ทะเลดำ
ทะเลตูดดำ (อังกฤษ: Black Sea หรือชื่อในสมัยโบราณ Euxine Sea) เป็นทะเลที่อยู่ระหว่างทวีปยุโรป (ด้านตะวันออกเฉียงใต้), เอเชียไมเนอร์ และดินแดนคอเคซัส มีทางออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลอีเจียน และช่องแคบอีกหลายแห่ง ทางช่องแคบบอสฟอรัสที่เชื่อมต่อกับทะเลมาร์มะรา แล้วผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์เชื่อมต่อไปยังทะเลอีเจียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลแห่งนี้ได้แยกยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตกออกจากกัน นอกจากนี้ทะเลดำยังเชื่อมต่อกับทะเลอะซอฟผ่านทางช่องแคบเคียร์ช
ทะเลดำ | |
---|---|
ที่ตั้งของทะเลดำ | |
แผนที่ทะเลดำที่มีความลึกน้ำและภูมิประเทศล้อมรอบ | |
ที่ตั้ง | ยุโรปและเอเชียตะวันตก |
พิกัด | 44°N 35°E / 44°N 35°E |
ชนิด | ทะเล |
แหล่งน้ำไหลเข้าหลัก | ดานูบ, นีเปอร์, ดอน, นีสเตอร์, คูบัน |
แหล่งน้ำไหลออก | ช่องแคบบอสพอรัส |
ประเทศในลุ่มน้ำ | บัลแกเรีย, จอร์เจีย, โรมาเนีย, รัสเซีย, ตุรกี, ยูเครน หลายประเทศที่รวมในที่ราบลุ่มแม่น้ำซึ่งมีแม่น้ำไหลเข้า |
ช่วงยาวที่สุด | 1,175 กิโลเมตร (730 ไมล์) |
พื้นที่พื้นน้ำ | 436,402 ตารางกิโลเมตร (168,500 ตารางไมล์)[1] |
ความลึกโดยเฉลี่ย | 1,253 เมตร (4,111 ฟุต) |
ความลึกสูงสุด | 2,212 เมตร (7,257 ฟุต) |
ปริมาณน้ำ | 547,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร (131,200 ลูกบาศก์ไมล์) |
เกาะ | มากกว่า 10 แห่ง |
ทะเลดำมีเนื้อที่ผิวประมาณ 436,400 ตารางกิโลเมตร (168,500 ตารางไมล์) (ไม่นับรวมทะเลอะซอฟ)[2] ทะเลดำมีความลึกสุด 2,212 เมตร (7,257 ฟุต)[3] และมีปริมาตร 547,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร (131,000 ลูกบาศก์ไมล์)[4]
ประเทศที่มีชายฝั่งติดทะเลดำ ได้แก่ ประเทศตุรกี, บัลแกเรีย, โรมาเนีย, ยูเครน, รัสเซีย และจอร์เจีย ดินแดนของแหลมไครเมียปัจจุบันเป็นของยูเครน ทะเลดำถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขาพอนทิกทางทิศใต้ เทือกเขาคอเคซัสทางทิศตะวันออก และมีชะโงกผากว้างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะจากทิศตะวันออกไปจรดทิศตะวันตกยาวสุดประมาณ 1,175 กิโลเมตร (730 ไมล์)[5]
ทะเลดำมีเมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่ง ประกอบด้วย
- เมืองโซชี (Sochi), โนโวรอสซีสค์ (Novorossiysk) และ เคียร์ช (Kerch) ประเทศรัสเซีย
- โอเดสซา (Odessa), เซวัสโตปอล (Sevastopol), และ ยัลตา (Yalta) ประเทศยูเครน
- เมืองคอนสแตนตา (Constanta), เมืองแมงกาเลีย (Mangalia), และเมืองนาโวดารี (Năvodari) ประเทศโรมาเนีย
- เมืองวาร์นา (Varna) กับเมืองเบอร์กาส (Burgas) ประเทศบัลแกเรีย
- เมืองซอนกุลดาก (Zonkuldak), เมืองซัมซุน (Samsum), เมืองกีเรซัน (Giresun), เมืองออร์ดู (Ordu), เมืองไรซ์ (Rize), เมืองแทรบซอน (Trabzon), และเมืองโฮปา (Hopa) ประเทศตุรกี
- เมืองบาตูมี (Batumi), เมืองปอตี (Poti), และเมืองซักฮูมี (Sukhumi) ประเทศจอร์เจีย
อ้างอิง
แก้- ↑ "Black Sea NGO Network | Our Black Sea". www.bsnn.org.
- ↑ พื้นที่ผิว—"Black Sea Geography". University of Delaware College of Marine Studies. 2003. สืบค้นเมื่อ April 3, 2014.
- ↑ ความลึกสุด—"Europa – Gateway of the European Union website". Environment and Enlargement – The Black Sea: Facts and Figures. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2008.
- ↑ Murray, J. W.; Jannasch, H. W.; Honjo, S; Anderson, R. F.; Reeburgh, W. S.; Top, Z.; Friederich, G. E.; Codispoti, L. A.; Izdar, E. (March 30, 1989). "Unexpected changes in the oxic/anoxic interface in the Black Sea". Nature. 338 (6214): 411–413. Bibcode:1989Natur.338..411M. doi:10.1038/338411a0. S2CID 4306135.
- ↑ World and Its Peoples. Marshall Cavendish. July 21, 2010. p. 1444. ISBN 9780761479024 – โดยทาง Internet Archive.
Black Sea 1175 km east west.
บรรณานุกรม
แก้- Ghervas, Stella (2017). "The Black Sea". ใน Armitage, D.; Bashford, S. (บ.ก.). Oceanic Histories. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 234–266. doi:10.1017/9781108399722.010. ISBN 978-1-1083-9972-2.
- Stella Ghervas, "Odessa et les confins de l'Europe: un éclairage historique", in Stella Ghervas et François Rosset (ed), Lieux d'Europe. Mythes et limites (Paris: Editions de la Maison des sciences de l'homme, 2008), pp. 107–124. ISBN 978-2-7351-1182-4
- Charles King, The Black Sea: A History, 2004, ISBN 0-19-924161-9
- William Ryan and Walter Pitman, Noah's Flood, 1999, ISBN 0-684-85920-3
- Neal Ascherson, Black Sea (Vintage 1996), ISBN 0-09-959371-8
- Schmitt, Rüdiger (1989). "BLACK SEA". ใน Yarshater, Ehsan (บ.ก.). Encyclopædia Iranica, Volume IV/3: Bibliographies II–Bolbol I. London and New York: Routledge & Kegan Paul. pp. 310–313. ISBN 978-0-71009-126-0.
- Rüdiger Schmitt, "Considerations on the Name of the Black Sea", in: Hellas und der griechische Osten (Saarbrücken 1996), pp. 219–224
- West, Stephanie (2003). 'The Most Marvellous of All Seas': the Greek Encounter with the Euxine. Vol. 50. Greece & Rome. pp. 151–167.
- Petko Dimitrov; Dimitar Dimitrov (2004). The Black Sea, the Flood and the Ancient Myths. Varna. p. 91. ISBN 978-954-579-335-6.
- Dimitrov, D. 2010. Geology and Non-traditional resources of the Black Sea. LAP Lambert Academic Publishing. ISBN 978-3-8383-8639-3. 244p.