สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ากลาง (24 เมษายน พ.ศ. 2362 - 1 กันยายน พ.ศ. 2429) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี[1] (พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทองสุก ซึ่งเป็นพระธิดาในพระเจ้าอินทวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์) พระองค์เป็นต้นราชสกุล มาลากุล และเป็นพระโสทรอนุชาใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ (ต้นราชสกุล อาภรณ์กุล) ทั้งสองราชสกุลจึงถือเป็นญาติใกล้ชิดกัน

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ามหามาลา
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2 เจ้าฟ้าชั้นเอก
กรมพระยาบำราบปรปักษ์
ผู้สำเร็จราชการในพระราชสำนักและพระคลังทั้งปวง
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมุหนายก
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2421 - 2429
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์)
ถัดไปเจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร)
ประสูติ24 เมษายน พ.ศ. 2362
สิ้นพระชนม์1 กันยายน พ.ศ. 2429 (67 ปี)
พระชายาและหม่อมพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบันเทิง
หม่อมทรัพย์
หม่อมกลีบ
พระบุตร11 พระองค์
ราชสกุลมาลากุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระมารดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี

พระประวัติ แก้

หลังทรงสำเร็จการศึกษา ทรงเข้ารับราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับราชการในกรมวัง ดูแลภายในพระบรมมหาราชวังและพิจารณาตัดสินคดีความ กรมพระคชบาล และกรมสังฆการีธรรมการ (ปัจจุบัน คือ กรมการศาสนา) ถึงปีกุน พ.ศ. 2394 ได้รับพระราชทานพระสุพรรณบัฏจารึกพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา อิศวราธิราชรวิวงศ์ บรมพงศ์ปฏิพัทธ์ บุรุษรัตน์วโรภโตสุชาติ บริษัทยนาถนรินทราธิบดี ให้ตั้งเจ้ากรมเป็นกรมหมื่นบำราบปรปักษ์[2] ทรงบังคับบัญชากรมพระภูษามาลาคลังวิเศษคลังข้างใน จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2410 มีพระบรมราชโองการให้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมผู้ใหญ่ชั้นกรมขุน ทรงศักดินา 50,000[3]

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการพร้อมกันสมมติให้เป็น ผู้สำเร็จราชการในพระราชสำนักและว่าพระคลังทั้งปวง ต่อมาทรงเป็นผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี ว่าราชการหัวเมืองต่างๆ และเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ ทรงเป็นประธานของพระบรมวงศานุวงศ์ ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2417 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ มหิศวรศักดิสุนทรรวิวงศ์ บรมพงศ์บริพัตรวิวัฒนยโสดม สรรพศิลปาคมอุดมกิจ พิฆเนศวรประสิทธิคชกรรมศาสตร โหรกลานุวาทกาพยปฏิภาณ สฤษฏิสรรพศุภการ สกลรักษฎาธิกิจปรีชาวตโยฬาร์ ยุติธรรมาทวาธยาศรัย ไตรศรีรัตนธาดา มหันตเดชานุภาพถบพิตร ทรงศักดิดา 50,000[4]

และในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2428 เลื่อนเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ มหิศวรศักดิสุนทรรวิวงศ์ บรมพงศ์บริพัตร วิวัฒนยโศดม สรรพศิลปาคมอุดมกิจ พิฆเนศวรประสิทธิคชกรรมศาสตร์ โหรกลานุวาทกาพยปฏิภาณ สฤษฏิศุภการสกลรักษฎาธิกิจ ปรีชาวตโยฬารสมบูรณคุณสารสุจริตจริยาภิรมย์ ราชพงศานุกรมมุขประดิษฐาสกลนราภิมานิต นริศราธิบดินทร์ ปรมินทรมหาราชวโรประการ ปรัชาชาญยุติธรรมาชวาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณคุณารักษ์ บรมอรรคมหาบุรุษยรัตนสุขุมาลกระษัตริย์วิสุทธิชาติ ธรรมิกนาถบพิตร ทรงศักดินา 60,000[5]

สิ้นพระชนม์ แก้

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ เริ่มประชวรมาตั้งแต่เดือน 8 ปีจอ อัฐศก (พ.ศ. 2429) มีพระอาการเสวยไม่ได้ บรรทมไม่หลับ ถึงวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พระอาการทรุดลง เสวยได้แต่พระกระยาหารต้มไม่เกินหนึ่งฝาเล็ก ได้พระโอสถแล้วพระอาการทรงมาจนถึงวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม ก็ทรุดลงอีก เสวยได้แต่น้ำพระกระยาหารต้ม ครึ่งฝาถ้วยเล็ก พระอาการทรุดลงเรื่อย ๆ ถึงวันอังคารที่ 31 สิงหาคม ทรงอ่อนเพลีย ประชวรพระนาภี ทรงหอบเป็นคราว ๆ พระเนตรมัว พระกรรณตึง จนกระทั่งวันพุธ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 10 ตรงกับวันที่ 1 กันยายน[6] ทรงหอบและเพลียมากขึ้น สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 4.25 น. สิริพระชันษา 67 ปี 130 วัน ช่วงบ่าย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์มาสรงน้ำพระศพ แล้วโปรดให้เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงพระลอง ตั้งบนแว่นฟ้า ประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่ เครื่องสูง 9 คัน ชุมสาย 4 คัน พระพิธีธรรม 8 รูป สวดพระอภิธรรมทั้งกลางวันกลางคืน[7] ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2430

พระโอรส-พระธิดา แก้

ทรงมีพระโอรสและพระธิดา จำนวน 11 พระองค์ กับพระชายา จำนวน 1 พระองค์ และหม่อมจำนวน 2 คน ดังนี้[8]

ประสูติแต่พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบันเทิง พระราชธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
ประสูติแด่หม่อมทรัพย์
  • หม่อมเจ้าประภากร มาลากุล ท.จ. (หม่อมเจ้าพระประภากรบวรวิสุทธิ์วงศ์) (ประสูติเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2398 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2445) เสกสมรสกับ หม่อมเสงี่ยม ทรงมีพระโอรส-พระธิดา จำนวน 4 คน ดังนี้
    • หม่อมราชวงศ์ชาย แท้ง เมื่อ พ.ศ. 2433
    • หม่อมราชวงศ์หญิงใหญ่ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2438 ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 7 ปี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงศรีประภา มาลากุล เกิดเมื่อ พ.ศ. 2443
    • หม่อมราชวงศ์ชาย มาลากุล (หม่อมราชวงศ์พระสังวรประสาธน์) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2445
  • หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2401)
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ มีพระนามเดิม หม่อมเจ้าอลังการ มาลากุล (ประสูติเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2404 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2479) ในรัชกาลที่ 5 ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ[9] เสกสมรสกับ หม่อมเล็ก จ.จ.[10] หม่อมเจิม ศรียาภัย หม่อมผาด หม่อมนวล หม่อมทรัพย์ และหม่อมถนอม ทรงมีพระโอรส-พระธิดา จำนวน 18 คน จากหม่อมทั้งหมดจำนวน 6 คน ดังนี้
ในหม่อมเล็ก
    • หม่อมราชวงศ์ณัฐสฤษดิ์ มาลากุล สมรสกับ นางบุญช่วย มีธิดา 2 คนดังนี้
      • หม่อมหลวงหญิงชวลิต ธรมธัช สมรสกับ ขุนเอนก ธรมธัช
      • หม่อมหลวงหญิงชุมนุม ประเสริฐศรี
    • หม่อมราชวงศ์ฐิตะไชย มาลากุล (เสียชีวิตตั้งแต่วัยหนุ่ม และไม่มีทายาท)
    • หม่อมราชวงศ์หญิงไขฉวี หาสตะนันทน์ สมรสกับ นาวาเอก หลวงประพรรดิ์จักรกิจ ราชนาวี (แสวง หาสตะนันท์) มีบุตร-ธิดา 8 คนดังนี้
      • นางวลีศิริ กรรณสูต
      • นายบำเรอ หาสตะนันทน์
      • นายสุขุม หาสตะนันทน์
      • นางนฤมนต์ (สวง) ศิขรินทร์ สมรสกับ นายอารีย์ ศิขรินทร์
      • นางวิบูลย์ศรี (สมบูรณ์) หาสตะนันทน์
      • นางวรรณา หาสตะนันทน์
      • นายแพทย์สรรเสริญ หาสตะนันทน์
    • หม่อมราชวงศ์ศรีธวัช มาลากุล สมรสกับ นางทองอยู่ ทัพชูวงศ์ มีบุตร-ธิดา 5 คน และนางถมยา มั่นมณี มีบุตร 3 คนดังนี้
      • หม่อมหลวงหญิงจรัสไข อัธยาศัยวิสุทธิ์ เกิดจากนางทองอยู่ สมรสกับ นายเชิด อัธยาศัยวิสุทธิ์
      • หม่อมหลวงหญิงอำไพนัต ภาคธูป เกิดจากนางทองอยู่ สมรสกับ นายพัว ภาคธูป
      • หม่อมหลวงฉัตรชัย มาลากุล เกิดจากนางทองอยู่ สมรสกับ นางสุคนธ์ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม โรจนะ)
      • นาวาเอก หม่อมหลวงไพบูลย์ มาลากุล ราชนาวี เกิดจากนางทองอยู่ สมรสกับ นาวาเอกหญิง พนิดา มาลากุล ณ อยุธยา ราชนาวี (สกุลเดิม จิตรสมัย)
      • หม่อมหลวงพูลศักดิ์ มาลากุล เกิดจากนางทองอยู่ สมรสกับ นางเพลินอารม มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม จิตต์ธรรม)
      • หม่อมหลวงภักดี มาลากุล เกิดจากนางถมยา
      • หม่อมหลวงปรีชา มาลากุล เกิดจากนางถมยา สมรสกับ นางชฎาภา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ภาคีทรง)
      • หม่อมหลวงมาโนช มาลากุล เกิดจากนางถมยา สมรสกับ นางสุวัฒนา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม รัศมีดิษฐ์)
    • หม่อมราชวงศ์พัฒนา มาลากุล สมรสกับ นางเหมย เดี่ยวเด่น มีบุตร-ธิดา 5 คน นางละม้าย ภูเดช มีบุตร-ธิดา 7 คน นางเที่ยง บ้านกลาง มีบุตร-ธิดา 6 คนดังนี้
      • หม่อมหลวงภมร มาลากุล เกิดจากนางเหมย
      • หม่อมหลวงพิมล มาลากุล เกิดจากนางเหมย สมรสกับ นางเล็ก มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม รัตนจักร)
      • หม่อมหลวงหญิงจงกล มาลากุล เกิดจากนางเหมย สมรสกับ นายประเสริฐ
      • หม่อมหลวงหญิงอุบล เสมรสุวรรณ เกิดจากนางเหมย สมรสกับ นายอุดม เสมรสุวรรณ
      • หม่อมหลวงวิฑูรย์ มาลากุล เกิดจากนางเหมย สมรสกับ นางถาวร
      • หม่อมหลวงโกสุม มาลากุล เกิดจากนางละม้าย สมรสกับ นางสุมิตรา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุคนธมัช)
      • หม่อมหลวงโกศล มาลากุล เกิดจากนางละม้าย สมรสกับ นางสุบิน
      • หม่อมหลวงพิศาล มาลากุล เกิดจากนางละม้าย สมรสกับ นางอัมพร มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศุภวารี)
      • หม่อมหลวงหญิงลมุน ศรานุชิต เกิดจากนางละม้าย สมรสกับ นายกังวาล ศรานุชิต
      • หม่อมหลวงหญิงดาราวรรณ ฤทธิรักษ์ เกิดจากนางละม้าย สมรสกับ นายชาลี ฤทธิรักษ์
      • หม่อมหลวงวุฒิไกร มาลากุล เกิดจากนางละม้าย สมรสกับ นางภัทราภรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ใหญ่ลำยอง)
      • หม่อมหลวงไพฑูรย์ มาลากุล เกิดจากนางละม้าย สมรสกับ นางวัลยา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กลิ่นกลั่น)
      • หม่อมหลวงโกมล มาลากุล เกิดจากนางเที่ยง สมรสกับ นางประชุม มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ทองอยู่)
      • หม่อมหลวงหญิงประยงค์ มาลากุล เกิดจากนางเที่ยง
      • หม่อมหลวงหญิงลัดดา ทองเล็ก เกิดจากนางเที่ยง สมรสกับ นายสวัสดิ์ ทองเล็ก
      • หม่อมหลวงหญิงทัศนา(มาลี) สุขตลอด เกิดจากนางเที่ยง สมรสกับ นายสนั่น สุขตลอด
      • หม่อมหลวงพิชัย มาลากุล เกิดจากนางเที่ยง
      • ร้อยตำรวจเอก หม่อมหลวงไตรทิพย์ มาลากุล เกิดจากนางเที่ยง สมรสกับ นางสมปอง
    • หม่อมราชวงศ์หญิงบรรจง มาลากุล สมรสกับ นายสุดจิตต์ เตมียสูตย์ มีธิดา 2 คน และกับนายแพทย์โพธิ์ นาคะเสถียร มีบุตร-ธิดา 2 คนดังนี้
      • เด็กหญิงชยิน เตมียสูตย์ เกิดกับนายสุดจิตต์
      • นางบัญญัติ เตมียสูตย์ เกิดกับนายสุดจิตต์
      • นายไพบูลย์ นาคะเสถียร เกิดกับนายแพทย์โพธิ์
      • นางรำพึง นาคพงษ์ เกิดกับนายแพทย์โพธิ์ สมรสกับ พันตำรวจเอก สุริยา นาคพงษ์ มีบุตร-ธิดา 4 คนดังนี้
        • นางไพรำ นาคพงษ์
        • นางสุภัทร นาคพงษ์
        • นายสุรยุทธ์ มาลากุล
        • นางรำไพพักตร์ มาลากุล
ในหม่อมเจิม ศรียาภัย
    • หม่อมราชวงศ์จรูญรัตน์ มาลากุล สมรสกับ นางสวัสดิ์ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม หทยานนท์) มีบุตร-ธิดา 2 คนดังนี้
      • นาวาเอก หม่อมหลวงเชาวรัตน์ มาลากุล สมรสกับ นางบวร มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม จันทรสูตร)
      • หม่อมหลวงหญิงเสรีรัตน์ บุณยเศรษฐ สมรสกับ นายเชาวลิต บุณยเศรษฐ
ในหม่อมผาด
    • หม่อมราชวงศ์ประเทือง มาลากุล สมรสกับ นางละออ มีบุตร-ธิดา 6 คน และนางสุภาพ มีธิดา 1 คนดังนี้
      • หม่อมหลวงประสพไชย มาลากุล เกิดจากนางละออ
      • หม่อมหลวงหญิงประสงค์ มาลากุล เกิดจากนางละออ
      • หม่อมหลวงหญิงประสิทธิ์ศรี เข้มบุญศรี เกิดจากนางละออ สมรสกับ นายจำลอง เข้มบุญศรี
      • หม่อมหลวงประสมศิลป์ มาลากุล เกิดจากนางละออ
      • หม่อมหลวงประจวบพันธ์ มาลากุล เกิดจากนางละออ
      • หม่อมหลวงประเสริฐศรี มาลากุล เกิดนางนางละออ
      • หม่อมหลวงหญิงประชุมพร มาลากุล เกิดจากนางสุภาพ
ในหม่อมนวล
    • หม่อมราชวงศ์หญิงแฉล้ม มาลากุล สมรสกับ พันตรี นายแพทย์หลวงฉัตรพลรักษ์ (ฉัตร พงศ์ศักดิ์) มีบุตร 1 คนดังนี้
      • นายฉัตรดนัย ฉัตรพลรักษ์ สมรสกับ นางสายสัมพันธ์ ฉัตรพลรักษ์ บุตรีเอกอัครราชทูตสุนทร สุวรรณสาร และนางจำนรรจ์ สุวรรณสาร (สกุลเดิม วสันตสิงห์) มีบุตร-ธิดา 2 คนดังนี้
        • นางสาวกัญญาภิรมย์ (อาภาภิรมย์) ฉัตรพลรักษ์
        • นายพิชญ ฉัตรพลรักษ์
ในหม่อมทรัพย์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงชลอ มาลากุล
ในหม่อมถนอม
    • หม่อมราชวงศ์หญิงแข เชื้อสุวรรณ สมรสกับ นายรัตน เชื้อสุวรรณ มีธิดา 1 คนดังนี้
      • นางลิขิต ชัยพินิจ สมรสกับ นายวินัย ชัยพินิจ
    • หม่อมราชวงศ์ประยูร มาลากุล สมรสกับ นางสว่าง วรรณมิตร มีธิดา 1 คน นางสีนวล มาลากุล มีบุตร-ธิดา 4 คน และนางอุทัย มีบุตร 1 คนดังนี้
      • หม่อมหลวงหญิงเสถียร แจ่มจันทร์ เกิดจากนางสว่าง สมรสกับ นายบุญลือ แจ่มจันทร์
      • หม่อมหลวงอุทัย มาลากุล เกิดจากนางสีนวล สมรสกับ นางบุญสม มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม มณฑาลพ)
      • หม่อมหลวงประทีป มาลากุล เกิดจากนางสีนวล สมรสกับ นางรวม มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สาเจริญ) มีบุตร-ธิดา 2 คนดังนี้
        • นายธนาพชร มาลากุล
        • นางสุนันทา มาลากุล สมรสกับ นายอำนาจ โสมากุล มีบุตร-ธิดา 3 คนดังนี้
          • นางสาวนงลักษณ์ มาลากุล
          • เด็กชายคุณานนท์ มาลากุล
          • เด็กหญิงจันทิมา มาลากุล
      • หม่อมหลวงบุญเทียม มาลากุล เกิดจากนางสีนวล สมรสกับ นางสมปอง
      • หม่อมหลวงหญิงสัญญาลักษณ์ เทียนทอง เกิดจากนางสีนวล สมรสกับ นายพิมล เทียนทอง
      • หม่อมหลวงประทีบ มาลากุล เกิดจากนางอุทัย
    • หม่อมราชวงศ์สมพงษ์ มาลากุล สมรสกับ นางประทุม มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศรีใหม่) มีบุตร-ธิดา 7 คนดังนี้
      • หม่อมหลวงหญิงสมทบ นามสว่าง สมรสกับ นายบุญมา นามสว่าง
        • นางสาวพนิตตา นามสว่าง
      • หม่อมหลวงหญิงสายปัญญา จิรวรรณธร สมรสกับ นายวิเชียร จิรวรรณธร
        • นางสาววรรณธร จิรวรรณธร
        • นางจิรวรรณ จิรวรรณธร
        • นางสาวส่องศรี จิรวรรณธร
      • หม่อมหลวงสุพจน์ มาลากุล
      • หม่อมหลวงสัมพันธ์ มาลากุล สมรสกับ นางปราณีต
      • หม่อมหลวงสกุล มาลากุล สมาชิกวุฒิสภา[11] สมรสกับ นางอ้อมจิตต์ มาลากุล ณ อยุธยา
        • นางสาวจารุเนตร มาลากุล ณ อยุธยา
        • เด็กหญิงอรชพร มาลากุล ณ อยุธยา
      • หม่อมหลวงหญิงกรุณา วงษ์พันธ์ สมรสกับ เรือโท ไพบูลย์ วงษ์พันธ์
        • นายมานพ มาลากุล ณ อยุธยา
        • นางสาวพิชญา วงษ์พันธ์
      • หม่อมหลวงปกป้อง มาลากุล สมรสกับ นางวันเพ็ญ มาลากุล ณ อยุธยา
        • นางสาวปัญจพร มาลากุล ณ อยุธยา
        • นางสาวปรียาพร มาลากุล ณ อยุธยา
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสมถวิล เขียวลายเลิศ สมรสกับ นายประธาน เขียวลายเลิศ มีธิดา 1 คนดังนี้
      • นางรุ่งเรือง เขียวลายเลิศ
    • หม่อมราชวงศ์เจริญ มาลากุล สมรสกับ นางสำเนียง มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม เปรมสมิทธ์) มีบุตร-ธิดา 9 คนดังนี้
      • หม่อมหลวงณรงค์ มาลากุล สมรสกับ นางทองดี มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม คำดวง) มีบุตร 3 คนดังนี้
        • นายดิเรก มาลากุล ณ อยุธยา
        • นายวิรัตน์ มาลากุล ณ อยุธยา
        • นายธงชัย มาลากุล ณ อยุธยา
      • ร้อยตรี หม่อมหลวงปรีชา มาลากุล สมรสกับ นางเบญจมาศ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุขโข) มีบุตร 3 คนดังนี้
        • นายปัญญพัฒน์ มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ นางสาวอรัญญา เดชาละมัย
        • นายปรัชญา มาลากุล ณ อยุธยา
        • สิบเอก ปริญญา มาลากุล ณ อยุธยา
      • หม่อมหลวงบรรจบ มาลากุล สมรสกับ นางสุกัญญา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม นิยมจันทร์) มีธิดา 4 คนดังนี้
        • นางสาวสุจิรา มาลากุล ณ อยุธยา
        • นางสาวจุติพร มาลากุล ณ อยุธยา
        • นางสาวนฤมล มาลากุล ณ อยุธยา
        • ด.ญ.จิตรานุช มาลากุล ณ อยุธยา
      • หม่อมหลวงหญิงศรีประจันทร์ มาลากุล
      • หม่อมหลวงหญิงศรีสุดา มาลากุล
      • ร้อยโท หม่อมหลวงศักดา มาลากุล สมรสกับ นางศรีนวล มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม พึ่งพา) มีบุตร 3 คนดังนี้
        • นายภานุพงศ์ มาลากุล ณ อยุธยา
        • นายจิรวัฒน์ มาลากุล ณ อยุธยา
        • นายจิรวุฒิ มาลากุล ณ อยุธยา
      • หม่อมหลวงหญิงสุทิน อรรถปักษ์ สมรสกับ นายราเชษฐ์ อรรถปักษ์ มีธิดา 1 คนดังนี้
        • ด.ญ.สวรรญา อรรถปักษ์
      • หม่อมหลวงประชา มาลากุล สมรสกับ นางวันเพ็ญ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม อำไพโชติ) มีบุตร 1 คนดังนี้
        • นายเกรียงไกร มาลากุล ณ อยุธยา
      • หม่อมหลวงหญิงสมจิตร พัฒนา สมรสกับ จ่าสิบเอก ศุภกิตติ์ พัฒนา มีบุตร 1 คนดังนี้
        • นายสัญฐิติ พัฒนา
    • หม่อมราชวงศ์หญิงขจิตร์ เจริญชื่น สมรสกับ ร้อยตรี เดชา เจริญชื่น มีบุตรธิดา 2 คนดังนี้
      • นางพรรณงาม สัพพะเลข สมรสกับ นายจำรัส สัพพะเลข
      • นายชาคริต เจริญชื่น
    • หม่อมราชวงศ์หญิงละเวียด ปานไหล่ สมรสกับ นายศิริ ปานไหล่ มีบุตรธิดา 3 คนดังนี้
      • นายนคร ปานไหล่
      • นายอดิศร ปานไหล่
      • นางสุดสนอง ปานไหล่
  • หม่อมเจ้าหญิงเล็ก มาลากุล (พระราชทานเพลิง ณ วัดราชสิทธาราม พ.ศ. 2410)
ประสูติแด่หม่อมกลีบ
  • หม่อมเจ้าหญิงใหญ่ มาลากุล (ประสูติ พ.ศ. 2384 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2434 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ)
  • พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ มีพระนามเดิม หม่อมเจ้าขจร มาลากุล (ประสูติเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2386 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2441) เสกสมรสกับ หม่อมเปี่ยม หม่อมจับ หม่อมทับ หม่อมเพิ่ม หม่อมสุ่น หม่อมกลิ่น หม่อมกลั่น และหม่อมอิน ทรงมีพระโอรส-พระธิดา จำนวน 11 คน จากหม่อมทั้งหมดจำนวน 8 คน หม่อมราชวงศ์ทั้ง 11 คน มีชื่อขึ้นต้นด้วย ป ปลา ตามพระนามกรมของพระองค์ เป็นอักษรพยางค์เดียวทั้งหมด
ในหม่อมเปี่ยม
    • เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) สมรสกับ ท่านผู้หญิงเสงี่ยม วสันตสิงห์ มีบุตร-ธิดา 8 คน นางเลื่อน ศิวานนท์ มีบุตร 1 คน และนางเจียร ลักษณบุตร มีธิดา 1 คน
      • หม่อมหลวงหญิงปก มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
      • หม่อมหลวงหญิงป้อง มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
      • หม่อมหลวงหญิงปอง เทวกุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม สมรสกับ หม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ เทวกุล มีบุตรธิดา 3 คน
        • หม่อมราชวงศ์เอกสุรวุฒิ เทวกุล สมรสกับ หม่อมราชวงศ์สอางค์ศรี เทวกุล(ศุขสวัสดิ) มีบุตรธิดา 7 คน
        • ศาสตราจารย์ ดร.แพทย์หญิง หม่อมราชวงศ์กันยิกา เทวกุล
        • หม่อมราชวงศ์พุฒิเทพ เทวกุล สมรสกับนางอัมพา เทวกุล ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 4 คน
      • หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม สมรสกับ ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ไกรฤกษ์)
      • หม่อมหลวงหญิงเปนศรี มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
      • หม่อมหลวงหญิงเปี่ยมสิน มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
      • หม่อมหลวงปนศักดิ์ มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
      • หม่อมหลวงหญิงปานตา วสันตสิงห์ เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม สมรสกับ นายเมืองเริง วสันตสิงห์ มีบุตร 1 คน ดังนี้
      • หม่อมหลวงประวัติ มาลากุล เกิดจากนางเลื่อน
      • หม่อมหลวงหญิงนกน้อย มาลากุล เกิดจากนางเจียร สมรสกับ พันเอก นายแพทย์ชุบ กาญจนลักษณ์
ในหม่อมจับ
ในหม่อมทับ
    • ท้าววรคณานันท์ (เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ปั้ม ในรัชกาลที่ 5)
    • เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) สมรสกับ เจ้าหญิงฟองแก้ว ณ เชียงใหม่ มีบุตร 1 คน ท่านผู้หญิงนงเยาว์ อมาตยกุล มีบุตร-ธิดา 8 คน และนางวงศ์ บุณยะรังคะ มีบุตร-ธิดา 3 คน
      • หม่อมหลวงเทียม มาลากุล (หลวงมาลากุลวิวัฒน) เกิดจากเจ้าหญิงฟองแก้ว ณ เชียงใหม่
      • หม่อมหลวงหญิงศิริปทุม มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
      • หม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์ สมรสกับ นางชนัฏ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กาญจนะวณิชย์) มีบุตร-ธิดา 5 คน ดังนี้
        • นางสาวปนัดดา มาลากุล ณ อยุธยา
        • นายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ ท่านผู้หญิงอารียา มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร 1 คน ดังนี้
          • นายธรรมา มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ ทันตแพทย์หญิงอตินุช มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ลัดพลี)
        • พลเอก แป้ง มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ คุณหญิงศิริรัตน์ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม เอื้อวิทยา)
        • คุณหญิงทิพยวดี ปราโมช ณ อยุธยา สมรสกับ หม่อมหลวงเสรี ปราโมช
        • นางทับทิม มาลากุล เลน สมรสกับ นายอลาสแตร์ เลน (Alastair Lane) ชาวอังกฤษ มีธิดา 1 คน ดังนี้
      • หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์ สมรสกับ นางอารี มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ ป้อมเพ็ชร)
      • หม่อมหลวงปืนไทย มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์ สมรสกับ นางศรียา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
      • หม่อมหลวงหญิงประสาธะนี บูรณศิริ เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์ สมรสกับ นายประยูร บูรณศิริ
      • หม่อมหลวงประสันน์ มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
      • หม่อมหลวงหญิงประทิน มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
      • หม่อมหลวงปม มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
      • หม่อมหลวงหญิงหวีด ภิญโญ เกิดจากนางวงศ์ บุญยะรังคะ สมรสกับ นายเพิ่ม ภิญโญ
      • หม่อมหลวงกวิน มาลากุล เกิดจากนางวงศ์ บุญยะรังคะ
      • หม่อมหลวงหญิงหวิว มาลากุล เกิดจากนางวงศ์ บุญยะรังคะ สมรสกับ นายปทุม หลิมรัตน์
    • เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้ว ในรัชกาลที่ 5
ในหม่อมเพิ่ม
    • ท้าวสมศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์ปุย มาลากุล)
ในหม่อมสุ่น
    • หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป. มาลากุล (หม่อมราชวงศ์โป้ย มาลากุล) สมรสกับ คุณหญิงเนื่อง มีบุตร 1 คน คุณหญิงเผื่อน บุนนาค มีบุตร-ธิดา 9 คน นางผัน มีธิดา 1 คน นางเล็ก มีบุตร-ธิดา 7 คน ดังนี้
      • หม่อมหลวงปีย์ มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเนื่อง ข้าราชบริพารในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
      • หม่อมหลวงหญิงปุณฑริก ชุมสาย เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ นายธวัช ชุมสาย ณ อยุธยา
      • หม่อมหลวงปัณยา มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
      • หม่อมหลวงปิลันธ์ มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณหญิงสุภา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม รัตโนภาส)
      • หม่อมหลวงหญิงปานีย์ เพ็ชรไทย เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ นายธรรมนูญ เพ็ชรไทย
      • หม่อมหลวงหญิงปฤศนี ศรีศุภอรรถ เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ ร้อยตรี จรินทร์ ศรีศุภอรรถ
      • หม่อมหลวงหญิงปัทมาวดี มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
      • หม่อมหลวงหญิงปารวดี กันภัย เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ นายประจวบ กันภัย
      • หม่อมหลวงหญิงปราลี ประสมทรัพย์ เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ นายเลิศ ประสมทรัพย์
      • หม่อมหลวงโปรพ มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
      • หม่อมหลวงหญิงปาริชาติ มาลากุล เกิดจากนางผัน
      • หม่อมหลวงหญิงปยง ธชาศรี เกิดจากนางเล็ก
      • หม่อมหลวงปกิต มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
      • หม่อมหลวงปรคำ มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
      • หม่อมหลวงหญิงปทุมมาลย์ มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
      • หม่อมหลวงปฐม มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
      • หม่อมหลวงปริต มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
      • หม่อมหลวงปคุณ มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
ในหม่อมกลิ่น
    • พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) สมรสกับ คุณหญิงเพี้ยง ประทีปเสน มีบุตร-ธิดา 6 คน นางจำนวน บุนนาค มีบุตร-ธิดา 3 คน คุณหญิงบัญญัติ บุนนาค มีบุตร-ธิดา 2 คน ดังนี้
      • หม่อมหลวงหญิงปลื้มใจ บุนนาค เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง สมรสกับ หลวงไพรัชพากย์ภักดี (จริง บุนนาค)
      • หม่อมหลวงปัทม์ มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง
      • หม่อมหลวงหญิงปฤถา มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง สมรสกับ นายปราโมท ศิขรินทร์
      • หม่อมหลวงหญิงปิยา มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง
      • หม่อมหลวงประกุล มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง สมรสกับ นางชวนพิศ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม นิมิหุต)
      • หม่อมหลวงหญิงประอร มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง นางสนองพระโอษฐ์ใน สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 สมรสกับ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ มีบุตร 2 คน และกับ ร้อยเอก หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์
      • หม่อมหลวงประสพศิลป์ มาลากุล เกิดจากนางจำนวน สมรสกับ นางรัตนา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม เสมาทอง)
      • หม่อมหลวงหญิงปลุกปลื้ม ศรีประเสริฐ เกิดจากนางจำนวน สมรสกับ พลอากาศเอก วีระ ศรีประเสริฐ
      • หม่อมหลวงปราการ มาลากุล เกิดจากนางจำนวน
      • หม่อมหลวงหญิงปริญญา อัศวอารีย์ เกิดจากคุณหญิงบัญญัติ สมรสกับ นายสุรินทร์ อัศวอารีย์
      • หม่อมหลวงหญิงประกาย พิจารณ์จิตร เกิดจากคุณหญิงบัญญัติ สมรสกับ นาวาเอก อัมพร พิจารณ์จิตร ราชนาวี
ในหม่อมกลั่น
    • หม่อมราชวงศ์เปี๊ยะ มาลากุล
ในหม่อมอิน
    • หม่อมราชวงศ์ปีก มาลากุล
  • หม่อมเจ้าหญิงปุก มาลากุล (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 พระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2455)

พระเกียรติยศ แก้

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ แก้

  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากลาง (24 เมษายน พ.ศ. 2362 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367)[12]
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากลาง (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2394)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา (พ.ศ. 2394 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2410)
    • เจ้ากรม-หมื่นบำราบปรปักษ์
    • ปลัดกรม-หมื่นพิทักษ์พลพยุห์
    • สมุห์บาญชี-หมื่นบันลุอักษรศาสตร์
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์ (9 สิงหาคม พ.ศ. 2410 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
    • เจ้ากรม-ขุนบำราบปรปักษ์ (ศักดินา 800)
    • ปลัดกรม-หมื่นพิทักษ์พลพยุห์ (ศักดินา 600)
    • สมุห์บาญชี-หมื่นบันลุอักษรศาสตร์ (ศักดินา 300)
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 20 เมษายน พ.ศ. 2417)[13]
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ (20 เมษายน พ.ศ. 2417 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2428)
    • เจ้ากรม-พระบำราบปรปักษ์ (ศักดินา 800)
    • ปลัดกรม-หลวงพิทักษ์พลพยุห์ (ศักดินา 600)
    • สมุห์บาญชี-ขุนบันลุอักษรศาสตร์ (ศักดินา 400)
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ (12 ธันวาคม พ.ศ. 2428 - 1 กันยายน พ.ศ. 2429)
    • เจ้ากรม-พระยาบำราบปรปักษ์ (ศักดินา 1600)
    • ปลัดกรม-พระพิทักษ์พลพยุห์ (ศักดินา 800)
    • สมุห์บาญชี-หลวงบันลุอักษรศาสตร์ (ศักดินา 400)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 3 (23): 192. 8 ตุลาคม 2429. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1, หน้า 103
  3. จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1, หน้า 156
  4. จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1, หน้า 201
  5. จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1, หน้า 265-266
  6. ราชสกุลวงศ์, หน้า 35
  7. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 3 (24): 192. 15 ตุลาคม 2429. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  9. "สถาปนาพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอลังการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-15. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.
  10. จตุตถจุลจอมเกล้า
  11. "แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-18. สืบค้นเมื่อ 2022-04-20. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  12. "สตรีผู้เป็นที่รักของพระเจ้าอยู่หัว ตอน เจ้าฟ้ากุณฑล บุษบาแห่งรัชกาลที่ 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-22. สืบค้นเมื่อ 2021-04-22.
  13. ๒๗๔ ประกาศเลื่อน กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ แลกรมหมื่นราชสีหวิกรม เปนกรมขุน แลทรงตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ เปนกรมขุน
บรรณานุกรม