สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส[1] (11 ธันวาคม พ.ศ. 2333 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2396) พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นสมเด็จพระสังฆราชไทยพระองค์ที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นพระราชวงศ์พระองค์แรกที่ทรงได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช นอกจากนี้ยังเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกที่ประสูติในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงสถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงสมณศักดิ์เมื่อปี พ.ศ. 2394 ถึงปี พ.ศ. 2396 รวม 2 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ 62 ปี 364 วัน
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส | |
---|---|
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก | |
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก | |
ดำรงพระยศ | พ.ศ. 2394 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2396 |
สมณุตตมาภิเษก | พ.ศ. 2394 |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระอริยวงษญาณ (นาค) |
ถัดไป | สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ |
สถิต | วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส |
ศาสนา | พุทธ |
นิกาย | มหานิกาย |
ราชวงศ์ | จักรี |
ประสูติ | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2333 กรุงเทพพระมหานคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย) พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี |
สิ้นพระชนม์ | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2396 (62 ปี) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส เมืองพระนคร ประเทศสยาม (ปัจจุบัน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย) หอพระนาก ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
พระมารดา | ท้าวทรงกันดาล |
พระประวัติ
แก้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจุ้ย (ต่อมาได้เลื่อนยศเป็นท้าวทรงกันดาล) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2333 มีพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี ผนวชเป็นสามเณรเมื่อพระชันษาได้ 12 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2345 ผนวชเป็นพระภิกษุ แล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงศึกษาหนังสือไทยและภาษาบาลีตลอดทั้งวิชาอื่น ๆ จากสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน จนมีพระปรีชาสามารถ ทั้งทางคดีโลก และคดีธรรม มีผลงานอันเป็นพระราชนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงให้รวมวัดในแขวงกรุงเทพมหานคร ขึ้นเป็นคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกลาง แล้วได้สถาปนากรมหมื่นนุชิตชิโนรสให้ดำรงสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะเจ้าคณะรอง และทรงตั้งเป็นเจ้าคณะกลาง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศบรมพงศาธิบดี จักรีบรมนารถ ปฐมพันธุมหาราชวรังกูร ปรเมนทรเรนทรสูริย์สัมมานาภิสักกาโรดมสถาร อริยสมศีลาจารพิเศษมหาวิมล มงคลธรรมเจดีย์ ยุตมุตวาทีสุวิรมนุญ อดุลยคุณคณาธาร มโหฬารเมตยาภิธยาศรัย ไตรปิฎกกลาโกสล เบญจปดลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาสมณุตมาภิเศกาภิสิต ปรมุกกฤษฐสมณศักดิธำรง มหาสงฆปรินายก พุทธศาสนดิลกโลกุตตมมหาบัณฑิตย สุนทรวิจิตรปฏิภาณ ไวยัติญาณมหากระวี พุทธาทิศรีรัตนตรัยคุณารักษ เอกอรรคมหาอนาคาริยรัตน์ สยามาทิโลกปฏิพัทธพุทธบริษัทยเนตร สมณคณินทราธิเบศรสกลพุทธจักโรประการกิจ สฤษดิศุภการ มหาปาโมกษประธานวโรดม บรมนารถบพิตร[2] (ต่อมาในรัชกาลที่ 6 จึงโปรดให้เปลี่ยนเป็นกรมพระตามยศเจ้ากรม[3]) ทรงสมณศักดิ์เป็นพระมหาสังฆปริณายก ทั่วพระราชอาณาเขต ให้จัดตั้ง พระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามมีทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีพราหมณ์ คล้ายกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกของคณะสงฆ์ไทย
เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชก็ว่างตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากไม่มีพระเถระรูปใดมีคุณสมบัติอยู่ในฐานะที่จะทรงสถาปนาตามหลักเกณฑ์ กล่าวคือ ตามพระราชประเพณีนิยมที่มีมาแต่โบราณ พระเถระที่จะทรงตั้งเป็น สมเด็จพระสังฆราช และสมเด็จพระราชาคณะ นั้น ก็เฉพาะผู้ทรงคุณสมบัติพิเศษ คือเป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นอาจารย์เป็นที่ทรงนับถือเหมือนอย่างพระอุปัชฌาย์ หรือพระอาจารย์ หรือเป็นผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า มีอายุแก่กว่าพระชนมพรรษา
แม้ว่าจะว่างสมเด็จพระสังฆราช แต่การปกครองคณะสงฆ์ก็สามารถดำเนินไปได้ด้วยดี เนื่องจากแต่โบราณมา พระมหากษัตริย์ทรงถือเป็นพระราชภาระในการปกครองดูแลคณะสงฆ์ โดยมีเจ้านาย หรือขุนนางผู้ใหญ่ในตำแหน่ง เจ้ากรมสังฆการี เป็นผู้กำกับดูแลแทนพระองค์ สมเด็จพระสังฆราชมิได้ทรงบัญชาการคณะสงฆ์โดยตรง ทรงดำรงฐานะปูชนียบุคคล การปกครองในลักษณะนี้ ได้มาเปลี่ยนแปลงไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า การเรียกพระนามพระบรมราชวงศ์ซึ่งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระประมุขแห่งสังฆมณฑลแต่เดิมนั้นเรียกตามพระอิสริยยศแห่งพระบรมราชวงศ์ ไม่ได้เรียกตามสมณศักดิ์ของพระประมุขแห่งสังฆมณฑล คือ "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ" หรือที่เรียกอย่างย่อว่า "สมเด็จพระสังฆราช" พระองค์จึงเปลี่ยนคำนำพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ซึ่งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระประมุขแห่งสังฆมณฑลว่า "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า" เพื่อให้ปรากฏพระนามในส่วนสมณศักดิ์ด้วย ดังนั้น จึงเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส"[4]
พระอัจฉริยภาพ
แก้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีพระอัจฉริยภาพหลายด้าน ในทางอักษรศาสตร์ ก็ได้นิพนธ์เรื่องฉันท์มาตราพฤติ และวรรณพฤติ ตำราโคลงกลบท คำกฤษฎี เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้นิพนธ์บทกวีอีกเป็นจำนวนมาก ที่ล้วนมีคุณค่าเป็นเพชรน้ำเอกทางวรรณกรรมของไทยตลอดมา
สำหรับวรรณกรรมศาสนา ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องปฐมสมโพธิกถา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก หรือร่ายยาวมหาชาติ ซึ่งนับเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกทางพระพุทธศาสนาในสมัยรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้มากเช่น ลิลิตตะเลงพ่าย พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เทศนาพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ลิลิตกระบวนพยุหยาตราพระกฐินสถลมารค และชลมารค เป็นต้น
ในทางพระพุทธศิลป์ ได้ทรงคิดแบบพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเลือกพระอิริยาบถต่าง ๆ จากพุทธประวัติเป็นจำนวน 37 ปาง เริ่มตั้งแต่ปางบำเพ็ญทุกขกิริยา จนถึงปางห้ามมาร พระพุทธรูปปางต่าง ๆ เหล่านี้
ในปี พ.ศ. 2533 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปี พ.ศ. 2533 นับเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ได้รับการถวายเกียรตินี้
พระนิพนธ์
แก้- สรรพสิทธิคำฉันท์
- สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนปลาย
- กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
- ฉันท์ดุษฏีสังเวยกล่อมช้างพัง
- กาพย์ขับไม้กล่อมช้างพัง
- ฉันท์มาตราพฤติ
- ฉันท์วรรณพฤติ
- ลิลิตตะเลงพ่าย
- ลิลิตกระบวนพยุหยาตราพระกฐินสถลมารคและชลมารค
- โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปฏิสังขรวัดพระเชตุพน
- ร่ายทำขวัญนาค
- เทศน์มหาชาติ ๑๑ กัณฑ์
- ตำราพระพุทธรูปต่าง ๆ
- ปฐมสมโพธิกถา
- พระธรรมเทศนาพงศาวดากรุงศรีอยุธยา
- ลิลิตจักรทีปนี (เป็นตำราโหราศาสตร์)
- กลอนเพลงยาวเจ้าพระ
- คำฤษฏี (หนังสือรวบรวมศัพท์)
- โคลงเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เช่น โคลงฤษีดัดตน โคลงภาพต่างภาสา
- ฉันท์สังเวยกลองวินิจฉัยเภรี
- กุรุธรรมชาฏก ฯลฯ
พระเกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส | |
---|---|
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พะยะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
แก้- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี (11 ธันวาคม พ.ศ. 2333 – 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าพระวาสุกรี (7 กันยายน พ.ศ. 2352 – พ.ศ. 2356)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส[5](พ.ศ. 2356 - พ.ศ. 2394)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส[6](พ.ศ. 2394 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2396)
ภายหลังการสิ้นพระชนม์
- พระเจ้าไอยกาเธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส (พ.ศ. 2411 - 2453)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พ.ศ. 2453 - 2464)
- สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส[4](พ.ศ. 2464)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเศก สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, เล่ม 27, ตอน 0 ง , 28 มกราคม พ.ศ. 2453, หน้า 2562
- ↑ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔:๑๑-ตั้งพระราชาคณะ
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 213
- ↑ 4.0 4.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า, เล่ม ๓๘, ตอน ๐ ก ,๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔, หน้า ๑๐
- ↑ พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒:๒๙-เรื่องตั้งกรม
- ↑ จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1, หน้า 80
- ↑ "เจ้าพระยายมราช (เฉย)" (PDF). สำนักวิทยบริการเทคโนโลยีและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-13. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- บรรณานุกรม
- จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 508 หน้า. ISBN 974-417-527-3
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 68. ISBN 978-974-417-594-6
- จุลลดา ภักดีภูมินทร์ (หม่อมหลวงศรีฟ้า ลดาวัลย์ มหาวรรณ). เวียงวัง เล่ม ๑. กรุงเทพ : เพื่อนดี บริษัท อักษรโสภณ จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2551. 300 หน้า. หน้า หน้าที่ 256. ISBN 978-974-253-061-7
ก่อนหน้า | สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระอริยวงษญาณ (นาค) | สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2396) |
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ |