรีวรวัฒน์ (พิณ) และ คุณหญิงเพ็ชราภิบาล (แข) ภริยาพระยาหนองจิก (พ่วง ณ สงขลา)
  • 5.เยา
  • 6.เจ้าจอมมารดาอำพัน พระราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี[10]
  • 7.พระยาถลาง(ฤกษ์) ได้แต่งพงศาวดารเมืองถลาง[11]

ตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ

แก้

บรรดาศักดิ์และราชทินนาม ที่ได้รับพระราชทาน ในสมัยโบราณ [12]

  • หลวงฤทธิ์นายเวรมหาดเล็ก
  • อุปราชเมืองนครศรีธรรมราช
  • พระยาอินทรอัครราช
  • พระยาราชวังเมืองในกรมช้าง
  • พระยาสุรินทราชานราบดีศรีสุริยศักดิ์ ตำแหน่งสมุหคชบาลซ้าย
  • ผู้สำเร็จราชการ หัวเมืองฝั่งทะเลตะวันตก 8 เมือง
  • เจ้าพระยาสุรินทราชาอธิบดีศรีพิชัยสงครามรามภักดีพิริยพาหะ ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองทั้ง 8 เมือง

นามสกุล จันทโรจวงศ์

แก้

เป็นนามสกุลที่พระราชทานให้แก่ พระยาอภัยบริรักษ์ (เนตร)เจ้าเมืองพัทลุง [13] [14] [15] และหลวงศรีวรรัตร (พิณ)ครั้งยังเป็นหลวงจักรานุชิต ตามประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 17 วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2457 ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 31 หน้า 593 สำหรับผู้ที่สืบสายโลหิตโดยตรงจากเจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์)[16] [17] [18] [19]

จวนเจ้าเมืองพัทลุง [20] เดิมเป็นที่ว่าราชการและเป็นที่พักอาศัยของเจ้าเมืองพัทลุง เรียกว่า วังพัทลุง แยกเป็น วังเก่าและวังใหม่ [21] ปัจจุบันทายาทได้มอบให้เป็นสมบัติของชาติ ดูแลอนุรักษ์โดยกรมศิลปากร โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเปิดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำเมืองพัทลุง ให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเที่ยววังเก่าเจ้าเมืองพัทลุง สำหรับศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และ ศิลปวัฒนธรรม สมัยต้นกรุงรัตโกสินทร์ เปิดทุกวัน เว้นวันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น.[22] [23] ทั้งนี้กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานวังเก่า เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 และวังใหม่ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526

เขียนแบบอักษรโรมัน

แก้

เขียนสะกดคำ ตามที่ได้ขอพระราชทานในราชกิจจานุเบกษา ว่า Chandrochavansa ปัจจุบันลูกหลานผู้สืบสกุลนิยมเขียนเป็น Chantharojwong แทน และส่วนน้อยจะเขียนว่า Chantarojwong

บรรพบุรุษ สกุลจันทโรจวงศ์ และผู้ที่สืบมาจากสายโลหิตเดียวกันในสกุลอื่น

แก้

เจ้าพระยาสุรินทราชา(จันทร์ จันทโรจวงศ์)ผู้เป็นต้นสกุลจันทโรจวงศ์ มีสายโลหิตสัมพันธ์กับผู้เป็นต้นสกุลอื่นๆ ที่สืบมาจากบรรพบุรุษเดียวกันคือ - พราหมณ์ ศิริวัฒนะ [24] [25] โดยมีสกุลต่างๆดังนี้ สกุล ทองอิน, อินทรพล, ราชสกุล นรินทรกุล, สกุล สิงหเสนีย์, สกุล ชัชกุล, สกุล ภูมิรัตน์, สกุล สุจริตกุล, สกุล บุรณศิริ, สกุล ศิริวัฒนกุล, สกุล โรจนกุล [26]

ลำดับผู้สืบสายโลหิตโดยตรง จาก เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์) ต้นสกุล จันทโรจวงศ์

แก้

นับตั้งแต่เริ่มต้นสกุลถึงปัจจุบัน มีผู้สืบสกุลจาก เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์)แยกไปแต่ละสาย โดยนับจากเจ้าพระยาสุรินทราชา ต้นสกุล จันทโรจวงศ์เป็นชั้นที่ 1 บุตรธิดาของเจ้าพระยาสุรินทราชา เป็นชั้นที่ 2 [27] และเมื่อนับลำดับชั้นไปเรื่อยๆ ถึงปัจจุบัน มีผู้สืบสกุลลงไปถึงชั้นที่ 10 การสืบสกุลยึดถือตามหลักการสืบสกุลโดยทั่วไปตามพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 กล่าวคือ บุตรชายเป็นฝ่ายสืบสกุล ในขณะที่ฝ่ายหญิง เมื่อไปแต่งงานกับสกุลอื่น บุตรธิดาที่เกิดขึ้นจะไปใช้นามสกุลฝ่ายสามีผู้เป็นบิดา [28] เมื่อนับรวมลูกหลานผู้สืบสกุลทั้งหมดจึงมีอยู่เป็นจำนวนมาก จัดแยกไปแต่ละสายต่าง ๆ คือ สายหลวงเทพภักดี (นัน จันทโรจวงศ์), สายพระยาอภัยบริรักษ์ (เนตร จันทโรจวงศ์), สายหลวงศรีวรวัตร (พิณ จันทโรจวงศ์) และสายนายนิเวศ

อ้างอิง

แก้
  1. บทบาทของเจ้าพระยาสุรินทราชา(จันทร์ จันทโรจวงศ์)ข้าหลวงสำเร็จราชการหัวเมือง ฝั่งตะวันตก ระหว่าง พ.ศ. 2329-2350 วิไล พงศ์ภัทรกิจ [ลิงก์เสีย]
  2. นวะมะรัตน, ปวัตร์ (2020-10-15). "เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ ผู้พิทักษ์บัลลังก์บ้านพลูหลวง คนโปรดผู้นำ-ผิดก็ไม่โดนลงโทษ". ศิลปวัฒนธรรม.
  3. "คลองบางกอกใหญ่ จุลลดา ภักดีภูมินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-14. สืบค้นเมื่อ 2010-06-12.
  4. "ความสัมพันธ์ระหว่างพระราชวงศ์จักรี และวงศ์เมืองนครศรีธรรมราช นัดดา อิศรเสนา ณ อยุธยา หลานปู่เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว. เย็น อิศรเสนา)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-30. สืบค้นเมื่อ 2010-05-30.
  5. "เจ้าพระยามหาเสนา ปลี ทำเนียบเสนาบดี กระทรวงกลาโหม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-14. สืบค้นเมื่อ 2010-09-20.
  6. "เจ้าพระยาสุรินทรราชา ( จันทร์ จันทโรจวงศ์ )". phuketcity.info.
  7. พระยาพัทลุง (จุ้ย)[ลิงก์เสีย]
  8. จังหวัดพัทลุง-บุคคลสำคัญของท้องถิ่น [ลิงก์เสีย]
  9. "พระยาทุกขราษฎร์ จุลลดา ภักดีภูมินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-19. สืบค้นเมื่อ 2010-06-20.
  10. พระราชโอรส พระราชธิดาในพระเจ้าอยู่หัว โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์[ลิงก์เสีย]
  11. พระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ประสิทธิสงคราม ( เริก จันทโรจวงศ์ )สมบูรณ์ แก่นตะเคียน[ลิงก์เสีย]
  12. "ยศ บรรดาศักดิ์ และราชทินนาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-16. สืบค้นเมื่อ 2010-10-06.
  13. วังเจ้าเมืองพัทลุง สำนักศิลปากรที่ 14[ลิงก์เสีย]
  14. สนุกท่องเที่ยว ทริปเด็ดห้ามพลาด-วังเจ้าเมืองพัทลุง
  15. "มนต์ขลังแห่ง...วังเจ้าเมืองพัทลุง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-14. สืบค้นเมื่อ 2010-06-20.
  16. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 17 (ลำดับที่ 1365 ถึงลำดับที่ 1432)
  17. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตอน...หักคีมพม่าและเสือพบสิงห์ พลเรือเอก วสินธิ์ สาริกะภูติ
  18. "นามสกุลพระราชทานเรียงลำดับตามอักษร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-05. สืบค้นเมื่อ 2010-06-08.
  19. เจ้าพระยาสุรินทราชา(จันทร์ จันทโรจวงศ์)โดย สมบูรณ์ แก่นตะเคียน[ลิงก์เสีย]
  20. ประวัติศาสตร์จังหวัดพัทลุง [ลิงก์เสีย]
  21. วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ วังพัทลุง[ลิงก์เสีย]
  22. "วังเจ้าเมืองพัทลุง (วังเก่า-วังใหม่) อ.เมือง จ.พัทลุง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-07. สืบค้นเมื่อ 2010-06-20.
  23. "พัทลุง...เมืองหนังโนราห์ที่น่าเยือน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-20. สืบค้นเมื่อ 2010-10-11.
  24. "ศาสนาพราหมณ์ฮินดูในดินแดนสุวรรณภูมิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-19. สืบค้นเมื่อ 2010-06-09.
  25. "เจ้าพระยาบดินทรเดชา คลังปัญญาไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-17. สืบค้นเมื่อ 2010-06-09.
  26. โบสถ์พราหมณ์เทวสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดย รณธรรม ธาราพันธุ์[ลิงก์เสีย]
  27. หนังสือหายาก "ลำดับผู้สืบสายโลหิตโดยตรง จาก เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์) ต้นสกุล จันทโรจวงศ์" พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก ขุนอรรถวิบูลย์ (อัด จันทโรจวงศ์) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ วันพุธที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2528 [ลิงก์เสีย]
  28. "นามสกุล นงเยาว์ กาญจนจารี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-11. สืบค้นเมื่อ 2010-06-11.