พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

สมาชิกราชวงศ์สยาม

นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (5 เมษายน พ.ศ. 2399 – 25 มกราคม พ.ศ. 2468) อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ พระสนมโท และเป็นต้นราชสกุลทองใหญ่

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
เสนาบดีกระทรวงวัง
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2438 — พ.ศ. 2439
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถัดไปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2442 — พ.ศ. 2444
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์
ถัดไปสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ประสูติ5 เมษายน พ.ศ. 2399
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์25 มกราคม พ.ศ. 2468 (68 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
หม่อม9 คน
พระบุตร25 องค์
ราชสกุลทองใหญ่
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ พระสนมโท

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ พระสนมโท ธิดานายศัลยวิชัย หุ้มแพร (ทองคำ ณ ราชสีมา) [1][2][3] เป็นพระเจ้าลูกเธอองค์ที่ 25 และเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 13 ในรัชกาลที่ 4 ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง จุลศักราช 1218 ตรงกับวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2399 เมื่อสมโภชเดือนแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เพราะในวันประสูติมีผู้นำทองคำก้อนใหญ่ ซึ่งขุดได้ที่ตำบลบางสะพานในเวลานั้นได้เข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงถือว่าเป็นศุภนิมิตมงคลสำหรับพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นี้

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ มีพระอนุชา พระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 3 พระองค์คือ

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงศ์ (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ต้นราชสกุลทองแถม)
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายเจริญรุ่งราษี
  • พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ทรงเริ่มการศึกษาวิชาอักษรไทย และภาษาบาลี กับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษณา (พระราชธิดาในรัชกาลที่ 3) หม่อมเจ้าหญิงจอ นรินทรางกูร (พระธิดาในสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ) และพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และทรงศึกษาภาษาต่างประเทศกับ นางแอนนา เลียวโนเว็น และ นายแป็ตเตอสัน จนสามารถตรัส และเขียนภาษาอังกฤษได้ดี

ผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. 2411 และเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. 2418 และประทับที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) เมื่อลาสิกขาแล้วทรงศึกษาวิชากฎหมายจากขุนหลวงไกรศรี (หนู) แล้วเข้ารับราชการเป็นนักเรียนศาลฎีกาในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ เป็นอธิบดีศาลฎีกา

 
นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม แม่ทัพฝ่ายใต้ (ฉายก่อนหน้าที่จะยกกองทัพไปปราบฮ่อวันหนึ่ง)

เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2418 ได้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ขึ้นในประเทศไทยพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ได้ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะนักดาราศาสตร์อังกฤษได้ตั้งค่ายสังเกตสุริยุปราคาที่แหลมเจ้าลาย จังหวัดเพชรบุรี นักดาราศาสตร์เหล่านี้ไม่สามารถถ่ายภาพสุริยุปราคาไว้ได้ คงมีแต่ภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ และถูกบันทึกอยู่ในตำราดาราศาสตร์ ในนามของ Prince Tong

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเมื่อ พ.ศ. 2424 เป็นกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการรักษาดินแดนไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศสครั้งวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ทรงเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ปราบปรามกบฏจีนฮ่อในมณฑลลาวพวนจนสงบราบคาบ และได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[4][5]

ในเวลาต่อมาทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2436 ในขณะดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวพวน ทรงตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนที่บ้านหมากแข้ง สร้างความเจริญจากหมู่บ้านชนบทจนเป็นเมืองอุดรซึ่งต่อมาได้ยกฐานะเป็นจังหวัดอุดรธานี

พ.ศ. 2442 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ[6]

ภายหลังเกิดคดีพญาระกาขึ้นในปี พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกระทำปัพพานียกรรม ขับกรมหลวงประจักษ์ฯ และพระโอรส-ธิดาออกจากพระราชสำนัก พระองค์เองทรงถูกห้ามมิให้เข้าเฝ้าในที่รโหฐาน ให้เฝ้าได้แต่ในท้องพระโรงหรือในที่มีผู้เฝ้าอยู่มากเท่านั้น ห้ามหม่อมเจ้าไศลทองโดยเฉพาะมิให้เข้าในเขตพระราชฐาน และห้ามหม่อมเจ้าหญิงชายอื่น ๆ ในกรมหลวงประจักษ์ฯ มิให้ขึ้นสู่พระราชมณเฑียร ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2453 เป็นต้นมาจนตลอดรัชกาลก็มิได้พ้นพระราชอาญาจนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคต

สิ้นพระชนม์

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม สิ้นพระชนม์ด้วยโรคพระอันตะ (ไส้ใหญ่ ) พิการ ณ วังตรอกสาเก เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2467 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2468) เวลา 18.00 น. สิริพระชันษาได้ 68 ปี 295 วัน วันต่อมา เวลา 17.00 น. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จแทนพระองค์ไปพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพขึ้นรถพระวอวิมานไปพระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เชิญพระศพขึ้นตั้งบนแว่นฟ้าสองชั้น ประกอบโกศมณฑป แวดล้อมด้วยเครื่องสูง สมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชทรงทอดผ้าไตรถวายพระภิกษุ 20 รูป มีสมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) เป็นประธาน[7] มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในระหว่างวันที่ 3 - 5 พฤษภาคม 2469 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศทองน้อยทรงพระศพ ฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น แขวนเหนือพระโกศ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พระราชทานเพลิงพระศพ

พระโอรสและพระธิดา

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม มีหม่อม 9 คน ได้แก่

  • หม่อมสุวรรณ (สกุลเดิม นาครทรรพ)
  • หม่อมพริ้ง (สกุลเดิม นาครทรรพ)
  • หม่อมแจ่ม (สกุลเดิม นาครทรรพ)
  • หม่อมจันทร์ (สกุลเดิม นาครทรรพ)
  • หม่อมนวม (สกุลเดิม นาครทรรพ)
  • หม่อมเปลี่ยน
  • หม่อมทองสุก หรือศุข (สกุลเดิม สุริยวงศ์)
  • หม่อมเติม (สกุลเดิม นาครทรรพ)
  • หม่อมแก้ว (สกุลเดิม นาครทรรพ)

มีพระโอรส 11 องค์ และมีพระธิดา 15 องค์ รวม 26 องค์ ได้แก่

ลำดับ พระรูปและพระนาม เพศ พระมารดา ประสูติ สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
1
 
หม่อมเจ้าสุพรรณ์พิมพ์
ญ. หม่อมสุวรรณ ไม่มีข้อมูล 11 ธันวาคม พ.ศ. 2432
2
 
หม่อมเจ้าประสบสุวรรณ
ญ. หม่อมสุวรรณ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2419 พ.ศ. 2422
3
ไฟล์:หม่อมเจ้าทองทีฆายุ.JPG
หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่
ช. หม่อมพริ้ง 4 มิถุนายน พ.ศ. 2429[8] 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 หม่อมลุดมิลา ทองใหญ่ ณ อยุธยา
4
 
หม่อมเจ้าอุไรวรรณ ทองใหญ่
ญ. หม่อมจันทร์ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2431[8] 10 เมษายน พ.ศ. 2520
5
 
หม่อมเจ้าทองอนุวัติ ทองใหญ่
ช. หม่อมพริ้ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2431[8] 9 เมษายน พ.ศ. 2496 หม่อมเยื้อน ทองใหญ่ ณ อยุธยา
หม่อมจรูญ ทองใหญ่ ณ อยุธยา
6
 
หม่อมเจ้าพันธ์สิหิงค์ ทองแถม
ญ. หม่อมนวม 18 ธันวาคม พ.ศ. 2433[8] 20 มกราคม พ.ศ. 2476 หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม
7
 
หม่อมเจ้าสอิ้งมาศ ทองใหญ่
ญ. หม่อมจันทร์ 16 กันยายน พ.ศ. 2435[8] 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515
8
 
หม่อมเจ้านาฏนพคุณ ทองใหญ่
ญ. หม่อมนวม พ.ศ. 2435 1 ตุลาคม พ.ศ. 2456 หม่อมเจ้าพันธุคำนพคุณ ทองแถม
9
 
หม่อมเจ้าทองมุ่นใหญ่ ทองใหญ่
ช. หม่อมเปลี่ยน 5 มกราคม พ.ศ. 2437[8] พ.ศ. 2506
10
 
หม่อมเจ้าไศลทอง ทองใหญ่
ช. หม่อมนวม 9 มีนาคม พ.ศ. 2437[8] 30 ตุลาคม พ.ศ. 2512 หม่อมฟ้อน ทองใหญ่ ณ อยุธยา
11
 
หม่อมเจ้าก่องกาญจนา ทองใหญ่
ญ. หม่อมทองสุก 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2438[8] พ.ศ. 2506
12
 
หม่อมเจ้ามาลากนก ทองใหญ่
ญ. หม่อมจันทร์ 5 มีนาคม พ.ศ. 2439[8] 1 เมษายน พ.ศ. 2483
13
 
หม่อมเจ้ามาลกสุวรรณ ทองใหญ่
ญ. หม่อมเปลี่ยน มีนาคม พ.ศ. 2439 1 เมษายน พ.ศ. 2468

ถึง 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[8]

14
 
หม่อมเจ้ากรัณฑ์คำ ทองใหญ่
ญ. หม่อมทองสุก 22 ตุลาคม พ.ศ. 2439[8] 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2528
15
 
หม่อมเจ้าลำทองแร่ ทองใหญ่
ญ. หม่อมนวม 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440[8] 15 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ไต๋ ปาณิกบุตร
16
 
หม่อมเจ้าแพร่ทองทราย ทองใหญ่
ญ. หม่อมนวม 22 มิถุนายน พ.ศ. 2441[8] 7 ตุลาคม พ.ศ. 2527 เภตรา ณ หนองคาย
17
 
หม่อมเจ้าข่ายทองถัก ทองแถม
ญ. หม่อมเปลี่ยน 10 สิงหาคม พ.ศ. 2441[8] 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม
18
 
สลักทองนูน คเนจร
ญ. หม่อมนวม 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2443[8] 26 สิงหาคม พ.ศ. 2531 หลวงคัคณจรเสนีย์ (หม่อมหลวงอารี คเนจร)
19
 
หม่อมเจ้าโหล
ช. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[8]
20
 
หม่อมเจ้าลายฉลุทอง ทองใหญ่
ช. หม่อมจันทร์ 19 กันยายน พ.ศ. 2444[8] 13 มีนาคม พ.ศ. 2534 หม่อมเจ้านงลักษณ์ทัศนีย์ ทองใหญ่
หม่อมพริ้ม ทองใหญ่ ณ อยุธยา
21
 
หม่อมเจ้าทองทูลถวาย ทองใหญ่
ช. หม่อมนวม 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446[8] 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 หม่อมสำเนียง ทองใหญ่ ณ อยุธยา
22
 
หม่อมเจ้าเถาทองตรา ทองใหญ่
ญ. หม่อมจันทร์ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2448[8] พ.ศ. 2496
23
 
หม่อมเจ้าทองประทาศรี ทองใหญ่
ช. หม่อมนวม 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2449[8] 2 มกราคม พ.ศ. 2526 หม่อมราชวงศ์วลี ทองใหญ่
หม่อมคำนวณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา
24
 
หม่อมเจ้าทองแกมแก้ว ทองใหญ่
ช. หม่อมแก้ว 11 กันยายน พ.ศ. 2449[8] 15 เมษายน พ.ศ. 2533 หม่อมประกายคำ ทองใหญ่ ณ อยุธยา
25
 
หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่
ช. หม่อมนวม 1 เมษายน พ.ศ. 2455[8] 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หม่อมอรพิน ทองใหญ่ ณ อยุธยา
26
 
หม่อมเจ้าแดง
ช. ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[8]

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

แก้
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ (5 เมษายน พ.ศ. 2399 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2424)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (พ.ศ. 2424 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 25 มกราคม พ.ศ. 2467)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

พระยศ

แก้
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
รับใช้  ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกสยาม
ชั้นยศ  พลตรี

พระยศทหาร

แก้
  • นายพลตรี

พระอนุสรณ์

แก้
  • พระอนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณภายในพื้นที่ค่ายประจักษ์ศิลปาคม กรมทหารราบที่ 13 มณฑลทหารบกที่ 24 อุดรธานี เป็นพระอนุสาวรีย์ทรงยืนขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นสำหรับเป็นสถานที่สักการะของทหารในสังกัดมณฑลทหารบกที่ 24
  • พระอนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณห้าแยกกรมหลวงประจักษ์ ถนนทหาร ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นสำหรับเป็นสถานที่สักการะของประชาชนทั่วไป แต่เดิมประดิษฐานอยู่ที่ สนามทุ่งศรีเมือง ต่อมาจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ห้าแยกกรมหลวงประจักษ์
  • พระอนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณภายในโรงเรียนประจักษ์ศิลปาคม อำเภอประจักษ์ศิลปาคม

วันก่อตั้งเมืองอุดรธานี

แก้

วันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ยกทัพมาสร้างบ้านแปลงเมือง ณ บ้านเดื่อหมากแข้ง ทางจังหวัดอุดรธานีจึงได้เลือกวันดังกล่าวเป็นวันเฉลิมฉลองครบรอบการก่อตั้งเมืองอุดรธานีและจะมีการรำบวงสรวงทุกปีเพื่อแสดงออกถึงความรักและความสามัคคีของคนอุดรธานี

พงศาวลี

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ. 2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.)
  2. ต้นสกุล ณ ราชสีมา ย้อนเรื่อง เมืองโคราช
  3. หากนับทางสายสกุลพระมารดา กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมทรงเป็นผู้สืบสายสกุล “ณ ราชสีมา” ชั้น 5 สาย "พระยาสุริยเดช (ทัศน์ รายณสุข ณ ราชสีมา)" และ ชั้น 4 สาย "เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)"
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
  5. ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งผู้บัญชาการกรมทหารเรือและผู้บังคับการกรมต่าง ๆ
  7. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 41 (ง): 3849. 1 กุมภาพันธ์ 2467. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 8.15 8.16 8.17 8.18 8.19 8.20 8.21 8.22 นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
  9. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม, พระนคร, โสภณพิพรรฒธนากร, 2468
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม ๔ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๒๕๙, ๒๒ พฤศจิกายน ๑๒๔๙
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๘ หน้า ๔๑๕, ๑๗ ธันวาคม ๑๑๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานบำเหน็จความชอบแม่ทัพนายกอง และเจ้านครหลวงพระบางทูลลา, เล่ม ๔ ตอนที่ ๓๓ หน้า ๒๖๓, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๔๙
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญปราบฮ่อ, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๒๔ หน้า ๓๑๘, ๑๐ กันยายน ๑๑๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๔๐๔, ๑๐ ธันวาคม ๑๑๒
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๔๕, ๑๐ ตุลาคม ๑๒๒
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๑ หน้า ๒๔, ๔ เมษายน ๑๑๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๙๗, ๒๔ ตุลาคม ๑๒๘
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๔, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยยศญี่ปุ่น, เล่ม ๕ ตอนที่ ๒๒ หน้า ๑๗๙, ๑ ตุลาคม ๑๒๕๐
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออสเตรีย, เล่ม ๖ ตอนที่ ๒๑ หน้า ๑๗๕, ๒๕ สิงหาคม ๑๐๘
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์รุสเซีย, เล่ม ๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๔๑๔, ๗ กุมภาพันธ์ ๑๑๐
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๓๑๖, ๒๐ กรกฎาคม ๑๒๑
  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ถัดไป
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์   รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
(2 กันยายน พ.ศ. 2442 - 15 มกราคม พ.ศ. 2443)
  พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์   เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
(พ.ศ. 2442 - พ.ศ. 2444)
  สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช