ศราวุธ เพชรพนมพร

ศราวุธ เพชรพนมพร (เกิด 25 เมษายน พ.ศ. 2513) ชื่อเล่น ป๊อบ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี อดีตรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และอดีตประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร[1] อดีตรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี

ศราวุธ เพชรพนมพร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 เมษายน พ.ศ. 2513 (54 ปี)
จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติพัฒนา (2544–2548)
ไทยรักไทย (2548–2550)
เพื่อแผ่นดิน (2550–2554)
เพื่อไทย (2554–ปัจจุบัน)
คู่สมรสนุดี เพชรพนมพร

ประวัติ

แก้

ศราวุธ เกิดวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2513 เป็นบุตรของนายสุวิทย์ กับนางวิไล เพชรพนมพร มีพี่น้อง 5 คน ด้านครอบครัวสมรสกับนางนุดี เพชรพนมพร (สกุลเดิม: พรหมนอก) บุตรของ พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนแรก และอดีตรองนายกรัฐมนตรี มีบุตร 2 คน

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนดอสบอสโกวิทยา จังหวัดอุดรธานี จบปริญญาตรีจากคณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน การคลัง และการธนาคาร จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และปริญญาโทสาขาสังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรม จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

งานการเมือง

แก้

ศราวุธ อดีตเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี และได้รับเลือกให้เป็นรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ในปี พ.ศ. 2544 ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก สังกัดพรรคชาติพัฒนาได้รับการเลือกตั้งเป็น สส.ครั้งแรก และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) และได้รับเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ประชา พรหมนอก)[2]

ต่อมาในปี 2548 ศราวุธ ได้ย้ายไปสังกัด พรรคไทยรักไทย และลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับการเลือกตั้งเป็น สส. เป็นสมัยที่ 2

ต่อมาในปี 2550 ได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับเลือกเป็นรองเลขาธิการพรรค เมื่อปี 2551[3] และได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร[4] เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551

ต่อมาพรรคพลังประชาชน ถูกยุบ และเปลี่ยนเป็นพรรคเพื่อไทย จึงย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[5] และลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเลือกเป็น สส.สมัยที่ 3

ตำแหน่งที่เคยดำรงด้านการเมือง

แก้
  • อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี เขตอำเภอเมือง (2538 – 2542)
  • อดีตรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี (2541 – 2542)
  • อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี (2544 – 2549, 2554 – 2556)
  • อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (2545 – 2548) (สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์)
  • อดีตรองเลขาธิการพรรคเพื่อแผ่นดิน (2551 – 2552)
  • อดีตเลขานุการรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (2551 – 2552) (มั่น พัธโนทัย)

บทบาทที่สำคัญทางการเมือง

แก้

ศราวุธ มีบทบาทสำคัญในปี 2544–2545 ที่ได้ยื่นกระทู้อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ถามไปยัง วันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในขณะนั้น เกี่ยวกับการเร่งแก้ไขปัญหาในการก่อสร้างถนนนิตโย ซึ่งเป็นถนนคมนาคมสายหลักของจังหวัดอุดรธานี ที่เชื่อมต่อระหว่างถนนโพธิ์ศรี (ถนนใจกลางเมือง) กับ ถนนอุดรธานี-สกลนคร (ถนนเชื่อมเส้นรอบเมือง) มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ที่กระทรวงคมนาคมในขณะนั้นก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ประชาชนที่อาศัยอยู่สองฝั่งถนนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก จนได้รับการแก้ไขและก่อสร้างแล้วเสร็จในเวลาต่อมาไม่นานภายหลังจากการอภิปรายในสภา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
  2. http://www.eppo.go.th/admin/cab/cab-2545-10-15.html เก็บถาวร 2012-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์
    มติคณะรัฐมนตรี เรื่องที่27 ข้อ11 เรื่องแต่งตั้ง นายศราวุธ เพชรพนมพรเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ 15 ตุลาคม 2545
    สืบค้นวันที่ 25 กันนายน 2555
  3. http://politicalbase.in.th/index.php/พรรคเพื่อแผ่นดิน เก็บถาวร 2013-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์
    ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย ลำดับที่ 11 นายศราวุธ เพชรพนมพร รองเลขาธิการพรรค สืบค้นวันที่ 25 กันนายน 2555
  4. http://www.ryt9.com/s/cabt/304137 จากเว็บไซต์
    ryt9 มติคณะรัฐมนตรี ข้อ31 เรื่องแต่งตั้ง นายศราวุธ เพชรพนมพร
    เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2551
    สืบค้นวันที่ 25 กันนายน 2555
  5. ยุทธพงศ์อดีตสส.ปชป.ย้ายซบพท.พร้อมลูกเขยประชา จากเว็บไซต์TTN24 สืบค้นวันที่ 22 กันยายน 2555
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

นายศราวุธ เพชรพนมพรเว็บไซต์รัฐสภาไทย

นายศราวุธ เพชรพนมพร เว็บไซต์พรรคเพื่อไทย

นายศราวุธ เพชรพนมพร ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย