เอนก สิทธิประศาสน์

เอนก สิทธิประศาสน์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และ เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนยศนายกองเอก

เอนก สิทธิประศาสน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
10 มิถุนายน – 22 กันยายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มกราคม พ.ศ. 2472
จังหวัดเชียงราย
เสียชีวิต17 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (88 ปี)
คู่สมรสรัตนมณี สิทธิประศาสน์

ประวัติ แก้

เอนก สิทธิประศาสน์ (ติ๊ก) เกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2472 ที่อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนสุดท้อง จากพี่น้องจำนวน 5 คน ของ หลวงสิทธิประศาสน์ (คลาย บุษบรรณ์) ต่อเปลี่ยนเป็น หลวงสิทธิประศาสน์ (สิทธิ์ สิทธิประศาสน์) กับนางสิทธิประศาสน์ (ตุ้ย) คนหนึ่งในนั้นคือ นางนงนุช ฤทธิประศาสน์ ภริยานายชูสง่า ฤทธิประศาสน์ อดีตรัฐมนตรี สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ โรงเรียนวังสมเด็จบูรพา และโรงเรียนอัสสัมชัญ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่น1[1] และปริญญาโททางรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา สหรัฐอเมริกา รวมถึงผ่านการอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 21 ชีวิตครอบครัว สมรสกับนางรัตนมณี (วิมลภักตร์) สิทธิประศาสน์ (ภมรพล) มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ นายมนู สิทธิประศาสน์ นายนที สิทธิประศาสน์ และนางสิริวิมล สิทธิประศาสน์

การทำงาน แก้

เอนก สิทธิประศาสน์ รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และนครศรีธรรมราช เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2532 และเป็นปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในปีถัดมา ก่อนหน้านั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ครม.49)[3]

เอนก เคยเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และเป็นรองประธานกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา[4]

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

เอนก ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560 สิริรวมอายุ 88 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ณ วัดธาตุทอง

ยศกองอาสารักษาดินแดน แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การจัดตั้งสมาคมนิสิต เก่ารัฐศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2553, จาก http://www.singhdum.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539009022
  2. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  4. บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา โชว์ฝีมือปรุงอาหารเจ ในงานเทศกาลอาหารเจนานาชาติ เซ็นทรัล ทาวน์ รัตนาธิเบศร์[ลิงก์เสีย]
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2516/D/101/1.PDF
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๘ สิงหาคม ๒๕๓๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒ ตุลาคม ๒๕๒๑