หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่

หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ (1 เมษายน พ.ศ. 2455 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553) เป็นพระโอรสลำดับที่ 22 ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ประสูติแต่หม่อมนวม ทองใหญ่ ณ อยุธยา มีโสทรเชษฐาและโสทรเชษฐภคินี 8 องค์[2]

หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ1 เมษายน พ.ศ. 2455
สิ้นชีพตักษัย23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 (98 ปี)
พระบุตรหม่อมราชวงศ์กัณหา ทองใหญ่
หม่อมราชวงศ์ชาลี ทองใหญ่
หม่อมราชวงศ์อุษณีย์ ณ นคร
หม่อมราชวงศ์พิณทอง อังศุสิงห์[1]
ราชสกุลทองใหญ่
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
พระมารดาหม่อมนวม ทองใหญ่ ณ อยุธยา

การศึกษา แก้

หม่อมเจ้าทองคำเปลวทรงสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์[3] หลังจากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อยังคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รัฐศาสตร์รุ่นแพแตก) เริ่มมาจากในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2476 ซึ่งมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ตลอดจนทรัพย์สินและงบประมาณของคณะเหล่านั้นมาขึ้นต่อมหาวิทยาลัยนี้ก่อน และในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477 คณะรัฐศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยได้สิ้นสภาพความเป็นคณะลง ในขณะนั้นนิสิตคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ปีที่ 2 จึงต้องไปเรียนต่อที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ดังที่คุณชะลอ วนะภูติ ได้บันทึกไว้ว่า "การที่เราเรียน ๆ อยู่ดี ๆ แล้วมีประกาศทางราชการให้ยุบคณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งๆที่เรียนค้างอยู่และไปยุบเอารุ่นพี่ปีสองแล้วเข้าด้วยกันเช่นนี้ ต่อมาพวกเราทั้งหมดถูกลอยแพจึงมีผู้ขนานนามว่านักเรียน รัฐศาสตร์รุ่นแพแตก คือแตกเหมือนแพ แตกแล้วลอยเปะปะไปทั่วแผ่นดิน"

การทรงงาน แก้

หลังจากสำเร็จการศึกษา หม่อมเจ้าทองคำเปลวทรงเข้ารับราชการที่กระทรวงมหาดไทย และทรงดำรงตำแหน่งนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัดด้วยกัน ประกอบไปด้วย นายอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ นายอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี (13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 - 28 กันยายน พ.ศ. 2507) และผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ( 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 - 30 กันยายน พ.ศ. 2515)

นอกจากนี้หม่อมเจ้าทองคำเปลวยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการแรกเริ่มก่อตั้งมูลนิธิเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในตำแหน่งคณะกรรมการที่ปรึกษา จนกระทั่งถึงชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ เสกสมรสกับ หม่อมอรพินท์ ทองใหญ่ ณ อยุธยา มีโอรสธิดา 3 คน คือ

  • ม.ร.ว.ชาลี ทองใหญ่ สมรสกับอรณี (สกุลเดิม สายบัว) มีธิดา 2 คน คือ
    • ม.ล.อรอำไพ พนานุรัตน์ สมรสกับประกิต พนานุรัตน์
    • ม.ล.อณิชาล เพ็ญเจริญ สมรสกับภัทรภูมิ เพ็ญเจริญ
  • ม.ร.ว.อุษณีย์ ณ นคร สมรสกับ พลอากาศตรีชื่น ณ นคร มี ธิดา 3 คน คือ
    • ชไมกัญญา ณ นคร
    • นภารำไพ ณ นคร
    • รัชดาจรี โพธินาม สมรสกับ อรรถพัฒน์ โพธินาม
  • ม.ร.ว.พิณทอง ทองใหญ่ มีบุตรธิดา 2 คน คือ
    • ตรรกย ทองใหญ่
    • ภัชนนท์ วิจิตรพรกุล

หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ ได้รับพระราชทานพระยศกองอาสารักษาดินแดน เป็นนายกองโท ขณะทรงดำรงตำแหน่งนายอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2500[4] และได้รับพระราชทานยศ นายกองเอก เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2506[5]

ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา และทรงนำติดพระองค์ตลอดมา

สิ้นชีพิตักษัย แก้

หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 สิริชันษา 98 ปี บำเพ็ญกุศลศพที่ศาลา 10 วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร นับเป็นหม่อมเจ้าองค์สุดท้ายของราชสกุลทองใหญ่

หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่
รับใช้กองอาสารักษาดินแดน
ชั้นยศ  นายกองเอก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "บุคคลในข่าว". ไทยรัฐออนไลน์. 4 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. กรุงเทพ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, พ.ศ. 2547. หน้า หน้าที่. ISBN 974-272-911-5
  3. https://www.debsirin.ac.th/about-us/detail-student.php?id=847
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/D/068/1994_1.PDF เก็บถาวร 2022-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2506/D/037/1158.PDF
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๑๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๑, ๒ ตุลาคม ๒๕๑๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๒๕๓๗, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๕๐, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๒, ๓ ตุลาคม ๒๕๐๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๘, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๘๙๔, ๗ มีนาคม ๒๕๑๐
ก่อนหน้า หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ ถัดไป
ผาด นาคพิน    
ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี
(พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2507)
  ส่ง เหล่าสุนทร