นายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ (3 กันยายน พ.ศ. 2386 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2441) พระนามเดิม หม่อมเจ้าขจร รัฐมนตรีสภา อดีตผู้บัญชาการกรมทหารเรือ และทรงเป็นผู้บัญชาการกรมทหารเรือในสงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในกรณีพิพาท ร.ศ. 112 อีกด้วย

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 2
พระองค์เจ้าชั้นตรี
ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง15 เมษายน พ.ศ. 2433 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2441
ก่อนหน้าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
ถัดไปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ประสูติ3 กันยายน พ.ศ. 2386
สิ้นพระชนม์25 มีนาคม พ.ศ. 2441 (54 ปี)
หม่อมหม่อมเปี่ยม หม่อมจับ หม่อมทับ หม่อมเพิ่ม หม่อมสุ่น หม่อมกลิ่น หม่อมกลั่น และหม่อมอิน
พระบุตร11 คน
ราชสกุลมาลากุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
พระมารดาหม่อมกลีบ มาลากุล ณ อยุธยา
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพเรือสยาม
ชั้นยศ พลเรือโท

พระประวัติ

แก้

พระนามเดิม หม่อมเจ้าขจร เป็นพระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ประสูติแต่หม่อมกลีบ มาลากุล ณ อยุธยา ต่อมาทรงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ จากนั้นในปี พ.ศ. 2428 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็นผู้กำกับกรมช่างสิบหมู่ สืบต่อจาก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ที่สิ้นพระชนม์[1]กรมพระคชบาล เป็นผู้ออกแบบสร้างพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ เป็นพลับพลาแบบจตุรมุข เพื่อเป็นที่ประทับในคราวเสด็จประพาสต้น เมื่อปี พ.ศ. 2433 ประดิษฐานอยู่ที่ถ้ำพระยานคร ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ประจวบคีรีขันธ์ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาทรงยกช่อฟ้าด้วยพระองค์เอง

พระองค์รับราชการในหน้าที่ต่าง ๆ จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์[2]

นายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2441 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนรถพระที่นั่ง มีทหารม้าแห่นำเสด็จไปพระราชทานน้ำสรงพระศพ แล้วพระบรมวงษานุวงษ์ได้สรงพระศพต่อไป แล้วเจ้าพนักงานแต่งพระศพเชิญพระศพลงในพระลองใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสวมชฎาพระราชทาน แล้วยกพระลองในพระศพขึ้นประดิษฐานเหนือแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบพระโกศกุดั่นน้อย แวดล้อมด้วยเครื่องสูง 9 คัน แล้วทรงทอดผ้าไตร 30 ไตร ผ้าขาว 60 พับ พระสงฆ์สดับปกรณ์แล้วถวายอนุโมทนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับ

และเมื่อครั้ง พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ ประชวรอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพระอาการประชวรด้วย[3]

พระโอรส-พระธิดา

แก้

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ เสกสมรสกับ หม่อมเปี่ยม หม่อมจับ หม่อมทับ หม่อมเพิ่ม หม่อมสุ่น หม่อมกลิ่น หม่อมกลั่น และหม่อมอิน ทรงมีพระโอรส-พระธิดา จำนวน 11 คน จากหม่อมทั้งหมดจำนวน 8 คน หม่อมราชวงศ์ทั้ง 11 คน มีชื่อขึ้นต้นด้วย ป ปลา ตามพระนามกรมของพระองค์ เป็นอักษรพยางค์เดียวทั้งหมด

ในหม่อมเปี่ยม

  • เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) สมรสกับ ท่านผู้หญิงเสงี่ยม มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 8 คน นางเลื่อน มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร 1 คน และนางเจียร มาลากุล ณ อยุธยา มีธิดา 1 คน
    • หม่อมหลวงหญิงปก มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
    • หม่อมหลวงหญิงป้อง มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
    • หม่อมหลวงหญิงปอง เทวกุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม สมรสกับ หม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ เทวกุล
    • หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม สมรสกับ ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ไกรฤกษ์)
    • หม่อมหลวงหญิงเปนศรี มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
    • หม่อมหลวงหญิงเปี่ยมสิน มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
    • หม่อมหลวงปนศักดิ์ มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
    • หม่อมหลวงหญิงปานตา วสันตสิงห์ เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม สมรสกับ นายเมืองเริง วสันตสิงห์ มีบุตร 1 คน ดังนี้
    • หม่อมหลวงประวัติ มาลากุล เกิดจากนางเลื่อน
    • หม่อมหลวงหญิงนกน้อย มาลากุล เกิดจากนางเจียร สมรสกับ พันเอก นายแพทย์ชุบ กาญจนลักษณ์

ในหม่อมจับ

ในหม่อมทับ

  • ท้าววรคณานันท์ (เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ปั้ม ในรัชกาลที่ 5)
  • เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) สมรสกับ เจ้าฟองแก้ว ณ เชียงใหม่ มีบุตร 1 คน ท่านผู้หญิงนงเยาว์ มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 8 คน และนางวงศ์ มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 3 คน
    • หม่อมหลวงเทียม มาลากุล (หลวงมาลากุลวิวัฒน) เกิดจากเจ้าฟองแก้ว ณ เชียงใหม่
    • หม่อมหลวงหญิงศิริปทุม มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
    • หม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์ สมรสกับ นางชนัฏ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กาญจนะวณิชย์) มีบุตร-ธิดา 5 คน ดังนี้
      • นางสาวปนัดดา มาลากุล ณ อยุธยา
      • นายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ ท่านผู้หญิงอารียา มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร 1 คน ดังนี้
        • นายธรรมา มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ ทันตแพทย์หญิงอตินุช มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ลัดพลี)
      • พลเอก แป้ง มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ คุณหญิงศิริรัตน์ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม เอื้อวิทยา)
      • คุณหญิงทิพยวดี ปราโมช ณ อยุธยา สมรสกับ หม่อมหลวงเสรี ปราโมช
      • นางทับทิม เลน สมรสกับ นายอลาสแตร์ เลน (Alastair Lane) ชาวอังกฤษ มีธิดา 1 คน ดังนี้
    • หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์ สมรสกับ นางอารี มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ ป้อมเพชร์)
    • หม่อมหลวงปืนไทย มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์ สมรสกับ นางศรียา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
    • หม่อมหลวงหญิงประสาธะนี บูรณศิริ เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์ สมรสกับ นายประยูร บูรณศิริ
    • หม่อมหลวงประสันน์ มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
    • หม่อมหลวงหญิงประทิน มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
    • หม่อมหลวงปม มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
    • หม่อมหลวงหญิงหวีด ภิญโญ เกิดจากนางวงศ์ มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ นายเพิ่ม ภิญโญ
    • หม่อมหลวงกวิน มาลากุล เกิดจากนางวงศ์ มาลากุล ณ อยุธยา
    • หม่อมหลวงหญิงหวิว มาลากุล เกิดจากนางวงศ์ มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ นายปทุม หลิมรัตน์
  • หม่อมราชวงศ์แป้ว มาลากุล

ในหม่อมเพิ่ม

ในหม่อมสุ่น

  • หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป. มาลากุล (หม่อมราชวงศ์โป้ย มาลากุล) สมรสกับ คุณหญิงเนื่อง มีบุตร 1 คน คุณหญิงเผื่อน มีบุตร-ธิดา 9 คน นางผัน มีธิดา 1 คน นางเล็ก มีบุตร-ธิดา 7 คน ดังนี้
    • หม่อมหลวงปีย์ มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเนื่อง ข้าราชบริพารในพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
    • หม่อมหลวงหญิงปุณฑริก ชุมสาย เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ นายธวัช ชุมสาย ณ อยุธยา
    • หม่อมหลวงปัณยา มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
    • หม่อมหลวงปิลันธ์ มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณหญิงสุภา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม รัตโนภาส)
    • หม่อมหลวงหญิงปานีย์ เพ็ชรไทย เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ นายธรรมนูญ เพ็ชรไทย
    • หม่อมหลวงหญิงปฤศนี ศรีศุภอรรถ เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ ร้อยตรี จรินทร์ ศรีศุภอรรถ
    • หม่อมหลวงหญิงปัทมาวดี มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
    • หม่อมหลวงหญิงปารวดี กันภัย เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ นายประจวบ กันภัย
    • หม่อมหลวงหญิงปราลี ประสมทรัพย์ เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ นายเลิศ ประสมทรัพย์
    • หม่อมหลวงโปรพ มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
    • หม่อมหลวงหญิงปาริชาติ มาลากุล เกิดจากนางผัน
    • หม่อมหลวงหญิงปยง ธชาศรี เกิดจากนางเล็ก
    • หม่อมหลวงปกิต มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
    • หม่อมหลวงปรคำ มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
    • หม่อมหลวงหญิงปทุมมาลย์ มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
    • หม่อมหลวงปฐม มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
    • หม่อมหลวงปริต มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
    • หม่อมหลวงปคุณ มาลากุล เกิดจากนางเล็ก

ในหม่อมกลิ่น

  • พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) สมรสกับ คุณหญิงเพี้ยง มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 6 คน นางจำนวน มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 3 คน คุณหญิงบัญญัติ มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 2 คน ดังนี้
    • หม่อมหลวงหญิงปลื้มใจ บุนนาค เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง สมรสกับ หลวงไพรัชพากย์ภักดี (จริง บุนนาค)
    • หม่อมหลวงปัทม์ มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง
    • หม่อมหลวงหญิงปฤถา มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง สมรสกับ นายปราโมท ศิขรินทร์
    • หม่อมหลวงหญิงปิยา มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง
    • หม่อมหลวงประกุล มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง สมรสกับ นางชวนพิศ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม นิมิหุต)
    • หม่อมหลวงหญิงประอร มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 สมรสกับ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ มีบุตร 2 คน และกับ ร้อยเอก หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์
    • หม่อมหลวงประสพศิลป์ มาลากุล เกิดจากนางจำนวน สมรสกับ นางรัตนา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม เสมาทอง)
    • หม่อมหลวงหญิงปลุกปลื้ม ศรีประเสริฐ เกิดจากนางจำนวน สมรสกับ พลอากาศเอก วีระ ศรีประเสริฐ
    • หม่อมหลวงปราการ มาลากุล เกิดจากนางจำนวน
    • หม่อมหลวงหญิงปริญญา อัศวอารีย์ เกิดจากคุณหญิงบัญญัติ สมรสกับ นายสุรินทร์ อัศวอารีย์
    • หม่อมหลวงหญิงประกาย พิจารณ์จิตร เกิดจากคุณหญิงบัญญัติ สมรสกับ นาวาเอก อัมพร พิจารณ์จิตร ราชนาวี

ในหม่อมกลั่น

  • หม่อมราชวงศ์เปี๊ยะ มาลากุล

ในหม่อมอิน

  • หม่อมราชวงศ์ปีก มาลากุล

พระเกียรติยศ

แก้

พระอิสริยยศ

แก้
  • หม่อมเจ้าขจร (3 กันยายน พ.ศ. 2386 – พ.ศ. 2424)
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ (พ.ศ. 2424 – พ.ศ. 2439)
  • พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ (พ.ศ. 2439 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2441)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. ข่าวราชการพระราชพิธีสารท (หน้า ๓๘๑)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศการสถาปนา พระเจ้าน้องยาเธอ พระวรวงษ์เธอ เปนต่างกรม แลสถาปนา หม่อมเจ้าเปนพระองคเจ้า แลเลื่อนตำแหน่งยศข้าราชการผู้ใหญ่, เล่ม ๑๓, ตอน ๑, ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๙, หน้า ๑๖
  3. ราชกิจจานุเบกษา,ข่าวการสิ้นพระชนม์ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์
  4. เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)
  5. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 10 หน้า 415
  6. พระราชทานเหรียญราชินี ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 15 หน้า 283
  7. "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออสเตรีย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 6 (ตอน 21): หน้า 175. 25 สิงหาคม 2432. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์รุสเซีย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 8 (ตอน 46): หน้า 414. 7 กุมภาพันธ์ 2434. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
ก่อนหน้า พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ ถัดไป
นายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์   ผู้บัญชาการทหารเรือ
(15 เมษายน พ.ศ. 2433 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2441)
  นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์