ปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)

ปาเลสไตน์ (อังกฤษ: Palestine; อาหรับ: فلسطين, ฟิลัสฏีน, ฟะลัสฏีน, ฟิลิสฏีน; กรีก: Παλαιστίνη, Palaistinē; ละติน: Palaestina; ฮีบรู: פלשתינה Palestina) เป็นชื่อสามัญของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันตกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับแม่น้ำจอร์แดน และ ดินแดนใกล้เคียงต่าง ๆ [1][2][3][4][5][6]

ภูมิภาคปาเลสไตน์

  ขอบเขตมณฑลซีเรียปาไลส์ตีนาของโรมันในเส้นประสีเขียว ซึ่งแสดงขอบเขตระหว่างปาไลส์ตีนาปรีมา (ภายหลังคือญุนด์ฟิลัสฏีน) และปาไลส์ตีนาเซกุนดา (ภายหลังคือญุนดุลอุรดุนน์) เช่นเดียวกันกับปาไลส์ตีนาซาลูตาริส (ภายหลังคือ Jebel et-Tih และ the Jifar) ของไบแซนไทน์
ภาษาอาหรับ, ฮีบรู
ส่วนประกอบ อิสราเอล
 ปาเลสไตน์
 จอร์แดน (อดีต)

นักเขียนกรีกโบราณเป็นผู้เริ่มใช้ชื่อนี้ ต่อมาใช้เป็นชื่อของมณฑลซีเรียปาเลสตีนาของโรมัน และต่อมาอยู่ในการครอบครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์และดินแดนของอิสลามตามลำดับ ภูมิภาคดังกล่าวประกอบด้วยภูมิภาคที่เรียก แผ่นดินอิสราเอล, แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์หรือแผ่นดินแห่งพระสัญญาในพระคัมภีร์ไบเบิล และเป็นส่วนใต้ของอาณาบริเวณที่ใหญ่กว่า เช่น คานาอัน ซีเรีย อัชชาม และลิแวนต์

บริเวณนี้เป็นรอยต่อของอียิปต์ ซีเรียและอาราเบีย และเป็นที่กำเนิดของศาสนายูดายและศาสนาคริสต์ เป็นทางแพร่งของศาสนา วัฒนธรรม การพาณิชย์และการเมือง มีการผลัดเปลี่ยนมือกันตลอดประวัติศาสตร์

พรมแดนของภูมิภาคนี้เปลี่ยนแปลงตลอดประวัติศาสตร์ และนิยามในสมัยใหม่ล่าสุดโดยความตกลงพรมแดนฝรั่งเศส-อังกฤษ (1920) และ รายงานทรานส์จอร์แดน วันที่ 16 กันยายน 1922 ระหว่างสมัยใต้อาณัติ (mandate) ปัจจุบัน ภูมิภาคดังกล่าวประกอบด้วยรัฐอิสราเอลและดินแดนปาเลสไตน์[7]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Carl S. Ehrlich "Philistines" The Oxford Guide to People and Places of the Bible. Ed. Bruce M. Metzger and Michael D. Coogan. Oxford University Press, 2001.
  2. "The Palestine Exploration Fund". The Palestine Exploration Fund. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-05. สืบค้นเมื่อ 4 April 2008.
  3. "Palestine:". JewishEncyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 15 September 2011.
  4. Pappe, Ilan (2006). A History of Modern Palestine: One Land, Two Peoples. Cambridge University Press. ISBN 0-521-68315-7. สืบค้นเมื่อ 6 February 2011.
  5. Kramer, Gudrun (2008). A History of Palestine: From the Ottoman Conquest to the Founding of the State of Israel. Princeton University Press. ISBN 0-691-11897-3. สืบค้นเมื่อ 6 February 2011.
  6. Ahlstrom, Gosta (1993). The History of Ancient Palestine. Augsburg Fortress Publishers. ISBN 0-8006-2770-9. สืบค้นเมื่อ 6 February 2011.
  7. Encyclopedia of the Ottoman Empire, Bruce Alan Masters, Gábor Ágoston. Books.google.co.uk. สืบค้นเมื่อ 17 August 2012.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

31°37′31″N 35°08′43″E / 31.6253°N 35.1453°E / 31.6253; 35.1453