สงครามไครเมีย (อังกฤษ: Crimean War) เป็นการสู้รบตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1853 – กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1856 ระหว่างรัสเซียและฝ่ายสัมพันธมิตรที่เป็นฝ่ายได้รับชนะในตอนท้ายของจักรวรรดิออตโตมัน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย-ปีเยมอน

สงครามไครเมีย
ส่วนหนึ่งของ สงครามออตโตมันในยุโรปและสงครามรัสเซีย-ตุรกี

รายละเอียดภาพวาดพาโนรามา การล้อมเซวัสโตปอล (1904) โดย Franz Roubaud
วันที่16 ตุลาคม ค.ศ. 1853 – 30 มีนาคม ค.ศ. 1856 (1853-10-16 – 1856-03-30)
(2 ปี, 5 เดือน, 2 สัปดาห์)[ต้องการอ้างอิง]
สถานที่
ผล สนธิสัญญาปารีส
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
รัสเซียสูญเสียสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบและเบสซาราเบียตอนใต้
คู่สงคราม
 จักรวรรดิออตโตมัน
 ฝรั่งเศส[a]
 สหราชอาณาจักร[a]
 ซาร์ดีเนีย[b]
สนับสนุนโดย:
 ออสเตรีย
รัฐอิหม่ามคอเคซัส[c]
 รัสเซีย
 กรีซ[d]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
รวม: 673,900 นาย
จักรวรรดิออตโตมัน 235,568 นาย[1]
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง 309,268 นาย[2]
สหราชอาณาจักร 107,864 นาย[2]
พีดมอนต์-ซาร์ดิเนีย 21,000 นาย[2]
รวม: 889,000 นาย[2]

ระดมพล 888,000 นาย
ใช้งาน 324,478 นาย
ความสูญเสีย

รวม: 223,513 นาย

  • จักรวรรดิออตโตมัน 45,400 นาย[2]
  • 135,485 นาย[2]
  • สหราชอาณาจักร 40,462 นาย[2]
  • พีดมอนต์-ซาร์ดิเนีย 2,166 นาย[2]
รวม: 450,125 นาย[3][2]
ความสูญเสียรวมผู้เสียชีวิตจากโรค ในทุกกรณี ผู้เสียชีวิตจากโรคมีมากกว่าผลรวมของ "เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่" หรือ "เสียชีวิตจากบาดแผล".

สาเหตุทางภูมิรัฐศาสตร์ของสงครามรวมทั้งความเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน การขยายอาณาเขตของจักรวรรดิรัสเซียในสงครามรัสเซีย-ตุรกีที่ผ่านมา และบริติชและฝรั่งเศสให้ความสำคัญในการปกป้องจักรวรรดิออตโตมันเพื่อรักษาสมดุลแห่งอำนาจในความร่วมมือแห่งยุโรป จุดลุกเป็นไฟคือความไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับสิทธิของชนกลุ่มน้อยชาวคริสเตียนในปาเลสไตน์ ในตอนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน ร่วมกับฝรั่งเศสได้สนับสนุนสิทธิของชาวนิกายโรมันคาทอลิก และรัสเซียได้สนับสนุนสิทธิของชาวนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

คริสตจักรหาทางจัดการความขัดแย้งของพวกเขากับออตโตมัน และเข้ามาทำข้อตลง แต่ทั้งจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศสและจักรพรรดิซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซียได้ปฏิเสธที่จะล่าถอยกลับ จักรพรรดินีโคลัสได้ยื่นคำขาดโดยเรียกร้องให้พลเมืองชาวนิกายออร์ทอดอกซ์ในจักรวรรดิออตโตมันมาอยู่ภายใต้การคุ้มครองของพระองค์ บริติชได้พยายามไกล่เกลี่ยและจัดการประนีประนอมซึ่งจักรพรรดินีโคลัสทรงเห็นด้วย เมื่อออตโตมันได้เรียกร้องให้เปลี่ยงแปลงข้อตกลง จักรพรรดินีโคลัสทรงปฏิเสธและเตรียมพร้อมสำหรับสงคราม

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1853 กองทหารรัสเซียเข้ายึดดานูเบียนพรินซิพาลิตี (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโรมาเนีย แต่ตอนนั้นอยู่ภายใต้อำนาจซูเซอเรนทีของออตโตมัน) วันที่ 16 ตุลาคม[ปฏิทินแบบเก่าคือ 4 ตุลาคม] ค.ศ. 1853 ได้รับคำมั่นสัญญาของการสนับสนุนจากฝรั่งเศสและอังกฤษ ออตโตมันได้ประกาศสงครามกับรัสเซีย นำโดยโอมาร์พาช่า ออตโตมานได้ต่อสู้รบการทัพป้องกันอย่างหนักแน่น และหยุดยั้งการรุกคืบของรัสเซียที่ซิลิสตรา (ปัจจุบันในบัลแกเรีย) ปฏิบัติการที่แบ่งแยกในเมืองป้อมของการ์ส ในจักรวรรดิออตโตมันนำไปสู่การล้อม และความพยายามของออตโตมันในการเสริมกำลังกองทหารรักษาการณ์ได้ถูกทำลายโดยกองเรือรัสเซียที่ยุทธการที่ซีโนปในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1853

ด้วยความกลัวว่าออตโตมันถึงคราวล่มสลาย กองเรือบริติชและฝรั่งเศสได้เข้าสู่ทะเลดำในเดือนมกราคม ค.ศ. 1854 พวกเขามุ่งทางเหนือสู่วาร์นาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1854 และมาถึงทันเวลาที่รัสเซียจะละทิ้งซิลิสตรา ในทะเลบอลติก ใกล้กับเมืองหลวงของรัสเซียอย่างเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก กองเรืออังกฤษ-ฝรั่งเศสได้จัดตั้งการปิดล้อมทางทะเลและปิดกั้นกองเรือบอลติกของรัสเซียที่มีจำนวนมากกว่า ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียโดยการปิดกั้นการค้า ในขณะเดียวกันยังได้บีบบังคับให้รัสเซียเก็บกองทัพขนาดใหญ่ไว้เพื่อพิทักษ์เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กจากการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตรที่อาจเป็นไปได้

ภายหลังจากการสู้รบปะทะเล็กน้อยที่ Kustenge (กอนสตันซาในปัจจุบัน) ผู้บัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตัดสินใจในการโจมตีฐานทัพเรือหลักของรัสเซียในทะเลดำ เซวัสโตปอลในไครเมีย ภายหลังจากการเตรียมการที่ยืดยาวออกไป กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยกพลขึ้นบกที่คาบสมุทรในเดือนกันยายน ค.ศ. 1854 และเคลื่อนทัพไปยังจุดทางใต้ของเซวัสโตปอล ภายหลังจากพวกเขาได้รับชัยชนะในยุทธการที่แม่น้ำอัลมา เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1854 รัสเซียได้ตอบโต้กลับ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ในสิ่งที่กลายเป็นยุทธการที่บาลาคลาวาและถูกขับไล่ แต่กองกำลังของกองทัพอังกฤษได้หมดกำลังอย่างร้ายแรงจากผลที่ตามมา การตอบโต้กลับของรัสเซียครั้งที่สองที่อิงเกอร์แมน (เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1854) จบลงในภาวะจนมุมเช่นกัน

ใน ค.ศ. 1855 ราชอาณาจักรซาร์ดิเนียของอิตาลีได้ส่งกองกำลังรบนอกประเทศไปยังไครเมีย เข้าข้างกับฝรั่งเศส บริติชและจักรวรรดิออตโตมัน แนวหน้าตั้งอยู่ที่การล้อมเซวัสโตปอล เกี่ยวข้องกับสภาพที่โหดร้ายสำหรับกองทหารทั้งสองฝ่าย ปฏิบัติการทางทหารขนาดเล็กเกิดขึ้นในคอเคซัส(ค.ศ. 1853-1855) ทะเลขาว (เดือนกรกฏาคม-สิงหาคม ค.ศ. 1854) และแปซิฟิกเหนือ (ค.ศ. 1854-1855)

เซวัสโตปอลถูกตีแตกในที่สุดหลังสิบเอ็ดเดือน ภายหลังจากฝรั่งเศสได้เข้าโจมตีป้อมมาลาคอฟฟ์ ด้วยความโดดเดี่ยวและเผชิญหน้ากับการคาดการณ์อันมืดมัวของการบุกครองโดยตะวันตกหากสงครามดำเนินต่อไป รัสเซียได้ร้องขอสันติภาพในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1856 ฝรั่งเศสและบริเตนได้ยินดีกับสถานการณ์ เนื่องจากความขัดแย้งของประเทศของตนไม่เป็นที่นิยม สนธิสัญญาปารีส ได้ถูกลงนาม เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1856 ซึ่งเป็นอันสิ้นสุดสงคราม มันเป็นการสั่งห้ามรัสเซียตั้งฐานทัพเรือในทะเลดำ รัฐประเทศราชของออตโตมันแห่งวอลเลเกียและมอลดาเวียได้รับอิสรภาพอย่างมากมาย ชาวคริสเตียนในจักรวรรดิออตโตมันได้รับฐานะที่เสมอภาคอย่างเป็นทางการ และคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ได้เข้าควบคุมคริสจักรคริสเตียนในข้อพิพาทอีกครั้ง

สงครามไครเมียเป็นหนึ่งในความขัดแย้งครั้งแรกที่กองกำลังทหารใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น กระสุนระเบิดปืนใหญ่ของกองทัพเรือ ทางรถไฟ และโทรเลข สงครามไครเมียเป็นหนึ่งในสงครามครั้งแรก ๆ ที่มีการบันทึกอย่างกว้างขวาง ทั้งเป็นลายลักษณ์อักษรและภาพถ่าย สงครามกลายเป็นสัญลักษณ์ของความล้มเหลวทางด้านโลจิสติกส์ การแพทย์ และยุทธวิธีอย่างรวดเร็ว และการจัดการที่ไม่ดี การตอบสนองในบริเตนได้นำไปสู่ความต้องการวิชาชีพด้านการแพทย์ ความสำเร็จที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้ซึ่งได้รับความสนใจจากทั่วโลกในการบุกเบิกพยาบาลศาสตร์สมัยใหม่ในขณะที่เธอรักษาผู้บาดเจ็บ

สงครามไครเมียได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนอย่างชัดเจนสำหรับจักรวรรดิรัสเซีย สงครามทำให้กองทัพบกจักรวรรดิรัสเซียอ่อนแอ ทำให้ท้องพระคลังหมดลงและทำลายอิทธิพลในยุโรปของรัสเซีย จักรวรรดิจะต้องใช้เวลาสิบปีในการฟื้นฟู ความอัปยศอดสูของรัสเซียได้บีบบังคับให้ชนชั้นสูงที่มีการศึกษาต้องบ่งบอกปัญหาและตระหนักถึงความจำเป็นในการปฏิรูปขั้นพื้นฐาน พวกเขาเห็นว่าการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างรวดเร็วเป็นหนทางเดียวในการกอบกู้สถานะของจักรวรรดิในฐานะมหาอำนาจของยุโรป สงครามจึงกลายเป็นตัวกระตุ้นสำหรับการปฏิรูปสถาบันทางสังคมของรัสเซีย รวมทั้งการยกเลิกทาสติดที่ดินและปรับปรุงระบบยุติธรรม การปกครองตนเองในท้องถิ่น การศึกษา และการรับราชการทหาร

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 ตั้งแต่ ค.ศ. 1854
  2. ตั้งแต่ ค.ศ. 1855
  3. จนถึง ค.ศ. 1855
  4. จนถึง ค.ศ. 1854

อ้างอิง

แก้
  1. Badem 2010, p. 180.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 Clodfelter 2017, p. 180.
  3. Mara Kozelsky, "The Crimean War, 1853–56." Kritika: Explorations in Russian and Eurasian History 13.4 (2012): 903–917 online.

ข้อมูล

แก้
  • Badem, Candan (2010). The Ottoman Crimean War (1853–1856). Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-18205-9.
  • Clodfelter, M. (2017). Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Encyclopedia of Casualty and Other Figures, 1492-2015 (4th ed.). Jefferson, North Carolina: McFarland. ISBN 978-0786474707.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Crimean War