หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่
พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ (4 มิถุนายน พ.ศ. 2429 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ประสูติแต่หม่อมพริ้ง
หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2429 |
สิ้นชีพตักษัย | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 (57 ปี) |
หม่อม | หม่อมลุดมิลา ทองใหญ่ ณ อยุธยา |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ หม่อมราชวงศ์ผ่องลักษณ์ ทองใหญ่ หม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ หม่อมราชวงศ์สิงคธา ทองใหญ่ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม |
พระมารดา | หม่อมพริ้ง |
รับใช้ | กองทัพบกสยาม |
---|---|
ชั้นยศ | พลตรี |
พระประวัติ
แก้หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ประสูติแต่หม่อมพริ้ง เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2429 เนื่องจากเป็นโอรสองค์แรกที่ไม่ถึงชีพิตักษัยดังเช่นโอรสและธิดาองค์ก่อน ๆ จึงเรียกว่า "ทองรอด" ต่อมามีพระนามจริงว่า "ทองฑีฆายุ" และได้ขนานนามว่า "พระบิดาของเหล่าทหารการสัตว์และสัตวแพทย์ไทย"[1] ทรงเคยเสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารที่ประเทศรัสเซีย ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ตั้งแต่ชันษา 12 ปี ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองพลที่ 2 และถูกปรับเป็นนายทหารนอกประจำการ เมื่อปี พ.ศ. 2475[2]
พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ปีเดียวกัน
พระยศ
แก้ตำแหน่ง
แก้- 10 เมษายน 2455 – ราชองครักษ์เวร[8]
- – ปลัดกรมทหารม้าที่ 2
- เมษายน 2457 – รักษาราชการในตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 2[9]
- มกราคม 2457 – ผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 1 (รักษาพระองค์) และคงเป็นผู้ช่วยจเรการม้าและสัตว์พาหนะทหารบก[10]
- 24 มีนาคม 2459 – ราชองครักษ์เวร[11]
- สิงหาคม 2460 – พ้นจากตำแหน่งรักษาราชการแทนผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 2[12]
โอรสและธิดา
แก้หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ มีโอรสและธิดากับหม่อมลุดมิลา 4 คน คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2473 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[13]
- พ.ศ. 2464 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[15]
- พ.ศ. 2455 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[16]
- พ.ศ. 2466 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[17]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[18]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-30. สืบค้นเมื่อ 2019-01-03.
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารออกจากประจำการ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/D/1343.PDF
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรยศนายทหารบก
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง แต่งตั้งนายทหาร
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ย้ายนายทหารรับราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ย้ายนายทหารรับราชการ
- ↑ แจ้งความกรมราชองครักษ์
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เลื่อนย้ายนายทหารรับราชการ
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานเฉลิมพระชมนพรรษา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 หน้า 3079 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2473
- ↑ ราชกิจจานุบกษา วันที่ 27 พฤศจิกายน 2464 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2464/D/2471.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 44 หน้า 3866 วันที่ 4 มีนาคม 2470
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๙, ตอน ๐ ง, ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕, หน้า ๒๘๖๑
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 40 หน้า 3431 วันที่ 7 มกราคม 2466
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2020-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 พฤศจิกายน 2464
- พลตรีหม่อมเจ้า ทองฑีฆายุ ทองใหญ่ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน