หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม
หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม (17 สิงหาคม พ.ศ. 2427 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2476) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ประสูติแต่หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม (ราชสกุลเดิม รองทรง; พระธิดาในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ) เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2427 ทรงสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญา B.A. จาก มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ
หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2427 |
สิ้นชีพตักษัย | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 (48 ปี) |
ภรรยา | ชายา หม่อมเจ้าพันธ์สิหิงค์ ทองแถม หม่อมเจ้าข่ายทองถัก ทองแถม หม่อม หม่อมแสงมณี ทองแถม หม่อมทรัพย์ ทองแถม หม่อมศรี ทองแถม หม่อมพิณ ทองแถม |
พระบุตร | 14 คน |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ |
พระมารดา | หม่อมเจ้าเม้า ทองแถม |
หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทรงเข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาศาลแพ่ง กระทรวงยุติธรรม จากนั้นทรงเป็นเลขานุการแผนกกฎหมายในกรมรถไฟหลวง ต่อมาจึงทรงเข้ารับราชการในกระทรวงเกษตราธิการ และทรงดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมทะเบียนการค้า (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์) ระหว่างปี พ.ศ. 2469 - 2476[1]
หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติมีโสทรานุชา 4 องค์ คือ
- หม่อมเจ้าทองชมพูนุท ทองแถม (22 ตุลาคม พ.ศ. 2433 – พ.ศ. 2491) มีหม่อม 2 คน คือ หม่อมหลวงแฉล้ม (ราชสกุลเดิม อิศรเสนา; 29 เมษายน พ.ศ. 2432 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2517) และหม่อมสอางค์ (สกุลเดิม อินทรรัสมี) มีโอรสธิดารวม 11 คน
- หม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม (3 สิงหาคม พ.ศ. 2435 – พ.ศ. 2506) เสกสมรสกับหม่อมเชิญ (สกุลเดิม กัลยาณมิตร) มีโอรสธิดา 8 คน
- หม่อมเจ้าทองต่อ ทองแถม (26 กันยายน พ.ศ. 2436 – 13 มกราคม พ.ศ. 2501) มีชายาองค์เดียว คือ หม่อมเจ้าพิมพ์รำไพ โสณกุล (ราชสกุลเดิม รพีพัฒน์; 18 มกราคม พ.ศ. 2441 – 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510) มีธิดาคนเดียว
- หม่อมเจ้าทองบรรณาการ ทองแถม (3 ธันวาคม พ.ศ. 2446 – พ.ศ. 2506) มีหม่อม 3 คน คือ หม่อมราชวงศ์ศรีถนอม (ราชสกุลเดิม ศรีธวัช; เกิด เมษายน พ.ศ. 2449), หม่อมราชวงศ์ศิริโสภา (ราชสกุลเดิม ศรีธวัช; เกิด พฤศจิกายน พ.ศ. 2444) และหม่อมราชวงศ์วรรณวิจิตร (ราชสกุลเดิม รองทรง) มีโอรสธิดารวม 4 คน
หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ มีชายา 2 องค์ คือ หม่อมเจ้าพันธ์สิหิงค์ (ราชสกุลเดิม ทองใหญ่; 18 ธันวาคม พ.ศ. 2433 – 19 มกราคม พ.ศ. 2476) และหม่อมเจ้าข่ายทองถัก (ราชสกุลเดิม ทองใหญ่; เกิด 30 สิงหาคม พ.ศ. 2441) มีหม่อม 4 คน คือ หม่อมแสงมณี (สกุลเดิม วิริยสิริ), หม่อมทรัพย์ (สกุลเดิม พลวิเศษ), หม่อมศรี และหม่อมพิณ มีโอรสธิดารวม 14 คน
มหาอำมาตย์ตรี หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม ประชวรพระโรคพระหทัยพิการ ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 พระชนมายุ 49 ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบทองทึบประกอบศพ เป็นพระเกียรติยศ[2]
ครอบครัว
แก้หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ มีชายา 2 องค์ คือ หม่อมเจ้าพันธ์สิหิงค์ (ราชสกุลเดิม ทองใหญ่; 18 ธันวาคม พ.ศ. 2433 – 19 มกราคม พ.ศ. 2476) และหม่อมเจ้าข่ายทองถัก (ราชสกุลเดิม ทองใหญ่; เกิด 30 สิงหาคม พ.ศ. 2441) มีหม่อม 4 คน คือ หม่อมแสงมณี (สกุลเดิม วิริยสิริ), หม่อมทรัพย์ (สกุลเดิม พลวิเศษ), หม่อมศรี และหม่อมพิณ มีโอรสธิดารวม 14 คน ดังนี้
โอรสธิดาที่เกิดแต่หม่อมเจ้าพันธ์สิหิงค์ มี 4 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์ประสารสุวรรณ สุวรรณรัฐ (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 – 26 เมษายน พ.ศ. 2560) สมรสกับพ่วง สุวรรณรัฐ (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 – 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543) มีบุตรธิดา 5 คน
- หม่อมราชวงศ์จามิกร มณีศิลป์ สมรสกับมงคล มณีศิลป์
- หม่อมราชวงศ์จารุพันธุ์ ทองแถม (27 เมษายน พ.ศ. 2471 – 22 มกราคม พ.ศ. 2531) สมรสกับประสม ทองแถม ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 6 คน
- หม่อมราชวงศ์ทรงสุวรรณ วิชัยธนพัฒน์ (19 มกราคม พ.ศ. 2476 – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557) สมรสกับ พล.ร.ต.อุทัย วิชัยธนพัฒน์ (4 ธันวาคม พ.ศ. 2465 – 20 กันยายน พ.ศ. 2558) มีบุตรธิดา 4 คน
โอรสและธิดาที่เกิดแต่หม่อมเจ้าข่ายทองถัก มี 2 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์สุวรรณสิริวงศ์ ทองแถม (เกิด 6 มิถุนายน พ.ศ. 2463) สมรสกับสิริ วัฒนสุข มีบุตรธิดา 4 คน
- หม่อมราชวงศ์พงศ์ธรรมชาติ ทองแถม
โอรสและธิดาที่เกิดแต่หม่อมแสงมณี มี 4 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์แร่ทอง ทองแถม (9 ธันวาคม พ.ศ. 2457)
- หม่อมราชวงศ์เชื้อชาย ทองแถม (เดิม หม่อมราชวงศ์ สมรสกับจิรภา ทองแถม ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดาดังนี้
- หม่อมหลวงธิดา ทองแถม
- หม่อมหลวงชาตรี ทองแถม
- หม่อมหลวงคฑาทอง ทองแถม
- หม่อมราชวงศ์ทาบทอง ทองแถม สมรสกับไฉน ทองแถม ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดาดังนี้
- หม่อมหลวงธัญว์ทอง ทองแถม
- หม่อมหลวงทวนทอง ทองแถม
- หม่อมหลวงอรสา ทองแถม
- หม่อมหลวงทิวทอง ทองแถม
- หม่อมราชวงศ์หญิงเลี่ยมทอง เลิศพิพัฒน์ สมรสกับ ร.อ.พิชัย เลิศพิพัฒน์
ธิดาที่เกิดจากหม่อมทรัพย์ มีดังนี้
โอรสที่เกิดจากหม่อมศรี มีดังนี้
- หม่อมราชวงศ์สืบทองศรี ทองแถม มีนามเดิมว่าหม่อมราชวงศ์เชื้อสาย
โอรสที่เกิดจากหม่อมพิณ มีดังนี้
พระยศ
แก้- อำมาตย์เอก
- 1 มกราคม พ.ศ. 2467 มหาอำมาตย์ตรี[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2471 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[5]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)
- พ.ศ. 2455 - เข็มข้าหลวงเดิม[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติกรมพัฒนาธุรกิจการค้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-23. สืบค้นเมื่อ 2010-07-27.
- ↑ ข่าวถึงชีพิตักษัย มหาอำมาตย์ตรี หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๓๓๕๑)
- ↑ ข่าวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 6 พฤศจิกายน 2471 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 45 หน้า 2364
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ ง, ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๒๔๐๘
- ↑ พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 28 หน้า 351