ปรีวีเคาน์ซิล
ปรีวีเคาน์ซิล หรือ สภาที่ปฤกษาในพระองค์ (อังกฤษ: privy council) เป็นสภาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2417 ตาม พระราชบัญญัติปรีวีเคาน์ซิล พุทธศักราช ๒๔๑๗ ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จำนวน 49 คน มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาส่วนพระองค์ สืบสวนข้อเท็จจริงในราชการต่างๆ เพื่อกราบบังคมทูลและถวายความเห็นให้ทรงทราบ สอดส่องเหตุการณ์สำคัญในบ้านเมือง รวมไปถึงการชำระความฎีกาที่มีผู้นำมาถวาย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2430 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งสภาที่ปฤกษาในพระองค์เพิ่มอีก 42 คน[1][2]
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2417 |
ยุบเลิก | พ.ศ. 2435 |
เขตอำนาจ | สยาม |
ในปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครอง และโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสภาที่ปฤกษาในพระองค์เป็น "องคมนตรีสภา" แทน
สภาที่ปฤกษาในพระองค์
แก้จำนวน 91 คน
แต่งตั้งครั้งแรก จำนวน 49 คน ประกอบด้วย
- สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา (กรมพระยาบำราบปรปักษ์)
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี
- พระองค์เจ้ากฤษดาอภินิหาร
- พระองค์เจ้าคัคณางค์ยุคล
- พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ
- พระองค์เจ้าศุขสวัสดี
- พระองค์เจ้าสายสนิทวงษ์
- พระองค์เจ้าสิงหนาทราชตุรงค์ฤทธิ์
- พระองค์เจ้ากลาง (กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์)
- พระองค์เจ้าอรุณวงศ์ (กรมหลวงวรศักดาพิศาล)
- พระองค์เจ้ายุคันธร (กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์)
- พระองค์เจ้าสิงหรา (กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ เป็น กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ)
- พระองค์เจ้าชมพูนุท (กรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์)
- เจ้าพระยาภาณุวงษ์
- เจ้าพระยาภูธราภัย
- พระยาราชสุภาวดี
- พระยาศรีพิพัฒน์
- พระยาราชวรานุกูล
- พระยากระสาปน์กิจโกศล
- พระยาภาษกรวงษ์
- พระยาอภัยรณฤทธิ์
- พระยามหาอำมาตย์
- พระยาเจริญราชไมตรี
- พระยาราไชยสวริยาธิบดี
- พระยาพิพิธโภไคย
- พระยาจ่าแสนบดี
- พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร
- พระยารัตนภัณฑมนตรี
- พระยาอาหารบริรักษ์
- พระยาเพชรชฎา
- พระยาพิพัฒน์โกษา
- พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง
- พระยาราชสงคราม
- พระยาโชฎึกราชเศรษฐี
- พระยานรนารถภักดี
- พระยามหาเทพย์
- พระยามหามนตรี
- พระยาอินทรเทพย์
- พระยาพิเรนทรเทพย์
- เจ้าหมื่นเสมอใจราช (พระยามนตรีสุริยวงศ์ ชื่น บุนนาค)
- เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (พระยาประภากรวงศ์ ชาย บุนนาค)
- เจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี
- พระสุนทรานุกิจปรีชา
- พระยาสมุทรบุรารักษ์ (เนตร)
- พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)
- พระราชเสนา
- พระนรินทรเสนี
- พระไพรัชพากยภักดี
- หลวงวิจารณ์จักรกิจ (พระยาเพชรพิชัย เจิม)
แต่งตั้งครั้งที่ 2 จำนวน 42 พระองค์ ประกอบด้วย
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศลิปาคม
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศิริธัชสังกาศ
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าจันทรฑัตจุธาธาร
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล
สภาที่ปฤกษาในพระองค์นี้ ถือเป็นต้นแบบของคณะองคมนตรีในประเทศไทยในปัจจุบัน
อ้างอิง
แก้- จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1