ขจิตร ชัยนิคม เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย

ขจิตร ชัยนิคม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 เมษายน พ.ศ. 2494 (73 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคเพื่อไทย

ประวัติ แก้

ขจิตร ชัยนิคม เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2494 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และระดับปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1]

การทำงาน แก้

ขจิตร ชัยนิคม เคยรับราชการครู[2] ต่อมาหันมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ซึ่งเขาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในปี 2539[1]

ต่อมาในปี 2548 ขจิตร ชัยนิคม ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.จังหวัดอุดรธานีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคกสิกรไทย แข่งขันกับอดีต ส.ส. 4 คน คือ ทองดี มนิสสาร เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ วิชัย เอี่ยมวงศ์ และขจิตร ชัยนิคม โดยเขาได้คะแนน 6,703 คะแนน เป็นลำดับที่ 3 และในปี 2550 เขาย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง กระทั่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 มีการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคามแทน สุทิน คลังแสง ซึ่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง โดยเขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม[3]

จากนั้นในปี 2554 เขากลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดอุดรธานีอีกครั้ง และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่อง ในปี 2554 และ 2562 เป็น ส.ส.สมัยที่ 6

ในปี 2563 เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกพรรคเพื่อไทยที่ร่วมแสดงตนในการนับองค์ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในการลงมติตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาผลกระทบ ม.44[4][5] ซึ่งไม่เป็นไปตามมติพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมฝ่ายค้าน จนพรรคเพื่อไทยมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และลงโทษภาคทัณฑ์ ไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมพรรคในระยะเวลาหนึ่ง และพิจารณาไม่ส่งลงเลือกตั้งในครั้งต่อไป[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 สภาผู้แทนราษฎร
  2. เพื่อไทยค้านยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ชี้ไม่ต่างทำลายการศึกษาชาติ
  3. ผลเลือกตั้งซ่อม ส.ส. 26 เขต 29 ตำแหน่ง อย่างไม่เป็นทางการ 11 มกราคม 2552 หลังนับคะแนนครบทุกหน่วยเลือกตั้ง
  4. 'ขจิตร' โต้เป็นงูเห่า ยันไม่ได้อยู่ห้องประชุมสภาฯ
  5. ไม่เคยเทใจให้รัฐบาล!"ขจิตร"ปัดเป็นงูเห่าเพื่อไทย
  6. พท.ลงโทษ3งูเห่า! ไม่ส่งลงเลือกตั้งครั้งหน้า
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔