ฉนวนกาซา
ฉนวนกาซา (อังกฤษ: Gaza Strip; อาหรับ: قطاع غزة; ฮีบรู: רצועת עזה) เป็นชื่อเรียกอาณาบริเวณแคบ ๆ ขนาด 360 ตร.กม. ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในตะวันออกกลาง
ฉนวนกาซา قطاع غزة Qiṭāʿ Ġazzah | |
---|---|
ธงชาติ | |
![]() | |
เมืองใหญ่สุด | กาซา |
ภาษาราชการ | ภาษาอาหรับ |
รัฐเอกราช | ![]() |
ผู้นำ | |
• ประธานาธิบดี | มะห์มูด อับบาส |
• นายกรัฐมนตรี | Rami Hamdallah |
พื้นที่ | |
• รวม | 360 ตารางกิโลเมตร (140 ตารางไมล์) |
ประชากร | |
• 2557 ประมาณ | 1,816,379 |
5,046 ต่อตารางกิโลเมตร (13,069.1 ต่อตารางไมล์) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2557 (ประมาณ) |
• รวม | $1.35 พันล้าน (–) |
• ต่อหัว | $6,100 (–) |
สกุลเงิน |
|
เขตเวลา | UTC+2 |
• ฤดูร้อน (DST) | UTC+3 |
รหัสโทรศัพท์ | +970 |
โดเมนบนสุด | .ps, فلسطين. |
|
โดยมีประชากรชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประมาณ 1.7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพลี้ภัย โดยในการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2005 ประชากรถึง 1 ล้านคนได้จัดอยู่ในฐานะของผู้ลี้ภัย ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในพื้นที่ฉนวนกาซา และอีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ซึ่งอพยพมาในปี ค.ศ. 1948 ซึ่งเป็นผลหลังจากสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1948 โดยประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีย์ และมีอัตราการเติบโตของประชากรราวร้อยละ 3.2 ต่อปี หรือคิดเป็นอันดับที่ 7 ของประเทศที่มีอัตราการเติบโตประชากรสูงที่สุดในโลก
ปัจจุบันยังไม่มีชาติใดให้การรับรองฉนวนกาซาว่าเป็นดินแดนที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง บางส่วนได้ถือว่าฉนวนกาซาเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของอิสราเอล ซึ่งอิสราเอลได้ให้การปฏิเสธหลังจากถอนทหารไปเมื่อ ค.ศ. 2005 อย่างไรก็ตามอิสราเอลได้ควบคุมการเข้าออกฉนวนกาซาทั้งทางน้ำและทางอากาศ
ภูมิศาสตร์แก้ไข
ในทางภูมิศาสตร์ ฉนวนกาซาถือเป็นดินแดนของปาเลสไตน์ โดยมีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นความยาวประมาณ 11 กิโลเมตรติดกับประเทศอียิปต์ ทางเหนือและตะวันออกติดกับประเทศอิสราเอลเป็นระยะทางราว 51 กิโลเมตร ทางตะวันตกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นระยะทางชายฝั่งประมาณ 41 กิโลเมตร
สภาพภูมิอากาศในบริเวณนี้มีความชื้นในอากาศต่ำ และมีช่วงฤดูหนาวที่ค่อนข้างอุ่น และฤดูร้อนอาจจะส่งผลรุนแรงถึงวิกฤตการณ์ภัยแล้งได้ ด้านทรัพยากรณ์ธรรมชาติ รวมถึงพื้นแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก (ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด) และไม่นานนี้ได้มีการขุดพบก๊าซธรรมชาติด้วย
ประวัติศาสตร์แก้ไข
พรมแดนของฉนวนกาซาถูกแบ่งโดยกองทัพอิสราเอลและอียิปต์หลังจากสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1948 ซึ่งส่งผลทีหลังให้สหราชอาณาจักรเลิกการครอบครองปาเลสไตน์ หลังจากนั้นฉนวนกาซาถูกปกครองโดยอียิปต์ (อิสราเอลได้ครอบครองเป็นเวลาสั้นๆ คือ 4 เดือน ในช่วงวิกฤตการณ์คลองสุเอซ) แต่เมื่ออิสราเอลชนะสงครามหกวัน ใน ค.ศ. 1967 ฉนวนกาซาเป็นหนึ่งในดินแดนที่อียิปต์เสียให้อิสราเอล
ค.ศ. 1993 อิสราเอลและปาเลสไตน์ได้ตกลงกันเซ็นสนธิสัญญาออสโล ซึ่งมีใจความว่าอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์มีอำนาจในการปกครองตัวเอง (อย่างจำกัด) ในเขตฉนวนกาซา ใน ค.ศ. 2005 ภายใต้การนำของประธานาธิบดีอาเรียล ชารอน อิสราเอลได้ดำเนินการถอนทหารและประชาชนชาวอิสราเอล ที่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซาทั้งหมด ซึ่งหมายถึงการหมดอำนาจปกครองของอิสราเอลที่ยาวนานมาถึง 36 ปี
ปัจจุบันอิสราเอลยังควบคุมการเข้าออกฉนวนกาซาจากภายนอก ส่วนสถานะทางการเมืองระหว่างประเทศของฉนวนกาซายังไม่ได้ข้อยุติ โดยสามารถมองได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของชาวปาเลสไตน์ ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 มีชาวปาเลสไตน์ เสียชีวิต 55 คน จากการประท้วงครั้งใหญ่[1]
ดูเพิ่มแก้ไข
หมายเหตุแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ฉนวนกาซา |
- ฉนวนกาซา จากเว็บซีไอเอ