การปฏิวัติเบญจมาศ

การปฏิวัติเบญจมาศ (ฮังการี: Őszirózsás forradalom) หรือ การปฏิวัติแอสเทอร์ (อังกฤษ: Aster Revolution) เป็นการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรฮังการี โดยมีมิฮาย กาโรยี เป็นผู้นำในการปฏิวัติหลังความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นำไปสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนฮังการีอายุสั้น[1][2]

การปฏิวัติเบญจมาศ
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติ ค.ศ. 1917–1923

ทหารฝ่ายปฏิวัติเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1918 ซึ่งมีดอกเบญจมาศเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติ
วันที่28–31 ตุลาคม 1918 (3 วัน)
สถานที่
ฮังการี
ผล

ฝ่ายปฏิวัติชนะ

คู่สงคราม

สภาแห่งชาติฮังการี

 ออสเตรีย-ฮังการี

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

การปฏิวัติเกิดขึ้นจากการประท้วงอย่างกว้างขวางในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งนำโดยคือมิฮาย กาโรยี ที่ต่อมาได้เป็นผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนฮังการีที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ โดยดำรงอยู่ระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ถึงวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1919 ผู้สนับสนุนกาโรยีส่วนใหญ่เป็นนายทหารปลดประจำการ โดยในช่วงการปฏิวัติมีการนำดอกเบญจมาศมาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติ ภายหลังชัยชนะของการปฏิวัติ ฮังการีได้ประกาศอิสรภาพจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และนำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิในที่สุด

เส้นเวลา แก้

1921Treaty of TrianonHorthy Miklós19201919Charles I of Austria19181917191619151914

อ้างอิง แก้

  1. Cornelius, Deborah S. (2017-02-25). Hungary in World War II: Caught in the Cauldron (ภาษาอังกฤษ). Fordham Univ Press. p. 10. ISBN 9780823233434.
  2. Rudnytsky, Peter L.; Bokay, Antal; Giampieri-Deutsch, Patrizia (2000-07-01). Ferenczi's Turn in Psychoanalysis (ภาษาอังกฤษ). NYU Press. p. 43. ISBN 9780814775455.