พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2351 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2414) เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[2] เป็นต้นราชสกุลสนิทวงศ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ประสูติ | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2351 |
สิ้นพระชนม์ | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2414 (63 ปี) |
หม่อม | แย้ม ณ บางช้าง จันทร์ วงศาโรจน์[1]: 55 |
พระบุตร | 52 พระองค์ |
ราชสกุล | สนิทวงศ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระมารดา | ท้าววรจันทร์ (ปราง) |
พระประวัติ
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท มีนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายนวม[note 1] ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ พระสนมเอก ธิดาท่านขรัวยายทองอิน เมื่อวันเสาร์ เดือน 8 แรม 2 ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1170 ตรงกับวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2351[3] ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นตามแบบฉบับของราชสำนักและผนวชเป็นสามเณร ได้รับการศึกษาในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ทรงได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านอักษรศาสตร์ ทั้งอักขรวิธีภาษาไทย อักษรเขมร และภาษาบาลี รวมทั้งวรรณคดี วิชาโบราณคดีและราชประเพณี[4]
ต่อมาทรงเข้ารับราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำกับกรมหมอหลวง และทรงศึกษาวิชาการแพทย์สมัยใหม่จากมิชชันนารีชาวอเมริกัน [3] โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นกรมหมื่นวงศาสนิท[5] เมื่อครั้นปี พ.ศ. 2392 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปรารภ ถึงความเสื่อมโทรมของภาษาไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้านวม ทรงแต่งตำราภาษาไทยขึ้นใหม่ เพื่ออนุรักษ์ภาษาไทย พระนิพนธ์เรื่อง “จินดามณี เล่ม 2” ซึ่งทรงดัดแปลงจากตำราเดิมสมัยอยุธยา อธิบายหลักเกณฑ์ภาษาไทยให้เข้าใจง่ายกว่าเดิม[4] ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็นกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงกำกับราชการมหาดไทย ว่าพระคลังสินค้า และเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทรงเป็นเจ้านายหนึ่งในสี่พระองค์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหมายจะให้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์[3]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันพุธ เดือน 10 ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะเมียโทศก ตรงกับวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2414 สิริพระชันษา 63 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2414[6]
ในปี พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรมได้เสนอพระนาม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ในโครงการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของ ยูเนสโก ด้านปราชญ์และกวี ประจำปี 2551-2552 ในวาระครบรอบ 200 ปีของการประสูติ องค์การยูเนสโกได้มีมติรับรองในการประชุมเมื่อวันที่ 18-23 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ที่กรุงปารีส [7]
พระโอรส-ธิดา
แก้- หม่อมเจ้าหญิงวารี สนิทวงศ์[6]
- หม่อมเจ้าหญิงบัว สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าหญิงเม้า สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าชายเทโพ สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าชายจำรัส สนิทวงศ์ มีโอรส คือ
- หม่อมราชวงศ์เฟี้ยน สนิทวงศ์ ผู้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยานุจุลจอมเกล้าสืบราชสกุล
- หม่อมเจ้าชายเจริญ สนิทวงศ์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าชายดำ (ประสูติ พ.ศ. 2377 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2427) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรัชนี สนิทวงศ์ (ราชสกุลเดิม : ทินกร) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ มีโอรส คือ
- หม่อมราชวงศ์ดัด สนิทวงศ์ (หลวงครรชิตศรกรรม) สมรสกับสาคร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม : ประกอบสอน) มีธิดา คือ
- หม่อมหลวงชุบ สนิทวงศ์ หม่อมในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์
- หม่อมราชวงศ์ดัด สนิทวงศ์ (หลวงครรชิตศรกรรม) สมรสกับสาคร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม : ประกอบสอน) มีธิดา คือ
- หม่อมเจ้าหญิงอรุณ สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าหญิงลูกจัน สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
- หม่อมเจ้าชายเสือ สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2388)
- หม่อมเจ้าหญิงลูกอิน สนิทวงศ์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2439)
- หม่อมเจ้าชายเผือก สนิทวงศ์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าชายหนูขาวเผือก
- หม่อมเจ้าชายนุช สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
- หม่อมเจ้าชายท้วม สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าชายสาย สนิทวงศ์ ประสูติแต่หม่อมแย้ม (สกุลเดิม : ณ บางช้าง) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ (ประสูติเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2388 สิ้นพระชนม์ 13 กันยายน พ.ศ. 2455) เสกสมรสกับ
- หม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม : ศศิสมิต) มีโอรส-ธิดา คือ
- หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงเนื่อง สนิทวงศ์ รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมพระสนมเอกในรัชกาลที่ 5
- หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์ เป็นพระอัยกา (ตา) ใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- หม่อมราชวงศ์ชม สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์สวัสดิ์ สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงเสงี่ยม สนิทวงศ์ เป็นหม่อมห้ามสะใภ้หลวงในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- หม่อมราชวงศ์ทวี สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงไม่ปรากฏนาม
- ภรรยาอื่น มีโอรส-ธิดา
- หม่อมราชวงศ์พิณ สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์จวง สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์เจียม สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์ต้อ สนิมวงศ์
- หม่อมราชวงศ์เตื้อง สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์ตั้น สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์ตัน สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงบัว สนิทวงศ์ หม่อมในหม่อมเจ้ามงมลประวัติ สวัสดิกุล พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์
- หม่อมราชวงศ์เชื้อ สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์จี๊ด สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์อั้น สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์โต สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์ผอบ สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์ศิริมาน สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงข้อ สนิทวงศ์ รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5
- หม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม : ศศิสมิต) มีโอรส-ธิดา คือ
- หม่อมเจ้าชายสวาสดิ์ สนิทวงศ์ ประสูติแต่หม่อมสุ่น (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2443 พระราชทานเพลิง ณ วัดราชสิทธาราม) เสกสมรสกับ
- หม่อมพลอย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีธิดา คือ
- หม่อมราชวงศ์หญิงเกสร สนิทวงศ์ รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมพระสนมเอกในรัชกาลที่ 5
- หม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีธิดา คือ
- หม่อมราชวงศ์หญิงเลิศวิไลยลักษณ์ สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงจำรัสศรี สนิทวงศ์
- หม่อมเทียบ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- หม่อมราชวงศ์สายหยุด สนิทวงศ์
- หม่อมอิน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- หม่อมราชวงศ์ฉายแสงวัชระ สนิทวงศ์
- หม่อมพลอย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีธิดา คือ
- หม่อมเจ้าหญิงสนิท สนิทวงศ์ หรือ หม่อมเจ้าหญิงสนิทถนอม (ประสูติ พ.ศ. 2390 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2472) เสกสมรสกับ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์
- หม่อมเจ้าหญิงเกษร สนิทวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 พระราชทานเพลิง ณ วัดบรมนิวาส เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2456)
- หม่อมเจ้าหญิงงาม สนิทวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2449 พระราชทานเพลิง ณ วัดอนงคาราม เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2456) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพูลสวัสดิ์ ทินกร พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทร์ฤทธิ์
- หม่อมเจ้าหญิงกระจ่าง สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2391 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ)
- หม่อมเจ้าหญิงกระลำภัก สนิทวงศ์ (ประสูติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2468 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2469)
- หม่อมเจ้าหญิงผอบ สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2402 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2463 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ พ.ศ. 2469)
- หม่อมเจ้าหญิงเชย สนิทวงศ์ หรือ หม่อมเจ้าหญิงอบเชย (ประสูติ พ.ศ. 2402 สิ้นชีพิตักษัย 28 เมษายน พ.ศ. 2467 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ)
- หม่อมเจ้าหญิงชม สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2402)
- หม่อมเจ้าหญิงชื่น สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2402 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2439 พระราชทานเพลิง ณ วัดอรุณราชวราราม)
- หม่อมเจ้าหญิงอำพัน (ประสูติ พ.ศ. 2403 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2437 พระราชทานเพลิง ณ วัดอินทาราม เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2438)
- หม่อมเจ้าชายเจ้ง สนิทวงศ์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าชายเจง (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ พ.ศ. 2406)
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (พระราชทานเพลิง ณ วัดอรุณราชวราราม พ.ศ. 2406)
- หม่อมเจ้าชายเกด สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2407 สิ้นชีพิตักษัย 9 กันยายน พ.ศ. 2432)
- หม่อมเจ้าชายสะอาด สนิทวงศ์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดอรุณราชวราราม พ.ศ. 2408)
- หม่อมเจ้าชายพร้อม สนิทวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช (ประสูติเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2411 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2482 พระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2482) เสกสมรสกับหม่อมสะอาด สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และทรงมีหม่อมอีก 8 คน คือ หม่อมลมัย หม่อมเจิม หม่อมจร หม่อมแป้น หม่อมพร หม่อมเกษร หม่อมเนิน และหม่อมไสว มีโอรสธิดากับหม่อมต่าง ๆ 14 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์หญิงสอิ้ง ดิศกุล เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทรงวุฒิภาพ ดิศกุล
- พระสนิทวงศ์อนุวรรต (หม่อมราชวงศ์พร้อมใจ สนิทวงศ์) สมรสกับทวี จารุรัตน์
- หม่อมราชวงศ์หญิงสุดสอาด ดิศกุล เสกสมรสกับหม่อมเจ้าทรงวุฒิภาพ ดิศกุล
- หม่อมราชวงศ์หญิงชวลิต สนิทวงศ์ เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
- หม่อมราชวงศ์จำนงค์ สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงขจิต ศตศิริ
- หม่อมราชวงศ์หญิงอุไร ชมุนี
- หม่อมราชวงศ์กุศทิน สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงนันทา สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงสมศรี สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงวิภารดี อินทรประสิทธิ์
- หม่อมราชวงศ์พรรคพงศ์สนิท สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงวิจิตรมาลี สนิทวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงระวีวรรณ ภัทรประภา
- หม่อมเจ้าชายเปียก สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าชายประวัติวงษ์ สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2412 สิ้นชีพิตักษัย 14 ตุลาคม พ.ศ. 2452 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2454)
- หม่อมเจ้าชายเล็ก สนิทวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2413 สิ้นชีพิตักษัย 28 กันยายน พ.ศ. 2445 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ) เสกสมรสกับหม่อมพลับ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีธิดา คือ
- หม่อมราชวงศ์หญิงปลื้มจิตร สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าชายตุ้ม สนิทวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสนิทพงศ์พัฒนเดช (ประสูติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2412 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2481) เสกสมรสกับหม่อมเล็ก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- หม่อมเจ้าชายแฉ่ง สนิทวงศ์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2428)
- หม่อมเจ้าชายรัสมี สนิทวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2439)
- หม่อมเจ้าหญิงแพ สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าหญิงสารภี สนิทวงศ์ หรือ หม่อมเจ้าสารภี ชุมสาย เสกสมรสกับหม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม
- หม่อมเจ้าหญิงชมนาท สนิทวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 พระราชทานเพลิง ณ วัดกัลยาณมิตร)
- หม่อมเจ้าหญิงทองคำ สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าหญิงละม้าย สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าหญิงจันฑณเทศ สนิทวงศ์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดวงษมูลวิหาร เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2432)
- หม่อมเจ้าหญิงกฤษณา สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าหญิงถนอม สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าชายจิ๋ว สนิทวงศ์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2431)
- หม่อมเจ้าหญิงประภา สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าหญิงประทุม สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าชายเปลี่ยน สนิทวงศ์
- หม่อมเจ้าหญิงกลาง สนิทวงศ์
พระเกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
แก้- พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้านวม
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้านวม
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้านวม
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวงศาธิราชสนิท
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. 27 เจ้าพระยา (ฉบับพิสดาร). โรงพิมพ์แพร่การช่าง, 2510
- ↑ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 30. ISBN 978-974-417-594-6
- ↑ 3.0 3.1 3.2 กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2
- ↑ 4.0 4.1 จัดงาน200ปีกรมหลวงวงษาธิราชสนิท[ลิงก์เสีย] dailynews.co.th
- ↑ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์[ลิงก์เสีย] นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2638 ปีที่ 51 วันที่ 10 พฤษภาคม 2548
- ↑ 6.0 6.1 ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ ยูเนสโกยกย่องต้นราชสกุล สนิทวงศ์ เดลินิวส์ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
- ↑ 8.0 8.1 ราชสกุลวงศ์. พระนคร: พระจันทร์. 2512.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 ลำดับราชินิกูลบางช้าง. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร. 2501.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 พงษาวดารราชินิกูลบางช้าง (PDF). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย สพานยศเส. 2457.
เชิงอรรถ
- ↑ สันนิษฐานว่า พระนามมาจากคำว่า นวม (อ่านว่า นะวะมะ) ซึ่งมีความหมายว่า "ที่ ๙"
บรรณานุกรม
- Nopphanat Anuphongphat and Komatra Chuengsatiansup. “Krom luang Wongsa and the House of snidvongs: Knowledge Transition and the Transformation of Medicine in Early Modern Siam.” in Tim Harper, and Sunil S. Amrith (eds.), Histories of Health in Southeast Asia: Perspectives on the Long Twentieth Century. pp. 19-43. Bloomington, IN: Indiana University Press. Indiana University Press, 2014.