อำเภอประจักษ์ศิลปาคม

อำเภอในจังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย

ประจักษ์ศิลปาคม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี และเป็น 1 ใน 5 อำเภอของจังหวัดที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่าน ชื่อของอำเภอนี้ตั้งตามพระนามของ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เพื่อเฉลิมฉลองและเพื่อเป็นเกียรติแก่จังหวัดอุดรธานีมีอายุการจัดตั้งครบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2540[1]

อำเภอประจักษ์ศิลปาคม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Prachaksinlapakhom
เพื่อเฉลิมฉลองและเพื่อเป็นเกียรติของจังหวัดอุดรธานี ในโอกาสที่จังหวัดนี้มีอายุครบ 100 ปีในปีดังกล่าว โดยได้ตั้งชื่ออำเภอตามพระนามของ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพื่อเฉลิมฉลองและเพื่อเป็นเกียรติของจังหวัดอุดรธานี ในโอกาสที่จังหวัดนี้มีอายุครบ 100 ปีในปีดังกล่าว โดยได้ตั้งชื่ออำเภอตามพระนามของ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คำขวัญ: 
พระนามกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
ชื่นชมผ้าหมี่สีย้อมคราม เลื่องลือนาม
หลวงปู่ก่ำ ชุ่มฉ่ำห้วยน้ำออกตลอดปี
ประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่
แผนที่จังหวัดอุดรธานี เน้นอำเภอประจักษ์ศิลปาคม
แผนที่จังหวัดอุดรธานี เน้นอำเภอประจักษ์ศิลปาคม
พิกัด: 17°16′22″N 102°59′39″E / 17.27278°N 102.99417°E / 17.27278; 102.99417
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุดรธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด144.8 ตร.กม. (55.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด25,391 คน
 • ความหนาแน่น175.35 คน/ตร.กม. (454.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 41110
รหัสภูมิศาสตร์4125
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอประจักษ์ศิลปาคม
หมู่ที่ 6 ตำบลนาม่วง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี 41110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอประจักษ์ศิลปาคมมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ แก้

จังหวัดอุดรธานีจัดตั้งเป็นจากการรวมเมืองกมุทธาไสย เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหานและอำเภอบ้านหมากแข้ง ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองอุดรธานี" ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2440[1] จนถึงในปี พ.ศ. 2540 จังหวัดมีอายุการจัดตั้งครบ 100 ปี จึงมีการจัดตั้งอำเภอเพื่อเฉลิมฉลองและเพื่อเป็นเกียรติแก่จังหวัดอุดรธานี จึงประกาศพื้นที่ฝั่งเหนือของหนองหานกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี ได้แก่ ตำบลห้วยสามพาด ตำบลนาม่วง และตำบลอุ่มจาน จัดตั้งขึ้นเป็น กิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2540[2] โดยใช้ชื่อ "ประจักษ์ศิลปาคม" ตามพระนามของ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งจังหวัดอุดรธานีขึ้นจากที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนที่บ้านหมากแข้งใน พ.ศ. 2436 ได้ทรงริเริ่มสร้างบ้านหมากแข้งให้เกิดความเจริญจากหมู่บ้านชนบทจนเป็นเมืองอุดรธานี และยกฐานะเป็นจังหวัด เป็นการก่อสร้างรากฐานความเจริญวัฒนาถาวรจวบจนปัจจุบัน

เพื่อประโยชน์ด้านการปกครองกับอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอ (รวม 81 อำเภอ) พ.ศ. 2550 เพื่อยกฐานะกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอ  จำนวน 81 แห่ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกาเล่ม 124 ตอนที่ 46 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2550 โดยมีผลให้ใช้บังคับเมื่อพ้น 15 วันนับแต่ประกาศในราชกิจนุเบกษา ดังนั้นในวันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน ได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอประจักษ์ศิลปาคม[3] เป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัดอุดรธานี

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอประจักษ์ศิลปาคมมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอประจักษ์ศิลปาคมแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 3 ตำบล 41 หมู่บ้าน

1. นาม่วง (Na Muang) 14 หมู่บ้าน
2. ห้วยสามพาด (Huai Sam Phat) 13 หมู่บ้าน
3. อุ่มจาน (Um Chan) 14 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอประจักษ์ศิลปาคมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาม่วงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสามพาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยสามพาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มจาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอุ่มจานทั้งตำบล

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้รวมเมืองกมุทธาไส ๑ เมือง กุมภวาปี ๑ เมือง หนองหาย ๑ อำเภอ บ้านหมากแข้ง ๑ ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่าเมืองอุดรธานีบริเวณน้ำชีให้เปลี่ยนเรียกว่าเมืองขอนแก่น บริเวณน้ำเหืองให้เปลี่ยนเรียกว่าเมืองเลย บริเวณสกลนครให้เปลี่ยน เรียกว่าเมืองสกลนคร บริเวณธาตุพนมให้เปลี่ยนเรียกว่าเมืองนครพนม ส่วนเมืองหนองคายเมืองโพนพิสัยให้คงไว้ตามเดิม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (41): 1088. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-07-19. วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2440
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (51 ง พิเศษ): 23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2008-05-31. วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2540
  3. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอซำสูง อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านแฮด อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง อำเภอซับใหญ่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่ออน อำเภอหาดสำราญ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง อำเภอวังเจ้า อำเภอวังยาง อำเภอเทพารักษ์ อำเภอบัวลาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสีดา อำเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน อำเภอภูเพียง อำเภอแคนดง อำเภอบ้านด่าน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอกุดรัง อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอหนองฮี อำเภอสุขสำราญ อำเภอเขาชะเมา อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอบ้านคา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอหนองหิน อำเภอเอราวัณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอศิลาลาด อำเภอมะนัง อำเภอบางเสาธง อำเภอโคกสูง อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอพนมดงรัก อำเภอศรีณรงค์ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอนาตาล อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-05-31. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

แหล่งข้อมูลอื่น แก้