พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ

จางวางเอก นายพันเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ (17 ตุลาคม พ.ศ. 2400 – 16 เมษายน พ.ศ. 2462) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ธิดานายศัลยวิชัย หุ้มแพร (ทองคำ ณ ราชสีมา) [3][4][5] เป็นพระบิดาแห่งภาพยนตร์ไทย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
องคมนตรี [1][2]
ดำรงตำแหน่ง7 พฤษภาคม พ.ศ. 2430
ประสูติ17 ตุลาคม พ.ศ. 2400
สิ้นพระชนม์16 เมษายน พ.ศ. 2462 (61 ปี)
ภรรยาชายา
หม่อมเจ้าหญิงเม้า ทองแถม
หม่อมเจ้าหญิงสุวรรณ ทองแถม
หม่อม
8 คน
พระบุตร15 องค์
ราชสกุลทองแถม
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ พระสนมโท

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 34 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ พระสนมโท ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 14 คํ่า ปีมะเส็ง นพศก จ.ศ. 1219 ตรงกับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2400 มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระองค์มีพระเชษฐา พระอนุชา และพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันคือ

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเจริญรุ่งราษี
  • พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ากาญจนากร

พระประวัติรับราชการ

แก้

พระองค์ทรงพระปรีชาในด้านงานช่าง ทรงร่วมรับหน้าที่บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 100 ปี พ.ศ. 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมเกียรติพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงกรมเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ ผู้บังคับการกรมช่างมหาดเล็ก เมื่อ พ.ศ. 2431 ทรงบังคับบัญชางานช่างต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน พระราชวังบางปะอิน สวนสราญรมย์ ทรงรับผิดชอบงานโยธาในการก่อสร้าง พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดีกรมศิลปากร

พระองค์ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประพาสประเทศสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. 2439 และได้ทอดพระเนตรภาพยนตร์เป็นครั้งแรก ในปีต่อมา ทรงตามเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกในปี พ.ศ. 2440 ได้ทรงจัดซื้อเครื่องซีเนมาโตกราฟฟี ซึ่งเป็นทั้งกล้องถ่ายและเครื่องฉายภาพยนตร์ กลับมาเมืองไทยด้วย ภาพบันทึกเหตุการณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2440 นับเป็นภาพยนตร์ม้วนแรกสุดในโลกที่ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชาติไทย

พระองค์ได้ทรงถ่ายทำภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์เบ็ดเตล็ด ทั้งในและนอกเขตพระราชวัง จนถึงภาพพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง นอกจากพระองค์ทรงเป็นนักถ่ายภาพยนตร์เป็นรายแรกและรายเดียวของสยามในรัชสมัยนั้นแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดฉายและให้เช่าภาพยนตร์เป็นรายแรกของชาติด้วย โดยนอกจากจะทรงให้โรงภาพยนตร์ต่าง ๆ เช่ายืมภาพยนตร์ของพระองค์แล้ว บางครั้งก็ทรงจัดฉายภาพยนตร์เก็บค่าดูจากสาธารณชนขึ้นในบริเวณวังของพระองค์ และที่ทรงทำเป็นประจำคือ การออกร้านฉายภาพยนตร์เป็นเจ้าประจำในงานประจำปีวัดเบญจมบพิตร ในรัชกาลต่อมา พระองค์ทรงว่างเว้นและเลิกราการถ่ายทำภาพยนตร์ เนื่องจากมีผู้ดำเนินการขึ้นในสยามแล้วหลายราย

พระองค์ทรงประทับอยู่ที่วังสรรพสาตรศุภกิจ ที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2444 วังนี้ถูกไฟไหม้หมดจนเหลือแต่ซุ้มประตูทางเข้าวัง เมื่อ พ.ศ. 2510 และมีการสร้างตึกแถวสมัยใหม่ขึ้นมาแทน ปัจจุบันย่านนี้เรียกว่า แพร่งสรรพศาสตร์

พระองค์ทรงได้รับเฉลิมพระเกียรติเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ เมื่อ พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับราชการตำแหน่งสุดท้ายเป็น นายพันเอก ราชองครักษ์ [6] และทรงดำรงตำแหน่งจางวางเอกในกรมมหาดเล็ก[7] ในปี พ.ศ. 2456

สิ้นพระชนม์

แก้

จางวางเอก นายพันเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ประชวรเป็นพระโรคอัมพาต สิ้นพระชนม์ที่ตำหนักวังตำบลถนนตะนาว เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2462[8] สิริพระชันษาได้ 63 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช แทนพระองค์เสด็จสรงน้ำพระศพ ทรงสวมพระชฎาแล้วเจ้าพนักงานได้เชิญพระศพขึ้นตั้งบนชั้นแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบพระโกศมณฑปใหญ่ ตั้งเครื่องสูงแวดล้อมและเครื่องประกอบพระอิสริยยศ มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพในระหว่างวันที่ 9 ถึง 11 เมษายน พ.ศ. 2463 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศทองน้อย ประดิษฐานบนชั้นแว่นฟ้า 3 ชั้น ฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น แขวนกั้นพระโกศ แวดล้อมด้วยเครื่องสูง และเครื่องราชอิสริยยศ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองแถม

พระโอรสและธิดา

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ มีชายา 2 องค์ และมีหม่อม 8 คน รวม 10 องค์/คน ได้แก่

  1. หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม ท.จ.ว. (ราชสกุลเดิม รองทรง)
  2. หม่อมเจ้าสุวรรณ ทองแถม (ราชสกุลเดิม นิลรัตน)
  3. หม่อมราชวงศ์เกษรสุมาลี ทองแถม (ราชสกุลเดิม อิศรางกูร)
  4. หม่อมราชวงศ์นารีนพรัตน์ ทองแถม (ราชสกุลเดิม อิศรางกูร)
  5. หม่อมตาดใหญ่ ทองแถม ณ อยุธยา (สกุลเดิม โรจนวิภาต)
  6. หม่อมเมือง ทองแถม ณ อยุธยา (สกุลเดิม พลนิเทศ)
  7. หม่อมทับทิม ทองแถม ณ อยุธยา
  8. หม่อมตาดเล็ก ทองแถม ณ อยุธยา (สกุลเดิม นาครทรรพ)
  9. หม่อมเศรษฐี ทองแถม ณ อยุธยา
  10. หม่อมประเทียบ ทองแถม ณ อยุธยา (สกุลเดิม พุ่มพวงเพชร)

มีพระโอรส 7 องค์ และมีพระธิดา 8 องค์ รวม 15 องค์ ได้แก่

ลำดับ พระรูปและพระนาม เพศ พระมารดา ประสูติ สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
1
 
หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม
ช. หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม 17 สิงหาคม พ.ศ. 2427 [9] 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 หม่อมเจ้าข่ายทองถัก
หม่อมเจ้าพันธ์สิหิงค์
หม่อมแสงมณี
หม่อมทรัพย์
หม่อมศรี
หม่อมพิณ
2
 
หม่อมเจ้าเครือมาศวิมล ทองแถม
ญ. หม่อมเมือง ทองแถม ณ อยุธยา 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2427 [9] 26 ธันวาคม พ.ศ. 2482
3
 
หม่อมเจ้าพวงสนธิสุวรรณ ทองแถม
ญ. หม่อมตาดใหญ่ ทองแถม ณ อยุธยา 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2427 [9] 24 กันยายน พ.ศ. 2472 หม่อมเจ้าโชติรส เกษมสันต์
4
 
หม่อมเจ้าพันธุคำนพคุณ ทองแถม
ช. หม่อมทับทิม ทองแถม ณ อยุธยา 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2428 [9] พ.ศ. 2506 หม่อมเจ้านาฏนพคุณ
หม่อมเลื่อน
หม่อมหล่อ
5
 
หม่อมเจ้า
ญ. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2430 20 เมษายน พ.ศ. 2434
6
 
หม่อมเจ้าคำงอก ทองแถม
ช. หม่อมเจ้าสุวรรณ ทองแถม 8 มีนาคม พ.ศ. 2431 [9] 20 มกราคม พ.ศ. 2472 หม่อมแฟร์
หม่อมมงคล
หม่อมเรียม
7
 
หม่อมเจ้าทองชมพูนุท ทองแถม
ช. หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม 22 ตุลาคม พ.ศ. 2433 [9] พ.ศ. 2491 หม่อมหลวงแย้ม
หม่อมสอางค์
8
 
หม่อมเจ้าชุนทองชุด
ญ. หม่อมตาดเล็ก ทองแถม ณ อยุธยา ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล

(พระราชทานเพลิงเมื่อ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2434)

9
 
หม่อมเจ้าหย่องกาญจนา ทองแถม
ญ. หม่อมราชวงศ์เกษรสุมาลี ทองแถม 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2434 [9] 21 สิงหาคม พ.ศ. 2498
10
 
หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม
ช. หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม 3 สิงหาคม พ.ศ. 2435 [9] พ.ศ. 2506 หม่อมเชิญ
11
 
หม่อมเจ้าทองต่อ ทองแถม
ช. หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม 26 กันยายน พ.ศ. 2436 [9] 13 มกราคม พ.ศ. 2501 หม่อมเจ้าพิมพ์รำไพ
12
 
หม่อมเจ้ากนกนารี ทองแถม
ญ. หม่อมราชวงศ์นารีนพรัตน์ ทองแถม 17 มีนาคม พ.ศ. 2438 [9] 21 มีนาคม พ.ศ. 2511
13
 
หม่อมเจ้าสุวรรณโสภา
ญ. หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 6 ธันวาคม พ.ศ. 2440
14
 
หม่อมเจ้าทองบรรณาการ ทองแถม
ช. หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม 3 ธันวาคม พ.ศ. 2446 [9] พ.ศ. 2506 หม่อมราชวงศ์ศิริโสภา
หม่อมราชวงศ์ศรีถนอม
หม่อมราชวงศ์วรรณวิจิตร
15
 
กังวาฬสุวรรณ กนิษฐชาต
ญ. หม่อมเศรษฐี ทองแถม ณ อยุธยา 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2448[ต้องการอ้างอิง] 21 ตุลาคม พ.ศ. 2543 หม่อมเจ้าจรัลยา จรูญโรจน์
สวัสดิ์ กนิษฐชาต
ไฟล์:100yr thaifilm2.jpg
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ในแสตมป์ที่ระลึก 100 ปี ภาพยนตร์ไทย พ.ศ. 2440 - 2540

พระยศ

แก้
นายพันเอก นายกองโท
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ
รับใช้กรมราชองครักษ์
กองเสือป่า
ชั้นยศ  พันเอก
  นายกองโท

พระยศมหาดเล็ก

แก้
  • 5 มกราคม 2456 – จางวางเอก[10]

พระยศทหาร

แก้
  • 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2441 นายพันเอก[11]

พระยศเสือป่า

แก้
  • นายหมู่เอก
  • นายหมู่ใหญ่
  • นายกองตรี
  • นายกองโท

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

แก้
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ (17 ตุลาคม พ.ศ. 2400 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – พ.ศ. 2431)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ (พ.ศ. 2431 – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448)[12]
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสาตรศุภกิจ (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสรรพสาตรศุภกิจ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 – ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/006/45.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/006/47.PDF
  3. กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ. 2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.)
  4. ต้นสกุล ณ ราชสีมา ย้อนเรื่อง เมืองโคราช
  5. หากนับทางสายสกุลพระมารดา กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจทรงเป็นผู้สืบสายสกุล “ณ ราชสีมา” ชั้น 5 สาย "พระยาสุริยเดช (ทัศน์ รายณสุข ณ ราชสีมา)" และ ชั้น 4 สาย "เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)"
  6. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  7. แจ้งความกรมมหาดเล็ก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/2360.PDF
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๒๖, ๒๐ เมษายน ๒๔๖๒
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
  10. แจ้งความกรมมหาดเล็ก
  11. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  12. ประกาศตั้งกรมพระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงษ์ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2431/033/281_1.PDF
  13. ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งกรมพระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงษ์, เล่ม ๕ ตอนที่ ๓๓ หน้า ๒๘๒, ๒๓ ธันวาคม ๑๒๕๐
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๙๑, ๑๒ พฤศจิกายน ๑๓๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๖๖, ๓ กันยายน ๑๓๐
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๗๖๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๑๒๔
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๘๐๒, ๒๙ มกราคม ๑๒๓
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗ ตอนที่ ๔๓ หน้า ๓๙๑, ๒๕ มกราคม ๑๐๙
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๘, ๔ มิถุนายน ๑๓๐
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๗ ตอนที่ ๔๓ หน้า ๓๙๒, ๒๕ มกราคม ๑๐๙
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๘ หน้า ๔๑๔, ๑๗ ธันวาคม ๑๑๒
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๖๑๗, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๔๖
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๗๘, ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๕, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๙, ๑๑ มกราคม ๑๒๙