อำเภอปากชม

อำเภอในจังหวัดเลย ประเทศไทย

ปากชม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเลย

อำเภอปากชม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Pak Chom
แม่น้ำโขงที่อำเภอปากชม
แม่น้ำโขงที่อำเภอปากชม
คำขวัญ: 
ถิ่นวิมานใต้น้ำ ตำนานนครหงส์ ลำโขงสวยสุดตา งามแก่งฟ้าแก่งจันทร์ ถ้ำแสงธรรมนามเรืองรอง ร่อนทองฝั่งนที พญาอนันตรนาคาธิบดีคู่เมือง ลือเลื่องประเพณีลอยกระทง[1]
แผนที่จังหวัดเลย เน้นอำเภอปากชม
แผนที่จังหวัดเลย เน้นอำเภอปากชม
พิกัด: 18°1′18″N 101°53′18″E / 18.02167°N 101.88833°E / 18.02167; 101.88833
ประเทศ ไทย
จังหวัดเลย
พื้นที่
 • ทั้งหมด957.0 ตร.กม. (369.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด42,276 คน
 • ความหนาแน่น44.18 คน/ตร.กม. (114.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 42150
รหัสภูมิศาสตร์4204
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอปากชม ถนนปากชม-
ศรีเชียงใหม่ ตำบลปากชม อำเภอปากชม จังหวัดเลย 42150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ตัวอำเภอปากชม

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอปากชมมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

ประวัติ

แก้

อำเภอปากชม เดิมเป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของตำบลปากชมเป็นเขตทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวก ประกอบกับเขตการปกครองของอำเภอเชียงคานกว้างขวางเกินไป จังเป็นปัญหาด้านการปกครอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศยกฐานะตำบลปากชม และตำบลใกล้เคียงอีก 2 ตำบล คือ ตำบลเชียงกลม และตำบลหาดคัมภีร์ ขึ้นเป็น กิ่งอำเภอปากชม[2] ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2510 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน ปีเดียวกัน

และอีก 4 ปี ต่อมากล่าวคือเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 รัฐบาลในขณะนั้นได้ออกพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอปากชม ขึ้นเป็น อำเภอปากชม[3] จึงมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเลย ซึ่งมีสภาพภูมิประเทศเป็นอำเภอชายแดน มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำแสดงการแบ่งเขตแดน เนื่องจากพื้นที่อำเภอปากชมเป็นเขตงานที่ผู้ก่อการร้านปฏิบัติการแทรกซึม และบ่อนทำลายทั้งทางด้านการทหาร และด้านการเมืองอย่างรุนแรง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย จึงได้กำหนดให้อำเภอปากชมเป็นอำเภอตัวอย่าง ตามแนวความคิดในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ยุทธการที่ 115 กอ.รมน. ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งต่อมาได้มีการปรับปรุงแนวความคิดการปรับปรุงอำเภอให้เป็นอำเภอราษฎร์รัฐพัฒนา (อ.รรพ.) ของ กอ.รมน.

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอปากชมแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 50 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ปากชม (Pak Chom) 12 หมู่บ้าน
2. เชียงกลม (Chiang Klom) 10 หมู่บ้าน
3. หาดคัมภีร์ (Hat Khamphi) 06 หมู่บ้าน
4. ห้วยบ่อซืน (Huai Bo Suen) 06 หมู่บ้าน
5. ห้วยพิชัย (Huai Phichai) 10 หมู่บ้าน
6. ชมเจริญ (Chom Charoen) 06 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอปากชมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลปากชม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากชม เฉพาะหมู่ที่ 10 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3
  • เทศบาลตำบลเชียงกลม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงกลม เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–2, 6
  • เทศบาลตำบลคอนสา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงกลม เฉพาะหมู่ที่ 3–5, 7–10 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–2, 6
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนครหงษ์[4] ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากชม เฉพาะหมู่ที่ 2, 4–9, 11–12 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหาดคัมภีร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดคัมภีร์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบ่อซืน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยบ่อซืนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยพิชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยพิชัยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชมเจริญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชมเจริญทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. "อำเภอปากชม สืบสานงานประเพณีลอยกระทง "สายน้ำแห่งชีวิต ลอยกระทงสองฝั่งโขง" ประจำปี 2565". thainews.prd.go.th. 2022-11-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-31. สืบค้นเมื่อ 2023-02-01.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (90 ง): 2603. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2510
  3. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลาปาก อำเภอเชียงกลาง อำเภอปากชม อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอดอนสัก อำเภอพนม อำเภอเวียงสระ อำเภอสังคม และอำเภอหัวตะพาน พ.ศ. ๒๕๑๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (123 ก): 745–748. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
  4. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลปากชม อำเภอปากชม จังหวัดเลย เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลนครหงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (ตอนพิเศษ 112 ง): 12. วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2563