สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตก

ประเทศปกครองตนเองในทวีปยุโรป (ค.ศ. 1918–1919)

สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตก หรือ สาธารณรัฐแห่งชาติยูเครนตะวันตก[a] หรือที่รู้จักกันในช่วงหนึ่งว่า แคว้นตะวันตกแห่งสาธารณรัฐประชาชนยูเครน[b] เป็นหน่วยทางการเมืองอายุสั้นที่ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของกาลิเชียตะวันออกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1919 ซึ่งรวมทั้งลวิว แตร์นอปิล กอลอมือยา ดรอฮอบึช บอรึสเลา สตานิสลาวิว (ปัจจุบันคืออีวานอ-ฟรันกิวสก์) และพื้นที่ฝั่งขวาปแชมึชล์ สาธารณรัฐยังได้อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนส่วนหนึ่งของบูโควีนาและคาร์เพเทีย-รูเทเนียอีกด้วย ในทางการเมือง พรรคประชาธิปไตยแห่งชาติยูเครน (ซึ่งเป็นแกนนำหลักของพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติยูเครนในระหว่างสงคราม) มีอำนาจเหนือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยในพรรคประกอบด้วยสมาชิกจากหลายอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ ฝ่ายกรีกคาทอลิก กลุ่มเสรีนิยม และนักสังคมนิยม[1] ส่วนพรรคอื่น ๆ ที่เป็นผู้แทนในสภา ได้แก่ พรรคมูลวิวัติยูเครนและพรรคสังคมคริสเตียน

สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตก

Західноукраї́нська Наро́дна Респу́бліка (ยูเครน)
1918–1919
สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตกใน ค.ศ. 1918
สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตกใน ค.ศ. 1918
สถานะรัฐที่ได้รับการยอมรับบางส่วน
(1918–1919)
เขตปกครองตนเองที่มีข้อพิพาทของสาธารณรัฐประชาชนยูเครน
(1919)
รัฐบาลพลัดถิ่น
(1919–1923)
ที่ตั้งยุโรปกลาง
เมืองหลวงลวิว (ถึง 21 พฤศจิกายน 1918)
แตร์นอปิล (ถึงปลายปี 1918)
สตานิสลาวิว
ซาลิชชือกือ (ต้นเดือนมิถุนายน 1919)
ภาษาทั่วไปทางการ:
ยูเครน
ภาษาชนกลุ่มน้อย:
โปแลนด์, ยิดดิช
ศาสนา
58,9% กรีกคาทอลิก
27,8% ละตินคาทอลิก
4% ยูดาห์
1,3% อื่น ๆ
การปกครองสาธารณรัฐ
ประธานาธิบดี 
• 1918
กอสจ์ แลวึตสกึย
• 1919
แยวแฮน แปตรูแชวึช
สภานิติบัญญัติสภาแห่งชาติยูเครน
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
• ก่อตั้ง
1 พฤศจิกายน 1918
22 มกราคม 1919
• พลัดถิ่น
16 กรกฎาคม 1919
• ยุบเลิกรัฐบาลพลัดถิ่น
15 มีนาคม 1923
สกุลเงินฮรึวญา
รหัส ISO 3166UA
ก่อนหน้า
ถัดไป
ออสเตรีย-ฮังการี
ราชอาณาจักรกาลิเชียและโลโดเมเรีย
สาธารณรัฐประชาชนยูเครน
สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2
สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 1
ราชอาณาจักรโรมาเนีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

สาธารณรัฐประชาชนยูเครนตะวันตกเป็นหนึ่งในรัฐที่แยกตัวออกมาจากการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และในเดือนมกราคม ค.ศ. 1919 ได้รวมตัวกับสาธารณรัฐประชาชนยูเครน (УНР) ในฐานะแคว้นปกครองตนเองทางตะวันตก อย่างไรก็ตาม โปแลนด์ได้อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนแห่งนี้และเข้ายึดครองในเดือนกรกฎาคม พร้อมทั้งบังคับให้รัฐบาลยูเครนตะวันตกพลัดถิ่น เมื่อสาธารณรัฐประชาชนยูเครนตัดสินใจว่าจะแลกเปลี่ยนดินแดนในช่วงปลายปี 1919 เพื่อเป็นพันธมิตรกับโปแลนด์ในการต่อต้านรัสเซียโซเวียต จึงถือเป็นจุดแตกหักระหว่างรัฐบาลพลัดถิ่นยูเครนตะวันตกกับสาธารณรัฐประชาชนยูเครน รัฐบาลพลัดถิ่นยังคงอ้างสิทธิ์ต่อไปกระทั่งยุบเลิกใน ค.ศ. 1923

รูปภาพ

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. ยูเครน: Західноукраї́нська Наро́дна Респу́бліка (ЗУНР), อักษรโรมัน: Zakhidnoukrayins’ka Narodna Respublika (ZUNR)
  2. ยูเครน: За́хідна о́бласть Украї́нської Наро́дної Респу́бліки (ЗО УНР), อักษรโรมัน: Zakhidna oblast’ Ukrayins’koyi Narodnoyi Respubliky (ZO UNR)

อ้างอิง

แก้
  1. Armstrong, John (1963). Ukrainian Nationalism. New York: Columbia University Press. pp. 18–19.

บรรณานุกรม

แก้
  • John Bulat, Illustrated Postage Stamp History of Western Ukrainian Republic 1918–1919 (Yonkers, NY: Philatelic Publications, 1973).
  • Kubijovic, V. (Ed.), Ukraine: A Concise Encyclopedia, University of Toronto Press: Toronto, Canada, 1963.
  • Subtelny, Orest (2000). Ukraine: A History (3rd ed.). Toronto: University of Toronto Press. ISBN 0802083900. สืบค้นเมื่อ 22 May 2021.
  • Paul Robert Magocsi, A History of Ukraine, University of Toronto Press: Toronto 1996, ISBN 0-8020-0830-5.
  • Tomasz J. Kopański, Wojna polsko-ukraińska 1918––1919 i jej bohaterowie, Wojskowe Centrum Edukacji Obywatelskiej, Warsaw 2013

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

50°27′N 30°30′E / 50.450°N 30.500°E / 50.450; 30.500