จังหวัดอุดรธานี

จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

อุดรธานี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จังหวัดอุดรธานีเป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 และศูนย์กลางพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง เดิมพื้นที่เมืองอุดรธานีในปัจจุบันคือบ้านเดื่อหมากแข้ง ซึ่งมีมานานร่วมสมัยกับเมืองเวียงจันทน์ อาณาจักรล้านช้าง เมืองอุดรธานีได้รับการสถาปนาให้เป็นเมืองศูนย์บัญชาการการปกครองของมณฑลอุดรอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 5 ปี พ.ศ. 2436 โดยพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ซึ่งทรงเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการแทนพระองค์ปกครอง มณฑลอุดร ในสมัยที่มีการปกครองในรูปแบบมณฑลเทศาภิบาล กรุงรัตนโกสินทร์ เมืองอุดรธานีเกิดจากรวมกันของหัวเมืองฝ่ายเหนือในพื้นที่มณฑลอุดร คือ เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาน เมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน(เมืองหนองบัวลำภู) และบ้านเดื่อหมากแข้ง มีอาณาเขตปกครองกว้างใหญ่ที่สุดในประเทศ จังหวัดอุดรธานีอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 564 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 7,331,438.75 ไร่)

จังหวัดอุดรธานี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Udon Thani
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
  • วัดคำชะโนด
  • พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี
  • ทิวทิศน์มองจากวัดป่าภูก้อน
  • วัดศรีธาตุประมัญชา
  • แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
  • หนองประจักษ์
คำขวัญ: 
กรมหลวงประจักษ์ฯ สร้างเมือง
ลือเลื่องแหล่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี
ธานีผ้าหมี่ขิด ธรรมชาติเนรมิตทะเลบัวแดง
แรงศรัทธาศรีสุทโธปทุมมาคำชะโนด
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดอุดรธานีเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดอุดรธานีเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดอุดรธานีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ วันชัย คงเกษม
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2565)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด11,730.302 ตร.กม. (4,529.095 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 11
ประชากร
 (พ.ศ. 2564)[2]
 • ทั้งหมด1,566,510 คน
 • อันดับอันดับที่ 6
 • ความหนาแน่น133.54 คน/ตร.กม. (345.9 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 31
รหัส ISO 3166TH-41
ชื่อไทยอื่น ๆอุดร, บ้านหมากแข้ง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้เต็ง
 • ดอกไม้ทองกวาว
 • สัตว์น้ำปลาสร้อยลูกกล้วย
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนอธิบดี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
 • โทรศัพท์0 4224 3368
 • โทรสาร0 4224 8777
เว็บไซต์http://www.udonthani.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปัจจุบันอุดรธานีเป็นศูนย์กลางหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในภูมิภาค ศูนย์กลางการเดินทางทางบกและทางอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน[ต้องการอ้างอิง]

ชื่อจังหวัด แก้

ชื่อ อุดรธานี มีความหมายตรงตัวแปลว่า "เมืองที่อยู่ทางทิศเหนือ" โดยคำว่า อุดร มาจากคำว่า อุตฺตร (uttara)[3] ในภาษาสันสกฤตซึ่งหมายถึง "ทิศเหนือ" และลงท้ายด้วยคำว่าธานีซึ่งหมายถึง "เมือง" เนื่องจากเป็นเมืองที่เป็นศูนย์บัญชาการของมณฑลฝ่ายเหนือ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอุดรเมื่อ พ.ศ. 2443[4] และเริ่มปรากฏชื่อ "อุดรธานี" เมื่อมีการจัดตั้งเมืองเมื่อ พ.ศ. 2450[5]

ประวัติศาสตร์ แก้

ก่อนยุคประวัติศาสตร์ แก้

 
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

จังหวัดอุดรธานีเป็นเมืองที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประวัติศาสตร์และเป็นดินแดนแห่งอุทยานประวัติศาสตร์อันเป็นมรดกโลก จากการขุดค้นพบซากโครงกระดูกและโบราณวัตถุ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน การพบถ้ำและภาพเขียนสีต่างๆ ที่อำเภอบ้านผือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าบนดินแดนเขตจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน เคยมีชุมชนตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงราว 5,000-7,000 ปีที่ผ่านมา

จากการสืบค้นและศึกษาทางโบราณคดี เป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีระหว่างประเทศว่า ชุมชนเก่าแก่เหล่านี้เคยมีอารยธรรมความเจริญในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่บ้านเชียงนั้น สันนิษฐานว่าอาจเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีลายเส้นที่เก่าที่สุดของโลก

หลักฐานหนึ่งที่น่าสนใจ คือโบราณวัตถุที่ขุดพบในบ้านเชียง ได้มีการนำไปศึกษาทดสอบอายุของภาชนะดินเผาโบราณด้วยระบบเรดิโอคาร์บอน หรือ คาร์บอน 14 พบว่าภาชนะดินเผาเหล่านี้มีอายุเก่าแก่ประมาณ 2,000-5,600 ปี ซึ่งนักโบราณคดีได้แบ่งอายุวัฒนธรรมบ้านเชียงออกเป็น 3 ช่วงตามลักษณะเด่นของภาชนะดินเผา โดยแบ่งเป็นประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยปลาย สมัยกลาง และสมัยต้น ดังนี้

  • สมัยปลาย ภาชนะมีลักษณะเด่นที่ลายเส้นสีแดง พื้นผิวสีนวล มีอายุตั้งแต่ 1,800-2,300 ปี
  • สมัยกลาง พบภาชนะมีอายุตั้งแต่ 2,300-3,000 ปี ลักษณะเด่นอยู่ที่รูปทรงเป็นสันหักมุม ก้นภาชนะมีทั้งแบบแหลมและกลม ภาชนะสีขาว
  • สมัยต้น ภาชนะดินเผามีสีดำ ลักษณะเชิงเตี้ย ครึ่งบนตกแต่งด้วยเส้นขีดเป็นลายขด ส่วนครึ่งล่างภาชนะตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ มีอายุมากกว่า 3,000-5,600 ปี

นอกจากนั้น แหล่งโบราณคดีอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่ง ที่ยืนยันให้เห็นความรุ่งเรืองและอารยธรรมโบราณที่เคยปรากฏบนผืนดินแห่งเมืองอุดรธานี หลักฐานสำคัญที่ค้นพบในเขตนี้ได้แก่ ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งพบหลายแห่งบนเทือกเขาภูพานน้อยหรือภูพระบาทนี้ ภาพที่สำคัญๆ เช่น ภาพเขียนสีถ้ำคน ภาพเขียนสีถ้ำวัว ภาพเขียนสีโนนสาวเอ้ เป็นต้น ภาพเขียนเหล่านี้ใช้สีดินแดงเขียน เป็นภาพเหมือนจริงบ้าง เป็นภาพเรขาคณิตบ้างหรือภาพฝ่ามือแดงบ้าง ซึ่งนักโบราณคดีให้ความเห็นว่า คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เขียนขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม หรือเป็นสัญลักษณ์สื่อสารกันระหว่างคนในเผ่า

โดยในพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี ส่วนของห้องประวัติศาสตร์และโบราณคดีได้แบ่งยุคโบราณคดีในชุดวัฒนธรรมบ้านเชียงออกมาเป็นยุคแรก และยุคอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเป็นยุคประวัติศาสตร์ยุคที่ 2 ซึ่งเป็นช่วงอารยธรรมมนุษย์โบราณสมัย 1,200-1,800 ปีที่ผ่านมา

ยุคประวัติศาสตร์ แก้

หลังจากยุคความเจริญที่บ้านเชียงและแถบพื้นที่ราบสูงอำเภอบ้านผือแล้ว ดินแดนในเขตจังหวัดอุดรธานี ก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สืบต่อมาอีก จนกระทั่งสมัยประวัติศาสตร์ของประเทศไทย นับแต่สมัยทวารวดี (พ.ศ. 1200-1600) สมัยลพบุรี(พ.ศ. 1200-1800) และสมัยสุโขทัย(พ.ศ. 1800-2000)

จากหลักฐานที่พบคือ ใบเสมาสมัยทวารวดี ลพบุรี และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณเทือกเขาภูพานใกล้วัดพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ แต่ทั้งนี้ยังไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์ในขณะนั้นแต่อย่างใด ในส่วนของหลักฐานทางด้านพุทธศาสนาดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าดินแดนที่ราบสูงแห่งนี้ ได้มีวัฒนธรรมอินเดียแพร่เข้ามาซึ่งเชื่อว่ามาจากแอ่งโคราช แล้วเผยแพร่มาสู่บริเวณลุ่มน้ำโขง

สมัยกรุงศรีอยุธยา แก้

สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พื้นที่จังหวัดอุดรธานีได้ปรากฏในประวัติศาสตร์ เมื่อราวปีจอ พ.ศ. 2117 เมื่อพระเจ้ากรุงหงสาวดี(บุเรงนอง)ได้ทรงเกณฑ์ทัพไทยให้ไปช่วยตีกรุงศรีสัตนาคณหุต(เวียงจันทร์)โดยให้สมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปช่วยรบ แต่เมื่อกองทัพไทยยกมาถึงเมืองหนองบัวลำภู(จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบันเคยเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี)ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทร์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระประชวรด้วยไข้ทรพิษ จึงยกทัพกลับไม่ต้องรบพุ่งกับเวียงจันทร์ และที่เมืองหนองบัวลำภูนี้เองสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ ส่วนพื้นที่ของจังหวัดอุดรธานีทั้งหมดสมัยกรุงศรีอยุธยา ขึ้นกับอาณาจักร์ล้านช้างและอาณาจักร์ล้านช้างเวียงจันทน์ และสมัยธนบุรีขึ้นกับอาณาจักร์ล้านช้างเวียงจันทน์

สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แก้

 
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษศิลปาคม

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2325 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้ทรงทะนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญมาโดยตลอดซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวนั้นยังไม่ได้มีการจัดตั้งเมืองอุดรธานี ดังนั้นจึงยังไม่มีชื่อเมืองอุดรธานีปรากฏในประวัติศาสตร์ และพงศาวดารในเวลานั้น ดินแดนแถบเมืองอุดรในช่วงก่อนหน้านั้นทั่วทั้งบริเวณยังเป็นดินแดนที่ยังคงขึ้นโดยตรงกับนครหลวงเวียงจันทน์ แต่ได้มีการกล่าวถึงเมืองที่สำคัญต่างๆที่ขึ้นหรือเคยขึ้นกับเมืองอุดร และเป็นเมืองที่กำเนิดขึ้นก่อนเมืองอุดรธานีในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่ เมืองหนองหาน หรือ อำเภอหนองหานในปัจจุบัน ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ เมืองหนองบัวลำภู ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นในช่วงยุครัตนโกสินธ์ตอนต้น เมื่อมีการตั้งเมืองหนองหานขึ้น เมืองหนองหานจึงไปขึ้นกับกรุงเทพ ส่วนเมืองหนองบัวลำภูและพื้นที่ในจังหวัดอุดรส่วนอื่นๆยังคงขึ้นกับนครหลวงเวียงจันทน์

ต่อมาจะกล่าวถึงเมืองหนองหานซึ่งเป็นเมืองที่กำเนิดขึ้นก่อนบ้านหมากแข้งหรือเมืองอุดรและเป็นเมืองในเขตจังหวัดอุดรที่ได้ขึ้นกับกรุงเทพเป็นเมืองแรก ดังนี้ เมืองหนองหานมีประวัติเชื่อมโยงเกี่ยวกับเมืองสุวรรณภูมิ (อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน) โดย พระพิทักษ์เขื่อนขันธ์ เจ้าเมืองหนองหานคนแรก ต้นสายสกุล "รักษาเมือง" และ "พิทักษ์เขื่อนขันธุ์" ทั้งนี้ พระพิทักษ์เขื่อนขันธ์ นามเดิม คือ "ท้าวเพ" เป็นบุตรคนโต ของ ท้าวเซียง หรือ เจ้าเซียง ผู้ดำรงตำแหน่งพระรัตนวงษา เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ท่านแรก และเจ้าเมืองท่งศรีภูมิ ลำดับที่ ๔ อันสืบเชื้อสาย จากเจ้าแก้วมงคล ผู้มีศักดิ์ เป็นพระราชปนัดดาของพระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช กษัตริย์ลาวพระองค์ที่ 26 แห่งอาณาจักรล้านช้าง โดย ภายหลัง เจ้าเซียง บิดา ผู้ครองเมืองสุวรรณภูมิ ได้เสียชีวิตลง ในปี พ.ศ. 2330 ท้าวสูน ผู้เป็นน้องชาย ของท้าวเซียง ที่ดำรงตำแหน่ง อุปฮาดเมืองสุวรรณภูมิ ในขณะนั้น ได้ ครองเมืองต่อ จากพี่ชาย เพื่อสนับสนุนและป้องกันปัญหาการครองเมืองดังในอดีต (ระหว่าง เจ้าสุทนต์มณี เจ้าเมืองท่งศรีภูมิ ลำดับที่ 3 กับ ท้าวเซียง เจ้าเมืองท่งศรีภูมิลำดับที่ 4 ที่มี ศักดิ์ เป็น อา และหลาน ) รวมทั้งเป็นเมืองบริวารและป้องกันเมืองสำคัญด้านทิศเหนือ คือ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลำภู) พระรัตนวงษา(สูน) จึงได้ขอพระราชทานให้มีพระบรมราชโองการ แต่งตั้ง ท้าวเพ ไปตั้งเมืองใหม่ และแบ่งเขตดินแดนทางตอนเหนือของเมืองสุวรรณภูมิ (ภายหลัง เป็นเขตของเมืองร้อยเอ็ดแล้ว)และแบ่งเขตแดนของนครหลวงเวียงจันทน์บางส่วน ให้ ท้าวเพ ได้ปกครอง เมืองสุวรรณภูมิ จึงได้แบ่งไพร่พล ให้ จำนวน 600 คน ไปตั้งเมืองบริเวณเมืองเก่า ขึ้นเป็นเมืองหนองหาน ปัจจุบัน คือ อำเภอหนองหาน และสถานปนาพระยศ ท้าวเพ เป็น "พระพิทักษ์เขื่อนขันธ์" เจ้าเมืองหนองหาน ท่านแรก เป็นเมืองขึ้นกับกรุงเทพ ในปี 2330 อาณาเขตของเมืองหนองหานขณะนั้น ครอบคลุมรวมไปถึงอำเภอเมืองอุดรธานีด้วย กล่าวคือ อาณาเขตเมืองหนองหานทางฝั่งตะวันตกบรรจบกับเขตเมืองเก่าบ้านผือ(ขึ้นกับนครหลวงเวียงจันทน์ ครอบคลุมอำเภอบ้านผือ,อำเภอน้ำโสม,อำเภอนายูง) เขตตอนเหนือบรรจบเมืองเพ็ญ(ครอบคลุมอำเภอเพ็ญ,อำเภอสร้างคอม)ซึ่งขึ้นกับเมืองปากห้วยหลวงของนครหลวงเวียงจันทน์(พื้นที่ของอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ในปัจจุบัน) จึงกล่าวได้ว่า ในยุคก่อนจะกำเนิดเมืองอุดร พื้นที่เมืองหนองหานครอบคลุมพื้นที่อุดรตอนล่าง ตอนกลางและฝั่งตะวันออก รวมถึงพื้นที่ของอำเภอเมืองอุดรทั้งหมด และกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน ได้แก่ อำเภอหนองหาน,อำเภอเมืองอุดร,อำเภอบ้านดุง,อำเภอกุมภวาปี,อำเภอกุดจับ,อำเภอหนองวัวซอ,อำเภอหนองแสง,อำเภอประจักษ์ศิลปาคม,อำเภอกู่แก้ว,อำเภอศรีธาตุ,อำเภอวังสามหมอ,อำเภอไชยวาน,อำเภอทุ่งฝน,อำเภอพิบูลย์รักษ์ ยกเว้นพื้นที่อำเภอโนนสะอาด (ขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2318 - พ.ศ. 2340 และขึ้นกับเมืองขอนแก่นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2340 ภายหลังจึงถูกโอนย้ายมาขึ้นกับจังหวัดอุดร) ต่อมาภายหลังมีการตั้งเมืองขึ้นใหม่ ได้แก่ เมืองหนองคาย บ้านหมากแข้งหรือเมืองอุดรธานี เมืองกมุทธาสัย และเมืองกุมภวาปี ส่วนกลางจึงมีการโอนพื้นที่เมืองหนองหานเดิมบางส่วนไปให้แก่เมืองดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้น[6][7][8][9]

ต่อมาในระหว่าง พ.ศ. 2369-2371 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมาและเมื่อพ่ายแพ้ชาวนครราชสีมาซึ่งมีผู้นำคือ คุณหญิงโม(ท้าวสุรนารี)กองทัพเจ้าอนุวงศ์ได้ถอยทัพมาตั้งรับที่เมืองหนองบัวลำภูซึ่งเป็นเมืองขึ้นของนครหลวงเวียงจันทน์แต่ก่อน เมื่อครั้งพระเจ้ากรุงล้านช้างส่งกองทัพไปปราบกลุ่มพระวอพระตาและสังหารพระวอพระตา แต่ไม่ได้ทำลายเมือง เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ จากนั้นจึงส่งขุนนางให้ไปปกครองเมืองหนองบัวลำภูแทนที่กลุ่มเดิม ต่อมาเรื่อยๆจนถึงสมัย เจ้าจอมนรินทร์ หรือ พระยานรินทรสงคราม (ทองคำ ลาวัณบุตร) คืออดีตเจ้าเมืองสี่มุมหรือเมืองจัตุรัสองค์ที่ 2 (อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ในปัจจุบัน) ซึ่งพระยานรินจงรักภักดีต่อเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์และได้ร่วมต่อสู้กับทัพเจ้าอนุวงศ์อย่างเข้มแข็ง ภายหลังกองทัพสยามตีจนค่ายหนองบัวลำภูแตกและทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป ทัพสยามจับพระยานรินได้จึงเกลี้ยกล่อมให้พระยานรินยอมสวามิภักดิ์ต่อสยาม แต่พระยานรินจงรักภักดีต่อเจ้าอนุวงศ์เป็นอย่างมากจึงไม่ยอมสวามิภักดิ์ เป็นเหตุให้แม่ทัพสยามประหารชีวิตพระยานริน เจ้าเมืองหนองบัวลำพูจึงว่างไปและขาดจากความเป็นเมืองมาแต่บัดนั้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหนองบัวลุ่มภู เป็นเมืองชื่อ เมืองกมุทาสัยบุรีรมย์ หรือเมืองกมุทธาสัย ขึ้นกับเมืองหนองคายและภายหลังเมืองหนองคายถูกโอนมาขึ้นกับเมืองอุดรธานี เมืองกมุทธาสัยจึงมาขึ้นกับเมืองอุดรธานีด้วย[10]

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในระยะเวลานั้น นับเป็นเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ประเทศไทย(ในขณะนั้นเรียกว่าประเทศสยาม)ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศทางตะวันตกมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้วัฒนธรรม อารยธรรม ความเจริญต่างๆได้หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย

ประกอบกับในระยะเวลานั้นเป็นระยะเวลาของการแสวงหาเมืองขึ้น ตามลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกของชาติตะวันตกที่สำคัญสองชาติ คือ อังกฤษ กับฝรั่งเศสที่พยายามจะผนวกดินแดนบริเวณแหลมอินโดจีนให้เป็นเมืองขึ้นของตน และพยายามที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากเมืองไทยในระหว่าง พ.ศ. 2391-2395 พวกจีนที่เป็นกบฏที่เรียกว่ากบฏไต้เผง ถูกจีนตีจากผืนแผ่นดินใหญ่ได้มาอาศัยอยู่ตามชายแดนไทย ลาว และญวน ซึ่งเวลานั้นดินแดนลาวที่เรียกว่า ล้านช้าง บริเวณเขตสิบสองจุไทย หัวพันทั้งห้าทั้งหก ขึ้นอยู่กับประเทศไทย พวกฮ่อได้เที่ยวปล้นสะดมก่อความไม่สงบและได้กำเริบเสิบสานมากขึ้นจนกระทั่ง พ.ศ. 2411ได้เข้ายึดเมืองลาวกาย เมืองพวน เมืองเชียงขวาง และยกมาตีเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทร์ และหนองคายต่อไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพ.ศ. 2411 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุโขทัยกับพระยาพิชัยยกกองทัพไปช่วยหลวงพระบางและให้พระยามหาอำมาตย์ยกทัพไปช่วยทางด้านหนองคาย แล้วรับสั่งให้เจ้าพระยาภูธราภัยยกกองทัพไปช่วย พระยามหาอำมาตย์อีกกองทัพหนึ่ง

กองทัพไทยสามารถตีพวกฮ่อแตกพ่ายไป แต่กระนั้นก็ตามพวกฮ่อที่แตกพ่ายไปแล้วนั้นก็ยังทำการปล้นสะดมรบกวนชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งใน พ.ศ. 2428 พวกฮ่อได้ส่องสุมกำลังมากขึ้น จนสามารถยึดเมืองซอนลา เมืองเชียงขวาง และทุ่งเชียงคำไว้ได้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม(พระยศในสมัยนั้น)เป็นแม่ทัพใหญ่ยกขึ้นไปปราบปรามทางด้านเมืองหนองคาย เรียกว่าแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้และเจ้าหมื่นไวยวรนาถ (ต่อมาเป็นจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี)เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือทางเมืองหลวงพระบาง

กองทัพไทยทั้งฝ่ายใต้และฝ่ายเหนือต้องประสบความลำบากในการทำสงครามกับพวกฮ่อ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา ซึ่งมีไข้ป่าชุกชุมทำให้ทหารฝ่ายไทยต้องล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ในที่สุดกองทัพไทยทั้งฝ่ายใต้ละฝ่ายเหนือก็สามารถตีพวกฮ่อแตกพ่ายไป

ในเวลานั้นจังหวัดอุดรธานียังไม่ปรากฏชื่อ ปรากฏเพียงบ้านหมากแข้งหรือบ้านเดื่อหมากแข้ง แต่ก่อนบริเวณอำเภอเมืองหรือบ้านหมากแข้งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งสังกัดเมืองหนองหาน ขึ้นการปกครองกับมณฑลลาวพวน ซึ่งกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ ได้เดินทัพผ่านบ้านหมากแข้งไปทำการปราบปรามพวกฮ่อจนสงบ

ภายหลังการปราบปรามฮ่อสงบแล้ว ไทยมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศลต้องการลาว เขมร และญวนเป็นอาณานิคม เรียกว่า "กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)" ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงยอมเสียสละส่วนน้อยเพื่อรักษาประเทศไว้ จึงทรงสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง 2 ประเทศ มีเงื่อนไขห้ามประเทศสยามตั้งกองทหารและป้อมปราการอยู่ในรัศมี 25 กิโลเมตรของฝั่งแม่น้ำโขง

ดังนั้น หน่วยทหารไทยที่ตั้งประจำอยู่ที่เมืองหนองคาย อันเป็นเมืองศูนย์กลางของหัวเมืองหรือมณฑลอุดรธานี ซึ่งมีกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่สำเร็จราชการ จำต้องอพยพเคลื่อนย้ายลึกเข้ามาจนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อบ้านเดื่อหมากแข้ง (ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) ห่างจากฝั่งแม่น้ำโขงกว่า 50 กิโลเมตร เมื่อทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะสม เพราะมีแหล่งน้ำดี เช่น หนองนาเกลือ (หนองประจักษ์ปัจจุบัน) และหนองน้ำอีกหลายแห่งรวมทั้งห้วยหมากแข้งซึ่งเป็นลำห้วยน้ำใสไหลเย็น กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมทรงบัญชาให้ตั้งศูนย์มณฑลอุดรธานี และตั้งกองทหารขึ้น ณ หมู่บ้านเดื่อหมากแข้ง จึงพอเห็นได้ว่าเมืองอุดรธานีได้อุบัติขึ้นโดยบังเอิญเพราะเหตุผลทางด้านความมั่นคงและการเมืองระหว่างประเทศ อีกทั้งเหตุผลทางการค้า การคมนาคมในอดีต

พ.ศ. 2441 เมื่อมีการจัดการปกครองใหม่ บ้านหมากแข้ง ถูกยกฐานะให้เป็น กิ่งอำเภอ ขึ้นกับเมืองหนองหาน

จนกระทั่ง พ.ศ. 2449 พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) ออกมาเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล ได้ตัดถนนหนทางบ้านหมากแข้งขึ้นหลายสาย จึงทำให้มีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไพร่พลจากเมืองหนองหานที่ได้อพยพเข้าไปอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก[11][12]

อย่างไรก็ตามคำว่า "อุดร" มาปรากฏในชื่อเมืองเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2450 เนื่องจากมีจำนวนประชากรมากพอที่จะสามารถตั้งขึ้นเป็นเมืองได้เเล้ว (พิธีตั้งเมืองอุดรธานีในวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 127 พ.ศ. 2450 โดยพระยาศรีสุริยราช วรานุวัตร "โพธิ์ เนติโพธิ์") พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นที่บ้านหมากแข้ง เป็นศูนย์กลางของมณฑลอุดร ครอบคลุม จังหวัด อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย เลย หนองบัวลำภู บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหารในสมัยนั้น ซึ่ง มณฑลอุดร แบ่งการปกครองเป็น 5 บริเวณ คือ บริเวณหมากแข้ง บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร บริเวณภาชี และบริเวณน้ำเหือง ในปีเดียวกัน ได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยรวมเมืองต่าง ๆ ในบริเวณบ้านหมากแข้งตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองอุดรธานี" ส่วนเมืองในสังกัดบริเวณให้มีฐานะเป็นอำเภอ แต่เมืองที่ถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นตรงกับเมืองอุดรโดยตรงซึ่งแต่เดิมสังกัดบริเวณหมากแข้ง ได้แก่ เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาน เมืองหนองคาย เมืองกมุทธาสัย(หนองบัวลำภู) เมืองโพนพิสัย เมืองรัตนวาปี เมืองที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเคยถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองอุดรทั้งสิ้น ภายหลังในปี พ.ศ. 2458 เมืองหนองคายแยกออกจากเมืองอุดรเป็นจังหวัด เมืองโพนพิสัยและเมืองรัตนวาปีจึงถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดหนองคาย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้มีการปรับปรุงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ยกเลิกการปกครองในระบบมณฑลในส่วนภูมิภาคยังคงเหลือเฉพาะจังหวัดและอำเภอเท่านั้นมณฑลอุดรจึงถูกยุบเลิกไปเหลือเพียงจังหวัด "อุดรธานี" เท่านั้น อย่างไรก็ตามอุดรธานียังคงมีหน่วยงานราชการด้านการปกครองของกระทรวงต่าง ๆ ที่จัดตั้งในส่วนภูมิภาคที่แสดงเค้าโครงของศูนย์กลางการปกครองในพื้นที่อิสานตอนบน เช่น สำนักบริหารการทะเบียนราษ ภาค 4 คลังเขต 4 สรรพสามิตเขต 4 ศาล ตำรวจภูธรเขต 4 เป็นต้น ต่อมา ในปี พ.ศ. 2536 ประกาศจัดตั้ง จังหวัดหนองบัวลำภู แยกออกจากจังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536

การตั้งอำเภอ แก้

อำเภอ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ ยกฐานะเป็นอำเภอ แยกจากอำเภอ หมายเหตุ
อำเภอโนนสัง 1 มกราคม 2491 9 กันยายน 2499 อำเภอหนองบัวลำภู ปัจจุบันอยู่ในการปกครองของจังหวัดหนองบัวลำภู
อำเภอบ้านดุง 19 พฤษภาคม 2502 16 กรกฎาคม 2506 อำเภอหนองหาน
อำเภอศรีบุญเรือง 16 กรกฎาคม 2508 1 มีนาคม 2512 อำเภอหนองบัวลำภู ปัจจุบันอยู่ในการปกครองของจังหวัดหนองบัวลำภู
อำเภอนากลาง 16 กรกฎาคม 2508 19 กุมภาพันธ์ 2512 อำเภอหนองบัวลำภู ปัจจุบันอยู่ในการปกครองของจังหวัดหนองบัวลำภู
อำเภอศรีธาตุ 1 มีนาคม 2511 15 มิถุนายน 2516 อำเภอกุมภวาปี
อำเภอน้ำโสม 12 พฤษภาคม 2512 28 มีนาคม 2517 อำเภอบ้านผือ
อำเภอหนองวัวซอ 20 เมษายน 2514 28 มีนาคม 2517 อำเภอเมืองอุดรธานี
อำเภอกุดจับ 18 กรกฎาคม 2515 8 กันยายน 2519 อำเภอเมืองอุดรธานี
อำเภอสุวรรณคูหา 17 มิถุนายน 2516 19 มีนาคม 2522 อำเภอนากลาง ปัจจุบันอยู่ในการปกครองของจังหวัดหนองบัวลำภู
อำเภอโนนสะอาด 22 มกราคม 2517 12 เมษายน 2520 อำเภอกุมภวาปี
อำเภอวังสามหมอ 30 กันยายน 2518 11 ตุลาคม 2520 อำเภอศรีธาตุ
อำเภอสร้างคอม 20 พฤษภาคม 2518 21 พฤษภาคม 2533 อำเภอเพ็ญ
อำเภอทุ่งฝน 29 มิถุนายน 2519 21 พฤษภาคม 2533 อำเภอหนองหาน
อำเภอไชยวาน 18 มกราคม 2520 31 ธันวาคม 2530 อำเภอหนองหาน
อำเภอหนองแสง 1 มกราคม 2524 31 ธันวาคม 2530 อำเภอกุมภวาปี
อำเภอนายูง 7 มกราคม 2531 8 สิงหาคม 2538 อำเภอน้ำโสม
อำเภอพิบูลย์รักษ์ 22 เมษายน 2535 26 กันยายน 2540 อำเภอหนองหาน
อำเภอกู่แก้ว 30 เมษายน 2537 8 กันยายน 2550 อำเภอหนองหาน
อำเภอประจักษ์ศิลปาคม 1 กรกฎาคม 2540 8 กันยายน 2550 อำเภอกุมภวาปี

รายชื่อผู้ว่าราชการ แก้

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1. พระวิจิตรคุณสาร (อุ้ย นาครทรรพ) พ.ศ. 2450–2457
2. พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ (รอด สาริมาน) พ.ศ. 2457–2461
3. หม่อมเจ้าโสตถิผล ชมภูนุช พ.ศ. 2461–2462
4. พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ (ช่วง สุวรรทรรภ) พ.ศ. 2462–2468
5. พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ (จิตร จิตตยะโศธร) พ.ศ. 2469–2478
6. พระชาติตระการ (ม.ร.ว.จิตร์ คเณจร) พ.ศ. 2478–2479
7. พระยากำธรพายัพทิศ (ดิษ อินทรโสฬส ณ ราชสีมา) พ.ศ. 2479–2482
8. หลวงวิวิธสุรการ (ถวิล เจียรมาณพ) พ.ศ. 2482–2488
9. ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุนยมานิตย์) พ.ศ. 2488–2489
10. นายถวิล สุนทรศารทูล พ.ศ. 2489–2490
11. นายปกรณ์ อังศุสิงห์ พ.ศ. 2490
12. ขุนศุภกิจวิเลขการ (กระจ่าง ศุภกิจวิเลขการ) พ.ศ. 2490–2495
13. นายปลั่ง ทัศนประดิษฐ์ พ.ศ. 2495
14. ขุนบริบาลบรรพตเขตต์ (สังเวียน บริบาลบรรพตเขตต์) พ.ศ. 2495–2500
15. ขุนบริรักษ์บทวลัญช์ (ชุ่ม ขุนบริรักษ์บทวลัญช์) พ.ศ. 2500
16. นายจินต์ รักการดี พ.ศ. 2500–2505
17. หลวงปริวรรตวรวิจิตร (จันทร์ เจริญชัย ปริวรรตวร) พ.ศ. 2505–2506
18. นายสุพัฒน์ วงษ์วัฒนะ พ.ศ. 2506–2508
19. พลตำรวจตรี สามารถ วายวานนท์ พ.ศ. 2508–2509
20. นายวิญญู อังคณารักษ์ พ.ศ. 2509–2511
21. นายเจริญ ปานทอง พ.ศ. 2511–2516
22. นายเอนก สิทธิประศาสน์ พ.ศ. 2516–2518
23. นายวิเชียร เวชสวรรค์ พ.ศ. 2518–2520
24. นายพิศาล มูลศาสตรสาทร พ.ศ. 2520–2523
25. นายสมภาพ ศรีวรขาน พ.ศ. 2523–2527
26. นายสายสิทธิ พรแก้ว พ.ศ. 2527–2529
27. นายจรวย ยิ่งสวัสดิ์ พ.ศ. 2529–2533
28. นายธวัช โพธิสุนทร พ.ศ. 2533–2535
29. นายสุพร สุภสร พ.ศ. 2535–2537
30. นายดำรง รัตนพานิช พ.ศ. 2537–2540
31. นายวิชัย ทัศนเศรษฐ พ.ศ. 2540–2542
32. นายเกียรติพันธ์ น้อยมณี พ.ศ. 2542–2544
33. นายชัยพร รัตนนาคะ พ.ศ. 2544–2547
34. นายจารึก ปริญญาพล พ.ศ. 2547–2550
35. นายสุพจน์ เลาวัณย์ศิริ พ.ศ. 2550–2551
36. นายอำนาจ ผการัตน์ พ.ศ. 2551–2553
37. นายคมสัน เอกชัย พ.ศ. 2553–2554
38. นายแก่นเพชร ช่วงรังษี พ.ศ. 2554–2555
39. นายเสนีย์ จิตตเกษม พ.ศ. 2555–2557
40. นายนพวัชร สิงห์ศักดา พ.ศ. 2557–2558
41. นายชยาวุธ จันทร พ.ศ. 2558–2560
42. นายวัฒนา พุฒิชาติ พ.ศ. 2560–2562
43. นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร พ.ศ. 2562–2563
44. นายสยาม ศิริมงคล พ.ศ. 2563–2565
45. นายวันชัย คงเกษม พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน

ภูมิศาสตร์ แก้

จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ตอนบนของประเทศ หรือที่เรียกว่า อีสานเหนือ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 17 องศา 13 ลิปดา เหนือ ถึง 18 องศา 10 ลิปดาเหนือ และระหว่างเส้นแวงที่ 102 องศา 00 ลิปดา ตะวันออก ถึง 103 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก มีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

ภูมิประเทศ แก้

ประกอบด้วยภูเขา ที่สูง ที่ราบ ที่ราบลุ่ม และพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น แบ่งออกได้ 2 บริเวณ คือบริเวณที่สูงทางทิศตะวันตกและทางทิศใต้สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขา บางส่วนเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นถึงลอนลึก มีความสูงจากระดับ น้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร สภาพภูมิประเทศลักษณะนี้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ อำเภอโนนสะอาด อำเภอศรีธาตุ อำเภอวังสามหมอ และด้านตะวันตกของอำเภอกุดจับและอำเภอบ้านผือ มีเทือกเขาสูงสลับเนินเตี้ย บางส่วนเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นสลับพื้นที่นา มีที่ราบลุ่มอยู่บริเวณริมแม่น้ำ เช่น ลำน้ำโมง ลำปาว เป็นต้น

บริเวณพื้นที่ลูกคลื่นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออก สภาพภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น มีที่ดอนสลับที่นา บางส่วนเป็นที่เนินเขาเตี้ย ๆ มีความสูงจาก ระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ยประมาณ 187 เมตร สภาพภูมิประเทศลักษณะนี้ครอบคลุมพื้นที่บริเวณอำเภอบ้านผือ อำเภอกุดจับ อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองแสง อำเภอไชยวาน อำเภอเพ็ญ อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอมและอำเภอบ้านดุง มีที่ราบลุ่มเป็นบริเวณกว้างในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี และอำเภอกุมภวาปีซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำปาว พื้นที่ลูกคลื่นดังกล่าวจะมีพื้นที่สูง ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติเดิมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในเขตอำเภอบ้านดุง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำต่างๆเช่น ห้วยน้ำสวย ห้วยหลวง ลำน้ำเพ็ญ ห้วยดาน ห้วยไฟจานใหญ่ และแม่น้ำสงครามเป็นต้น

โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเล โดยเฉลี่ยประมาณ 187 เมตร พื้นที่เอียงลาดลงสู่แม่น้ำโขงทางจังหวัดหนองคาย ประกอบด้วยทุ่งนา ป่าไม้และภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินปนทรายและดินลูกรัง ชั้นล่างเป็นดินดาน ไม่เก็บน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง พื้นบางแห่งเป็นดินเค็มซึ่งประกอบการกสิกรรมไม่ค่อยได้ผลดี พื้นที่บางส่วนเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีพื้นที่ราบแทรกอยู่กระจัดกระจายสภาพพื้นที่ทางตะวันตกมีภูเขาและป่าติดต่อกันเป็น แนวยาว มีเทือกเขาสำคัญคือ เทือกเขาภูพานทอดเป็นแนวยาวตั้งแต่เขตเหนือสุดของจังหวัด

ภูมิอากาศ แก้

จังหวัดอุดรธานีอยู่ใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปจะมีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อนและหนาวจัดในฤดูหนาว ช่วง 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2554 – 2558) อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 42.0 องศาเซลเซียส (เมษายน2556) อุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้ 9.8 องศาเซลเซียส (มกราคม 2558) ปี พ.ศ. 2558 อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 28.10 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิ สูงสุดในเดือนเมษายน วัดได้ 41.90 องศาเซลเซียสและต่ำสุดในเดือนมกราคมวัดได้ 9.80 องศาเซลเซียส ความกดอากาศเฉลี่ยทั้งปีวัดได้ 1,009.97 มิลิเมตรปรอท ร้อยละของความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 95.58 เฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 34.08 และร้อยละของความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปีเท่ากับ 70.51

ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดอุดรธานี
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 36.4
(97.5)
38.3
(100.9)
41.0
(105.8)
41.8
(107.2)
40.9
(105.6)
39.6
(103.3)
37.2
(99)
36.2
(97.2)
35.5
(95.9)
35.8
(96.4)
34.9
(94.8)
34.8
(94.6)
41.8
(107.2)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29.2
(84.6)
31.6
(88.9)
34.2
(93.6)
35.4
(95.7)
33.7
(92.7)
32.5
(90.5)
32.2
(90)
31.5
(88.7)
31.3
(88.3)
31.1
(88)
30.1
(86.2)
28.7
(83.7)
31.79
(89.23)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 22.2
(72)
24.7
(76.5)
27.6
(81.7)
29.3
(84.7)
28.5
(83.3)
28.2
(82.8)
27.9
(82.2)
27.5
(81.5)
27.2
(81)
26.7
(80.1)
24.6
(76.3)
22.1
(71.8)
26.38
(79.48)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.8
(60.4)
18.6
(65.5)
21.7
(71.1)
24.1
(75.4)
24.7
(76.5)
25.0
(77)
24.7
(76.5)
24.5
(76.1)
24.1
(75.4)
22.9
(73.2)
19.8
(67.6)
16.2
(61.2)
21.84
(71.32)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 4.5
(40.1)
9.4
(48.9)
10.0
(50)
16.0
(60.8)
18.8
(65.8)
21.5
(70.7)
20.4
(68.7)
21.0
(69.8)
20.5
(68.9)
16.4
(61.5)
8.4
(47.1)
6.2
(43.2)
4.5
(40.1)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 6
(0.24)
19
(0.75)
36
(1.42)
83
(3.27)
220
(8.66)
231
(9.09)
222
(8.74)
276
(10.87)
254
(10)
84
(3.31)
9
(0.35)
3
(0.12)
1,443
(56.81)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 1 2 3 6 14 15 15 17 15 7 1 0 96
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[13]

การเมืองการปกครอง แก้

หน่วยการปกครองแบ่งออกเป็น หน่วยการปกครองแบ่งออกเป็น 20 อำเภอ 156 ตำบล 1,880 หมู่บ้าน 101 ชุมชน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลนคร 3 เทศบาลเมือง 67 เทศบาลตำบล 109 องค์การบริหารส่วนตำบล มีจำนวนประชากรรวม 1,557,298 คน จำนวนครัวเรือน 414,868 ครัวเรือน[ต้องการอ้างอิง]

 
แผนที่จังหวัดอุดรธานี

การปกครองแบ่งออกเป็น 20 อำเภอ 155 ตำบล 1,862 หมู่บ้าน อำเภอหมายเลข 12-16 ตามรหัสเขตการปกครองคืออำเภอในจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน

เลข ชื่ออำเภอ ชื่อโรมัน จำนวนตำบล ประชากร
(พ.ศ. 2562)[14]
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
1 เมืองอุดรธานี Amphoe Mueang Udon Thani 21 414,060 1094.7 378.24
2 กุดจับ Amphoe Kut Chap 7 65,831 785 83.86
3 หนองวัวซอ Amphoe Nong Wua So 8 63,520 702.96 90.36
4 กุมภวาปี Amphoe Kumphawapi 13 123,795 672.6 184.05
5 โนนสะอาด Amphoe Non Sa-at 6 50,157 424.91 118.04
6 หนองหาน Amphoe Nong Han 12 117,618 708.12 116.09
7 ทุ่งฝน Amphoe Thung Fon 4 32,220 227.90 141.37
8 ไชยวาน Amphoe Chai Wan 4 39,562 326.16 121.29
9 ศรีธาตุ Amphoe Si That 7 48,968 512.5 95.54
10 วังสามหมอ Amphoe Wung Sam Mo 6 58,995 727.3 81.11
11 บ้านดุง Amphoe Ban Dung 13 127,197 923.77 137.69
17 บ้านผือ Amphoe Ban Phue 13 110,461 991.2 111.44
18 น้ำโสม Amphoe Namsom 7 59,806 742.13 80.58
19 เพ็ญ Amphoe Phen 11 116,190 908.089 127.95
20 สร้างคอม Amphoe Sang Khom 6 29,276 287.18 101.94
21 หนองแสง Amphoe Nong Saeng 4 27,388 659.4 41.53
22 นายูง Amphoe Na Yung 4 28,823 524 55
23 พิบูลย์รักษ์ Amphoe Phibun Rak 3 24,951 186.4 133.85
24 กู่แก้ว Amphoe Ku Kaeo 4 22,207 181.2 122.55
25 ประจักษ์ศิลปาคม Amphoe Prachaksinlapakhom 3 25,621 144.8 176.94
รวม 156 1,586,646 11,730.302 135.26

เรียงพื้นที่อำเภอ แก้

อันดับจังหวัด อำเภอ อันดับภาค พื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)
1 อำเภอเมืองอุดรธานี 23 1094.684
2 อำเภอบ้านผือ 26 991.216
3 อำเภอบ้านดุง 34 923.768
4 อำเภอเพ็ญ 40 908.089
5 อำเภอกุดจับ 61 785
6 อำเภอน้ำโสม 68 742.129
7 อำเภอวังสามหมอ 73 727.265
8 อำเภอหนองหาน 79 708.119
9 อำเภอหนองวัวซอ 80 702.955
10 อำเภอกุมภวาปี 87 672.313
11 อำเภอหนองแสง 90 659.4
12 อำเภอนายูง 137 524
13 อำเภอศรีธาตุ 144 512.2529
14 อำเภอโนนสะอาด 169 424.913
15 อำเภอไชยวาน 205 326.155
16 อำเภอสร้างคอม 203 287.179
17 อำเภอทุ่งฝน 262 227.903
18 อำเภอพิบูลย์รักษ์ 288 189.375
19 อำเภอกู่แก้ว 290 181.21
20 อำเภอประจักษ์ศิลปาคม 305 144.895

โรงเรียนประจำอำเภอ แก้

โรงเรียน อำเภอ ตำบล บ้าน
อุดรพิทยานุกูล อำเภอเมืองอุดรธานี หมากแข้ง -
สตรีราชินูทิศ อำเภอเมืองอุดรธานี หมากแข้ง -
เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุดรธานี อำเภอบ้านผือ บ้านผือ ศรีสำราญ หมู่8
บ้านดุงวิทยา อำเภอบ้านดุง ศรีสุทโธ ดงแคนเมือง หมู่3
เพ็ญพิทยาคม อำเภอเพ็ญ เพ็ญ วังบัวเหลือง หมู่17
กุดจับประชาสรรค์ อำเภอกุดจับ เมืองเพีย เพีย หมู่1
น้ำโสมพิทยาคม อำเภอน้ำโสม นางัว โนนผาแดง หมู่9
วังสามหมอวิทยาคาร อำเภอวังสามหมอ วังสามหมอ สามหมอพัฒนา หมู่13
หนองหานวิทยา อำเภอหนองหาน หนองหาน หนองหาน หมู่6
หนองวัวซอพิทยาคม อำเภอหนองวัวซอ โนนหวาย โนนหวาย หมู่5
กุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี กุมภวาปี ดงเมือง หมู่3
หนองแสงวิทยศึกษา อำเภอหนองแสง ทับกุง คำหว้าทอง หมู่7
ยูงทองพิทยาคม อำเภอนายูง นายูง นายูง หมู่1
ศรีธาตุพิทยาคม อำเภอศรีธาตุ ศรีธาตุ ศรีธาตุ หมู่1
โนนสะอาดพิทยาสรรค์ อำเภอโนนสะอาด โนนสะอาด โนนสะอาด หมู่1
ไชยวานวิทยา อำเภอไชยวาน ไชยวาน ค่ายเสรี หมู่11
สร้างคอมวิทยา อำเภอสร้างคอม สร้างคอม สร้างคอม หมู่1
ทุ่งฝนพัฒนศึกษา อำเภอทุ่งฝน ทุ่งใหญ่ ศรีสว่าง หมู่7
พิบูลย์รักษ์วิทยา อำเภอพิบูลย์รักษ์ บ้านแดง แดง หมู่8
กู่แก้ววิทยา อำเภอกู่แก้ว บ้านจีต กู่แก้ว หมู่7
ประจักษ์ศิลปาคม อำเภอประจักษ์ศิลปาคม นาม่วง นาม่วง หมู่1

ประชากร แก้

ประชากรจังหวัดอุดรธานี ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 95 เป็นคนไทย มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นชาวต่างชาติที่สำคัญ ได้แก่ คนจีน คนญวน จังหวัดอุดรธานีได้จัดตั้งครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2436 ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากถิ่นอื่นและมาตั้งหลักแหล่ง ประชาชนที่เป็นชาวพื้นเมืองจึงแทบไม่มี มีแต่พวกชาวไทยย้อที่ตั้งหลักแหล่งอาศัยอยู่ที่อำเภอวังสามหมอ และอำเภอศรีธาตุ ซึ่งมีจำนวนไม่มาก

สถิติประชากร แก้

      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน


อันดับ
(ปีล่าสุด)
อำเภอ พ.ศ. 2562[15] พ.ศ. 2561[16] พ.ศ. 2560[17] พ.ศ. 2559[18] พ.ศ. 2558[19] พ.ศ. 2557[20] พ.ศ. 2556[21]
1 เมืองอุดรธานี 414,060 413,460 411,297 409,747 408,449 406,750 404,982
2 บ้านดุง 127,197 127,206 127,004 126,315 125,893 125,471 124,812
3 กุมภวาปี 123,795 124,166 124,241 124,599 124,985 125,090 124,907
4 หนองหาน 117,618 117,746 117,617 117,286 117,030 116,609 116,151
5 เพ็ญ 116,190 116,167 115,796 115,541 115,170 114,640 114,008
6 บ้านผือ 110,461 110,450 110,382 110,070 110,102 110,037 109,798
7 กุดจับ 65,831 65,906 65,823 65,637 65,533 65,346 64,948
8 หนองวัวซอ 63,520 63,609 63,550 63,368 63,211 63,099 62,969
9 น้ำโสม 59,806 59,682 59,642 59,379 59,176 59,009 58,759
10 วังสามหมอ 58,995 59,108 59,059 58,892 58,619 58,365 57,975
11 โนนสะอาด 50,157 50,206 50,216 50,102 49,952 49,773 49,564
12 ศรีธาตุ 48,968 49,045 49,018 48,976 48,849 48,771 48,695
13 ไชยวาน 39,562 39,570 39,500 39,415 39,302 39,188 39,073
14 ทุ่งฝน 32,220 32,164 32,080 32,133 32,090 31,976 31,878
15 สร้างคอม 29,276 29,230 29,142 29,069 28,947 28,819 28,799
16 นายูง 28,823 28,692 28,620 28,504 28,465 28,286 28,083
17 หนองแสง 27,388 27,482 27,443 27,337 27,224 27,160 27,014
18 ประจักษ์ศิลปาคม 25,621 25,590 25,510 25,423 25,332 25,209 25,178
19 พิบูลย์รักษ์ 24,951 24,971 24,969 24,873 24,799 24,724 24,479
20 กู่แก้ว 22,207 22,216 22,183 22,117 22,024 21,978 21,892
รวม 1,586,646 1,586,666 1,583,092 1,578,783 1,575,152 1,570,300 1,563,964

การศึกษา แก้

โรงเรียน แก้

สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา แก้

สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา แก้

สถานศึกษาในระดับอาชีวศึกษาทั้งรัฐและเอกชน ปัจจุบันอยู่ในกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรรมการการอาชีวศึกษาทั้งหมด สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาในจังหวัดอุดรธานี มีดังนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แก้

จังหวัดอุดรธานีมีความสัมพันธ์ในฐานะบ้านพี่เมืองน้องกับเมืองดังต่อไปนี้

  1.   เมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน (จังหวัดอุดรธานี-ดอกบัวแดง กับดอกโบตั๋น-เมืองลั่วหยาง)
  2.   เมืองสามเหลี่ยมมรดกโลก (แหล่งมรดกโลกบ้านเชียง ร่วมกับเมืองเก่าหลวงพระบาง ประเทศลาว และอ่าวหะล็อง ประเทศเวียดนาม)
  3.   เมืองรีโน มลรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา

การขนส่ง แก้

เส้นทางคมนาคมและการเดินทางที่สำคัญของอุดรธานี คือ

  • รถยนต์โดยสารระหว่างประเทศ
  1. เส้นทางเดินรถอุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์(สปป.ลาว)
  2. เส้นทางเดินรถอุดรธานี-หนองคาย-วังเวียง(สปป.ลาว)

ทางหลวงแผ่นดิน แก้

บุคคลที่มีชื่อเสียง แก้

นักแสดง แก้

นักร้อง แก้

นักการเมือง แก้

พระเกจิอาจารย์ แก้

นักกีฬา แก้

อ้างอิง แก้

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php
  3. "ความหมายของคำว่า ' อุตดร, อุตร '". xn--12cn0cga1azjg1mtc2h.com.
  4. "พ.ศ. 2442 ยกเลิกคำว่า "ลาว" เกิดคำว่า "อีสาน" และภาคอีสานนิยม". ศิลปวัฒนธรรม. 22 กรกฎาคมม 2562. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. "ม่านการเมือง เบื้องหลังกำเนิด "อุดรธานี"". ศิลปวัฒนธรรม. 24 พฤศจิกายน 2564. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. https://www.facebook.com/Sriphoum/posts/1176559959387738
  7. https://www.facebook.com/Sriphoum/photos/pcb.1176559959387738/1177265295983871/
  8. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5#/media/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Map_of_Siam_in_1900.png
  9. https://www.facebook.com/photo?fbid=677010271096975&set=pcb.677010524430283
  10. ธวัช ปุณโณทก, "นรินทรสงคราม (เจ้าเมืองจัตุรัส), พระยา", ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน (กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๕๔๒), หน้า ๒๐๒๓-๒๐๒๖.
  11. https://www.facebook.com/profile/100068146368871/search/?q=%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5
  12. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 4 , 2561
  13. "Climate Normals for Udon Thani". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ population
  15. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2562"
  16. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2561"
  17. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2560"
  18. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2559"
  19. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2558"
  20. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2557"
  21. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2556"

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 17°25′N 102°47′E / 17.41°N 102.79°E / 17.41; 102.79