จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย

จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 หรือ จักรพรรดิฟรานซิส โจโซฟที่ 1 (เยอรมัน: Franz Joseph Karl, ฮังการี: Ferenc József Károly, สโลวีเนีย: Franc Jožef Karel, โครเอเชีย: Franjo Josip Karlo, เช็ก: František Josef Karel, โรมาเนีย: Francisc Iosif Carol, 18 สิงหาคม ค.ศ. 1830 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1916) ทรงเป็นจักรพรรดิออสเตรีย พระมหากษัตริย์ฮังการี และรัฐอื่น ๆ ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1848 จนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคต[1] ทรงเป็นประธานสมาพันธรัฐเยอรมันตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1850 จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1866 พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองและเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิออสเตรีย–ฮังการี ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุด และเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดเป็นอันดับหกของรัฐทั้งหมดในประวัติศาสตร์

ฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1
จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟ ใน ป. 1903
จักรพรรดิแห่งออสเตรีย
พระมหากษัตริย์แห่งฮังการี
ครองราชย์2 ธันวาคม 1848– 21 พฤศจิกายน 1916
(67 ปี 355 วัน)
ราชาภิเษก8 มิถุนายน 1867, บูดาเปสต์ (ฮังการี)
ก่อนหน้าแฟร์ดีนันท์ที่ 1 และ 5
ถัดไปคาร์ลที่ 1 และ 4
พระมหากษัตริย์แห่งลอมบาร์เดีย-เวนิส
ครองราชย์2 ธันวาคม 1848 – 12 ตุลาคม 1866
ก่อนหน้าแฟร์ดีนันท์ที่ 1
ถัดไปผนวกเข้ากับอิตาลี
องค์ประธานแห่งสมาพันธรัฐเยอรมัน
ในตำแหน่ง1 พฤษภาคม 1850 – 24 สิงหาคม 1866
ก่อนหน้าแฟร์ดีนันท์ที่ 1
ถัดไปวิลเฮ็ล์มที่ 1
(องค์ประธานแห่งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ)
พระราชสมภพ18 สิงหาคม ค.ศ. 1830(1830-08-18)
พระราชวังเชินบรุนน์ เวียนนา จักรวรรดิออสเตรีย
สวรรคต21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1916(1916-11-21) (86 ปี)
พระราชวังเชินบรุนน์ เวียนนา จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ฝังพระศพวิหารฮาพส์บวร์ค
คู่อภิเษกดัชเชสเอลีซาเบ็ทในบาวาเรีย (สมรส 1854; เสียชีวิต 1898)
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
เยอรมัน: ฟรันทซ์ โยเซ็ฟ คาร์ล
อังกฤษ: ฟรานซิส โจเซฟ ชาลส์
ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน
พระราชบิดาอาร์ชดยุกฟรันซ์ คาร์ลแห่งออสเตรีย
พระราชมารดาเจ้าหญิงโซฟีแห่งบาวาเรีย
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธย

พระราชประวัติ

แก้
 
อาร์ชดยุกฟานซ์ โยเซ็ฟและอาร์ชดัชเชสโซฟี พระชนนี

จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟพระราชสมภพเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1830 ณ พระราชวังเชินบรุนน์ กรุงเวียนนา จักรวรรดิออสเตรีย เป็นพระราชบุตรพระองค์ใหญ่ในอาร์ชดยุกฟรันทซ์ คาร์ล (ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้องในจักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) กับเจ้าหญิงโซฟีแห่งบาวาเรีย

เมื่อ ค.ศ. 1848 พระราชปิตุลาของพระองค์ จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ ทรงสละราชสมบัติกะทันหัน เนื่องจากเกิดการปฏิวัติในกรุงเวียนนา โดยมีประชามติให้พระองค์สละราชสมบัติ อาร์ชดยุกฟรันทซ์ คาร์ล ซึ่งเป็นพระอนุชาจึงทรงแนะนำให้ผู้เป็นพระเชษฐาสละราชสมบัติให้กับพระโอรสของพระองค์ อาร์ชดยุกฟรันทซ์ คาร์ล และอาร์ชดัชเชสโซฟีจึงมีพระบัญชาให้พระโอรสของพระองค์เตรียมตัวขึ้นเป็นจักรพรรดิ โดยให้ทรงตระหนักถึงภาระหน้าที่ อาร์ชดยุกฟรันทซ์ โยเซ็ฟจึงทรงดีพระทัยที่จะได้เป็นองค์พระจักรพรรดิ ทรงเกิดความเคารพนับถือและเลื่อมใสจักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 1 พระอัยกาของพระองค์ว่าทรงเป็นตัวอย่างที่จะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่ทรงเป็นจักรพรรดิ ซึ่งเสด็จสวรรคตเมื่อพระองค์มีพระชนมายุเพียง 5 พรรษาเท่านั้น

เมื่อเจริญพระชนมายุ 13 พรรษา พระองค์ทรงเข้าร่วมการฝึกทหารในราชนาวีกองทัพออสเตรีย พระองค์ทรงได้รับการฝึกฝนอย่างเข้มงวด ชนิดที่ออกนอกกรอบไม่ได้เลยทีเดียว ดังนั้น พระองค์จึงทรงเครื่องแบบทหารราชนาวีตลอดมาจนเมื่อได้ทรงครองราชสมบัติ

หลังจากที่เจ้าชายคลีเมนส์ เว็นเซิล แห่งเม็ทเตอร์นิช (Klemens von Metternich) สมุหนายกแห่งออสเตรียได้ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากการปฏิวัติในกรุงเวียนนาเมื่อ ค.ศ. 1848 อาร์ชดยุกฟรันทซ์ โยเซ็ฟ ในฐานะที่จะได้สืบราชสมบัติต่อจากพระราชปิตุลา ทรงแต่งตั้งเจ้าชายแห่งเม็ทเตอร์นิชให้เป็นผู้ว่าการรัฐแห่งโบฮีเมีย เมื่อวันที่ 6 เมษายน หลังจากนั้นไม่นาน วันที่ 29 เมษายน พระองค์เสด็จเยือนประเทศอิตาลี เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทั้ง 2 ประเทศโดยมีจอมพลโยเซ็ฟ โรเด็ทสกี ฟ็อน ราเด็ทส์ เป็นผู้ติดตาม ในขณะเดียวกัน พระองค์ทรงถูกเรียกกลับประเทศอย่างกะทันหัน พระบิดาและพระมารดาของพระองค์ทรงเรียกให้มาที่เมืองอินส์บรุค รัฐทีโรล ซึ่งที่นั่นเองทำให้พระองค์ได้พบกับพระญาติของพระองค์ เอลีซาเบ็ทแห่งออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเป็นผู้ที่จะเป็นเจ้าสาวของพระองค์ในอนาคต ซึ่งขณะนั้น ดัชเชสเอลีซาเบ็ทมีพระชันษาเพียง 10 ปี

ในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1848 พระราชปิตุลาของพระองค์ จักรพรรดิแฟร์ดีนันท์ ทรงสละราชสมบัติกะทันหัน โดยตอนแรก ทรงสละราชสมบัติให้กับอาร์ชดยุกฟรันทซ์ คาร์ล แต่พระองค์ทรงมอบราชบัลลังก์ให้กับพระโอรสของพระองค์เสียเอง อาร์ชดยุกฟรันทซ์ โยเซ็ฟ จึงทรงครองราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งออสเตรีย และ กษัตริย์แห่งฮังการี ขณะมีพระชันษาได้ 18 ปี

การปฏิวัติทางการเมือง

แก้
 
จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟ

1 ปีผ่านไป ของการเป็นจักรพรรดิ พระองค์ได้รับคำแนะนำของเจ้าชายเฟลิกซ์แห่งชวาร์เซ็นเบิร์ก นายกรัฐมนตรีของออสเตรีย ซึ่งแนะนำให้พระองค์ทรงระมัดระวัง ที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งในเวลาเดียวกันนั้นเอง ทหารได้เข้าจับกุมชาวฮังการีกลุ่มหนึ่งซึ่งก่อการกบฏ โดยมุ่งหมายที่จะล้มล้างและโจมตีราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ทำให้พระองค์ทรงได้เผชิญหน้าทำสงครามกับพระเจ้าการ์โล อัลแบร์โตแห่งซาร์ดิเนีย ซึ่งทรงชวนฮังการีมาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย เมื่อจักรพรรดิทรงทราบ พระองค์จึงทรงทำสงครามกับซาร์ดิเนียในสมรภูมิคัสโตซ่า เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1849 ผลของสงครามครั้งนี้คือ ฝ่ายออสเตรียเป็นฝ่ายชนะ และกษัตริย์แห่งซาร์ดิเนียสิ้นพระชนม์ในสมรภูมิรบด้วย เมื่อเสร็จสิ้นสงครามแล้ว พระองค์ก็ยังทรงต้องสะสางปัญหาทั้งหมดในจักรวรรดิ คือ การปฏิวัติในฮังการีเมื่อปี ค.ศ. 1848 ซึ่งชาวแม็กยาร์ (ฮังการี) ได้เรียกร้องเอกราชจากออสเตรีย พระองค์จึงทรงเจรจากับผู้นำปฏิวัติให้มั่นใจในระบอบการปกครองของพระองค์ ซึ่งผลจากการเจรจาก็คือ ฮังการียอมสลายการปฏิวัติและจงรักภักดีต่อพระองค์และพระราชวงศ์ แต่ปัญหาใหม่ก็มาคือ ปรัสเซียได้กีดกันออสเตรียไม่ให้ร่วมสมาชิกสหพันธรัฐเยอรมัน (German Ferderation) ซึ่งปรัสเซียเป็นผู้นำ ซึ่งการกีดกันไม่ให้ออสเตรียเป็นสมาชิกนี้ มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของออสเตรียและประเทศอื่นๆด้วย แต่ออสเตรียก็ยังเป็นสมาชิกสมาพันธรัฐเยอรมัน (German Confederation) โดยเมื่อ ค.ศ. 1852 เจ้าชายชวาร์เซ็นเบิร์ก นายกรัฐมนตรีออสเตรียถึงแก่อสัญกรรม และไม่มีใครมาดำรงตำแหน่งแทน และไม่สามารถหาคนอื่นมาดำรงตำแหน่งแทนได้ พระองค์จึงทรงเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเสียเอง โดยต่อจากนี้ไปพระองค์จะทรงมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งหมด...

การถูกลอบปลงพระชนม์

แก้
 
ภาพเขียนการลอบปลงพระชนม์จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟ

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1853 จักรพรรดิทรงรอดชีวิตจากการลอบปลงพระชนม์ของนักชาตินิยมชาวฮังการี แจนอส ลีเบนยี ซึ่งขณะนั้น พระองค์ทรงแปรพระราชอัธยาศัยกับราชเลขาของพระองค์ตามทางเดินริมแม่น้ำ ลีเบนยีก็วิ่งตรงเข้าหาพระองค์ โดยใช้มีดแทงเข้าที่ข้างหลังและพระศอของพระองค์อย่างจัง แต่ด้วยความที่พระองค์โปรดฉลองพระองค์ของทางราชการตลอด โดยฉลองพระองค์ที่พระองค์ทรงสวมใส่ตอนนั้น มีคอปกเสื้อที่ปิดพระศอโดยทำมาจากวัสดุที่เหนียวและหนา ดังนั้นพระองค์ทรงไม่มีบาดแผลที่พระศอ แต่ทรงมีบาดแผลที่ข้างหลัง ส่วนลีเบนยีผู้ลอบปลงพระชนม์นั้น ถูกจับกุมโดยทหารรักษาพระองค์ และนำส่งตัวไปพิจารณาคดีในชั้นศาล ศาลตัดสินให้ประหารชีวิต หลังจากการลอบปลงพระชนม์ไม่สำเร็จแล้ว พระราชอนุชาของพระองค์ อาร์ชดยุกแฟร์ดีนันท์ มัคซีมีลีอาน โยเซ็ฟ ภายหลังทรงเถลิงราชสมบัติเป็นจักรพรรดิแห่งเม็กซีโก ได้ทรงขอให้พระราชวงศ์ต่างๆในทวีปยุโรปบริจาคเงินสมทบทุนเพื่อสร้างวิหารใหม่ เพื่อเป็นที่หลบภัยของพระเชษฐาและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งในยุโรป โดยวิหารนี้ตั้งอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยเวียนนา ชื่อว่า โวทิฟเคิร์ช

การอภิเษกสมรส

แก้

เมื่อพระองค์ทรงเถลิงราชสมบัติในตอนแรกนั้น พระมารดาของพระองค์ทรงทูลกับพระองค์ให้ทรงรีบอภิเษกสมรส เพื่อที่จะได้มีองค์รัชทายาท โดยพระมารดาของพระองค์ทรงเลือกเจ้าสาวให้ โดยอาร์ชดัชเชสโซฟีทรงเลือกจัดเตรียมไว้ให้แล้ว คือพระนัดดาของพระองค์ ดัชเชสเฮเลนาแห่งบาวาเรีย พระธิดาองค์โตในเจ้าหญิงลูโดวีกา ผู้เป็นพระขนิษฐาของอาร์ชดัชเชสโซฟี โดยดัชเชสเฮเลนนั้นทรงพระชนมายุอ่อนกว่าจักรพรรดิเพียง 4 ปี แต่พระองค์ไม่โปรดที่จะอภิเษกสมรสกับดัชเชสเฮเลนา พระองค์กลับทรงเลือกที่จะอภิเษกสมรสกับพระขนิษฐาของดัชเชสเฮเลนแทนคือ ดัชเชสเอลีซาเบ็ท หลังจากได้ทรงพบรู้จักและวิสาสะกันเพียงไม่กี่วัน ท่ามกลางการคัดค้านของพระราชวงศ์ เพราะทรงเห็นว่าดัชเชสเฮเลนาเหมาะสมที่สุดที่จะเป็นองค์พระจักรพรรดินีและพระมเหสีของพระองค์ แต่พระองค์ทรงไม่สนพระทัยต่อคำพ้องของพระราชวงศ์รวมทั้งพระมารดา อย่างไรก็ตามพระราชวงศ์บาวาเรียทรงยอมจัดพระราชพิธีหมั้นให้ เพราะทรงเห็นว่าเป็นพระราชประสงค์ขององค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิออสเตรีย

จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟและดัชเชสเอลีซาเบ็ททรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1854 ณ มหาวิหารเซนต์ สตีเฟน กรุงเวียนนา ชีวิตสมรสของทั้งสองพระองค์ไม่ค่อยราบรื่นเท่าไหร่นัก เพราะฝ่ายหญิงถูกกีดกันโดยอาร์ชดัชเชสบางพระองค์ รวมทั้งอาร์ชดัชเชสโซฟี ผู้เป็นพระสัสสุต่างๆนาๆ เพื่อลดความสำคัญของพระองค์ไป แต่ด้วยความที่พระองค์ทรงเป็นองค์พระจักรพรรดินี พระชายาแห่งองค์ประมุขแห่งจักรวรรดิออสเตรีย พระองค์ทรงได้รับความช่วยเหลือและความมีน้ำพระทัยจากอาร์ชดยุกและอาร์ชดัชเชสบางพระองค์ รวมทั้งพระสวามีของพระองค์ด้วย

จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟ และจักรพรรดินีเอลีซาเบ็ทมีพระราชธิดา 3 พระองค์ และพระราชโอรสเพียง 1 พระองค์ รวมพระราชบุตรทั้งหมด 4 พระองค์ ดังนี้

ช่วงเวลาการครองราชย์

แก้

ช่วงเวลาที่พระองค์ทรงครองราชสมบัติเป็นจักรพรรดิแห่งออสเตรีย และกษัตริย์แห่งฮังการีนั้น ได้เกิดเหตุร้ายต่าง ๆ นา ๆ โดยเมื่อ ค.ศ. 1889 อาร์ชดยุกรูด็อล์ฟ มกุฎราชกุมารและพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว ทรงตัดสินใจปิดพระชนม์ชีพพระองค์เองด้วยพระแสงปืนที่คฤหาสน์ล่าสัตว์มาเยอร์ลิ่ง รัฐโลเวอร์ ออสเตรีย พร้อมด้วยนางสนมของพระองค์ บารอนเนสแมรี่ เว็ทเซร่า ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1898 จักรพรรดินีเอลีซาเบ็ท ผู้เป็นพระมเหสีอันเป็นที่รักยิ่งของพระองค์ ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ขณะทรงแปรพระราชฐานพักร้อน พระองค์ถูกมีดแทงจนสิ้นพระชนม์โดยนักอธิปไตยนิยมชาวอิตาลี การสูญเสียครั้งนี้สร้างความเสียพระทัยของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะจักรพรรดิผู้เป็นพระสวามี พระองค์ทรงอยู่ในห้วงระทมทุกข์ตลอดพระชนม์ชีพ โดยเมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น พระองค์ได้ทรงพาอาร์ชดัชเชสซีตา พระชายาในอาร์ชดยุกคาร์ล พระนัดดา (ภายหลังทรงเป็นจักรพรรดิและจักรพรรดินีแห่งออสเตรีย) และพระราชบุตรไปหลบภัย ณ พระราชวังเชินบรุนน์ พระองค์มีพระปฏิสันถารกับจักรพรรดินีซีต้าเกี่ยวกับพระมเหสีของพระองค์ว่า You'll never know how important she was for me (เจ้าไม่ทางรู้หรอกว่าพระนางมีความสำคัญกับข้าพเจ้ามากแค่ไหน)

ใน ค.ศ. 1850 เกิดปัญหาทางการเมืองการปกครองที่มีผลกระทบจากสงครามไครเมีย การมีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธไมตรีกับรัสเซีย สงครามออสเตรีย-ซาร์ดิเนีย และอุปสรรคของการเป็นสมาชิกสหพันธรัฐเยอรมัน จนนำไปสู่สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียเมื่อ ค.ศ. 1866 เป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองการปกครองครั้งใหญ่ โดยยุบจักรวรรดิออสเตรียลง เปลี่ยนมาใช้ระบอบการปกครองแบบองค์พระประมุขควบคู่ (Dual Monarchy) เพื่อรักษาเสถียรภาพและความสมดุลทางการเมือง คือจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเมื่อ ค.ศ. 1867

 
พระศพจักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟพร้อมด้วยพระมเหสีและพระราชโอรส

ใน ค.ศ. 1914 อาร์ชดยุกฟรันทซ์ แฟร์ดีนันด์ พระนัดดาของพระองค์ ซึ่งทรงดำลงตำแหน่งเป็นองค์รัชทายาทต่อจากอาร์ชดยุกรูด็อล์ฟซึ่งสิ้นพระชนม์ไป ถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยพระแสงปืนพร้อมด้วยพระชายา ณ เมืองซาราเยโว บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งการลอบปลงพระชนม์ครั้งนี้นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ทันที

จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟสวรรคตอย่างสงบเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1916 ณ พระราชวังเชินบรุนน์ ท่ามกลางอาร์ชดยุกและอาร์ชดัชเชส พระราชนัดดาหลายพระองค์ รวมทั้งอาร์ชดัชเชสซีตาด้วย พระองค์สวรรคตในระหว่างสงคราม สิริพระชนมพรรษาได้ 86 พรรษา รวมระยะเวลาการครองราชย์ได้ 68 ปี พระศพของพระองค์ถูกฝังไว้ที่วิหารฮาพส์บวร์ค กรุงเวียนนา โดยมีพระศพของจักรพรรดินีเอลีซาเบ็ทและอาร์ชดยุกรูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารตั้งอยู่เคียงข้าง

 
ตราประจำพระองค์ของจักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟ

ภาษิตประจำพระองค์

แก้

พระราชอิสริยยศ และ ราชอิสริยาภรณ์

แก้

พระราชอิสริยยศเต็ม

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1
แห่งออสเตรีย-ฮังการี
 
พระราชลัญจกร
 
ตราประจำพระองค์
การทูลฮิส อิมพีเรียล แอนด์ รอยัล อะโพสทอลิก มาเจสตี
การขานรับยัวร์ มาเจสตี

พระราชอิสริยยศเต็มของจักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟเมื่อทรงขึ้นครองราชย์ ดังนี้

His Imperial and Royal Apostolic Majesty Franz Josepf Karl von Habsburg-Loriane By the Grace of God, Franz Joseph I, Emperor of Austria, King of Hungary and Bohemia, King of Lombardy-Venetia, of Dalmatia, Croatia, Slavonia, Galicia, Lodomeria and Illyria; King of Jerusalem etc., Archduke of Austria; Grand Duke of Tuscany and Cracow, Duke of Lorraine, of Salzburg, Styria, Carinthia, Carniola and of the Bukovina; Grand Prince of Transylvania; Margrave of Moravia; Duke of Upper and Lower Silesia, of Modena, Parma, Piacenza and Guastalla, of Auschwitz, Zator and Teschen, Friuli, Ragusa (Dubrovnik) and Zara (Zadar) ; Princely Count of Habsburg and Tyrol, of Kyburg, Gorizia and Gradisca; Prince of Trent (Trento) and Brixen; Margrave of Upper and Lower Lusatia and in Istria; Count of Hohenems, Feldkirch, Bregenz, Sonnenberg.; Lord of Trieste, of Cattaro (Kotor) , and in the Windic march; Grand Voivode of the Voivodship of Serbia ด้วยอำนาจแห่งพระผู้เป็นเจ้า ฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 จักรพรรดิแห่งออสเตรีย กษัตริย์แห่งโบฮีเมีย ลอมบาร์ดี-เวเนเทีย ดาลมาเทีย โครเอเชีย สลาโวเนีย กาลิเซีย โลโดมีเรีย อีลีเรีย และเยรูซาเลม อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย แกรนด์ดยุคแห่งทัสคานีและคราโคว์ ดยุคแห่งลอร์เรน ซาร์สบูร์ก สตีเรีย คารินเธีย คาร์นิโอล่า และบูโกวิน่า แกรนด์ พรินซ์แห่งทรานซิลวาเนีย มาร์เกรฟแห่งโมราเวีย ดยุคแห่งอัปเปอร์และโลเวอร์ ซีลีเซีย โมเดน่า ปาร์มา ปิอาเซนซ่า กูแอสตาลล่า และออชวิตส์ เซเตอร์และเทสเชน ฟริวลี่ รากูซ่า (ดูบรอฟนิค) และซาร่า (ซาดาร์) ท่านเคานต์แห่งฮาพส์บวร์ค และทีรอล คายบูร์ก กอริเซีย และกราดิสก้า เจ้าชายแห่งเทรนต์และบริกเซน มาร์เกรฟแห่งอัปเปอร์และโลเวอร์ลูซาเทีย และอิสเตรีย เคานต์แห่งโฮเฮเน็มส์ เฟลด์เคิรช์ บรีเจนซ์ และซอนเนอเบิร์ก ลอร์ดแห่งเทรียสต์ คัทตาโร (คอเตอร์) และวินดิก มาร์ช แกรนด์ วอยวอร์ดแห่งเอร์เบีย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

จักรวรรดิออสเตรีย จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 ในฐานะองค์ประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งออสเตรีย

ต่างประเทศ

ราชตระกูล

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Francis Joseph, in Encyclopædia Britannica. Retrieved 19 April 2009
  • Beller, Steven. Francis Joseph. Profiles in power. London: Longman, 1996.
  • Bled, Jean-Paul. Franz Joseph. Oxford: Blackwell, 1992.
  • Cunliffe-Owen, Marguerite. Keystone of Empire: Francis Joseph of Austria. New York: Harper, 1903.
  • Gerö, András. Emperor Francis Joseph: King of the Hungarians. Boulder, Colo.: Social Science Monographs, 2001.
  • Palmer, Alan. Twilight of the Habsburgs: The Life and Times of Emperor Francis Joseph. New York: Weidenfeld & Nicolson, 1995.
  • Redlich, Joseph. Emperor Francis Joseph Of Austria. New York: Macmillan, 1929.
  • Van der Kiste, John. Emperor Francis Joseph: Life, Death and the Fall of the Habsburg Empire. Stroud, England: Sutton, 2005.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย ถัดไป
แฟร์ดีนันท์ที่ 1   จักรพรรดิแห่งออสเตรีย
อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย
2 ธันวาคม ค.ศ. 1848 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1916

  คาร์ลที่ 1
แฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย   กษัตริย์แห่งฮังการีและโบฮีเมีย
2 ธันวาคม ค.ศ. 1848 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1916

  คาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย
แฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย   กษัตริย์แห่งโครเอเชีย ดาลมาเทีย และ สโลวีเนีย
2 ธันวาคม ค.ศ. 1848 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1916

  คาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย
แฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย   ดยุคแห่งคาร์นิโอลา
2 ธันวาคม ค.ศ. 1848 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1916

  คาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย
แฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย   กษัตริย์แห่งกาลิเซีย
2 ธันวาคม ค.ศ. 1848 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1916

  คาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย
แฟร์ดีนันท์ที่ 1 แห่งออสเตรีย   กษัตริย์แห่งโลโดเมเรีย และอีลีเรีย
2 ธันวาคม ค.ศ. 1848 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1916

  คาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย
แฟร์ดีนันท์ที่ 1   องค์ประธานสมาพันธรัฐเยอรมัน
ค.ศ. 1849 – ค.ศ. 1866

  วิลเฮ็ล์ทที่ 1 แห่งปรัสเซีย