จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

อดีตรัฐจักรวรรดิในทวีปยุโรปกลาง (ค.ศ. 1867–1918)
(เปลี่ยนทางจาก ออสเตรีย-ฮังการี)

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี[a] รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (อังกฤษ: Austria-Hungary) เป็นรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเป็นมหาอำนาจในยุโรปกลาง[b] ที่ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1867 ถึง ค.ศ. 1918[7][8] จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้รับการสถาปนาขึ้นจากการประนีประนอมระหว่างออสเตรียและฮังการี ใน ค.ศ. 1867 และถูกยุบหลังจากที่จักรวรรดิออสเตรีย–ฮังการีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ราชาธิปไตยออสเตรีย-ฮังการี

Österreich-Ungarn Monarchie (เยอรมัน)
Osztrák–Magyar Monarchia (ฮังการี)
ค.ศ. 1867–1918
เพลงชาติก็อทเอไฮล์ ก็อทเบชลุส์
("พระเจ้าจักปกปักษ์ พระเจ้าจักคุ้มครอง")
  ซิสไลทาเนีย หรือ “ออสเตรีย”
เมืองหลวงเวียนนา[1] (ออสเตรีย)
บูดาเปสต์ (ฮังการี)
เมืองใหญ่สุดเวียนนา
ภาษาราชการ
ภาษาอื่นๆ:
เช็ก, โปแลนด์, รูทีเนีย, โรมาเนีย, เซอร์เบีย, สโลวัก, สโลวีเนีย, อิตาลี, โรมานี (สำเนียงคาร์เพเทีย), ยิดดิช,[4] และอื่น ๆ (ฟรียูลี, อิสเตรีย-โรมาเนีย, ลาดิน)
ศาสนา
(การสำมโนประชากร ค.ศ. 1910[5])
เดมะนิมชาวออสเตรียฮังการี
การปกครองราชาธิปไตยคู่
จักรพรรดิ-กษัตริย์ 
• ค.ศ. 1867–1916
ฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1
• ค.ศ. 1916–1918
คาร์ลที่ 1 และ 4
มุขมนตรีออสเตรีย 
• ค.ศ. 1867 (คนแรก)
ฟรีดริช แฟร์ดีนันท์ ฟ็อน บ็อยซท์
• ค.ศ. 1918 (ตนสุดท้าย)
ไฮน์ริช ลัมมัช
นายกรัฐมนตรีฮังการี 
• ค.ศ. 1867–1871 (คนแรก)
ดยุลอ นอดราชี
• ค.ศ. 1918 (คนสุดท้าย)
ยานอช ฮาดิก
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2 แห่ง
สภาขุนนาง
สภาผู้แทนราษฎร
สภาผู้ทรงอิทธิพล
สภาผู้แทนราษฎร
ยุคประวัติศาสตร์
30 มีนาคม ค.ศ. 1867
7 ตุลาคม ค.ศ. 1879
6 ตุลาคม ค.ศ. 1908
28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914
28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914
31 ตุลาคม ค.ศ. 1918
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
10 กันยายน ค.ศ. 1919
4 มิถุนายน ค.ศ. 1920
พื้นที่
ค.ศ. 1905[6]621,538 ตารางกิโลเมตร (239,977 ตารางไมล์)
สกุลเงิน
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิออสเตรีย
สาธารณรัฐออสเตรียที่หนึ่ง
(รัฐผู้สืบทอดโดยชอบธรรม)
ราชอาณาจักรฮังการี
(รัฐผู้สืบทอดโดยชอบธรรม)
สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่หนึ่ง
(รัฐผู้สืบทอดทางดินแดน)
สาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง
(รัฐผู้สืบทอดทางดินแดน)
ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
(รัฐผู้สืบทอดทางดินแดน)
ราชอาณาจักรโรมาเนีย
(รัฐผู้สืบทอดทางดินแดน)
ราชอาณาจักรอิตาลี
(รัฐผู้สืบทอดทางดินแดน)

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีถูกปกครองด้วยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค และถือเป็นระยะสุดท้ายในวิวัฒนาการทางรัฐธรรมนูญของราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเป็นจักรวรรดิพหุชนชาติและเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของทวีปยุโรปในเวลานั้น ในด้านภูมิศาสตร์ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากจักรวรรดิรัสเซีย โดยมีพื้นที่ 621,538 ตารางกิโลเมตร (239,977 ตารางไมล์)[6] และเป็นจักรวรรดิที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสาม (รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน) จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้สร้างอุตสาหกรรมด้านการผลิตเครื่องจักรที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่สี่ รองจากสหรัฐ เยอรมนี และสหราชอาณาจักร[9] นอกจากนี้ยังเป็นจักรวรรดิที่ผลิตและส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในภาคอุตสาหกรรม และเครื่องผลิตไฟฟ้าสำหรับโรงงานไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสาม รองจากสหรัฐและจักรวรรดิเยอรมัน[10][11]

แกนกลางที่แท้จริงอองเตรีย–ฮังการี คือระบอบราชาธิปไตยคู่ซึ่งเป็นสหภาพที่มีองค์การร่วมกันระหว่างซิสไลทาเนีย ซึ่งมีพื้นที่อยู่ที่ฟากตะวันตกและฟากเหนือของอดีตจักรวรรดิออสเตรีย และราชอาณาจักรฮังการี ภายหลังการปฏิรูป ค.ศ. 1867 รัฐออสเตรีย และฮังการีก็มีอำนาจอย่างเท่าเทียมกัน รัฐทั้งสองดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศ ด้านการกลาโหม และด้านการคลังอย่างร่วมกัน ในขณะที่คณะรัฐมนตรีของรัฐต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดในจักรวรรดิก็ได้รับการแบ่งแยกการบริหารซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปภายในแต่ละรัฐ โดยที่องค์ประกอบที่สามของสหภาพคือราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนีย ซึ่งเป็นภูมิภาคปกครองตนเองที่อยู่ภายใต้ราชบัลลังก์ฮังการี ซึ่งได้รับการเจรจาโดยความตกลงโครเอเชีย–ฮังการี ใน ค.ศ. 1868 ภายหลัง ค.ศ. 1878 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองร่วมทั้งด้านการพลเรือนและด้านการทหารของออสเตรียและฮังการี[12] จนกระทั่งบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาถูกผนวกอย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1908 ซึ่งทำให้วิกฤตการณ์บอสเนียเกิดขึ้นท่ามกลางความไม่พอใจของมหาอำนาจอื่น ๆ[13]

จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกราชวงศ์ฮาพส์บวร์คปกครองมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิออสเตรีย และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะพระมหากษัตริย์ฮังการี ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน

ชื่อและศัพทบัญญัติ

แก้
 
เหรียญเงิน: ราคา 5 โคโรนา ใน ค.ศ. 1908 ประกอบไปด้วยพระบรมรูปปั้นครึ่งพระองค์ของจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซ็ฟที่ 1 ทรงหันพระพักตร์ไปทางขวา ล้อมรอบด้วยคำจารึกว่า "ด้วยอำนาจแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า ฟรันซ์ โยเซ็ฟที่ 1 จักรพรรดิแห่งออสเตรีย พระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย กาลิเชีย อิลลีเรีย และอื่น ๆ และสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการี" (Franciscus Iosephus I, Dei gratia, imperator Austriae, rex Bohemiae, Galiciae, Illyriae et cetera et apostolicus rex Hungariae)

ชื่ออย่างเป็นทางการของราชาธิปไตยออสเตรีย–ฮังการีในภาษาเยอรมัน (Österreichisch-Ungarische Monarchie) และในภาษาฮังการี (Osztrák–Magyar Monarchia) ล้วนแปลได้ว่า ราชาธิปไตยออสเตรีย-ฮังการี[14] ถึงแม้ว่าชื่อที่นิยมใช้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะใช้คำว่า ออสเตรีย–ฮังการี ก็ตาม (เยอรมัน: Österreich-Ungarn; ฮังการี: Ausztria-Magyarország) ออสเตรียเองก็ยังได้ใช้คำว่า คา. อู. คา. โมนาร์ชี (k. u. k. Monarchie)[15] (ความหมายเต็มในภาษาเยอรมัน: Kaiserliche und königliche Monarchie Österreich-Ungarn; ฮังการี: Császári és Királyi Osztrák–Magyar Monarchia)[16] และ ราชาธิปไตยโดเนา (เยอรมัน: Donaumonarchie; ฮังการี: Dunai Monarchia) หรือ ราชาธิปไตยคู่ (เยอรมัน: Doppel-Monarchie; ฮังการี: Dual-Monarchia) และ นกอินทรีสองหัว (เยอรมัน: Der Doppel-Adler; ฮังการี: Kétsas) แต่คำเหล่านี้ก็ไม่ได้แพร่หลายทั้งในฮังการีและที่อื่นมากนัก

โดยชื่ออย่างเต็มในการบริหารภายในของราชาธิปไตยคือ เหล่าราชอาณาจักรและดินแดนอันมีผู้แทนในราชสภาและดินแดนแห่งมงกุฎฮังการีอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนักบุญอิชต์วาน

  • เยอรมัน: Die im Reichsrat vertretenen Königreiche und Länder und die Länder der Heiligen Ungarischen Stephanskrone
  • ฮังการี: A Birodalmi Tanácsban képviselt királyságok és országok és a Magyar Szent Korona országai

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1867 เป็นต้นไป ชื่อย่อของหน่วยงานทางการของออสเตรีย–ฮังการีก็ได้สะท้อนถึงภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้:

  • คา. อู. คา (k. u. k.; kaiserlich und königlich หรือ จักรวรรดิและราชอาณาจักร) เป็นคำนิยามสำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ในทั้งสองส่วนของราชาธิปไตย เช่น คา. อู. คา. ครีคส์มารีเนอ (k.u.k. Kriegsmarine; ทัพเรือศึกจักรวรรดิและราชอาณาจักร) และ คา. อู. คา. อาร์เม (k.u.k. Armee; กองทัพจักรวรรดิและราชอาณาจักร) ภายในช่วงสงคราม กองทัพออสเตรีย–ฮังการีได้เปลี่ยนคำนิยามจาก คา. คา. เป็น คา. อู. คา. ซึ่งเป็นการเปลี่ยนคำนิยามตามคำร้องขอของรัฐบาลฮังการีใน ค.ศ. 1889
  • คา. คา. (K. k.; kaiserlich-königlich) หรือ จักรวรรดิ–ราชอาณาจักร เป็นคำศัพท์สำหรับหน่วยงานที่อยู่ภายในดินแดนซิสไลทาเนีย (ออสเตรีย) ส่วนคำว่า "ราชอาณาจักร" ที่อยู่ในคำนิยามอาจหมายถึงราชบัลลังก์โบฮีเมีย
  • คา. อู. (K. u.; königlich-ungarisch) หรือ แอ็ม. กา. (M. k.; Magyar királyi) ("ฮังการีหลวง") หมายถึงดินแดนทรานไลทาเนีย หรือ ดินแดนแห่งพระมงกุฎฮังการี ในขณะที่หน่วยงานอิสระที่อยู่ภายในราชอาณาจักรโครเอเชียและสลาวอเนีย ก็ได้ใช้คำว่า เก (ย่อมาจาก kraljevski; ราชอาณาจักร) ตามข้อตกลงโครเอเชีย–ฮังการี ภาษาโครเอเชียถือเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียวภายในโครเอเชียและสลาวอเนีย และหน่วยงานเหล่านั้นก็ใช้ภาษาโครเอเชีย "เพียงภาษาเดียวเท่านั้น"

ใน ค.ศ. 1868 หลังจากที่จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 ทรงตัดสินพระทัยแล้ว ราชาธิปไตยก็ได้ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชาธิปไตยออสเตรีย–ฮังการี (เยอรมัน: Österreichisch-Ungarische Monarchie/Reich; ฮังการี: Osztrák–Magyar Monarchia/Birodalom) หากมีการใช้คำในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ชื่อของออสเตรีย–ฮังการีมักจะใช้คำในรูปแบบโดยย่อว่า ราชาธิปไตยคู่ หรือเรียกโดยอย่างง่ายว่า ออสเตรีย[17]

การก่อตั้งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

แก้

การเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี ค.ศ. 1867 (หรือที่เรียกกันว่า เอาส์ไกลช์ [Ausgleich] ในภาษาเยอรมัน และกลีดแยเซช์ [Kiegyezés] ในภาษาฮังการี) อันเป็นจุดเริ่มต้นของโครงสร้างแบบควบคู่ของจักรวรรดิออสเตรีย–ฮังการี ภายในพื้นที่อันดั้งเดิมของจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804–1867) ซึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นอันเนื่องมาจากการที่ออสเตรียเริ่มเสื่อมถอยทั้งทางกำลังทหารและทางอำนาจ ซึ่งเกิดขึ้นบนคาบสมุทรอิตาลี (อันเป็นผลมาจากสงครามประกาศอิสรภาพอิตาลีครั้งที่สอง ใน ค.ศ. 1859) และรัฐต่าง ๆ ของอดีตสมาพันธรัฐเยอรมันเดิม ถูกแทนที่ด้วยสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือภายใต้การนำของปรัสเซีย ซึ่งเป็นมหาอำนาจของรัฐผู้พูดภาษาเยอรมัน หลังสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1866 ซึ่งทำให้จักรวรรดิออสเตรียถูกทอดทิ้งให้อยู่นอกรัฐสมาพันธ์[18] การประนีประนอมได้รับการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง[19] ซึ่งรวมไปถึงการฟื้นฟูอำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ของราชอาณาจักรฮังการี ซึ่งได้สูญเสียไปหลังจากที่พ่ายแพ้ในการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848

ปัจจัยอื่น ๆ ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญยังคงดำเนินต่อไป ในขณะที่ฮังการีไม่พอใจที่ตนเองถูกกรุงเวียนนาปกครองโดยตรง และความตระหนักรู้ด้านชนชาติ (หรือชาติพันธุ์) อื่น ๆ ของจักรวรรดิออสเตรียที่เพิ่มมากขึ้น การที่ฮังการีไม่พอใจจักรวรรดิออสเตรียนั้น ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการที่ออสเตรียปราบปรามการจลาจลฮังการีในการปฏิวัติเสรีนิยมของฮังการี ใน ค.ศ. 1848 ซึ่งมีจักรวรรดิรัสเซียเข้ามาสนับสนุนอีกแรง อย่างไรก็ตาม ความไม่พอใจต่อการปกครองของออสเตรียในฮังการี มีมากขึ้นเป็นเวลาหลายปี และอาจมีสาเหตุอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก

ในปลายคริสต์ทษวรรษที่ 1850 มีชาวฮังการีจำนวนมากซึ่งเคยให้การสนับสนุนฝ่ายต่อต้านจักรวรรดิออสเตรียในการปฏิวัติ ค.ศ. 1848–1849 คิดที่จะให้การยอมรับราชาธิปไตยฮาพส์บวร์คด้วยความเต็มใจ โดยที่พวกเขาโต้แย้งว่า ฮังการีมีสิทธิ์ที่จะได้รับเอกราชจากภายในอย่างสมบูรณ์ ภายใต้การรับรองในทางทฤษฎี ค.ศ. 1713 กิจการด้านการต่างประเทศและการป้องกันประเทศ "ถือเป็นเรื่องที่ดูเหมือนกัน" ทั้งในออสเตรียและฮังการี[20]

ภายหลังจากที่ออสเตรียพ่ายแพ้ที่เคอนิชเกรทซ์ รัฐบาลก็ได้ตระหนักว่าควรที่จะปรองดองกับฮังการี เพื่อทำการรื้อฟื้นสถานะการเป็นมหาอำนาจ เคานต์ฟรีดริช แฟร์ดีนันท์ ฟ็อน บ็อยสท์ รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศคนใหม่ต้องการสรุปการเจรจากับฮังการีซึ่งยังทำอะไรไม่ได้มากนัก เพื่อรักษาอำนาจราชาธิปไตย ในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1867 จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซ็ฟ ทรงเริ่มการเจรจากับขุนนางฮังการีซึ่งนำโดยแฟแร็นซ์ แดอาค รัฐสภาฮังการีซึ่งจัดตั้งขึ้นมาใหม่ที่แป็ชต์ได้เริ่มทำการเจรจาเกี่ยวกับกฎหมายใหม่ เพื่อให้มีการอนุมัติกฎหมายในวันที่ 30 มีนาคม อย่างไรก็ตาม ผู้นำของฮังการีก็ให้การยอมรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของจักรพรรดิในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งฮังการี ในวันที่ 8 มิถุนายน เนื่องจากในการออกกฎหมายนั้นต้องมีความจำเป็นที่จะต้องทำในดินแดนแห่งมงกุฎฮังการีอันศักดิ์สิทธิ์[20] ในวันที่ 28 กรกฎาคม จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซ็ฟ ในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งฮังการีซึ่งเป็นพระอิสริยยศใหม่ของพระองค์ ก็ทรงอนุมัติและประกาศใช้กฎหมายใหม่ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของราชาธิปไตยคู่อย่างเป็นทางการ

การเมืองการปกครอง

แก้

ภาพรวม

แก้

การประนีประนอมได้เปลี่ยนอาณาจักรฮาพส์บวร์ค ให้กลายเป็นสหภาพที่มีองค์การร่วมกัน ระหว่างจักรวรรดิออสเตรีย ("เหล่าราชอาณาจักรและดินแดนอันมีผู้แทนในราชสภา" หรือ ซิสไลทาเนีย)[6] ในพื้นที่ฟากตะวันตกและฟากเหนือ และราชอาณาจักรฮังการี ("ดินแดนแห่งราชบัลลังก์นักบุญอิชต์วาน" หรือ ทรานไลทาเนีย)[6] ในพื้นที่ฟากตะวันออก ดินแดนทั้งสองมีพระมหากษัตริย์เป็นพระองค์เดียวกัน[21] โดยจักรพรรดิออสเตรียทรงปกครองพื้นที่ฟากตะวันตกและฟากเหนือ ในขณะที่พระมหากษัตริย์ฮังการีทรงปกครองฟากตะวันออก[6][21] ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการป้องกันประเทศได้รับการบริหารอย่างร่วมกัน และทั้งสองประเทศก็ได้ทำการจัดตั้งสหภาพศุลกากรขึ้น[22] โดยที่หน้าที่ของรัฐอื่น ๆ ในราชาธิปไตยคู่ทั้งหมดจะต้องได้รับการบริหารแบบแยกกันไป โดยมีรัฐแต่ละรัฐของดินแดนทั้งสองเป็นฝ่ายบริหาร

ในบางภูมิภาค ยกตัวอย่างเช่นกาลิเชียของโปแลนด์ซึ่งอยู่ภายในซิสไลทาเนีย และโครเอเชียซึ่งอยู่ในทรานไลทาเนีย มีสถานภาพเป็นรัฐปกครองตนเอง ซึ่งในแต่ละรัฐก็มีโครงสร้างการปกครองที่เป็นลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง (ดูที่: สิทธิ์ในการปกครองตนเองของโปแลนด์ในกาลิเซีย และข้อตกลงโครเอเชีย–ฮังการี)

 
จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 ใน ค.ศ. 1905

การแบ่งออสเตรียและฮังการีออกจากกันนั้นดูชัดแจ้งมากจนไม่มีพลเรือนที่มีสัญชาติร่วมกัน กล่าวคือ ไม่ใช่พลเรือนคนใดคนหนึ่งที่ถือสัญชาติออสเตรียหรือสัญชาติฮังการี[23][24] ซึ่งหมายความว่า ออสเตรียกับฮังการีต่างก็มีหนังสือเดินทางเป็นของตนเอง และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีไม่เคยมีหนังสือเดินทางที่ใช้ร่วมกัน[25][26] อย่างไรก็ตาม ภายในราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนียก็ไม่มีการใช้หนังสือเดินทางของออสเตรียและฮังการี และราชอาณาจักรก็เลือกที่จะออกหนังสือเดินทางเป็นของตนเอง โดยเป็นหนังสือเดินทางที่ถูกเขียนในภาษาโครเอเชียและภาษาฝรั่งเศส และแสดงตราแผ่นดินของราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนีย-แดลเมเชีย[27] โครเอเชียและสลาโวเนียมีอิสระในการบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการแปลงสัญชาติและการแปลงพลเรือนของตน ซึ่งได้กำหนดสัญชาติสำหรับพลเรือนในราชอาณาจักรเป็น "สัญชาติโครเอเชีย-ฮังการี"[28] และไม่มีใครทราบว่าหนังสือเดินทางที่ใช้ในบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของทั้งออสเตรียและฮังการี เป็นหนังสือเดินทางประเภทใด[ต้องการอ้างอิง]

ราชอาณาจักรฮังการียังคงรักษาสภานิติบัญญัติฮังการีซึ่งถือเป็นรัฐสภาของตนเองเอาไว้ โดยถึงแม้ว่าจักรวรรดิออสเตรียจะได้รับการสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1804[29] แต่ระบบการบริหารและรัฐบาลของราชอาณาจักรฮังการี (ระบบดังกล่าวถูกใช้จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848–1849) ยังคงเป็นระบบการบริหารที่ไม่สามารถจับต้องได้จากโครงสร้างรัฐบาลของจักรวรรดิออสเตรียซึ่งถือเป็นผู้ปกครองเป็นส่วนใหญ่ โดยที่โครงสร้างของรัฐบาลกลางฮังการียังคงเป็นโครงสร้างที่แยกออกจากรัฐบาลจักรวรรดิออสเตรียได้เป็นอย่างดี ฮังการีถูกปกครองโดยสภาผู้แทนฮังการี (Council of Lieutenancy of Hungary) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่เพร็สบวร์ค และในเวลาต่อมาจึงย้ายไปที่แป็ชต์ ซึ่งถูกดำเนินการจากเสนาบดีหลวงแห่งฮังการี (Hungarian Royal Court Chancellery) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนาอีกทอดหนึ่ง[30] ภายหลังการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848 รัฐบาลและรัฐสภาฮังการีก็ถูกยกเลิก และหลังจากที่มีการประนีประนอมระหว่างออสเตรีย-ฮังการีใน ค.ศ. 1867 รัฐบาลและรัฐสภาก็กลับคืนสู่สภาพเดิม

บริหาร

แก้

สภาคณะรัฐมนตรีของจักรวรรดิเป็นตัวควบคุมรัฐสภาทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย 3 รัฐมนตรีที่มีส่วนร่วมในการควบคุมด้วย คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีผู้ส่วนร่วมคนอื่น ๆ อีก เช่นอาร์คดยุคและอาร์ชดัชเชส รวมทั้งพระราชวงศ์อิมพีเรียลบางพระองค์อีกด้วย โดยคณะผู้แทนจากออสเตรีย 1 คน และจากฮังการีอีก 1 คนจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของสภาสามัญของคณะรัฐมนตรีหรือการจัดการทรัพย์สินแผ่นดิน โดยให้ 2 รัฐบาลเป็นตัวกำหนดและควบคุมการบริหารและการจัดการทรัพย์สินแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนสุดท้ายของการประชุมทุกครั้ง คณะรัฐมนตรีจะต้องยื่นถวายฎีกาต่อจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นผู้ตัดสินความทั้งหมด

หน้าที่รับผิดชอบระหว่างคณะรัฐมนตรีฝ่ายหนึ่งกับคณะรัฐมนตรีอีกฝ่ายหนึ่ง ได้สร้างความไม่ลงรอยกันและไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงาน การบริหารกองทัพบกนั้นได้อยู่ในภาวะลำบาก เป็นกองทัพที่ไร้ประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่ารัฐสภากลางได้กำหนดทิศทางการบริหารงานของกองทัพบก และกระทรวงกลาโหมแล้ว แต่รัฐบาลออสเตรียและรัฐบาลฮังการีจะมีการกำหนดกฎหมายบังคับ การเกณฑ์ทหาร การจัดหาและการย้ายทหารไปออกรบ และกฎหมายบังคับเฉพาะเมือง ที่ไม่ใช่ทหารเกณฑ์แต่เป็นสมาชิกของกองทัพบก โดยบางส่วนให้กระแสว่า แต่ละรัฐบาลควรจะเข้มแข็ง ควรเข้มงวดต่อการบริหารตัวเองมากกว่านี้ แทนที่จะไปใส่ใจรับผิดชอบรัฐสภาสามัญ

ความสัมพันธ์ทางการเมืองในครึ่งศตวรรษแรก หลังปี พ.ศ. 2410 นั้น มีการขัดแย้งในเรื่องของการจัดการพิกัดอัตราภาษีศุลกากรหรือค่าธรรมเนียมภายนอก และการจัดการทางการเงินของคณะรัฐบาล ภายใต้ข้อกำหนดของการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี รวมไปถึงข้อตกลงที่มีการเจรจาทุก ๆ 10 ปี โดยกำหนดสิ่งที่ต้องทำในคณะรัฐบาลต่าง ๆ โดยมีการออมเงินเพื่อให้ความสับสนอลหม่านทางการเมืองได้คืนสู่สภาพกลับมาเป็นเหมือนเดิม การโต้เถียงระหว่างรัฐบาลในจักรวรรดิในช่วงปี ค.ศ. 1900 ซึ่งทำให้ยืดระยะเวลาวิกฤติการเมืองการปกครองไปอีก ซึ่งมีความขัดแย้งกันในรัฐบาลรวมทั้งหน่วยรบและกองทัพของฮังการีเป็นตัวนำ ซึ่งเป็นการเพิ่มขยายอำนาจทางทหารของฮังการี เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2449 โดยมีนักชาตินิยมฮังการีมีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การกลับสู่สภาวะปกติในจักรวรรดิก็เป็นได้แค่เพียงชั่วคราว แต่ก็ได้จัดการให้กลับมาสู่สภาวะปกติเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2450 และในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2460 ได้วางรากฐานใหม่และสถานะใหม่ของจักรวรรดิใหม่ แต่ด้วยเวลาเพียงน้อยนิดเท่านั้น จักรวรรดิก็นำไปสู่กาลอวสาน...

นิติบัญญัติ

แก้
 
อาคารรัฐสภาออสเตรีย
 
อาคารรัฐสภาฮังการี

ออสเตรียและฮังการีต่างมีรัฐสภาเป็นของตนเอง และมีนายกรัฐมนตรีเป็นของตนเอง แต่รัฐสภาทั้งหมดอยู่ภายใต้อำนาจของจักรพรรดิหรือสมเด็จพระราชาธิบดีแต่เพียงพระองค์เดียว ด้วยอำนาจเบ็ดเสร็จและสภาของสำนักอิมพีเรียลนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับกองทัพราชนาวี การต่างประเทศ และสหภาพต่างในจักรวรรดิ เป็นต้น

ตุลาการ

แก้


นโยบายต่างประเทศ

แก้

เมื่อการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการีเพื่อรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียวเมื่อปี พ.ศ. 2410 นั้น ทำให้ฮังการีได้ขาดสมดุลทางเสรีภาพและเกิดการหยิ่งทะนงในนักชาตินิยมแม็กยาร์ โดยมีชาวสลาฟเป็นแรงสนับสนุนอันเนื่องมาจากความเมตตาสงสารของสลาฟในตัวฮังการี ซึ่งช่วยกันพยายามที่จะปฏิรูประบอบประชาธิปไตย หลังจากทำการข้อตกลงเมื่อปี พ.ศ. 2410 แล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้หารือกับนายกรัฐมนตรีของฮังการี ซึ่งหลังจากได้รับการข่มขู่การยึดอำนาจของกลุ่มแพน สลาฟ ซึ่งรัสเซียได้เข้าใจถึงสถานการณ์นี้ เพราะรัสเซียก็ได้รับการข่มขู่เช่นกัน รัสเซียจึงยื่นมือเข้าช่วยเหลือ โดยร่วมหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและเค้านท์กิวล่า แอนดราสซี จูเนียร์ ผู้แทนและบุตรชายของนายกรัฐมนตรีฮังการี

ในช่วงปี ค.ศ. 1860 ความทะเยอะทะยานของออสเตรีย รวมทั้งอิตาลีและเยอรมนีทางต่างประเทศได้ถูกปิดกั้น โดยชาติมหาอำนาจอื่น ๆ มีแต่ประเทศในแถบบัลข่านเท่านั้นที่ได้ขยายตัวทางด้านการต่างประเทศ จักรวรรดิได้นำการเจริญสัมพันธไมตรีทางด้านการทูตแบบใหม่มาใช้ โดยเริ่มแรกใช้โดยเค้านท์แอนดราสซี ซึ่งตอนนั้นได้เจริญสัมพันธไมตรีกับเขตพื้นที่บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาซึ่งชาวสลาฟในเขตนั้นเห็นว่ายังมีบางส่วนที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันอยู่ ซึ่งอาจนำไปสู่วิกฤติการณ์หลายอย่าง รวมทั้งการลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเยโว เมื่อปี พ.ศ. 2457 อีกด้วย

ในกรณีที่อยู่ภายใต้วิกฤติการณ์บัลข่านหรือสงครามรัสเซีย-ตุรกี ออสเตรีย-ฮังการีได้อาศัยช่วงสงครามนี้เข้ายึดครองบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาได้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2421 หลังจากมีการอนุมัติในสนธิสัญญาเบอร์ลิน ซึ่งทำให้ความสนใจในรัสเซียของบัลข่านมีความกระเตื้องตัวขึ้น โดยเกี่ยวข้องกับเยอรมนีในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2422 จักรวรรดิได้ผนวกบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2451 และได้เข้าควบคุมกระทรวงการคลังของบอสเนียมากกว่าการจัดการบริหารรัฐบาลแผ่นดิน โดยกำหนดให้บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา รวมทั้งโครเอเชียเป็นส่วนที่ 3 ของจักรวรรดิ และให้ชาวสลาฟเป็นส่วนหนึ่งของโครเอเชีย

กองทัพ

แก้
 
กองทัพจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในสงครามโลกครั้งที่ 1

กองทัพออสเตรีย-ฮังการีอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์หรือจักรพรรดิเป็นองค์จอมทัพ

กองทัพบก

แก้

กองทัพบกของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติในจักรวรรดิ ทำให้เกิดความยากลำบากด้านการสื่อสารทางภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย อีกทั้งขวัญกำลังใจของกองทัพยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ ทหารบกถือได้ว่าอ่อนแอไร้สรรมถภาพมาก แล้วยังมีความอ่อนแอในการคลังอาวุธกระสุนปืนใหญ่ ในสงครามก็แทบจะใช้หมดไปในปี 1914 ต่อจากนั้นก็ขาดแคลนอย่างรุนแรง

กองทัพอากาศ

แก้

กองทัพอากาศออสเตรีย-ฮังการีมีเครื่องบินเยอรมันรุ่นอบาสทรอน-เอ3 เป็นส่วนใหญ่ กองทัพอากาศของจักรวรรดิออสเตรียนั้นประสบ ปัญหาการขาดแคลนเครื่องบินรบและประสบความล้มเหลวในการรบ เช่น การป้องกันแคว้นกาลิเชียจากกรมอากาศยานจักรวรรดิรัสเซีย หรือการรบที่แนวรบบูซิลอฟ จนต้องพึ่งกรมอากาศยานหลวงเยอรมันในการรบ

กองทัพเรือ

แก้

กองกำลังกึ่งทหาร

แก้

เศรษฐกิจ

แก้
 
ธนบัตร 20 โครน ที่ใช้กันในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

สภาพเศรษฐกิจในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้มีการเปลี่ยนแปลงตามการปกครอง ด้วยการที่มีระบอบการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ควบคู่ (Dual Monarchy) ทางด้านเทคโนโลยีนั้นได้ขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงสภาพของเมืองต่าง ๆ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมทางด้านการผลิตนั้นได้เติบโต และสามารถส่งออกไปต่างประเทศได้ในช่วงเวลา 50 ปีของการริเริ่มยุคกลางของการผลิตอุตสาหกรรม โดยในช่วงแรกนั้น ระบบเศรษฐกิจได้เจริญเติบโตเฉพาะในกรุงเวียนนา พื้นที่เขตอัลไพน์ และโบฮีเมีย แต่ต่อมา เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 19 ระบบเศรษฐกิจได้เจริญเติบโตในเขตพื้นที่ฮังการีตอนกลางและเขตพื้นที่คาร์พาเธียน ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจได้พัฒนาขึ้นในเขตจักรวรรดิในระยะเริ่มต้น โดยระบบเศรษฐกิจในจักรวรรดิฝั่งตะวันตกจะพัฒนาได้ดีและมากกว่าระบบเศรษฐกิจในฝั่งตะวันออก เมื่อแรกเริ่มศตวรรษที่ 20 จักรวรรดิหลายจักรวรรดิส่วนใหญ่ได้ริเริ่มพัฒนาระบบเศรษฐกิจและเทคโนโลยีต้อนรับศตวรรษใหม่ มาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ (GNP) เจริญเติบโตร้อยละ 1.45% ต่อปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2413 ถึงพ.ศ. 2456 ซึ่งการเจริญเติบโตของรายรับและผลผลิตของจักรวรรดินี้ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับระบบเศรษฐกิจชาติอื่น ๆ ได้ เช่น อังกฤษ (1.00%), ฝรั่งเศส (1.06%), และเยอรมนี (1.51%) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจของจักรวรรดิยังมีความล้าหลังกว่าชาติอื่น ๆ อยู่บ้าง เช่น อังกฤษมีรายรับและผลผลิตของประเทศเกือบ 3 เท่า ซึ่งมากกว่าจักรวรรดิถึงแม้ว่ามาตรวัดจะน้อยกว่า ในขณะเดียวกันที่เยอรมนี ได้มีรายรับและผลผลิตของประเทศ 2 เท่าซึ่งมากกว่าออสเตรีย-ฮังการีด้วยซ้ำ ทั้งในด้าน GNP และมาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ ถึงแม้ว่าทุกประเทศนั้นจะมียอดพัฒนาระบบเศรษฐกิจไม่เหมือนกัน

โครงสร้างพื้นฐาน

แก้

การคมนาคม

แก้
 
แผนที่การคมนาคมทางน้ำและทางรถไฟในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
 
การสร้างทางใต้ดินในกรุงบูดาเปสต์ (1894–1896)
 
เจ้าหน้าที่กรมการสื่อสารฮังการี

ระบบคมนาคมทางรถไฟนั้น ได้ขยายอย่างรวดเร็ว โดยแรกเริ่มนั้น มีการสร้างทางรถไฟโดยเริ่มจากกรุงเวียนนาเมื่อปี พ.ศ. 2384 สมัยที่ออสเตรีย-ฮังการี ยังเป็นจักรวรรดิออสเตรียอยู่ ตรงจุดนั้นเองที่รัฐบาลได้ริเริ่มใช้ทางรถไฟเพื่อใช้ในด้านทหารและกองทัพบก โดยลงทุนเพื่อโครงสร้างทางทหารทั้งหมดให้ทางรถไฟเชื่อมต่อในเมืองต่าง ๆ เช่น เมืองโพสโซนี (ปัจจุบันคือเมืองบราติสลาวา เมืองหลวงของประเทศสโลวาเกีย), กรุงบูดาเปสต์ของฮังการี, กรุงปรากของโบฮีเมีย (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐเช็ก), เมืองคราโคว์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโปแลนด์), เมืองกราซของออสเตรีย, เมืองไลบาช (ปัจจุบันคือเมืองลูบลิยานา เมืองหลวงของประเทศสโลวีเนีย) และเมืองเวนิสของประเทศอิตาลี โดยเมื่อปี พ.ศ. 2397 จักรวรรดิได้มีรางรถไฟเกือบ 2000 กิโลกรัม ประมาณ 60% ถึง 70% ของรัฐเลยทีเดียว โดยรัฐบาลเริ่มทำการซื้อรางรถไฟส่วนใหญ่เพื่อใช้ส่วนตัวสำหรับนักลงทุน และการกระทำโดยฉับพลันของการใช้เงินมากเกินไปโดยใช้ผลประโยชน์จากการปฏิวัติพ.ศ. 2391 และสงครามไครเมีย ซึ่งออสเตรีย-ฮังการีไม่ได้มีส่วนกี่ยวข้องในสงครามนี้เลยแม้แต่น้อย โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2397 ถึง พ.ศ. 2422 มีดำเนินการ จัดการโครงสร้างการคมนาคมทางรถไฟเกือบทั้งหมด โดยพื้นที่ของจักรวรรดิในส่วนซิสเลอธาเนียได้รับรางรถไฟถึง 7,952 กิโลกรัม ส่วนฮังการีได้รับรางรถไฟ 5,839 กิโลกรัม ขณะที่พื้นที่อื่น ๆ ได้เข้าร่วมเชื่อมต่อการคมนาคมทางรถไฟ ดังนั้นระบบเศรษฐกิจด้านการคมนาคมรถไฟจึงเจริญเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว

หลังจากปี พ.ศ. 2422 รัฐบาลกลางของออสเตรีย-ฮังการีได้โอนการคมนาคมรถไฟมาเป็นของรัฐ เนื่องจากอัตราการพัฒนาระบบเศรษฐกิจได้เริ่มอยู่ในภาวะซบเซา และเฉื่อยชาลงในช่วงปี ค.ศ. 1870 โดยระหว่างปี พ.ศ. 2422 ถึง พ.ศ. 2443 ระยะทางของรางรถไฟทั้งหมดทั้งในพื้นที่ซิสเลอธาเนียและฮังการีทั้งหมดมากกว่า 25,000 กิโลเมตร รัฐบาลจึงได้มีการเชื่อมต่อรางรถไฟไปยังนอกเขตจักรวรรดิเพื่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยมีองค์การคมนาคมขนส่งทางรถไฟออสเตรีย (Imperial Austrian State Railways) เป็นบริษัทเดียวในการจัดการคมนาคมทางรถไฟทั้งหมดในจักรวรรดิ

โทรคมนาคม

แก้

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

แก้

การศึกษา

แก้

สาธารณสุข

แก้

ประชากรศาสตร์

แก้

ความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติ

แก้
ภาษาต่างที่กระจัดกระจายในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ภาษาเยอรมัน: 24%

ภาษาฮังการี: 20%
ภาษาเช็ก: 13%

ภาษาโปแลนด์: 10%
ภาษารูเทเนียน: 8%

ภาษาโรมาเนีย: 6%
ภาษาโครเอเชีย: 5%

ภาษาสโลวักและเซิร์บ: 4%

ภาษาสโลวีเนียและอิตาลี: 3%

มีความขัดแย้งเรื่องภาษาและเชื้อชาติหลังจากทุกอย่างได้ขึ้นอยู่การตัดสินใจว่า จะให้ภาษาไหนเป็นภาษาราชการ หรือ landesüblich ชาวเยอรมันที่ยึดถือระบบราชการเดิม หรือที่เป็นกลุ่มคนที่ร่ำรวยกว่าคนอื่น ชาวเยอรมันพวกนี้ต้องการที่จะให้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาราชการและใช้กันทั่วทั้งจักรวรรดิ ขณะที่ภาษาอิตาลีได้รับการพิจารณาว่าเป็นภาษาวัฒนธรรม (Kultursprache) โดยชาวเยอรมันที่ยินยอมให้ความทัดเทียมทางภาษา แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า จะให้ความทัดเทียมแก่ภาษาสลาฟให้ทัดเทียมภาษาเยอรมัน อีกด้านหนึ่งเห็นว่าควรจะให้ความทัดเทียมกันทุกภาษาในจักรวรรดิ

แต่อย่างไรก็ตาม หลายปีที่ผ่านมาได้เห็นถึง การปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากข้อบังคับทางภาษาทุกภาษา ทั่วทุกพื้นที่ในจักรวรรดิ ตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ ฉบับ พ.ศ. 2410 ว่าภาษาโครเอเชียได้รับความทัดเทียม ซึ่งจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ เช่นเดียวกับภาษาอิตาลีซึ่งได้เป็นภาษารองของแดลเมเชีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2425 ได้มีเสียงข้างมากจากชาวสโลวีเนีย ในคาร์นิโอล่า และในเมืองลูบลิยานา (ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของประเทศสโลวีเนีย) ได้เสนอภาษาสโลวีเนียเป็นภาษาที่มีความสำคัญมากที่สุดในจักรวรรดิ แทนที่ภาษาเยอรมัน ส่วนภาษาโปแลนด์ได้รับการนำเสนอให้แทนที่ภาษาเยอรมันเมื่อปี พ.ศ. 2412 และให้เป็นภาษาราชการของกาลิเชีย โดยชาวกาลิเชียหรือชาวโปแลนด์ได้ปฏิเสธการพิจารณาภาษายูเครนตามที่ชนกลุ่มน้อยชาวยูเครนเสนอ ดังนั้นภาษายูเครนจึงไม่ได้รับการยินยอมให้เป็นภาษาราชการ

ส่วนภาษาเช็กที่มีการถกเถียงกันให้เป็นภาษาราชการนั้นไม่ได้มีการเรียกร้องหรือประท้วงกันในโบฮีเมียและโมราเวีย ซึ่งชาวเช็คต้องการที่จะก่อตั้งภาษาของเขาให้เป็นภาษาราชการไม่ว่าจะเป็นเขตแดนอาณาจักรที่ประชากรใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาราชการ และมีการเรียกร้องให้ภาษาเยอรมันให้เป็นภาษาราชการเช่นกันในเมืองปราก นครหลวงของโบฮีเมีย (ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐเช็ก) เมืองพิสเซน และเมืองบรุนน์ ในที่สุด ภาษาเยอรมันก็มีการนำมาเป็นส่วนหนึ่งของส่วนพื้นที่ของเช็กเมื่อปี พ.ศ. 2425 หลังจากการลงประชามติในมหาวิทยาลัยชาร์ลส์ (Charles University in Prague)

 
แผนที่ออสเตรีย-ฮังการีแสดงถึงเชื้อชาติและภาษาที่ใช้กันในพื้นที่ต่าง แสดงเป็นสีต่าง ๆ ภาพโดยวิลเลียม อาร์. เช็พเพิร์ด (พ.ศ. 2454)

ขณะเดียวกันนั้นชาวแม็กยาร์หรือฮังการีได้เผชิญหน้ากับผู้ประท้วงหรือเรียกร้องของชาวโรมาเนียในแถบทรานซิลเวเนีย และเมืองบานัท (ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสโลวาเกีย) นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมเรียกร้องเรื่องภาษาราชการอีกของชาวโครเอเชียและชาวเซิร์บ ในแถบโครเอเชีย และแดลเมเชีย (ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโครเอเชีย) นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมประท้วงเรื่องการให้ความสำคัญของภาษาของตนในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และจังหวัดวอยโวดีนา (ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเซอร์เบีย) โดยต่อมา ชาวโรมาเนียและชาวเซิร์บได้ก่อตั้งกลุ่มชาตินิยม ในนามของรัฐโรมาเนียและเซอร์เบีย (พ.ศ. 2402 - พ.ศ. 2421) ถึงแม้ว่า ผู้นำฮังการีจะแสดงความไม่พออกพอใจมากกว่าตอนที่มีการเจรจาแบ่งปันอำนาจและแยกรัฐบาลและรัฐสภากับออสเตรียเมื่อปี พ.ศ. 2410 พวกเขาได้ยอมรับขอบเขตอิสรภาพในการก่อตั้งราชอาณาจักรโครเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2411 ก่อนที่จะถูกผนวกรวมเข้ากับจักรวรรดิในเวลาต่อมา ซึ่งอาจพ่วงไปถึงเศรษฐกิจและการบริหารทางทหารของฮังการีที่เข้ามามีบทบาทในโครเอเชีย

ภาษาเป็นสิ่งที่นำมาถกเถียงในวาระการประชุมสภาอยู่บ่อยครั้ง โดยทุกรัฐสภาจะต้องพบกับความยากลำบากในการแบ่งแยกภาษาต่าง ๆ ในโครงสร้างของการเมือง โดยมีเสียงส่วนน้อยเห็นว่าควรจะแยกการศึกษาภาษาของตนเอง และให้การศึกษาแก่ 2 ภาษาหลักในจักรวรรดิ คือ ภาษาเยอรมันและภาษาฮังการี โดยการถกเถียงอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่องภาษาในจักรวรรดินั้น มีการประชุมรัฐสภากลางที่มีการกล่าวขานมากที่สุดคือ การประชุมประกาศพระราชบัญญัติ กฤษฎีกาฉบับวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2440 โดยนายกรัฐมนตรีของออสเตรีย คาซิเมียร์ เฟลิกซ์ กราฟ บาเดอนี ได้ให้ความเสมอภาคแก่ภาษาเช็กให้มีความสำคัญเท่ากับภาษาเยอรมันในรัฐสภาของโบฮีเมีย และให้มีการศึกษาภาษาเยอรมันเป็นภาษาหลักในโบฮีเมียอแกด้วย ทั้งนี้มีพวกอนุรักษ์ชาตินิยมเยอรมันได้ปลุกปั่นให้มีการพูดภาษาเยอรมันเท่านั้นในจักรวรรดิ เป็นเหตุให้เฟลิกซ์ บาเดอนี ถูกปลดออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2450 โรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่เขตสโลวักที่อยู่ในเขตของราชอาณาจักรฮังการี ซึ่งประชากรโดยประมาณ 2 ล้านคนได้ศึกษาภาษาฮังการีเพียงภาษาเดียว โดยสั่งห้ามทำสื่อที่เป็นภาษาสโลวัก และได้ทำลายหนังสือหรือหนังสือพิมพ์ที่ป็นภาษาสโลวักอีกด้วย โดยการกระทำนี้ได้มีการวิพากย์วิจารณ์เรื่องการไม่ให้ความเสมอภาคทางภาษา นำโดยบียอร์สเตียร์เน มาร์ตินุส บียอร์สัน นักเขียนชื่อดังชาวนอร์เวย์ ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม นอกจากนี้ยังมีมิช่า เกล็นนี่ ผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษได้วิพากย์วิจารณ์ถึงการเอารัดเอาเปรียบทางภาษาของออสเตรียที่กระทำต่อเช็ก

จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟนั้น ในช่วงเวลาที่พระองค์ครองราชย์ พระองค์ทรงปกครองอาณาจักรที่มีหลายเชื้อชาติ หลายภาษา โดยพระองค์ทรงอักษรและทรงพูดภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาฮังการี ภาษาเช็ก ภาษาโปแลนด์ รวมทั้งภาษาอิตาลี และภาษาอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นถือเป็นความยากลำบากอย่างหนึ่งของพระราชวงศ์ออสเตรียที่จะต้องศึกษาภาษาทุกภาษาที่มีอยู่ในจักรวรรดิ รวมทั้งภาษาอังกฤษด้วย

ภาษาต่าง ๆ ที่ใช้กันในจักรวรรดิ

แก้
ภาษา จำนวน ร้อยละ
เยอรมัน 12,006,521 23.36
ฮังการี 10,056,315 19.57
เช็ก 6,442,133 12.54
เซอร์เบีย-โครเอเชีย 5,621,797 10.94
โปแลนด์ 4,976,804 9.68
รูทิเนีย 3,997,831 7.78
โรมาเนีย 3,224,147 6.27
สโลวัก 1,967,970 3.83
สโลวีเนีย 1,255,620 2.44
อิตาลี 768,422 1.50
อื่น ๆ 1,072,663 2.09
รวม 51,390,223 100.00

ศาสนาและนิกายต่างในจักรวรรดิ

แก้

ตารางแสดงการนับถือศาสนาและนิกายต่างในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จากผลสำรวจเมื่อวันที่31 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ตีพิมพ์ในหนังสือGeographischer Atlas zur Vaterlandskunde an der österreichischen Mittelschulen. K. u. k. Hof-Kartographische Anstalt G. Freytag & Berndt, Vienna, 1911.

ศาสนา/นิกาย พื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ออสเตรีย พื้นที่ฮังการี บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก 76.6% 90.9% 61.8% 22.9%
ศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ 8.9% 2.1% 19.0% 0%
ศาสนาคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ 8.7% 2.3% 14.3% 43.5%
ยิว 4.4% 4.7% 4.9% 0.6%
มุสลิม 1.3% 0% 0% 32.7%

เมืองสำคัญ

แก้

ข้อมูล: การสำรวจสำมะโนประชากร ใน ปี ค.ศ. 1910[31]

จักรวรรดิออสเตรีย
อันดับ ชื่อในปัจจุบัน ชื่ออย่างเป็นทางการร่วมสมัย[32] ชื่ออื่น ๆ ประเทศในปัจจุบัน ประชากรใน ค.ศ. 1910 ประชากรในปัจจุบัน
1. เวียนนา Wien Bécs, Beč, Dunaj ออสเตรีย 2,031,498 (city without the suburb 1,481,970) 1,840,573 (Metro: 2,600,000)
2. ปราก Prag, Praha Prága เช็กเกีย 668,000 (city without the suburb 223,741) 1,301,132 (Metro: 2,620,000)
3. ตรีเยสเต Triest Trieszt, Trst อิตาลี 229,510 204,420
4. ลวิว Lemberg, Lwów Ilyvó, Львів, Lvov, Львов ยูเครน 206,113 728,545
5. กรากุฟ Krakau, Kraków Krakkó, Krakov โปแลนด์ 151,886 762,508
6. กราทซ์ Grác, Gradec ออสเตรีย 151,781 328,276
7. เบอร์โน Brünn, Brno Berén, Börön, Börénvásár เช็กเกีย 125,737 377,028
8. แชร์นิวต์ซี Czernowitz Csernyivci, Cernăuți, Чернівці ยูเครน 87,128 242,300
9. เปิลแซญ Pilsen, Plzeň Pilzen เช็กเกีย 80,343 169,858
10. ลินทซ์ Linec ออสเตรีย 67,817 200,841


ราชอาณาจักรฮังการี
อันดับ ชื่อในปัจจุบัน ชื่อย่างเป็นทางการร่วมสมัย[32] อื่นๆ ประเทศในปัจจุบัน ประชากรใน ปี ค.ศ. 1910 ประชากรในปัจจุบัน
1. บูดาเปสต์ Budimpešta   ฮังการี 1,232,026 (city without the suburb 880,371) 1,735,711 (Metro: 3,303,786)
2. แซแก็ด Szegedin, Segedin   ฮังการี 118,328 170,285
3. ซูบอตีตซา Szabadka Суботица   เซอร์เบีย 94,610 105,681
4. แดแบร็ตแซ็น   ฮังการี 92,729 208,016
5. ซาเกร็บ Zágráb, Agram   โครเอเชีย 79,038 790,017
6. บราติสลาวา Pozsony Pressburg, Prešporok   สโลวาเกีย 78,223 425,167
7. ทิมิโซอารา Temesvár Temeswar   โรมาเนีย 72,555 319,279
8. ออราเดีย Nagyvárad Großwardein   โรมาเนีย 64,169 196,367
9. อารัด Arad   โรมาเนีย 63,166 159,074
10. คลูช-นาโปกา Kolozsvár Klausenburg   โรมาเนีย 60,808 324,576

ภาวะสงคราม

แก้
 
หนุ่มชาวเซอร์เบียเข้าปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของจักรพรรดิแม็กซีมีเลียน พระราชอนุชาในจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ และพระราชโอรสองค์เดียวของพระองค์ อาร์คดยุครูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี ทำให้พระราชนัดดาของพระองค์ อาร์คดยุคฟรันซ์ เฟอร์ดินานด์ ได้รับตำแหน่งองค์รัชทายาทสืบต่อจากอาร์คดยุครูดอล์ฟ แต่เมื่อวันที่28 มิถุนายน พ.ศ. 2457 เมื่อพระองค์เสด็จเยี่ยมราษฎรพร้อมด้วยพระชายาในเมืองซาราเยโว นครหลวงของเขตบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ทั้งสองพระองค์ได้ถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยกระสุนปืนโดยกาฟรีโล พรินซิป หนึ่งในสมาชิกกลุ่มแบล็คแฮนด์ นักชาตินิยมจากเซอร์เบีย เป็นเหตุให้ทั้งสองพระองค์สิ้นพระชนม์ทันที ซึ่งการลอบปลงพระชนม์ครั้งนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1

การบริหารทางการทหารไม่ได้รับการบริหารที่ดีตั้งแต่การประชุมที่เบอร์ลิน (พ.ศ. 2421) ขณะที่เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียได้ประกาศอำนาจในการประชุม โดยหลังจากการประชุมจักรวรรดิได้เสียดินแดนอิตาลีให้กับปิเอดมอนต์ รวมทั้งเสียเปรียบทางความเคลื่อนไหวทางชาตินิยม ซึ่งถูกอิตาลีจับตาดูอยู่ นอกจากนี้ออสเตรีย-ฮังการีได้สูญเสียพื้นที่ทางตอนใต้ซึ่งมีประชากรชาวสลาฟอาศัยอยู่ให้กับเซอร์เบีย ซึ่งเซอร์เบียเพิ่งจะได้รับสิทธิ์และผลประโยชน์เพิ่มเรื่องพื้นที่ หลังจากสงครามบอลข่านครั้งที่สอง เมื่อปีพ.ศ. 2455 จึงส่งผลต่อความยากลำบากภายในรัฐบาลของออสเตรียและฮังการี โดยมีสมาชิกรัฐสภาบางคน เช่น คอนราด วอน เฮิตเซนดอร์ฟ ต้องการที่จะเผชิญหน้ากับการฟื้นคืนอำนาจของการเมืองเซอร์เบียเป็นเวลาหลายปี โดยผู้นำออสเตรีย-ฮังการี เค้านท์ลีโอโพลด์ วอน เบิร์ชโทลด์ สามารถเอาคืนเซอร์เบียได้โดยมีสัมพันธมิตรอย่างเยอรมนีเข้าช่วยเหลือ โดยตัดสินใจเผชิญหน้ากับกองทัพเซอร์เบีย ก่อนที่จะกระตุ้นก่อให้เกิดการต่อต้านภายในจักรวรรดิ โดยใช้กรณีการลอบปลงพระชนม์เป็นข้ออ้างในการก่อสงครามกับเซอร์เบีย

เหตุการณ์นี้ได้นำจักรวรรดิไปสู่การพิพาทกับเซอร์เบียในเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2457 ซึ่งนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 โดยความเคลื่อนไหวของเซอร์เบียนี้ มีรัสเซียเป็นตัวช่วยในการทำศึกสงคราม อิตาลีได้ประกาศวางตัวเป็นกลางตั้งแต่แรกเริ่งสงคราม ถึงแม้ว่าจะมีความสัมพันธไมตรีกับออสเตรีย-ฮังการี แต่ในปีพ.ศ. 2458 อิตาลีได้สร้างความเข้าใจอันดีกับออสเตรีย-ฮังการี โดยเข้าร่วมสงครามกับจักรวรรดิเผชิญหน้ากับเซอร์เบียและรัสเซีย เพื่อหวังจะได้รับแผ่นดินที่ออสเตรีย-ฮังการียึดครองไป กลับมาเหมือนเดิม ผู้บัญชาการของกองทัพคือ นายพลคอนราด วอน เฮิตเซนดอร์ฟ ซึ่งภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลเฮิตเซนดอร์ฟนี้ ได้นำกองทัพไปสู่สมรภูมิรบในสงคราม

เมื่อเริ่มสงคราม กองทัพได้ถูกแยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งบุกโจมตีเซอร์เบีย ขณะที่อีกส่วนหนึ่งได้บุกโจมตีกองทัพของรัสเซีย ซึ่งสนับสนุนเซอร์เบียและได้ประกาศสงครามกับออสเตรีย-ฮังการีด้วย การบุกรุกเซอร์เบียนั้น หาได้ประสบความสำเร็จไม่ กองทัพออสเตรีย-ฮังการีได้สูญเสียทหาร 227,000 นาย จากทหารทั้งหมด 450,000 นาย ส่วนการโจมตีกองทัพรัสเซียนั้น กองทัพจักรวรรดิสามารถเอาชนะรัสเซียในสมรภูมิเล็มเบิร์ก และสามารถล้อมเมืองพริเซ็มมิวส์ได้ แต่ก็ต้องถอนกองทัพออกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2458

เมืองเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2458 อิตาลีได้ร่วมฝ่ายพันธมิตรเข้าโจมตีออสเตรีย-ฮังการี โดยตอนแรกนั้นอิตาลีได้เข้าร่วมทำสงครามกับออสเตรีย-ฮังการี แต่เป็นเพราะสนธิสัญญาเบอร์ลิน อิตาลีจึงยอมเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร โดยสมรภูมิแรกที่ออสเตรีย-ฮังการีต่อสู้กับอิตาลีนั้นอยู่ที่เทือกเขาแอลป์ โดยเมื่อตอนหน้าร้อน กองทัพได้รวมเข้ากับกองทัพเยอรมัน และกองทัพบัลแกเรีย พิชิตเซอร์เบีย

พ.ศ. 2459 กองทัพรัสเซียได้ถูกโจมตีอย่างหนักจากกองทัพจักรวรรดิ แต่ก็มีความสูญเสียพอๆกัน โดยกองทัพออสเตรียได้สูญเสียทหารประมาณ 1 ล้านคน การสูญเสียครั้งใหญ่หลวงนี้ ทำให้รัสเซียยอมถอนตัวจากสงคราม หลังจากรัสเซียถอนตัวจากสงครามแล้ว ก็ต้องเผชิญหน้ากับการปฏิวัติภายในจักรวรรดิรัสเซีย พ.ศ. 2460 กองทัพออสเตรีย-ฮังการีจึงอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเยอรมัน โดยให้กองทัพเยอรมันจัดการให้ทั้งหมด แต่ในขณะที่มีการจัดการกองทัพอยู่นั้น ฝ่ายพันธมิตรได้โจมตีเยอรมันอย่างหนัก เป็นเหตุให้เยอรมันแพ้และยอมถอนตัวออกจากสงคราม เมื่อเยอรมันแพ้สงคราม ออสเตรีย-ฮังการีก็แพ้สงครามด้วยเช่นกัน

การล้มล้างจักรวรรดิ

แก้
 
การประกาศยุบจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีถูกตีพิมพ์และแจกจ่ายเมื่อ พ.ศ. 2461 ในคราโคว์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโปแลนด์)

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 คือฝ่ายพันธมิตรซึ่งได้แก่จักรวรรดิอังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี และสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะ นักชาตินิยมได้รับกระแสนิยมในอิสรภาพมากขึ้น โดยประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา วูดโรว์ วิลสัน กล่าวในสุนทรพจน์ "ประเด็นทั้งสิบสี่" ว่า โอกาสแห่งอิสรภาพและเสรีภาพได้มาอยู่ในกำมือของเราแล้ว เราจะพัฒนาของเราเอง ในทางกลับกัน จักรพรรดิคาร์ล จักรพรรดิแห่งออสเตรีย-พระราชาธิบดีแห่งฮังการี ได้ทรงเปิดวาระประชุมในสภาอิมพีเรียล โดยมีพระบรมราชานุญาตให้มีการก่อตั้งสมาพันธรัฐพร้อมด้วยการตั้งสภาย่อยเป็นของตนเอง เพื่อรักษาความเป็นจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ขณะที่หลายฝ่ายเริ่มไม่ไว้วางใจในเสรีภาพหลังจากจบสงครามแล้ว

เมื่อวันที่14 ตุลาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ บารอนสเตฟาน วอน ราเจ็คส์ ได้พยายามที่จะพิสูจน์ศรัทธาที่มีต่อจักรวรรดิ โดยจักรพรรดิคาร์ลได้ทรงประกาศเรื่องอนาคตของพระราชวงศ์อิมพีเรียล 2 วันหลังจากที่ออสเตรียกลายเป็นสหภาพ-สหพันธรัฐ ซึ่งประกอบด้วยอีก 4 ประเทศคือ เยอรมนี เช็ก สลาฟใต้ และยูเครน ส่วนประเทศโปแลนด์นั้นได้รับเอกราชอย่างเต็มตัว

ประเทศหลายประเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิต่างก็ประกาศเอกราช ไม่ขึ้นตรงต่อจักรวรรดิอีกต่อไป โดยกลุ่มประเทศแรกที่ประกาศเอกราชนั้นคือ โบฮีเมีย โมราเวีย ซีลีเซีย กาลิเชีย และบูโกวินา โดยรวมประเทศทั้งหมดเป็นสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 1 เมื่อวันที่28 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ต่อมาวันที่29 ตุลาคม สลาฟใต้ได้ประกาศเอกราชและก่อตั้งรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ ต่อมา รัฐบาลฮังการีได้ประกาศสิ้นสุดความสัมพันธ์ทางสหภาพกับออสเตรียเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ส่งผลให้ประเทศทุกประเทศที่เป็นของออสเตรีย-ฮังการี แตกแยกไปก่อตั้งประเทศเป็นของตนเอง จะมีอยู่ส่วนน้อยที่ยังขึ้นตรงต่อจักรวรรดิอยู่ เช่น เขตพื้นที่แถบอัลไพน์และดานูบ

การนำไปสู่จุดจบของจักรวรรดินี้ จักรพรรดิคาร์ล (ใช้พระนามคาร์ลที่ 4 ในฮังการี) ได้ถูกรัฐบาลของออสเตรียและฮังการีขับออกจากราชสมบัติ โดยพระองค์ไม่ทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่11 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 ในความที่พระองค์ไม่ทรงสละราชสมบัตินั้น ก็ยังมีประชาชนส่วนหนึ่งที่ยังคงมีความจงรักภักดีต่อพระองค์และพระราชวงศ์อิมพีเรียลอยู่ ทำให้เกิดกระแสการฟื้นฟูสถาปนาระบอบพระมหากษัตริย์ในฮังการี เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2463 โดยพระองค์ยังคงราชสมบัติอยู่ แต่จะมีผู้สำเร็จราชการแทนคือ มิกโลช โฮร์ตี ดูแลปกครองประเทศแทนพระองค์ ส่วนตัวพระองค์พร้อมด้วยพระราชวงศ์อพยพไปที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเกาะมาไดร่า ประเทศโปรตุเกสและประทับอยู่ที่นั่น จนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคตด้วยโรคปอดบวม

ประเทศใหม่

แก้

ประเทศที่ได้ก่อตั้งใหม่หลังจากสิ้นสุดจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี มีดังนี้

พื้นที่บางส่วนของจักรวรรดิได้ผนวกเข้ากับราชอาณาจักรโรมาเนีย , ราชอาณาจักรอิตาลี และ ลิกเตนสไตน์ โดยมีเขตโวราร์ลเบิร์กนั้น ประชาชนได้ลงประชามติให้ผนวกเข้ากับสวิตเซอร์แลนด์

 
New hand-drawn borders of Austria-Hungary in the Treaty of Trianon and Saint Germain. (1919–1920)
 
ออสเตรีย-ฮังการีและประเทศใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2461
.                     เขตพรมแดนออสเตรีย-ฮังการี เมื่อ พ.ศ. 2457

                     เขตพรมแดนเมื่อ พ.ศ. 2457                      เขตพรมแดนเมื่อ พ.ศ. 2463

  จักรวรรดิออสเตรีย เมื่อ พ.ศ. 2457
 
Sillouhette of Monarchy over postwar map of Europe (1929)

พื้นที่และอาณาเขตของจักรวรรดิ

แก้

พื้นที่ อาณาเขตและประเทศต่างๆในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีที่ประกาศเอกราช หลังจากที่ถูกล้มล้างหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ดังนี้:

พื้นที่เขตซิสเลอธาเนีย (พื้นที่ฝั่งซ้ายของจักรวรรดิ)
ออสเตรีย-ฮังการี
 
ประเทศต่างๆในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี:
ซิสเลอธาเนีย: 1. โบฮีเมีย, 2. บูโกวิน่า, 3. คารินเธีย, 4. คาร์นิโอล่า, 5. แดลเมเชีย, 6. กาลิเชีย, 7. คืสเตนแลนด์, 8. โลเวอร์ ออสเตรีย, 9. โมราเวีย, 10. ซาร์ซบูร์ก, 11. ซีลีเซีย, 12. สตีเรีย, 13. ทีรอล, 14. อัปเปอร์ ออสเตรีย, 15. โวราร์ลเบิร์ก; ทรานส์เลอธาเนีย: 16. ราชอาณาจักรฮังการี, 17. ราชอาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนีย, 18. บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในออสเตรีย-ฮังการี
พื้นที่เขตทรานส์เลอธาเนีย (พื้นที่ฝั่งขวาของจักรวรรดิ)
ดินแดนภายใต้การปกครองร่วมของออสเตรีย-ฮังการี

อาณานิคมของจักรวรรดิ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. เยอรมัน: Österreichisch-Ungarische Monarchie, ออกเสียง: [ˌøːstəʁaɪ̯çɪʃ ˌʊŋɡaʁɪʃə monaʁˈçiː] (  ฟังเสียง)
  2. The concept of Eastern Europe is not firmly defined, and depending on some interprertations, some territories may be included or excluded from it; this holds for parts of Austria–Hungary as well, although the historical interpretation clearly place the Monarchy into Central Europe.

อ้างอิง

แก้
  1. Citype – Internet – Portal Betriebsges.m.b.H. "Austro-Hungarian Empire k.u.k. Monarchy dual-monarchic Habsburg Emperors of Austria". Wien-vienna.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2011. สืบค้นเมื่อ 11 September 2011.
  2. Fisher, Gilman. The Essentials of Geography for School Year 1888–1889, p. 47. New England Publishing Company (Boston), 1888. Retrieved 20 August 2014.
  3. "Austria-Races". Ninth edition - Encyclopædia Britannica. Vol. III. p. 118.
  4. From the Encyclopædia Britannica (1878),[3] although note that this "Romani" refers to the language of those described by the EB as "Gypsies"; the EB's "Rumäni or Wallachian" refers to what is today known as Romanian; Rusyn and Ukrainian correspond to dialects of what the EB refers to as "Ruthenian"; and Yiddish was the common language of the Austrian Jews, although Hebrew was also known by many.
  5. Geographischer Atlas zur Vaterlandskunde, 1911, Tabelle 3.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4   Headlam, James Wycliffe (1911). "Austria-Hungary" . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 3 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 2–39.
  7. McCarthy, Justin (1880). A History of Our Own Times, from 1880 to the Diamond Jubilee. New York, United States of America: Harper & Brothers, Publishers. pp. 475–476.
  8. Dallin, David (November 2006). The Rise of Russia in Asia. ISBN 978-1-4067-2919-1.
  9. Schulze, Max-Stephan. Engineering and Economic Growth: The Development of Austria–Hungary's Machine-Building Industry in the Late Nineteenth Century, p. 295. Peter Lang (Frankfurt), 1996.
  10. Publishers' Association, Booksellers Association of Great Britain and Ireland (1930). The Publisher, Volume 133. p. 355.
  11. Contributors: Austria. Österreichische konsularische Vertretungsbehörden im Ausland; Austrian Information Service, New York (1965). Austrian information. p. 17. {{cite book}}: |author1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  12. Minahan, James. Miniature Empires: A Historical Dictionary of the Newly Independent States, p. 48.
  13. "  Jayne, Kingsley Garland (1911). "Bosnia and Herzegovina" . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 4 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 279–286.
  14. Manuscript of Franz Joseph I. – Stephan Vajda, Felix Austria. Eine Geschichte Österreichs, Ueberreuter 1980, Vienna, ISBN 3-8000-3168-X, in German
  15. Eva Philippoff: Die Doppelmonarchie Österreich-Ungarn. Ein politisches Lesebuch (1867–1918), Presses Univ. Septentrion, 2002, Villeneuve d’Ascq, ISBN 2-85939-739-6 (แม่แบบ:Google book)
  16. Kotulla, Michael (17 August 2008). Deutsche Verfassungsgeschichte. Springer Berlin Heidelberg. ISBN 978-3-540-48707-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019 – โดยทาง Google Books.
  17. Kay, David (1878). "Austria" . ใน Baynes, T. S. (บ.ก.). Encyclopædia Britannica. Vol. 3 (9th ed.). New York: Charles Scribner's Sons. pp. 116–141.
  18. Kann (1974); Sked (1989); Taylor (1964)
  19. André Gerrits; Dirk Jan Wolffram (2005). Political Democracy and Ethnic Diversity in Modern European History. Stanford University Press. p. 42. ISBN 978-0-8047-4976-3.
  20. 20.0 20.1 Kann 1974
  21. 21.0 21.1 "Who's Who – Emperor Franz Josef I". First World War.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2009. สืบค้นเมื่อ 5 May 2009.
  22. "The kingdom of Hungary desired equal status with the Austrian empire, which was weakened by its defeat in the German (Austro-Prussian) War of 1866. The Austrian emperor Francis Joseph gave Hungary full internal autonomy, together with a responsible ministry, and in return it agreed that the empire should still be a single great state for purposes of war and foreign affairs, thus maintaining its dynastic prestige abroad." – Compromise of 1867, Encyclopædia Britannica, 2007
  23. Roman, Eric (2009). Austria–Hungary and the Successor States: A Reference Guide from the Renaissance to the Present. Infobase Publishing. p. 401. ISBN 978-0-8160-7469-3. สืบค้นเมื่อ 1 January 2013.
  24. The New Encyclopædia Britannica. Encyclopaedia Britannica. 2003. ISBN 978-0-85229-961-6. สืบค้นเมื่อ 1 January 2013.
  25. Szávai, Ferenc Tibor. "Könyvszemle (Book review): Kozári Monika: A dualista rendszer (1867–1918): Modern magyar politikai rendszerek". Magyar Tudomány (ภาษาฮังการี). p. 1542. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2013. สืบค้นเมื่อ 20 July 2012.
  26. Szávai, Ferenc (2010). Osztrák–magyar külügyi ingatlanok hovatartozása a Monarchia felbomlása után (PDF) (ภาษาฮังการี). p. 598. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 December 2012.
  27. Antun Radić, "Hrvatski pašuši (putnice)" Dom, 15 January 1903, page 11)
  28. Kosnica, Ivan (2017). "Citizenship in Croatia-Slavonia during the First World War". Journal on European History of Law. 8 (1): 58–65.
  29. "In 1804 Emperor Franz assumed the title of Emperor of Austria for all the Erblande of the dynasty and for the other lands, including Hungary. Thus Hungary formally became part of the Empire of Austria. The Court reassured the diet, however, that the assumption of the monarch's new title did not in any sense affect the laws and the constitution of Hungary." Laszlo, Péter (2011), Hungary's Long Nineteenth Century: Constitutional and Democratic Traditions, Koninklijke Brill NV, Leiden, the Netherlands, p. 6
  30. Éva H. Balázs: Hungary and the Habsburgs, 1765–1800: An Experiment in Enlightened Absolutism. p. 320.
  31. Kogutowicz Károly, Hermann Győző: Zsebatlasz: Naptárral és statisztikai adatokkal az 1914. évre. Magyar Földrajzi Intézet R. T., Budapest 1913, S. 69, 105.
  32. 32.0 32.1 "Donaumonarchie Österreich-Ungarn". Donaumonarchie.com. สืบค้นเมื่อ 19 November 2013.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "B" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "www" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

บรรณานุกรม

แก้
  • Brauneder, Wilhelm (2009). Österreichische Verfassungsgeschichte (ภาษาเยอรมัน) (11th ed.). Vienna: Manzsche Verlags- und Universitätsbuchhandlung. ISBN 978-3-214-14876-8.
  • Džaja, Srećko M. (1994). Bosnien-Herzegowina in der österreichisch-ungarischen Epoche 1878–1918 (ภาษาเยอรมัน). Oldenbourg Wissenschaftsverlag. ISBN 3-486-56079-4.
  • Hoke, Rudolf (1996). Österreichische und deutsche Rechtsgeschichte (ภาษาเยอรมัน) (2nd ed.). Vienna: Böhlau Studienbücher. ISBN 3-205-98179-0.
  • Rothenberg, Gunther E. (1976), The Army of Francis Joseph, Purdue University Press
  • Zovko, Ljubomir (2007). Studije iz pravne povijesti Bosne i Hercegovine: 1878. - 1941 (ภาษาโครเอเชีย). University of Mostar. ISBN 978-9958-9271-2-6.

หนังสืออ่านเพิ่ม

แก้
  • Armour, Ian D. "Apple of Discord: Austria-Hungary, Serbia and the Bosnian Question 1867-71." Slavonic and East European Review 87#4 2009, pp. 629–680. online
  • Bagger, Eugene S, Francis Joseph : emperor of Austria--king of Hungary (1927) online
  • Bridge, F.R. From Sadowa to Sarajevo: the foreign policy of Austria-Hungary, 1866-1914 (1972) online
  • Cipolla, Carlo M., บ.ก. (1973). The Emergence of Industrial Societies vol 4 part 1. Glasgow: Fontana Economic History of Europe. pp. 228–278. online
  • Cornwall, Mark, ed. The Last Years of Austria–Hungary: Essays in political and military history, 1908-1918 (U of Exeter Press, 2002). online ISBN 0-85989-563-7
  • Encyclopædia Britannica (12th ed. 1922) comprises the 11th edition plus three new volumes (30–32) that cover events since 1911 with very thorough coverage of World War I as well as every country and colony (partly online).
  • Evans, R. J. W. Austria, Hungary, and the Habsburgs (2008) doi:10.1093/acprof:oso/9780199541621.001.0001
  • Fichtner, Paula Sutter. Historical Dictionary of Austria (2nd ed 2009)
  • Good, David. The Economic Rise of the Habsburg Empire (1984) excerpt
  • Herman, Arthur. What Life Was Like: At Empire's End : Austro-Hungarian Empire 1848–1918 (Time Life, 2000); heavily illustrated
  • Jelavich, Barbara. Modern Austria: empire and republic, 1815-1986 (Cambridge UP, 1987, pp 72–150.
  • Judson, Pieter M. (2016). The Habsburg Empire. doi:10.4159/9780674969346. ISBN 978-0-674-96934-6. pp 264–436.
  • Johnston., William M. The Austrian Mind: An Intellectual and Social History, 1848-1938 (U of California Press, 1972) 515 pp.
  • Kann, Robert A. (1974). A History of the Habsburg Empire: 1526–1918. U of California Press.; highly detailed history; emphasis on ethnicity
  • Macartney, Carlile Aylmer The Habsburg Empire, 1790–1918, New York, Macmillan 1969.
  • Mason, John W. The dissolution of the Austro-Hungarian empire, 1867-1918 (Routledge, 2014).
  • May, Arthur J. The Hapsburg Monarchy 1867–1914 (Harvard UP, 1951). online
  • Milward, Alan, and S. B. Saul. The Development of the Economies of Continental Europe 1850-1914 (1977) pp 271–331. online
  • Mitchell, A. (2018). The Grand Strategy of the Habsburg Empire. doi:10.23943/9781400889969. ISBN 978-1-4008-8996-9. S2CID 239313989.
  • Oakes, Elizabeth and Eric Roman. Austria–Hungary and the Successor States: A Reference Guide from the Renaissance to the Present (2003)
  • Palmer, Alan. Twilight of the Habsburgs: The Life and Times of Emperor Francis Joseph. New York: Weidenfeld & Nicolson, 1995. ISBN 0-87113-665-1
  • Redlich, Joseph. Emperor Francis Joseph Of Austria. New York: Macmillan, 1929. online free
  • Roman, Eric. Austria-Hungary & the Successor States: A Reference Guide from the Renaissance to the Present (2003), 699pp online
  • Rudolph, Richard L. Banking and industrialization in Austria-Hungary: the role of banks in the industrialization of the Czech crownlands, 1873-1914 (1976) online
  • Sauer, Walter. "Habsburg Colonial: Austria-Hungary's Role in European Overseas Expansion Reconsidered,” Austrian Studies (2012) 20:5-23 ONLINE
  • Sked, Alan (1989). The Decline and Fall of the Habsburg Empire, 1815–1918. London: Longman.
  • Steed, Henry Wickham; และคณะ (1914). A short history of Austria–Hungary and Poland. Encyclopaedia Britannica Company. p. 145.
  • Sugar, Peter F. et al. eds. A History of Hungary (1990), pp 252–294.
  • Taylor, A.J.P. (1964). The Habsburg monarchy, 1809–1918: a history of the Austrian Empire and Austria–Hungary (2nd ed.). London: Penguin Books.; politics and diplomacy
  • Tschuppik, Karl. The reign of the Emperor Fransis Joseph (1930) online
  • Turnock, David. Eastern Europe: An Historical Geography: 1815-1945 (1989)
  • Usher, Roland G. "Austro-German Relations Since 1866." American Historical Review 23.3 (1918): 577-595 online.
  • Várdy, Steven, and Agnes Várdy. The Austro-Hungarian mind: at home and abroad (East European Monographs, 1989)
  • Vermes, Gabor. "The Impact of the Dual Alliance on the Magyars of the Austro-Hungarian Monarchy" East Central Europe (1980) vol 7 DOI: 10.1163/187633080x00211

แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับสงครามโลก

แก้

ข้อมูลปฐมภูมิ

แก้
  • Austro-Hungarian Monarchy. Austro-Hungarian red book. (1915) English translations of official documents to justify the war. online
  • Baedeker, Karl (1906). "Austria–Hungary, Including Dalmatia and Bosnia. Handbook for Travellers". Bulletin of the American Geographical Society. 38 (3): 208. doi:10.2307/197930. hdl:2027/mdp.39015004037399. JSTOR 197930.
  • Gooch, G. P. Recent Revelations of European Diplomacy (1940), pp 103–59 summarizes memoirs of major participants
  • Steed, Henry Wickham. The Hapsburg monarchy (1919) online detailed contemporary account

แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นิพนธ์ และความทรงจำ

แก้

แหล่งอ้างอิงในภาษาเยอรมัน

แก้
  • Geographischer Atlas zur Vaterlandskunde an der österreichischen Mittelschulen. (ed.: Rudolf Rothaug), K. u. k. Hof-Kartographische Anstalt G. Freytag & Berndt, Vienna, 1911.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้