พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช

(เปลี่ยนทางจาก พระองค์เจ้าศุขสวัสดี)

นายพลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช (15 มีนาคม พ.ศ. 2399 – 16 เมษายน พ.ศ. 2468) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อดีตผู้บัญชาการกรมคชบาล องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงอดิศรอุดมเดช
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ผู้บัญชาการกรมพระคชบาล
ดำรงตำแหน่ง27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456[1] - 30 กันยายน พ.ศ. 2460
จเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้า
ดำรงตำแหน่ง30 กันยายน พ.ศ. 2460 - 16 เมษายน พ.ศ. 2468
ประสูติ15 มีนาคม พ.ศ. 2399
พระบรมมหาราชวัง ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์16 เมษายน พ.ศ. 2468 (69 ปี)
วังถนนพระอาทิตย์ ประเทศสยาม
หม่อม11 คน
พระบุตร37 องค์
ราชสกุลศุขสวัสดิ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาจันทร์ ในรัชกาลที่ 4

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช เมื่อประสูติมีพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 23 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาจันทร์ ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 9 ค่ำ ปีเถาะ สัปตศก จ.ศ. 1217 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2398 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2399)

ปี พ.ศ. 2419 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมและให้ออกวัง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช ครุฑนาม ทรงศักดินา 15,000 ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง แล้วให้ทรงตั้งเจ้ากรมเป็นหมื่นอดิศรอุดมเดช ถือศักดินา 600 ปลัดกรมเป็นหมื่นภูเบศรบริรักษ์ ถือศักดินา 400 และสมุห์บาญชีเป็นหมื่นประจักษ์พลขันธ์ ถือศักดินา 300 โดยในการออกวังให้ทรงย้ายจากพระตำหนักสวนกุหลาบในบริเวณพระบรมมหาราชวังและโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังท้ายวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามพระราชทาน แล้วเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระสุพรรณบัฏที่วังตามประเพณีซึ่งใช้อยู่ในเวลานั้น

ปี พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศเป็นกรมหลวง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ครุฑนาม ทรงศักดินา 15,000 ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง แล้วให้ทรงเลื่อนเจ้ากรมเป็นหลวงอดิศรอุดมเดช ถือศักดินา 800 ปลัดกรมเป็นขุนภูเบศร์บริรักษ์ ถือศักดินา 600 สมุห์บาญชีคงเป็นหมื่นประจักษ์พลขันธ์ ถือศักดินา 400[2]

ในตอนปลายพระชนม์ชีพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช มีพระอาการประชวรพระปัปผาสะ ครั้นถึง ณ วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2468 เวลา 19.20 น. ก็สิ้นพระชนม์โดยสงบ แวดล้อมด้วยพระโอรส พระธิดา หม่อม และพระประยูรญาติอันสนิท เป็นที่เศร้าโศกสลดเสียดายแก่ผู้ใกล้ชิดพระองค์ทั่วกัน สิริพระชันษาได้ 69 ปี 1 เดือน 13 วัน ได้รับพระราชทาน พระโกศทองน้อย บรรจุพระศพ ตั้งบำเพ็ญพระกุศล ณ วังถนนพระอาทิตย์[3] และ พระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[4]

การทรงงาน

แก้

ในตอนต้นแผ่นดินรัชกาลที่ 5 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะจัดตั้งกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี ซึ่งในเวลานั้นทรงเจริญพระชันษาแล้ว ให้เข้ารับราชการในตำแหน่งคะเด็ตทหารมหาดเล็ก (Cadet- นักเรียนนายร้อย)

เมื่อถึงปี พ.ศ. 2414 จึงได้ทรงเป็นนายดาบในกองร้อยที่ 5 กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

ปี พ.ศ. 2416 ได้เลื่อนพระยศเป็นนายร้อยเอกในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยที่ 5 กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และในปีนี้เอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาตำแหน่งราชองครักษ์ขึ้นเป็นปฐม ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่า "ราชเอดเดอแกมป์" (Aid-de-Camp) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี เป็นราชองครักษ์พระองค์แรกก่อนบุคคลอื่น ดังนั้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองต่างประเทศมี มลายู ชวา และอินเดีย พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี ก็ได้โดยเสด็จในหน้าที่ราชองครักษ์ทุกแห่งไป และในปีต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้กำกับแตรวงในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

ในปี พ.ศ. 2417 โปรดให้ตั้งองคมนตรีสภา (เดิมคือ ปรีวีเคาน์ซิล) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เป็นองคมนตรี[5]ในครั้งนั้น และทรงเป็นองคมนตรี[6]ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกด้วย

ปี พ.ศ. 2430 ได้ทรงเป็นผู้แทนผู้บังคับการทหารล้อมวัง ซึ่งปัจจุบันคือกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์

ปี พ.ศ. 2431 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายพันเอกผู้บังคับการทหารราบในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาในวันพุธ เดือน 8 อุตราสาธ ขึ้น 10 ค่ำ ได้รับพระราชทานพระยศ นายพลจัตวา[7]

ปี พ.ศ. 2433 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มาว่าการในหน้าที่ปลัดทหารบกใหญ่

ปี พ.ศ. 2435 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้บังคับการกรมทหารหน้า ซึ่งปัจจุบันคือกรมทหารราบที่ 4 พร้อมกับได้รับโปรดเกล้าให้เป็น ราชองครักษ์พิเศษ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435[8]

ปี พ.ศ. 2441 ได้เลื่อนเป็นนายพลตรี[9] เมื่อวันที่ 21 กันยายน

ปี พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 10[10]

ปี พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาเป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 4[11] แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาเป็นผู้บัญชาการกรมพระคชบาลแทน จอมพล เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) ซึ่งขณะนั้นมียศเป็น นายพลเอก และให้เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต เป็นผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เพียงตำแหน่งเดียว เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456[12]

ปี พ.ศ. 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาเป็นจเรสัตว์พาหนะทหารบกและการทหารม้า[13] และทรงดำรงตำแหน่งนี้จนตลอดพระชนมายุ และในปีนี้ได้ทรงดำรงตำแหน่งนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์

ปี พ.ศ. 2462 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศเป็นนายพลโท

ปี พ.ศ. 2463 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารบกม้ากรุงเทพฯ รักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

นอกจากการรับราชการทหารอันเป็นหน้าที่เฉพาะแล้ว นายพลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ยังเคยทรงทำหน้าที่พิเศษถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ เป็นช่างถ่ายรูป ผู้บัญชาการมหาดเล็กตั้งเครื่อง เป็นต้น

พระโอรสและพระธิดา

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ทรงเป็นต้นราชสกุลศุขสวัสดิ[14] มีหม่อม 11 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมขาบ
  2. หม่อมแช่ม ธิดาพระนนทบุรี
  3. หม่อมสุ่น
  4. หม่อมนวล
  5. หม่อมราชวงศ์เพี้ยน (ราชสกุลเดิม: คเนจร)
  6. หม่อมชุ่ม
  7. หม่อมเขียน ธิดาพระนนทบุรี
  8. หม่อมเอียด
  9. หม่อมเปล่ง
  10. หม่อมเจริญ
  11. หม่อมตี่

โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 37 พระองค์/องค์ เป็นชาย 22 พระองค์/องค์ หญิง 14 พระองค์/องค์ และไม่ปรากฏว่าเป็นหญิงหรือชาย 1 องค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
  1. หม่อมเจ้าอนุชาติศุขสวัสดิ์ ที่ 1 ในหม่อมขาบ 28 เมษายน พ.ศ. 2415 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 หม่อมเจ้าหญิงรำไพเยาวยุภา (เกษมศรี)
หม่อมละม่อม
หม่อมเทียบ
หม่อมฮวย
หม่อมละมัย
หม่อมแจ๋ว
  2. หม่อมเจ้าหญิงมนัศสวาสดิ์
(พ.ศ. 2472: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงมนัศวาสดิ์)
ที่ 1 ในหม่อมชุ่ม 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2419 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495
  3. หม่อมเจ้าหญิงสอาดศรี ที่ 2 ในหม่อมขาบ พ.ศ. 2421 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438
  4. หม่อมเจ้าหญิง (ด้วง) พ.ศ. 2422 ไม่ทราบปี
  5. หม่อมเจ้าอลงกฎ
(พ.ศ. 2473: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ
พ.ศ. 2495: กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์)
ที่ 3 ในหม่อมขาบ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2423 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495 หม่อมหลวงหญิงชุบ (สนิทวงศ์)
  6. หม่อมเจ้าถูกถวิล ที่ 1 ในหม่อมสุ่น 29 มกราคม พ.ศ. 2431 8 เมษายน พ.ศ. 2472 หม่อมเลื่อน
หม่อมเหรียญ
  7. หม่อมเจ้าหญิงศรีสุคนธ์ ที่ 1 ในหม่อมราชวงศ์หญิงเพี้ยน 14 มิถุนายน พ.ศ. 2431 19 มกราคม พ.ศ. 2506
  8. หม่อมเจ้าอภิลักษณ์ ที่ 1 ในหม่อมนวล พ.ศ. 2432 23 สิงหาคม พ.ศ. 2446
  9. หม่อมเจ้าทินทัต ที่ 1 ในหม่อมแช่ม 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 หม่อมผิว (วสุวัต)
  10. หม่อมเจ้าพุฒิสวัสดิ์ ที่ 1 ในหม่อมเอียด 24 กันยายน พ.ศ. 2433 พ.ศ. 2506 หม่อมกุหลาบ
หม่อมเจ้าหญิงแจ่มจำรัส (กาญจนะวิชัย)
  11. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434 29 เมษายน พ.ศ. 2436
  12. หม่อมเจ้าหญิงรัตจันทร์ ที่ 2 ในหม่อมแช่ม 5 ตุลาคม พ.ศ. 2434 24 ธันวาคม พ.ศ. 2509
  13. หม่อมเจ้าจัตุรัส
(ท่านชายตุ้ม)
ที่ 2 ในหม่อมนวล 20 ธันวาคม พ.ศ. 2435 18 ตุลาคม พ.ศ. 2518 หม่อมอารีย์ (อิศรางกูร ณ อยุธยา)
  14. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) 8 มีนาคม พ.ศ. 2435 14 ธันวาคม พ.ศ. 2436
  15. หม่อมเจ้าประพัฒพงษ์ พ.ศ. 2436 14 มีนาคม พ.ศ. 2449
  16. หม่อมเจ้าสืบศุขสวัสดิ์
(ท่านชายปุ่น)
ที่ 2 ในหม่อมสุ่น 28 ธันวาคม พ.ศ. 2437 19 มิถุนายน พ.ศ. 2523 หม่อมเยื้อน
หม่อมเจ้าหญิงอุทัยพงษ์ (เกษมศรี)
หม่อมเจ้าหญิงวิไลวรรณ (เกษมศรี)
หม่อมสงบ
  17. หม่อมเจ้า (ดำเล็ก) ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
  18. หม่อมเจ้าอุบลเกษร ที่ 2 ในหม่อมราชวงศ์หญิงเพี้ยน 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 พ.ศ. 2506 หม่อมเจ้ามงคลอุดม ชยางกูร
  19. หม่อมเจ้าธัญญลักษณ์ ที่ 1 ในหม่อมเขียน 15 มีนาคม พ.ศ. 2439 31 มีนาคม พ.ศ. 2519 หม่อมเจ้าหญิงรัชมาลินี (ดิศกุล)
  20. หม่อมเจ้าสอาดองค์ ไม่ทราบปี พ.ศ. 2457
  21. หม่อมเจ้า (แป๋ว) ไม่ทราบปี พ.ศ. 2443
  22. หม่อมเจ้า (ดวง)
(ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย)
ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
  23. หม่อมเจ้าหญิง (แต๋ว) ไม่ทราบปี 14 มกราคม 2451
  24. หม่อมเจ้า (นิต) ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
  25. หม่อมเจ้าวงศ์อดิศร ที่ 3 ในหม่อมสุ่น 4 ตุลาคม พ.ศ. 2442 พ.ศ. 2506 หม่อมนพรัตน์
  26. หม่อมเจ้าภาธรมณี
(ท่านหญิงปิ๋ว)
ที่ 3 ในหม่อมราชวงศ์หญิงเพี้ยน 24 กันยายน พ.ศ. 2444 30 มิถุนายน พ.ศ. 2533
  27. หม่อมเจ้ากิตติเดชขจร ที่ 4 ในหม่อมสุ่น 4 เมษายน พ.ศ. 2446 1 มีนาคม พ.ศ. 2518 หม่อมจอน
หม่อมสมบุญ (เมระยาภรณ์)
หม่อมแส
หม่อมวิไล
หม่อมสมจิต
หม่อมบัวเงิน
หม่อมเทียมตา
หม่อมประยงค์ (ทองแท้)
หม่อมบัวเขียว
  28. หม่อมเจ้า (แป๊ะ) 21 มกราคม พ.ศ. 2446 ไม่ทราบปี
  29. หม่อมเจ้าวรศักดิเดชอุดม ที่ 2 ในหม่อมเขียน 22 มิถุนายน พ.ศ. 2447 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 หม่อมราชวงศ์หญิงสดถิ์ศรี (สวัสดิกุล)
หม่อมพัฒนา (คงสวัสดิ์)
  30. หม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์
(ท่านชายน้อย)
ที่ 3 ในหม่อมเขียน 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 หม่อมเจ้าหญิงกาญจนฉัตร (ฉัตรไชย)
หม่อมมาลินี (สีบุญเรือง)
  31. หม่อมเจ้าพันธ์อดิศร
(ท่านชายโต๊ะ)
ที่ 2 ในหม่อมเอียด 23 ธันวาคม พ.ศ. 2452 21 เมษายน พ.ศ. 2529 หม่อมถนอม
หม่อมสมัคร
หม่อมสังเวียน
หม่อมสมบัติ
หม่อมอูจานี
หม่อมยุพดี (ตันหยง)
หม่อมตุ๊
  32. หม่อมเจ้ามานิตสวัสดิ์ หม่อมเปล่ง พ.ศ. 2452 26 มกราคม พ.ศ. 2500 หม่อมเล็ก (นิตย์เจริญ)
  33. หม่อมเจ้าประสพสุข หม่อมเจริญ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 12 สิงหาคม พ.ศ. 2528 หม่อมเจ้าหญิงกฤษณาพักตรพิมล (ดิศกุล)
  34. หม่อมเจ้าหญิง (เล็ก) ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
  35. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
  36. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
  37. หม่อมเจ้าอดิศรานุวงศ์

(ท่านชายเติม)

หม่อมตี่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 17 มกราคม พ.ศ. 2540 หม่อมทองลิ (อิศรเสนา ณ อยุธยา)

พระนัดดา

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช มีพระนัดดารวม 156 คน ดังนี้

  • หม่อมเจ้าอนุชาติศุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 11 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์วาสรำไพ ศุขสวัสดิ ในหม่อมเจ้ารำไพเยาวยุภา
    • หม่อมราชวงศ์งามจริต สุขสำราญ ที่ 1 ในหม่อมละม่อม
    • หม่อมราชวงศ์วิจิตรผจง ศุขสวัสดิ (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์สันต์) ที่ 2 ในหม่อมละม่อม
    • หม่อมราชวงศ์ทรงพันธ์ ศุขสวัสดิ ในหม่อมเทียบ
    • หม่อมราชวงศ์ดำรงศิลป์ ศุขสวัสดิ ที่ 3 ในหม่อมละม่อม
    • หม่อมราชวงศ์อภิรัตน์ บุนนาค ที่ 4 ในหม่อมละม่อม
    • หม่อมราชวงศ์จินตนา ศุขสวัสดิ ที่ 1 ในหม่อมฮวย
    • หม่อมราชวงศ์อัมพรพันธ์ ศุขสวัสดิ ที่ 1 ในหม่อมละมัย
    • หม่อมราชวงศ์ศศิพันธ์ อิศรเสนา ที่ 2 ในหม่อมฮวย
    • หม่อมราชวงศ์อวบ ศุขสวัสดิ ในหม่อมแจ๋ว (หม่อมพร้อม)
    • หม่อมราชวงศ์เอื้อมพันธ์ พึ่งบารมี ที่ 2 ในหม่อมละมัย
  • พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ มีโอรสธิดา 10 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์รัชนีพันธุ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์จันทร์กระจ่าง กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์สอางโสม โรจนบุรานนท์
    • หม่อมราชวงศ์โฉมแข คมกฤส
    • หม่อมราชวงศ์นิลตระการ วงษ์ตา
    • หม่อมราชวงศ์สังวาลพจน์ กฤดากร
    • หม่อมราชวงศ์รจนากร เหล่าวานิช
    • หม่อมราชวงศ์สุภรณ์รัศมี ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ปิโยรส ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์พชรดนัย ศุขสวัสดิ
  • หม่อมเจ้าถูกถวิล ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 10 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์โสมลิกา ปทีปปาณี
    • หม่อมราชวงศ์สวัสดิภิญโญ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ศรีโสมา ปัทมศิริ
    • หม่อมราชวงศ์ทักษิณา ภูมิรัตน์
    • หม่อมราชวงศ์แรงบุญ ณ เชียงใหม่ (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์อทิติ)
    • หม่อมราชวงศ์ทัศณิยา ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์อารุณี นาวิกบุตร ทั้ง 7 นี้ในหม่อมเลื่อน
    • หม่อมราชวงศ์เจริญสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์อะดุง ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์เล็ก ศุขสวัสดิ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมเหรียญ
  • หม่อมเจ้าพุฒิสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 5 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์พงศ์สวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์เผ่าสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์สิริสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมกุหลาบ
    • หม่อมราชวงศ์สันติสุข ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ชัชวาลวลี ณ ระนอง ทั้ง 2 นี้ในหม่อมเจ้าแจ่มจำรัส
  • หม่อมเจ้าสืบสุขสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 14 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์ส่งต่อ ศุขสวัสดิ ที่ 1 ในหม่อมเยื้อน
    • หม่อมราชวงศ์สรวมสุข ศุขสวัสดิ ที่ 1 ในหม่อมเจ้าอุทัยพงษ์
    • หม่อมราชวงศ์เชวงสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ ที่ 2 ในหม่อมเยื้อน
    • หม่อมราชวงศ์เสริม ศุขสวัสดิ ที่ 2 ในหม่อมเจ้าอุทัยพงษ์
    • หม่อมราชวงศ์ธำรงสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ ที่ 3 ในหม่อมเยื้อน
    • หม่อมราชวงศ์ยุพดี ศุขสวัสดิ ที่ 3 ในหม่อมเจ้าอุทัยพงษ์
    • หม่อมราชวงศ์ประสานสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ ที่ 4 ในหม่อมเจ้าอุทัยพงษ์
    • หม่อมราชวงศ์เฉลิมสุข บุญไทย ที่ 1 ในหม่อมเจ้าวิไลวรรณ
    • หม่อมราชวงศ์กฤษณา ศุขสวัสดิ ที่ 2 ในหม่อมเจ้าวิไลวรรณ
    • หม่อมราชวงศ์ขวัญเกษม สุรคุปต์ ที่ 5 ในหม่อมเจ้าอุทัยพงษ์
    • หม่อมราชวงศ์เกนหลง สามงามยา ที่ 4 ในหม่อมเยื้อน
    • หม่อมราชวงศ์ปิยะสุข ศุขสวัสดิ ที่ 1 ในหม่อมสงบ
    • หม่อมราชวงศ์ปุษยะ ศุขสวัสดิ ที่ 2 ในหม่อมสงบ
    • หม่อมราชวงศ์จรัมพร ศุขสวัสดิ ที่ 3 ในหม่อมสงบ
  • หม่อมเจ้าอุบลเกษร ชยางกูร มีโอรส 3 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์ไชยสุข ชยางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ธงชัย ชยางกูร
    • หม่อมราชวงศ์ไชยมงคล ชยางกูร
  • หม่อมเจ้าธัญญลักษณ์ ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 5 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์เฉลิมลักษณ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ศิริลักษณ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์บุญญลักษณ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์นงลักษณ์ สโรบล
    • หม่อมราชวงศ์ศศิโสภา รัญเสวะ
  • หม่อมเจ้าวงศ์อดิศร ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 6 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์ (ไม่มีนาม) ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ (ไม่มีนาม) ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ (ไม่มีนาม) ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ (ไม่มีนาม) ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์เถียรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ภัทรสุข โจชูศรี
  • หม่อมเจ้ากิตติเดชขจร ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 43 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์จรูญสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ประดิษฐ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์เสนาะ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์วรางค์ ศรีประสงค์
    • หม่อมราชวงศ์สวัสดิสุข ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์จันทร์ฉาย ถมังรักษ์สัตว์
    • หม่อมราชวงศ์พาณี ศุขสวัสดิ ทั้ง 6 นี้ในหม่อมสมบุญ
    • หม่อมราชวงศ์วุฒิสุข ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ภุมริน ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์คมขำ ศรศรีวิชัย
    • หม่อมราชวงศ์สุดสวาท เฉียบแหลม
    • หม่อมราชวงศ์เจริญสุข ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย เชาวนปรีชา ทั้ง 6 นี้ในหม่อมแส
    • หม่อมราชวงศ์สุดใจ บุนนาค
    • หม่อมราชวงศ์เข็มทอง ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์สอางค์ศรี เทวกุล
    • หม่อมราชวงศ์วิชัย ศุขสวัสดิ ทั้ง 4 นี้ในหม่อมวิไล
    • หม่อมราชวงศ์ชวลิต จันทรายุ
    • หม่อมราชวงศ์จุลภา ศรีนิเวศน์
    • หม่อมราชวงศ์สร้อยสน แจ่มเลิศ
    • หม่อมราชวงศ์ณรงค์สวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ดวงวิภาพันธุ์ ไชยสนาม
    • หม่อมราชวงศ์จุฑามาศ ชาญชาคริตพงษ์ ทั้ง 7 นี้ในหม่อมสมจิต
    • หม่อมราชวงศ์มานิตย์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์รัชนารี วิชยากาศ
    • หม่อมราชวงศ์ภิญโญสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์นุกูลกิจ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์วิจิตรา พูนทวีธรรม ทั้ง 5 นี้ในหม่อมบัวเงิน
    • หม่อมราชวงศ์พรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์สายสวัสดิ์ สังขพิทักษ์
    • หม่อมราชวงศ์ถาวร ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์โสภณ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์วรรณา ดารากร
    • หม่อมราชวงศ์วิสาขา ศักดิ์โสภาสกุล
    • หม่อมราชวงศ์เดชา ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์กิติบุตร ศุขสวัสดิ ทั้ง 8 นี้ในหม่อมเทียมตา
    • หม่อมราชวงศ์พงษ์กิติ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์กนกวรรณ กังวาฬวงศ์
    • หม่อมราชวงศ์จงรัก งามทิพากร ทั้ง 3 นี้ในหม่อมประยงค์
    • หม่อมราชวงศ์ศรีกิติ ว่องวิวัฒน์ไวทยะ
    • หม่อมราชวงศ์กีรติ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์กิติธิดา พิศาลายน ทั้ง 3 นี้ในหม่อมบัวเขียว
  • หม่อมเจ้าวรศักดิเดชอุดม ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 11 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์ยุพดี มาลากุล
    • หม่อมราชวงศ์กฤษณฤกษ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ปานใจ ศุขสวัสดิ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมราชวงศ์สดถิ์ศรี
    • หม่อมราชวงศ์จันทรา วงษ์ไทย
    • หม่อมราชวงศ์พัชนี บุษปวนิช
    • หม่อมราชวงศ์วัฒนศักดิ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์โสมาวดี รงค์วราโรจน์
    • หม่อมราชวงศ์ฉวีวัฒนา เลาหวิช
    • หม่อมราชวงศ์วรชัย ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์จันทรนิภา ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์มธุรส ศุขสวัสดิ ทั้ง 8 นี้ในหม่อมพัฒนา
  • หม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 7 คน ดังนี้
    • หม่อมราชวงศ์อดิศรฉัตร ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์อรฉัตร ซองทอง
    • หม่อมราชวงศ์ประกายฉัตร ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ไชยฉัตร ศุขสวัสดิ ทั้ง 4 นี้ในหม่อมเจ้าหญิงกาญจนฉัตร
    • หม่อมราชวงศ์นิดา ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์นุช สุจริตกุล
    • หม่อมราชวงศ์อดิศรเดช ศุขสวัสดิ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมมาลินี
  • หม่อมเจ้าพันธ์อดิศร ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 19 คน ดังนี้
    • หม่อมราชวงศ์อุดมศรี ศุขสวัสดิ ในหม่อมถนอม
    • หม่อมราชวงศ์อุดมฉวี แสงไชย
    • หม่อมราชวงศ์ขจรอุดม ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์สุธารัตน์ ศุขสวัสดิ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมสมัคร
    • หม่อมราชวงศ์ศรีสมร ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์สมลักษณา ประมิติธนาการ
    • หม่อมราชวงศ์วนา ศุขสวัสดิ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมสังเวียน
    • หม่อมราชวงศ์อุดมศักดิ์ ศุขสวัสดิ ในหม่อมสมบัติ
    • หม่อมราชวงศ์อมรฤทธิ์ ศุขสวัสดิ ในหม่อมอูจานี
    • หม่อมราชวงศ์อัปษรสมาน บรรจุศิริ
    • หม่อมราชวงศ์อิศรพรรณ ศุขสวัสดิ ทั้ง 2 นี้ในหม่อมยุพดี
    • หม่อมราชวงศ์รำเพยพรรณ ปิ่นขุนทอง
    • หม่อมราชวงศ์พงศ์เทพ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ธัญญรัตน์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์จันทร์ทิพย์สุดา แก้วแดง
    • หม่อมราชวงศ์ศรีโสภิต ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์นิภาวรรณ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ธวัชชัย ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์มงคลรัตน์ ศุขสวัสดิ ทั้ง 8 นี้ในหม่อมตุ๊
  • หม่อมเจ้ามานิตสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ มีโอรส 2 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์ไชยยันต์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ฐิติพงษ์ ศุขสวัสดิ
  • หม่อมเจ้าประสพสุข ศุขสวัสดิ มีโอรสธิดา 6 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์พิมลพักตร์ ปกมนตรี
    • หม่อมราชวงศ์จำเริญลักษณ์ โสฬสจินดา
    • หม่อมราชวงศ์ประเสริฐศักดิ์ ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์ดำรงเดช ศุขสวัสดิ
    • หม่อมราชวงศ์วิไลกัญญา วิชัยดิษฐ
    • หม่อมราชวงศ์อุษณิษา ศุขสวัสดิ
  • หม่อมเจ้าอดิศรานุวงศ์ ศุขสวัสดิ มีโอรส 1 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์สุริยวุฒิ ศุขสวัสดิ

พระยศ

แก้
นายพลโท นายกองโท
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช
รับใช้กองทัพบกสยาม
กองเสือป่า
ชั้นยศ  พลโท
  นายกองโท

พระยศทหาร

แก้
  • นายพันเอก
  • นายพลจัตวา
  • นายพลตรี
  • นายพลโท[15]

พระยศเสือป่า

แก้
  • นายหมู่เอก
  • 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - นายหมู่ใหญ่[16]
  • 16 ธันวาคม 2454 – นายกองตรี[17]
  • นายกองโท[18]

พระเกียรติยศ

แก้

พระอิสริยยศ

แก้
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี (15 มีนาคม พ.ศ. 2399 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2419)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช (พ.ศ. 2419 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 - 16 เมษายน พ.ศ. 2468)
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงอดิศรอุดมเดช
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญและเข็มต่างๆ ดังนี้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/1998_1.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/A/329.PDF
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ , เล่ม 42, ตอน 0 ง, 26 เมษายน พ.ศ. 2468, หน้า 194
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๖๘, เล่ม 42, ตอน 0 ง, 2 สิงหาคม พ.ศ. 2468, หน้า 1324
  5. ราชกิจจานุเบกษา,การประชุมองคมนตรี
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2273_1.PDF
  7. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  8. แจ้งความกรมยุทธนาธิการ (หน้า ๒๙๖)
  9. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/2791.PDF
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/1837.PDF
  12. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งตำแหน่งหน้าที่ราชการ
  13. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/D/1876.PDF
  14. "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 136. 18 เมษายน พ.ศ. 2458. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  15. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานยศนายทหารบก, เล่ม 35, 28 เมษายน พ.ศ. 2461, หน้า 197
  16. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  17. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  18. พระราชทานยศนายเสือป่า
  19. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม, พระนคร, โสภณพิพรรฒธนากร, 2468
  20. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์และจุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๕๖, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๗
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๔, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๙๑, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
  23. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๓๘๖, ๑๕ มีนาคม ๑๒๔๘
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2020-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๔๕๖, ๗ มกราคม ๑๑๒
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๖๔, ๒ ตุลาคม ๑๒๓
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๕, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๓, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัตยุบัน เก็บถาวร 2022-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๐๒, ๑๒ พฤศจิกายน ๑๓๐
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๓๑, ๖ มีนาคม ๑๒๘
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๗๕, ๑๔ มกราคม ๒๔๕๙
  • กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า. มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้ง-แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) , 2547.
  • หอพระสมุดวชิรญาณ. จดหมายเหตุเสด็จประพาสต่างประเทศ ในรัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองสิงคโปร์ แลเมืองปัตตาเวียครั้งแรก แลเสด็จประพาสอินเดีย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2468. (เจ้าภาพพิมพ์ในงานพระศพ พลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช).
  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต, ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้