สนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล (ค.ศ. 1919)

สนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล เป็นสนธิสัญญาที่ลงนามเมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1919 โดยพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งผู้เป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะในสงคราม กับสาธารณรัฐออสเตรียอีกฝ่ายหนึ่ง สนธิสัญญานี้ก็เช่นเดียวกับสนธิสัญญาแวร์ซายกับจักรวรรดิเยอรมันที่เป็นสนธิสัญญาที่มีเนื้อหาที่ร่างโดยสันนิบาตชาติ และผลก็มิได้รับการรับรองจากสหรัฐอเมริกา

สนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล
สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างมหาพันธมิตร และออสเตรีย
นายกรัฐมนตรีอออสเตรีย เร็นเนอร์ ลงนามในสนธิสัญญา
วันลงนาม10 กันยายน ค.ศ. 1919
ที่ลงนามแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล ฝรั่งเศส
วันมีผล16 กรกฎาคม ค.ศ. 1920
เงื่อนไขสัตยาบันโดยออสเตรียและสี่มหาสัมพันธมิตร
ผู้ลงนามออสเตรีย ออสเตรีย

สหราชอาณาจักร จักรวรรดิบริติช
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
อิตาลี อิตาลี
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
สหรัฐ สหรัฐ
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย

ผู้เก็บรักษารัฐบาลฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศส, อังกฤษ, อิตาลี
ข้อความทั้งหมด
Treaty of Saint-Germain-en-Laye ที่ วิกิซอร์ซ

สนธิสัญญาประกาศการยุบเลิกจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี สาธารณรัฐใหม่ของออสเตรียประกอบด้วยบริเวณแอลป์ที่พูดภาษาเยอรมันของอดีตจักรวรรดิออสเตรีย, ยอมรับอิสรภาพของฮังการี, เชโกสโลวาเกีย, โปแลนด์ และรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ สนธิสัญญารวมการจ่ายค่าปฏิกรรมหรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากสงครามเป็นจำนวนมหาศาลโดยตรงต่อฝ่ายพันธมิตร

ดินแดนในครอบครองของออสเตรียถูกลดลงไปเป็นเชโกสโลวาเกีย โปแลนด์ และยูโกสลาเวีย และดินแดนส่วนอื่นให้แก่อิตาลี และโรมาเนีย แต่เบอร์เกนแลนด์ที่เดิมเป็นของฮังการีกลับมาเป็นของออสเตรีย

ข้อสำคัญของสนธิสัญญาระบุยับยั้งออสเตรียจากการเปลี่ยนสถานะภาพของความเป็นอิสรภาพ ที่หมายถึงสาธารณรัฐใหม่เยอรมันออสเตรียที่เป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี ออสเตรียไม่สามารถเข้าทำการรวมตัวไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจหรือทางการเมืองร่วมกับเยอรมนีโดยมิได้รับความเห็นชอบกับสันนิบาตชาติ

ออสเตรีย-ฮังการี ค.ศ. 1914

กองทัพออสเตรียถูกจำกัดจำนวนลงเหลือเพียงกองทหารอาสาสมัคร 30,000 คน นอกจากนั้นก็ยังมีข้อปลีกย่อยที่เกี่ยวกับการเดินเรือบนลำแม่น้ำดานูบ, การเปลี่ยนมือของระบบการรถไฟ และการแบ่งแยกจักรวรรดิออกเป็นรัฐอิสระย่อย ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1920 สนธิสัญญาทรียานง (Treaty of Trianon) ระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับฮังการีก็เป็นการยุติการครอบครองโดยราชบัลลังก์ร่วมระหว่างออสเตรียและฮังการีอย่างเป็นทางการ

การลดขนาดของดินแดน ประชากร และทรัพยากรของออสเตรียลงไปเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับขนาดของจักรวรรดิเดิมมีผลกระทบกระเทือนทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงต่อประเทศออสเตรียที่ได้รับการก่อตั้งขึ้นใหม่ โดยเฉพาะในเวียนนาเมืองหลวงเดิมของจักรวรรดิที่ไม่มีจักรวรรดิหนุนหลัง

สนธิสัญญามีการลงนามอย่างเป็นทางการที่แซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล ในประเทศฝรั่งเศส[1]

อ้างอิง

แก้
  1. "Austrian treaty signed in amity," The New York Times, Sept. 11, 1919, p. 12.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้