เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)

ขุนนางชาวสยาม

มหาเสวกเอก เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี มีนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล อดีตเสนาบดีกระทรวงวัง (ปัจจุบันคือสำนักพระราชวัง เทียบเท่าตำแหน่งเลขาธิการสำนักพระราชวัง) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและอดีตอภิรัฐมนตรี

มหาเสวกเอก
เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี
(หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)

ร.ว., ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ย.ร., ว.ภ., ว.ม.ล.
เสนาบดีกระทรวงวัง
ดำรงตำแหน่ง
15 เมษายน พ.ศ. 2456 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2469
กษัตริย์
ก่อนหน้า พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์
ถัดไป พระยาวรพงศ์พิพัฒน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2420
เสียชีวิต 23 มกราคม พ.ศ. 2485 (64 ปี)
บิดา พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์
มารดา หม่อมทับ มาลากุล ณ อยุธยา
คู่สมรส ท่านผู้หญิงนงเยาว์ ธรรมาธิกรณาธิบดี
เจ้าฟองแก้ว ณ เชียงใหม่
คุณวงศ์ บุญยะรังคะ
ลายมือชื่อ Signature of Pum Malakun.svg
ภาพล้อเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 6

ประวัติแก้ไข

หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2420 แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู[1] เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ กับหม่อมทับ มาลากุล ณ อยุธยา

หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล เริ่มรับราชการในกรมมหาดเล็ก จนวันที่ 27 มีนาคม ร.ศ. 114 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นนายกวด มหาดเล็กหุ้มแพรต้นเชือกเวรฤทธิ์ ศักดินา 500[2] แล้วย้ายมารับราชการกรมวังเป็นจมื่นจงภักดีองค์ขวา ถือศักดินา ๘๐๐ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 [3]

หม่อมราชวงศ์ปุ้มได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร ถือศักดินา ๑๐๐๐ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446[4]ต่อมาในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น สมุหพระราชมณเฑียร[5] และได้รับพระราชทานยศเป็น มหาเสวกเอก เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2455[6]จากนั้นในปี พ.ศ. 2456 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงวังเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2456[7]และเป็นอธิบดีกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2456[8]

ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ศรีรัตนมณเฑียรบาล บรมราโชประการกิจจาภิรมย์ สรรโพดมราชธุรานุประดิษฐ ธรรมสุจริตวิบุลย์ มาลากุลวิวัฒน์ บำรุงรัตนราชประเพณี นิตยภักดีนฤปนารถ อันเตบุริกามาตย์มหานายก อรรคเสวกนนทิพาหมุรธาธร กิตติขจรเสนาบดี ศรีรัตนไตรยสรณธาดา อุดมอาชวาธยาไศรย อภัยพิริยบรากรมพาหุ[9]

ท่านมีผลงานสำคัญคือเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 สืบต่อจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ[10]

ครอบครัวแก้ไข

เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี สมรสกับท่านผู้หญิงนงเยาว์ ธรรมาธิกรณาธิบดี ท.จ.ว. (ธิดาพระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล) กับคุณหญิงทรามสงวน) ในพระบรมราชินูปถัมภ์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง[1] ทั้งสองท่านมีบุตรธิดา ดังนี้

  • หม่อมหลวงหญิงศิริปทุม มาลากุล
  • หม่อมหลวงปม มาลากุล
  • หม่อมหลวงประทิน มาลากุล
  • หม่อมหลวงประสันน์ มาลากุล
  • หม่อมหลวงหญิงประสาธะนี บุรณศิริ
  • หม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล
  • หม่อมหลวงปืนไทย มาลากุล
  • หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล (ปุ่มทอง มาลากุล)

นอกจากนี้ เจ้าพระยาธรรมาธิกรราธิบดี ยังมีบุตรธิดากับภรรยาอื่นอีก ดังนี้

กับเจ้าฟองแก้ว ณ เชียงใหม่ ธิดาในเจ้าน้อยบัวละวงษ์ ณ เชียงใหม่[11] มีบุตร คือ

  • หลวงมาลากุลวิวัฒน์ (หม่อมหลวงเทียม มาลากุล)

กับคุณวงศ์ บุญยะรังคะ มีบุตร ได้แก่

  • หม่อมหลวงกวิน มาลากุล
  • หม่อมหลวงหวิว มาลากุล
  • หม่อมหลวงหวีด มาลากุล

อสัญกรรมแก้ไข

เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ถึงแก่อสัญกรรม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[12] เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2485[1] สิริอายุ 64 ปี

ยศแก้ไข

ยศกระทรวงวังแก้ไข

  • มหาเสวกเอก[6]

ยศกรมพระตำรวจแก้ไข

  • พระตำรวจตรี[13]

ยศกรมมหาดเล็กแก้ไข

  • จางวางเอกพิเศษ[14]

ยศกองเสือป่าแก้ไข

  • นายกองเอก[15]
  • นายพลเสือป่า[16]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยแก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 183 (เชิงอรรถ)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม 13, ตอน 1, 5 เมษายน ร.ศ. 114, หน้า 12
  3. พระราชทานสัญญาบัตร
  4. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งสมุหพระราชมณเฑียร
  6. 6.0 6.1 "พระราชทานยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29: 1020. 4 สิงหาคม 2455. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนและตั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ย้ายกรมศิลปากร
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้า แลตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 30, 11 พฤศจิกายน 2456, หน้า 348-351
  10. ศิลปวัฒนธรรมไทย เล่มที่ ๔ วัดสำคัญกรุงรัตนโกสินทร์ (งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ปี พ.ศ. ๒๕๒๕)
  11. http://www.globalgroup.in.th/encyclopedia_lanna.html
  12. ข้อมูลจาก : เวปเพจ ๖๐ปีในความทรงจำ พลเอกแป้ง มาลากุล ณ อยุธยา
  13. "พระราชทานยศพระตำรวจ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30: 1725. 2 พฤศจิกายน 2456. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๓๔, ๒๙ ตุลาคม ๒๔๕๙
  15. ประกาศเลื่อนยศเสือป่า
  16. "พระราชทานสัญญาบัตรยศนายพลเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32: 507. 6 มิถุนายน 2458. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๓๓, ๒๐ สิงหาคม ๑๓๐
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๔, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๓๖, ๒๒ ตุลาคม ๒๔๕๙
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๔๘, ๑๙ มกราคม ๒๔๖๑
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดรแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เก็บถาวร 2022-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๙๒, ๒ ธันวาคม ๒๔๖๑
  22. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้รับพระราชทานตราวัลลภาภรณ์ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และแถลงความชอบของผู้นั้นๆ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘, ๖ เมษายน ๒๔๖๒
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๘, ๔ มิถุนายน ๑๓๐
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๑๘, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕, ๑๐ เมษายน ๒๔๖๔
  26. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๕, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้า และฝ่ายใน, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๗๕, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๐๗, ๒๓ มกราคม ๒๔๕๘
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๐, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๑๓, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
  32. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
  33. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๑๖ หน้า ๓๑๖, ๒๐ กรกฎาคม ๑๒๑
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตตราต่างประเทศ, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๒๓ หน้า ๕๒๗, ๒๓ กรกฎาคม ๑๒๔
  35. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๓๑ หน้า ๖๗๐, ๒๙ ตุลาคม ๑๒๔
  36. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๒๑ หน้า ๕๕๐, ๒๕ สิงหาคม ๑๒๖
บรรณานุกรม