พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์
นายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ (3 กันยายน พ.ศ. 2386 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2441) พระนามเดิม หม่อมเจ้าขจร อดีตผู้บัญชาการกรมทหารเรือ และทรงเป็นผู้บัญชาการกรมทหารเรือในสงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในกรณีพิพาท ร.ศ. 112 อีกด้วย
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ | |
---|---|
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 2 พระองค์เจ้าชั้นตรี | |
![]() | |
ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง | 15 เมษายน พ.ศ. 2433 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2441 |
ก่อนหน้า | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ |
ถัดไป | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ |
หม่อม | 8 คน |
บุตร | 11 คน |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ |
พระมารดา | หม่อมกลีบ มาลากุล ณ อยุธยา |
ประสูติ | 3 กันยายน พ.ศ. 2386 |
สิ้นพระชนม์ | 25 มีนาคม พ.ศ. 2441 (54 ปี) |
รับใช้ | กองทัพเรือสยาม |
---|---|
ชั้นยศ | ![]() |
พระประวัติแก้ไข
พระนามเดิม หม่อมเจ้าขจร เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ประสูติแต่หม่อมกลีบ มาลากุล ณ อยุธยา ต่อมาทรงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ จากนั้นในปี พ.ศ. 2428 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็นผู้กำกับกรมช่างสิบหมู่ สืบต่อจาก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ที่สิ้นพระชนม์[1]กรมพระคชบาล เป็นผู้ออกแบบสร้างพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ เป็นพลับพลาแบบจตุรมุข เพื่อเป็นที่ประทับในคราวเสด็จประพาสต้น เมื่อปี พ.ศ. 2433 ประดิษฐานอยู่ที่ถ้ำพระยานคร ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ประจวบคีรีขันธ์ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาทรงยกช่อฟ้าด้วยพระองค์เอง
พระองค์รับราชการในหน้าที่ต่าง ๆ จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์[2]
นายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ กรมหมืนปราบปรปักษ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2441 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนรถพระที่นั่ง มีทหารม้าแห่นำเสด็จไปพระราชทานน้ำสรงพระศพ แล้วพระบรมวงษานุวงษ์ได้สรงพระศพต่อไป แล้วเจ้าพนักงานแต่งพระศพเชิญพระศพลงในพระลองใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสวมชฎาพระราชทาน แล้วยกพระลองในพระศพขึ้นประดิษฐานเหนือแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบพระโกศกุดั่นน้อย แวดล้อมด้วยเครื่องสูง 9 คัน แล้วทรงทอดผ้าไตร 30 ไตร ผ้าขาว 60 พับ พระสงฆ์สดับปกรณ์แล้วถวายอนุโมทนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับ
และเมื่อครั้งพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ ประชวรอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพระอาการประชวรด้วย[3]
พระโอรส-พระธิดาแก้ไข
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ ทรงมีโอรส-ธิดา จำนวน 11 คน จากหม่อมจำนวน 8 คน หม่อมราชวงศ์ทั้ง 11 คน มีชื่อขึ้นต้นด้วย ป ปลา ตามพระนามกรมของพระองค์ เป็นอักษรพยางค์เดียวทั้งหมด
- หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล (เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี) เกิดจากหม่อมเปี่ยม
- หม่อมหลวงปก มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
- หม่อมหลวงปอง เทวกุล (สมรสกับ หม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ เทวกุล) เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
- หม่อมหลวงเปนศรี มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
- หม่อมหลวงเปนศักดิ์ มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
- หม่อมหลวงป้อง มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
- หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
- หม่อมหลวงเปี่ยมสิน มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
- หม่อมหลวงปานตา วสันตสิงห์ (สมรสกับ นายเมืองเริง วสันตสิงห์) เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
- หม่อมหลวงนกน้อย มาลากุล เกิดจากคุณเจียร ลักษณะบุตร
- หม่อมหลวงประวัติ มาลากุล เกิดจากคุณเลื่อน ศิวานนท์
- หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล (เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี) เกิดจากหม่อมทับ
- หม่อมหลวงเทียม มาลากุล (หลวงมาลากุลวิวัฒน์) เกิดจากเจ้าหญิงฟองแก้ว ณ เชียงใหม่
- หม่อมหลวงศิริปทุม มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
- หม่อมหลวงปม มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
- หม่อมหลวงประทิน มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
- หม่อมหลวงประสันน์ มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
- หม่อมหลวงประสาธะนี บูรณศิริ (สมรสกับ นายประยูร บูรณศิริ) เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
- หม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
- นางสาวปนัดดา มาลากุล ณ อยุธยา
- นายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา
- พลเอก แป้ง มาลากุล ณ อยุธยา
- คุณหญิงทิพยวดี ปราโมช ณ อยุธยา (สมรสกับ หม่อมหลวงเสรี ปราโมช)
- นางทับทิม มาลากุล เลน
- หม่อมหลวงปืนไทย มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
- หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
- หม่อมหลวงกวิน มาลากุล เกิดจากคุณวงศ์ บุญยะรังคะ
- หม่อมหลวงหวิว มาลากุล เกิดจากคุณวงศ์ บุญยะรังคะ
- หม่อมหลวงหวีด มาลากุล เกิดจากคุณวงศ์ บุญยะรังคะ
- หม่อมราชวงศ์หญิงแป้น มาลากุล เกิดจากหม่อมจับ ถวายตัวเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5
- หม่อมราชวงศ์หญิงปั้ม มาลากุล เกิดจากหม่อมทับ ถวายตัวเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5
- หม่อมราชวงศ์หญิงแป้ม มาลากุล เกิดจากหม่อมจับ ถวายตัวเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5
- หม่อมราชวงศ์หญิงแป้ว มาลากุล เกิดจากหม่อมทับ ถวายตัวเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5
- หม่อมราชวงศ์หญิงปุย มาลากุล เกิดจากหม่อมเพิ่ม
- หม่อมราชวงศ์โป้ย มาลากุล (พระยาเทวาธิราช) เกิดจากหม่อมสุ่น
- หม่อมหลวงปีย์ มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเนื่อง
- หม่อมหลวงปุณฑริก ชุมสาย (สมรสกับ นายธวัช ชุมสาย ณ อยุธยา) เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
- หม่อมหลวงปัณยา มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
- หม่อมหลวงปิลันธ์ มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
- หม่อมหลวงปานีย์ เพ็ชรไทย (สมรสกับ นายธรรมนูญ เพ็ชรไทย) เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
- หม่อมหลวงปฤศนี ศรีศุภอรรถ (สมรสกับ ร้อยตรี จรินทร์ ศรีศุภอรรถ) เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
- หม่อมหลวงปัทมาวดี มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
- หม่อมหลวงปารวดี กันภัย (สมรสกับ นายประจวบ กันภัย) เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
- หม่อมหลวงปราลี ประสมทรัพย์ (สมรสกับ นายเลิศ ประสมทรัพย์) เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
- หม่อมหลวงโปรพ มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
- หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล (พระยาชาติเดชอุดม) เกิดจากหม่อมกลิ่น
- หม่อมราชวงศ์เปี๊ยะ มาลากุล เกิดจากหม่อมกลั่น
- หม่อมราชวงศ์ปีก มาลากุล เกิดจากหม่อมอิน
พระเกียรติยศแก้ไข
พระอิสริยยศแก้ไข
- หม่อมเจ้าขจร (3 กันยายน พ.ศ. 2386 – พ.ศ. 2424)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ (พ.ศ. 2424 – พ.ศ. 2439)
- พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ (พ.ศ. 2439 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2441)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า) [4]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศแก้ไข
- พ.ศ. 2432 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ฟรันทซ์ โยเซ็ฟ ชั้นที่ 2 จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี[5]
- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์แอน ชั้นที่ 1 ประเทศรัสเซีย[6]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ข่าวราชการพระราชพิธีสารท (หน้า ๓๘๑)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศการสถาปนา พระเจ้าน้องยาเธอ พระวรวงษ์เธอ เปนต่างกรม แลสถาปนา หม่อมเจ้าเปนพระองคเจ้า แลเลื่อนตำแหน่งยศข้าราชการผู้ใหญ่, เล่ม ๑๓, ตอน ๑, ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๙, หน้า ๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ข่าวการสิ้นพระชนม์ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2439/001/24.PDF
- ↑ "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออสเตรีย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 6 (ตอน 21): หน้า 175. 25 สิงหาคม 2432. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์รุสเซีย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 8 (ตอน 46): หน้า 414. 7 กุมภาพันธ์ 2434. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help)
ก่อนหน้า | พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ | ผู้บัญชาการทหารเรือ (15 เมษายน พ.ศ. 2433 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2441) |
นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ |