พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสนิทพงศ์พัฒนเดช
นายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสนิทพงศ์พัฒนเดช (12 ธันวาคม พ.ศ. 2413 — 17 กันยายน พ.ศ. 2481) พระนามเดิม หม่อมเจ้าตุ้ม เป็นอดีตราชองครักษ์ องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ปลัดทูลฉลองกระทรวงทหารเรือ และรองเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ [1]
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสนิทพงศ์พัฒนเดช | |
---|---|
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 2 พระองค์เจ้าชั้นตรี | |
รองเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 |
ประสูติ | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2413 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 17 กันยายน พ.ศ. 2481 (67 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
หม่อม | หม่อมเล็ก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา |
ราชสกุล | สนิทวงศ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท |
รับใช้ | กองทัพเรือสยาม |
---|---|
ชั้นยศ | พลเรือโท |
พระประวัติรับราชการ
แก้หม่อมเจ้าตุ้ม เป็นพระโอรสลำดับที่ 37 [2]ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในกระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และกระทรวงทหารเรือ
วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสนิทพงศ์พัฒนเดช[3]และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2458
ในระหว่างที่รับราชการอยู่ที่กรมทหารเรือ นายเรือเอกผู้ช่วยหม่อมเจ้าตุ้ม ได้รับตำแหน่งเป็นยกกระบัตรทัพเรือ
พระยศทหารเรือ
แก้สิ้นพระชนม์
แก้นายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสนิทพงศ์พัฒนเดช ทรงประทับอยู่ที่วังริมคลองกอกใหญ่ [6] (ปากคลองบางไส้ไก่) มีหม่อมสามท่าน โดยมีหม่อมท่านสุดท้าย คือ หม่อมเล็ก สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (บุตรีนายเลื่อม และ นางจันทร์) ชาวไทยเชื้อสายลาวจากจังหวัดอุบลราชธานี พระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยโรคพระหทัยพิการ ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2481 พระชันษา 67 ปี พระศพยังคงไม่ได้รับพระราชทานเพลิง และบรรจุอยู่ที่วัดบรมสถล (วัดดอน ยานนาวา)[6] ตามที่รับสั่งกับหม่อมเล็ก[7] ต่อมาพระศพย้ายไปบรรจุที่สุสานไหหลำ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2467 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2459 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[10]
- พ.ศ. 2457 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ แจ้งความกระทรวงทหารเรือ
- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
- ↑ พระราบทานยศทหารเรือ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/D/697_1.PDF
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารเรือ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/127.PDF
- ↑ 6.0 6.1 ฐานข้อมูลท้องถิ่นธนบุรี[ลิงก์เสีย] คลองบางหลวง
- ↑ มหาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, สำนักศิลปและวัฒนธรรม. ทีทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักศิลปและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2551. หน้า 65-91
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2467/D/2655.PDF
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณืและเหรียญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 40 หน้า 3420 วันที่ 7 มกราคม 2466
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 33 หน้า 2190 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2459
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/1868.PDF