พระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล)

พระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล) เป็นบุตรของ พระยาธรรมสารนิติพิพิธภักดี (อธิบดีผู้พิพากษาศาลต่างประเทศ) กับคุณหญิงอิ่ม (ธิดา หลวงชาติสุรินทร) เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2396 มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 6 ท่านซึ่งมีชื่อไพเราะคล้องจองกัน (แสนถนอม - จอมถวิล - ปิ่นอนงค์ - พงษ์ประวัติ - ถัดประคอง - รองจรูญ)

1) คุณหญิงแสนถนอม (หรือ ถนอม) สมรสกับ พระยาเพชรพิไชย (เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์)

2) พระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล) สมรสกับคุณหญิงทรามสงวน (ราชเลขาธิการในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง)

3) คุณหญิงปิ่นอนงค์ (หรือ อนงค์) สมรสกับ พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (เจ้ากรมพระราชอุทยาน)

4) หลวงพิเทศพิไสย (พงษ์ประวัติ อมาตยกุล) ผู้ว่าราชการเมืองกระบี่ สมรสกับพระนมร่ำ บุนนาค (บุตรีของพระนมเทศ พระนมของพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ในรัชกาลที่ ๕ นับเนื่องเป็นหลานของเจ้าจอมมารดาสำลี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

5) เจ้าจอมประคอง (ถัดประคอง อมาตยกุล) รับราชการเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 ในตำแหน่ง เจ้าจอมมโหรีคู่กับเจ้าจอมมารดาเหม อมาตยกุล

6) รองจรูญ อมาตยกุล (หรือ จรูญ) เป็นบุตรีคนเล็ก จึงมิได้ถวายตัวเข้ารับราชการ และมิได้ทำการสมรส

ตำแหน่งและบรรดาศักดิ์ แก้

ในรัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นมหาดเล็กรักษาพระองค์ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้ตามลำดับดังนี้

  • พ.ศ. 2416 เป็น หลวงสรจักรานุกิจ
  • พ.ศ. 2417 เป็น จมื่นราชามาตย์ (สังกัดกรมพระตำรวจหลวง) ปลัดกรมพระตำรวจในซ้าย
  • พ.ศ. 2429 เป็น พระพรหมบริรักษ์ เจ้ากรมพระตำรวจสนมทหารขวา[1]
  • พ.ศ. 2431 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้า [2]
  • 21 เมษายน พ.ศ. 2436 พระอินทรเทพบดีศรีสมุห เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ขวา ถือศักดินา ๒๐๐๐[3]
  • 18 ตุลาคม พ.ศ. 2437 เป็น พระยาอินทรเทพบดีศรีสมุห[4]
  • 3 ตุลาคม พ.ศ. 2439 โปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี[5]
  • 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 พระยามหาเทพกระษัตริย์สมุห เจ้ากรมพระตำรวจในซ้าย ถือศักดินา ๒๐๐๐[6]
  • 2 มีนาคม พ.ศ. 2448 เป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระตำรวจซ้าย ถือศักดินา ๓๐๐๐[7]
  • พ.ศ. 2453 (รัชสมัยรัชกาลที่ 6) ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่ง องคมนตรี

คู่สมรสและบุตรธิดา แก้

พระยาอภัยรณฤทธิ์ ได้สมรสกับลูกพี่ลูกน้องในสกุลอมาตยกุลคือ คุณหญิงทรามสงวน [8] (ราชเลขาธิการใน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ซึ่งเป็นธิดา พระยากระสาปนกิจโกศล (ผู้ผลิตเหรียญกษาปณ์รายแรกของประเทศไทย) กับคุณหญิงพลอย ไกรฤกษ์ (ธิดา พระยาโชฎึกราชเศรษฐี) เมื่อปี พ.ศ. 2421 มีบุตรธิดาดังนี้

1) พระยาอภัยรณฤทธิ์ (เกษียร อมาตยกุล) แก้

สมรสกับ คุณหญิงเผื่อน โชฎึกราชเศรษฐี ธิดา พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฮวด โชติกะพุกนะ)

*เป็น ปู่-ย่า ของ สมภพ อมาตยกุล (อดีตรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม) และ พรรณสิรี อมาตยกุล (Country Manager 'IBM Thailand') [9]

2) พระยาวิชิตสรศาสตร์ (อำนวย อมาตยกุล) แก้

สมรสกับ คุณหญิงพูน โชฎึกราชเศรษฐี ธิดาของ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (มิ้น เลาหเศรษฐี) กับคุณหญิงเพิ่ม โชฎึกราชเศรษฐี

*เป็น ปู่-ย่า ของ พล.ต.อ.พงษ์อมาตย์ อมาตยกุล (อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ) และ สมฤดี อมาตยกุล (นายธนาคารซึ่งเป็นที่รู้จักกว้างขวาง)

3) พระยาอรรถกลยวทาวัต (กระแส อมาตยกุล) แก้

สมรสกับ คุณหญิงเพ็ญ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ซึ่งเป็นธิดา หลวงฤทธิเทพหัสดิน

*เป็นปู่-ย่า ของ ท.พ. ชนาธิป อมาตยกุล (อดีตนายกทันตแพทย์สภา และแพทย์ชื่อดังซึ่งมีผลงานมากมาย)

4) ท่านผู้หญิงนงเยาว์ (อมาตยกุล) มาลากุล ณ อยุธยา แก้

สมรสกับ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (โอรสใน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ กับ หม่อมทับ)

*เป็นปู่-ย่า ของ พล.อ. แป้ง มาลากุล ณ อยุธยา คุณหญิงทิพยวดี ปราโมช ณ อยุธยา และ ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา (บรรณาธิการบริหารนิตยสาร 'ดิฉัน')

5) พระยารักษาเทพ (เชาวน์ อมาตยกุล) แก้

สมรสกับ คุณหญิงวลี อมาตยกุล ซึ่งเป็นธิดา พระยาภูบาลบันเทิง (เสนาบดีกระทรวงวัง) กับคุณหญิงตระกูล (ธิดาเจ้าเมืองปราจีนบุรี)

*เป็นปู่-ย่า ของ เศกรัฐ อมาตยกุล (ศิลปินค่ายแกรมมี่) และ อานันทเดชน์ อมาตยกุล (นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ 'โจ อมาตยกุล')

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

พระยาอภัยรณฤทธิ์ (จอมถวิล อมาตยกุล) ป่วยเป็นโรคหืดเรื้อรัง และได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2454 สิริอายุได้ 57 ปี ได้รับพระราชทานโกศโถรองศพเป็นเกียรติยศ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงด้วยพระองค์เอง ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสรยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. สำเนาสัญญาบัตร ปีจออัฐศก (หน้า ๒๐)
  2. การพิธีฉัตรมงคล และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (หน้า ๓๑๒)
  3. พระราชทานสัญญาบัตร (หน้า ๒๖)
  4. ข่าวเสด็จออกและพระราชทานสัญญาบัตร
  5. พระราชพิธีศรีสัจปานกาล และตั้งองคมนตรี (หน้า ๓๑๐)
  6. พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศ (หน้า ๔๙๒)
  7. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  8. https://th.wikisource.org/wiki/ประชุมพงศาวดาร_ภาคที่_๓๕
  9. IBM Thailand’s พรรณสิรี อมาตยกุล กลั่น “เลือดใหม่” ให้คิดนอกรอบ. (2560). http://www.forbesthailand.com/people-detail.php?did=206[ลิงก์เสีย]
  10. "การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้าและถวายบังคมพระบรมรูป (หน้า ๕๐๐)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-07-04.
  11. พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
  12. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า ๑๐๑๓)