พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์

นายพลเรือโท[2] พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2389 - 13 กันยายน พ.ศ. 2455) [3] เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าสาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เมื่อ พ.ศ. 2415 พระองค์เป็นพระปัยกา (ทวด) ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 2
พระองค์เจ้าชั้นตรี
ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง8 เมษายน พ.ศ. 2430 - 14 เมษายน 2433
ประสูติ25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2389
สิ้นพระชนม์13 กันยายน พ.ศ. 2455 (66 ปี)
หม่อมหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ศศิสมิต)
พระบุตร24 คน
ราชสกุลสนิทวงศ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
พระมารดาหม่อมแย้ม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ณ บางช้าง)[1]
รับใช้กองทัพเรือสยาม
ชั้นยศ พลเรือโท

พระประวัติ

แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ทรงกำกับกรมหมอหลวงแลกรมแสง และทรงเป็นแพทย์ประจำพระองค์ [4] บังคับการเรือกลไฟ แลบังคับการทหารปืนแคตตริงกัน และได้เป็นผู้จัดการทำป้อมปากน้ำและจัดการทหารปืนปากน้ำ รวมถึงจัดการทหารในหัวเมืองตะวันออก นอกจากนี้ยังทรงเป็นเจ้าพนักงานใหญ่ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ รักษาการแทนผู้บัญชาการทหารเรือคนแรก ระหว่าง พ.ศ. 2430-2433 [5] ทรงเป็นผู้ได้รับสัมปทานขุดคลองทางตอนเหนือของพระนคร ในเขตท้องทุ่งหลวงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา จากตำบลบ้านใหม่ วัดเทียนถวาย ปทุมธานี ไปถึงนครนายก [6] ในนามบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม [7] ระหว่าง พ.ศ. 2433-2447 ได้รับพระราชทานชื่อว่า "คลองรังสิตประยูรศักดิ์" ตามพระนามของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระนัดดา (หลานตา) ของพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ แต่ชาวบ้านนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "คลองเจ้าสาย"

บุตร-ธิดา

แก้

พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เสกสมรสกับหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ศศิสมิต) [8] มีบุตร-ธิดา 8 คน ได้แก่ [9]

พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ยังมีบุตร-ธิดา ที่เกิดจากภรรยาอื่น ได้แก่

หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2455 ทายาทได้บริจาคตำหนักส่วนพระองค์ และที่ดินข้างเคียง ก่อตั้งเป็นโรงเรียนสำหรับสตรี ชื่อว่า โรงเรียนสายปัญญา

พระเกียรติยศ

แก้

พระอิสริยยศ

แก้
  • หม่อมเจ้าสาย (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2388 – พ.ศ. 2415)
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ (พ.ศ. 2426 – 13 กันยายน พ.ศ. 2455)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

พงศาวลี

แก้

เชิงอรรถ

แก้
  1. คนละท่านกับ หม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์ ดู บัว สนิทวงศ์ (แก้ความกำกวม)

อ้างอิง

แก้
  1. สมภพ ภิรมย์, ศาสตราจารย์ น.อ.. "สาแหรกครอบครัว (Family Tree) ลำดับพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์เฉพาะสายที่สืบราชสมบัติ". พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:อมรินทร์การพิมพ์. 2528
  2. พระราชทานสัญญาบัตรฝ่ายทหาร
  3. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  4. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  5. ทำเนียบผู้บัญชาการกองทัพเรือ
  6. "ประวัติตำบลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-12. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.
  7. "คลองรังสิตประยุรศักดิ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.
  8. อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ปราชญ์ผู้เป็นกำลังของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552. 352 หน้า. ISBN 978-974-341-578-4
  9. "ราชสกุลสนิทวงศ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-24. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18.
  10. หม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์เป็นบิดาของ หม่อมหลวงสร้อยระย้า สนิทวงศ์ (ยุคล)
  11. เจ้าสาย เก็บถาวร 2010-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากนิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2472 ปีที่ 48 ประจำวันอังคารที่ 5 มีนาคม 2545
  12. https://www.the101.world/saisawasdee-interview/
  13. ประวัติโรงเรียนสายปัญญา
  14. องค์ บรรจุน. หญิงมอญ, อำนาจ และราชสำนัก. กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, มติชน, 2550. 224 หน้า. ISBN 978-974-02-0059-8
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวราชการ, เล่ม ๑, ตอน ๖, ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๗, หน้า ๔๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวราชการ, เล่ม ๑, ตอน ๗, ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๗, หน้า ๕๕
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๖, ตอน ๐ ง, ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๒, หน้า ๒๖๒๘
  18. 18.0 18.1 18.2 "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 6 (ตอน 45): หน้า 390. 9 กุมภาพันธ์ 2433. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 7 (ตอน 2): หน้า 21. 13 เมษายน 2433. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
ก่อนหน้า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ถัดไป
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
(ผู้บัญชาการทหารเรือวังหน้า)
เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
(ผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวง)
  เจ้าพนักงานใหญ่ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
(8 เมษายน พ.ศ. 2430 - 14 เมษายน พ.ศ. 2433)
  นายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นปราบปรปักษ์