เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5

เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5 (22 ตุลาคม พ.ศ. 2407 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428) เป็นธิดาของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน [1] มีพี่น้องจำนวน 7 คน รวมทั้งหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ และหม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์ (เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์) [2]

เจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์

เนื่อง ในรัชกาลที่ 5
เกิดหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์
22 ตุลาคม พ.ศ. 2407
เสียชีวิต23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 (21 ปี)
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บุตร
บุพการีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
หม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

ประวัติ แก้

เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5 เกิดวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2407 เป็นบุตรของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ และหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา โดยเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5 ได้เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5 มีพระราชธิดา กับ พระราชโอรส 2 คน ให้กับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ[3] พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5 ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 หลังให้ประสูติกาลพระราชโอรสได้ 12 วัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นผู้เลี้ยงดูพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5 ทั้งสองพระองค์ โดยได้ทรงตรัสว่า "ให้มาเป็นลูกแม่กลาง" อัฐิเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5 บรรจุ ณ อนุสาวรีย์ในราชสกุลรังสิต สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

อ้างอิง แก้

  1. องค์ บรรจุน. หญิงมอญ, อำนาจ และราชสำนัก. กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, มติชน, 2550. 224 หน้า. ISBN 978-974-02-0059-8
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-14. สืบค้นเมื่อ 2007-02-01.
  3. "สายสกุลสนิทวงศ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-27. สืบค้นเมื่อ 2008-11-24.