อำเภอกุมภวาปี
กุมภวาปี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุดรธานีทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นอำเภอขนาดใหญ่ที่มีทั้งถนนมิตรภาพและทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือพาดผ่าน เป็นอำเภอที่เจริญอันดับ 3 รองจาก อำเภอเมืองอุดรธานี และ อำเภอบ้านดุง
อำเภอกุมภวาปี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Kumphawapi |
คำขวัญ: กุมภวาปีเมืองน้ำตาล อุทยานวานร ดอนแก้วพุทธสถาน หนองหานสายธารแห่งชีวิต ธรรมชาติวิจิตรทะเลบัวแดง | |
แผนที่จังหวัดอุดรธานี เน้นอำเภอกุมภวาปี | |
พิกัด: 17°6′50″N 103°1′7″E / 17.11389°N 103.01861°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุดรธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 672.6 ตร.กม. (259.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 122,299 คน |
• ความหนาแน่น | 181.83 คน/ตร.กม. (470.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 41110, 41370 (เฉพาะตำบลพันดอน ปะโค ผาสุก) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4104 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอกุมภวาปี ถนนศุภอรรถวินิจ ตำบลกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี 41110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ชื่อ
แก้คำว่า "กุมภวาปี" ได้ตั้งให้สอดคล้องกับความหมาย ซึ่งคำว่า “กุมภะ” แปลว่า หม้อ “วาปี” แปลว่า หนองหรือบึง จึงรวมกันเป็น "กุมภวาปี" นามนี้ จึงปรากฏหลักฐานตั้งแต่ในรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
ประวัติศาสตร์
แก้การตั้งถิ่นฐาน
แก้เมืองกุมภวาปีเป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และได้พัฒนาการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีการสำรวจ พบในท้องที่ต่างๆกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้าง บริเวณที่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญได้แก่ บริเวณบ้านดอนแก้ว ซึ่งเป็นเกาะกลางหนองหานน้อยกุมภวาปีบริเวณบ้านตูมใต้ บ้านเมืองพรึก บ้านสี่แจ และบ้านกงพาน ซึ่งโบราณวัตถุส่วนใหญ่ จะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ดินเผาและโลหะ จาการศึกษาของนักวิชาการด้านโบราณคดีได้สันนิษฐานไว้ว่า บริเวณแหล่งที่มีการสำรวจพบโบราณวัตถุเหล่านี้มีลักษณะเป็นชุมชนดั้งเดิมแบบล่าสัตว์และทำกสิกรรมตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคประวัติศาสตร์มีขนาดของชุมชนค่อนข้างใหญ่ มีการใช้โลหะ เหล็กและสำริด และมีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนอื่นๆ ที่ยู่บริเวณใกล้เคียงกันลักษณะพึ่งพาอาศัยและแลกเปลี่ยนปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
แก้เมืองกุมภวาปี มีชื่อปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานเรื่องผาแดงนางไอ่ ในนาม เมืองเอกชะทีตาหรือทีตานคร อันถือเป็นเวรกรรมที่เป็นต้นเค้าของปรากฏชื่อบ้านนามเมืองที่เกี่ยวข้องในบริเวณหนองหานน้อยและลุ่มน้ำชีตอนบน ความในวรรณกรรมท้องถิ่น เรื่องผาแดงนางไอ่ นั้นกล่าวว่าเมืองทีตานครเป็นเมืองใหญ่ตั้งอยู่ที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์เจ้าผู้ครองเมืองชื่อพญาขอม มีธิดาชื่อว่า ไอ่คำ เมื่อนางไอ่คำเจริญวัยได้มีเจ้าชายจากเมืองผาโพงชื่อ ท้าวผาแดง ได้มาติดพันเกี้ยวพาราสีหวังได้เป็นคู่ครอง
กาลต่อมาพญาขอมได้จัดงานบุญบั้งไฟของเมืองทีตานครนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงเมืองบาดาลเขตแดนของพญานาคทำให้ท้าวพังคี โอรสของพญานาคปลอมตัวมาเป็นกระรอกเผือกขึ้นมาเที่ยวชมงานพร้อมกับบริวาร ท้าวพังคีในร่างกระรอกเผือกได้แอบยลโฉมนางไอ่คำทางช่องหน้าต่าง เมื่อนางไอ่คำเห็นเข้าก็ปรารถนาอยากได้กระรอกเผือกไว้เชยชม จึงให้อำมาตย์ตามจับแต่ก็จับไม่ได้ ในที่สุดนายพรานประจำเมืองก็ใช้หน้าไม้ยิงกระรอกเผือกตายแล้วก็ชำแหละเนื้อกระรอกนำมาแบ่งปันประกอบอาหารกิน ด้วยแรงอธิษฐานของพังคีก่อนตายทำให้เนื้อกระรอกเผือกเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมากมายกินกันทั่วเมืองก็ไม่หมดและขอให้คนที่ได้กินเนื้อจงตายตามไปด้วย
เมื่อท้าวพังคีตาย บริวารได้กลับไปบอกพญานาคบิดาของพังคี ทำให้พญานาคโกรธมากจึงสำแดงอิทธิฤทธิ์ทำให้เมืองทีตานครของพญาขอมถล่มจมดินกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ซึ่งก็คือ หนองหานกุมภวาปีในปัจจุบัน ส่วนชาวเมืองที่กินเนื้อกระรอกเผือกก็ล้วนตายกันหมดรวมทั้งท้าวผาแดงและนางไอ่คำด้วย ยกเว้นบรรดาแม่หม้ายที่ไม่ได้รับแบ่งเนื้อกระรอกเผือกมากิน ทำให้บ้านเมืองของเขาไม่ถูกทำลายจึงเหลือเป็นเกาะกลางหนองหานที่เรียกกันว่า บ้านดอนแก้ว ในปัจจุบัน
สมัยประวัติศาสตร์
แก้หลังจากที่ปรากฏเรื่องราวของเมืองกุมภวาปีในนิทานพื้นบ้านและในตำนานอุรังคธาตุแล้วได้มีคนผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาอยู่อาศัยอย่างไม่ขาดสาย เนื่องจากรอบๆ หนองหานน้อยมีท้องทุ่งที่กว้างใหญ่ มีป่าไม้แน่นหนา กลุ่มคนเหลานั้นจึงพากันสร้างเมืองที่มั่งคั่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ศูนย์กลางของชุมชนแห่งนี้มีชื่อว่า บ้านบึงหม้อ
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง
แก้ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินครั้งสำคัญ บรรดาบ้านเมืองต่างๆ ในหัวเมืองลาวและทางภาคอีสาน ได้มีใบบอกไปกรุงเทพฯเพื่อขอตั้งขึ้นเป็นบ้านเมืองในพระราชอาณาจักรสยามและมีการเปลี่ยนชื่อบ้านนามเมืองให้ไพเราะขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ทางราชสำนักจะพิจารณาชื่อจากภูมินามดั้งเดิมแล้วนำมาดัดแปลงชื่อเพื่อให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกนามมงคลของบ้านเมือง แล้วจึงมีสารตราตั้งเมืองอนุญาตให้ตั้งเป็นบ้านเมืองที่สำคัญต่อไป บ้านบึงหม้อได้รับการตั้งชื่อนามมงคลจากราชสำนักกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2415 ว่า เมืองกุมภวาปี
ในปี พ.ศ. 2440 รัชการที่ 5 โปรดเกล้าฯให้กระทรวงมหาดไทย รวมเมืองกุมภวาปี หนองหาน หนองบัวลำภู และบ้านหมากแข้ง ตั้งขึ้นเป็นจังหวัดอุดรธานี เมืองกุมภวาปี จึงมีฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นตรงต่อจังหวัดอุดรธานี โดยมีที่ว่าการอำเภอกุมภวาปี ตั้งอยู่ที่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านน้ำฆ้อง(โรงเรียนอนุบาลกุมภวาปี-ปัจจุบัน) ตำบลพันดอน ปัจจุบันชาวบ้านนิยมเรียกว่า “เมืองเก่า” และมีพระประสิทธิสรรพกร(บุปผา สีหะไตร) เป็นนายอำเภอคนแรก แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบลใหญ่ คือ ตำบลปะโค ตำบลพันดอน ตำบลอุ่มจาน ตำบลตูมใต้ และตำบลแชแล มีกำนันตำบลต่างๆ ตามลำดับดังนี้
- ตำบลปะโค ขุนปะโคคุณากร
- ตำบลพันดอน ขุนพันดอนดิสาร
- ตำบลอุ่มจาน ขุนอินทร์อุ่มจาน
- ตำบลตูมใต้ ขุนตูมคามิน
- ตำบลแชแล ขุนระบิลแชแล
พ.ศ. 2463 ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระวรฤทธิฤๅไชย จึงปรากฏหลักฐาน และจากการบันทึกการเสด็จการครวจราชการ ของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรก ซึ่งได้มาตรวจราชการมณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ได้บันทึกเรื่องการเสด็จตรวจราชการและจัดพิมพ์ไว้ เมื่อปีวอก พ.ศ. 2463 มีความตอนหนึ่งว่า “…ข้ามห้วยอ้ายเต้นถึงเขตรเมืองกุมภวาปี เมืองนี้ยกเอาบ้านบึงหม้อ ตั้งขึ้นเปนเมือง เมื่อรัชกาลที่ 5 พระวรฤทธิฤๅไชยผู้ว่าราชการเมืองกุมภวาปี มารับ…” นอกจากนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังได้เสด็จไปเที่ยวรอบหนองหาน และได้ทรงบันทึกเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับหนองหาร (ปัจจุบันเขียน”หนองหาน”) ไว้ว่า “…หนองหารนี้มีชื่อเสียงมาในพงศาวดารเป็นบึงใหญ่กว้างมาก มีชาวบ้านตั้งหาปลาอยู่โดยรอบ ทางเดินรอบหนองหารประมาณสองวัน มีท่าลงหนองที่บ้านเชียงแหว ระยะทางห่างจากเมืองกุมภวาปี 200 เส้น มีเกาะในหนองหาน เรียกกันว่า “เกาะดอนแก้ว” มีหมู่บ้านและวัดบนเกาะนั้นด้วย น้ำหนองหารที่ไหลลงปาวไปตกลำพาชี เมืองกุมภวาปีมีราษฎรอยู่ประมาณ 6,000 คน มีชาวเมืองนครราชสีมา มาตั้งทำมาค้าขายอยู่หลายครัว…”
ต่อมาระหว่าง พ.ศ. 2468-2472 ร.อ.อ.หลวงนิคมพรรณาเขต (เขียน สีหะอำไพ) นายอำเภอคนที่ 9 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอกุมภวาปีจากบ้านน้ำฆ้อง มาตั้งที่บ้านดงเมือง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “เมืองใหม่” ตำบลตูมใต้ (ตำบลกุมภวาปี ในบัจจุบัน) โดยมีเหตุผล 4 ประการคือ
- ที่ตั้งเมืองเก่าเป็นที่ลุ่ม ถูกน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
- ที่ตั้งเมืองใหม่ น้ำท่วมไม่ถึง ประกอบกับตั้งอยู่ริมน้ำปาว มีความอุดมสมบูรณ์ตลอดปี
- ที่ตั้งเมืองใหม่ เป็นศูนย์กลางของทุกตำบล เหมาะแก่การขยายชุมชนใหม่ในอนาคต
- เพื่อสร้างเมืองใหม่รองรับกับทางรถไฟสายใหม่ ที่แยกจากเส้นทางอุดรธานีผ่านบ้านดงเมือง สู่สกลนครและนครพนม
สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
แก้- วันที่ 29 มีนาคม 2450 โอนพื้นที่ตำบลบ้านจำปี ตำบลนายุง ตำบลสาแล ตำบลเชียงแหว และตำบลบ้านอุ่มจาร อำเภอเมืองหนองหาร ไปขึ้นกับ อำเภอกุมภวาปี[1]
- วันที่ 4 ตุลาคม 2468 ยุบตำบลนาเพ็ญ ไปรวมขึ้นกับตำบลตูมใต้ และโอนหมู่บ้านท่าลี่ บ้านดอกจันทน์ บ้านนาทัน ของตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มาขึ้นกับตำบลตูมใต้ อำเภอกุมภวาปี[2]
- วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลตูมใต้ ในท้องที่บางส่วนของตำบลตูมใต้[3]
- วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลพันดอน ในท้องที่บางส่วนของตำบลพันดอน[4]
- วันที่ 17 ธันวาคม 2500 ตั้งตำบลโพธิ์ศรีสำราญ แยกออกจากตำบลปะโค[5]
- วันที่ 16 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลหนองหญ้าไชย แยกออกจากตำบลนายูง[6]
- วันที่ 31 มีนาคม 2507 ตั้งตำบลห้วยเกิ้ง แยกออกจากตำบลตูมใต้ และ ตั้งตำบลห้วยสามพาด แยกออกจากตำบลอุ่มจาน และ ตั้งตำบลเสอเพลอ แยกออกจากตำบลพันดอน[7]
- วันที่ 17 สิงหาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยเกิ้ง ในท้องที่บางส่วนของตำบลห้วยเกิ้ง[8]
- วันที่ 15 พฤศจิกายน 2509 จัดตั้งสุขาภิบาลโพธิศรีสำราญ ในท้องที่บางส่วนของตำบลโพธิศรีสำราญ[9]
- วันที่ 25 เมษายน 2510 ตั้งตำบลบ้านโปร่ง แยกออกจากตำบลจำปี และ ตั้งตำบลหนองกุงทับม้า แยกออกจากตำบลหนองหญ้าไซ และ ตั้งตำบลบุ่งแก้ว แยกออกจากตำบลสีออ[10]
- วันที่ 2511 ได้ตั้ง กิ่งอำเภอศรีธาตุ ขึ้นกับอำเภอกุมภวาปี
- วันที่ 11 มิถุนายน 2511 ตั้งตำบลเวียงคำ แยกออกจากตำบลแชแล[11]
- วันที่ 29 ตุลาคม 2511 ได้โอนหมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลเวียงคำ อำเภอกุมภวาปี ไปตั้งเป็นหมู่ที่ 10 ตำบลแชแล อำเภอกุมภวาปี[12]
- วันที่ 24 มิถุนายน 2512 จัดตั้งสุขาภิบาลจำปี ในท้องที่บางส่วนของตำบลจำปี กิ่งอำเภอศรีธาตุ[13]
- วันที่ 5 สิงหาคม 2512 ตั้งตำบลโนนสะอาด แยกออกจากตำบลโพธิ์ศรีสำราญ[14]
- วันที่ 20 มกราคม 2513 เปลี่ยนชื่อสุขาภิบาลโพธิศรีสำราญ เป็น สุขาภิบาลโนนสะอาด[15]
- วันที่ 9 พฤศจิกายน 2514 ตั้งตำบลหนองแสง แยกออกจากตำบลเสอเพลอ ตั้งตำบลนาม่วง แยกออกจากตำบลห้วยสามพาด ตั้งตำบลหัวนาคำ แยกออกจากตำบลนายูง ตั้งตำบลบะยาว แยกออกจากตำบลหนองกุงทับม้า[16]
- วันที่ 26 ธันวาคม 2515 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลพันดอน[17]
- วันที่ 28 มิถุนายน 2516 ยกฐานะเป็น อำเภอศรีธาตุ[18]
- วันที่ 4 กันยายน 2516 ตั้งตำบลแสงสว่าง แยกออกจากตำบลปะโค[19]
- วันที่ 22 มกราคม 2517 แยกพื้นที่ตำบลโนนสะอาด ตำบลโพธิ์ศรีสำราญ และตำบลบุ่งแก้ว อำเภอกุมภวาปี ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอโนนสะอาด ขึ้นกับอำเภอกุมภวาปี[20]
- วันที่ 12 เมษายน 2520 ยกฐานะเป็น อำเภอโนนสะอาด[21]
- วันที่ 1 มกราคม 2524 แยกพื้นที่ตำบลหนองแสง และตำบลแสงสว่าง อำเภอกุมภวาปี ตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองแสง[22]
- วันที่ 30 มีนาคม 2525 ตั้งตำบลผาสุก แยกออกจากตำบลพันดอน[23]
- วันที่ 10 ตุลาคม 2529 ตั้งตำบลท่าลี่ แยกออกจากตำบลสีออ[24]
- วันที่ 31 ธันวาคม 2530 ยกฐานะเป็น อำเภอหนองแสง[25]
- วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลหนองหว้า แยกออกจากตำบลห้วยเกิ้ง และ ตั้งตำบลกุมภวาปี แยกออกจากตำบลตูมใต้[26]
- วันที่ 11 มีนาคม 2540 ได้จัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารพันดอน อ.กุมภวาปี [27]
- วันที่ 25 มิถุนายน 2540 แยกพื้นที่ตำบลนาม่วง ตำบลห้วยสามพาด และตำบลอุ่มจาน อำเภอกุมภวาปี ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม ขึ้นกับอำเภอกุมภวาปี[28]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลตูมใต้ สุขาภิบาลพันดอน และสุขาภิบาลห้วยเกิ้ง เป็นเทศบาลตำบลตูมใต้ เทศบาลตำบลพันดอน และเทศบาลตำบลห้วยเกิ้ง ตามลำดับ
- วันที่ 11 กันยายน 2543 เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลตูมใต้ เป็น เทศบาลตำบลกุมภวาปี[29]
- วันที่ 30 มิถุนายน 2548 กำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภวาปี ตำบลกุมภวาปี ให้มีเขตการปกครองรวม 14 หมู่บ้าน ตำบลพันดอน ให้มีเขตการปกครองรวม 20 หมู่บ้าน ตำบลเวียงคำ ให้มีเขตการปกครองรวม 18 หมู่บ้าน ตำบลผาสุก ให้มีเขตการปกครองรวม 10 หมู่บ้าน ตำบลเชียงแหว ให้มีเขตการปกครองรวม 13 หมู่บ้าน ตำบลตูมใต้ ให้มีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน ตำบลหนองหว้า ให้มีเขตการปกครองรวม 11 หมู่บ้าน ตำบลแชแล ให้มีเขตการปกครองรวม 14 หมู่บ้าน ตำบลห้วยเกิ้ง ให้มีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน ตำบลท่าลี่ ให้มีเขตการปกครองรวม 13 หมู่บ้าน ตำบลเสอเพลอ ให้มีเขตการปกครองรวม 19 หมู่บ้าน ตำบลสีออ ให้มีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน และตำบลปะโค ให้มีเขตการปกครองรวม 17 หมู่บ้าน[30]
- วันที่ 24 สิงหาคม 2550 ยกฐานะเป็น อำเภอประจักษ์ศิลปาคม[31]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอกุมภวาปีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 ตำบล 174 หมู่บ้าน
|
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอกุมภวาปีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลกุมภวาปี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกุมภวาปี
- เทศบาลตำบลพันดอน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพันดอน
- เทศบาลตำบลห้วยเกิ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยเกิ้งทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลปะโค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะโคทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลกงพานพันดอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพันดอน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพันดอน)
- เทศบาลตำบลเวียงคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงคำทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเชียงแหว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงแหวทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหนองหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหว้าทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลแชแล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแชแลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตูมใต้ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเสอเพลอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสอเพลอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสีออ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสีออทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลผาสุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผาสุกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าลี่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุมภวาปี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุมภวาปี (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลกุมภวาปี)
ภูมิศาสตร์
แก้ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอกุมภวาปีตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ประมาณ 672.6 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 412,452.13 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองอุดรธานีและอำเภอประจักษ์ศิลปาคม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอกู่แก้วและอำเภอศรีธาตุ
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอท่าคันโท (จังหวัดกาฬสินธุ์) อำเภอกระนวน (จังหวัดขอนแก่น) และอำเภอโนนสะอาด
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหนองแสง
ภูมิประเทศ
แก้ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสลับเนินสูง ๆ ต่ำ ๆ ในพื้นที่เนินจะปลูกพืชไร่ ได้แก่ อ้อย ปอ มันสัมปะหลัง ถั่ว ยางพารา ยูคาลิปตัส ฯลฯ พื้นที่ราบใช้ปลูกข้าว พื้นที่ราบลุ่มใหญ่รอบบริเวณหนองหานกุมภวาปีเป็นเพาะปลูกข้าวหลัก ริมขอบหนองหานเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตลอดปีแต่ใช้เพาะปลูกไม่ได้ บางปีรอบบริวณหนองหานเกิดน้ำท่วมพื้นที่นาต่อกันหลายวันทำให้ต้นข้าวตาย ลำห้วยสาขาของแม่น้ำปาวเป็นแหล่งปลูกข้าวรองลงไป โดยพื้นที่ร้อยละประมาณ 80 ใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกและเกษตรกรรมอื่น ๆ เช่น ปศุสัตว์ บ่อเลี้ยงปลา ฯลฯ ชุมชนตลอดแนวลำน้ำปาวทำการประมงน้ำจืด สภาพป่าพอหลงเหลือ ให้เห็นบ้างแต่อยู่ในอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมสภาพป่าเป็นป่าในเขตร้อนแต่ก็ถูกทำลายจนหลงเหลือสภาพป่าน้อยเต็มที แหล่งน้ำที่สำคัญในอำเภอกุมภวาปี มีดังนี้
|
|
ภูมิอากาศ
แก้สภาพอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู ได้แก่
- ฤดูฝน ฝนตกชุกในช่วงเดือนกันยายน บางปีเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่ม
- ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นและแห้ง โดยหนาวจัดในเดือนธันวาคม
- ฤดูแล้ง อากาศจะร้อนอบอ้าว ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ำซึ่งเป็นปัญหาทั่วไปในภูมิภาคนี้
ข้อมูลภูมิอากาศของอำเภอกุมภวาปี | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 36.4 (97.5) |
38.3 (100.9) |
41.0 (105.8) |
41.8 (107.2) |
40.9 (105.6) |
39.6 (103.3) |
37.2 (99) |
36.2 (97.2) |
35.5 (95.9) |
35.8 (96.4) |
34.9 (94.8) |
34.8 (94.6) |
41.8 (107.2) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 29.2 (84.6) |
31.6 (88.9) |
34.2 (93.6) |
35.4 (95.7) |
33.7 (92.7) |
32.5 (90.5) |
32.2 (90) |
31.5 (88.7) |
31.3 (88.3) |
31.1 (88) |
30.1 (86.2) |
28.7 (83.7) |
31.79 (89.23) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 22.2 (72) |
24.7 (76.5) |
27.6 (81.7) |
29.3 (84.7) |
28.5 (83.3) |
28.2 (82.8) |
27.9 (82.2) |
27.5 (81.5) |
27.2 (81) |
26.7 (80.1) |
24.6 (76.3) |
22.1 (71.8) |
26.38 (79.48) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 15.8 (60.4) |
18.6 (65.5) |
21.7 (71.1) |
24.1 (75.4) |
24.7 (76.5) |
25.0 (77) |
24.7 (76.5) |
24.5 (76.1) |
24.1 (75.4) |
22.9 (73.2) |
19.8 (67.6) |
16.2 (61.2) |
21.84 (71.32) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 4.5 (40.1) |
9.4 (48.9) |
10.0 (50) |
16.0 (60.8) |
18.8 (65.8) |
21.5 (70.7) |
20.4 (68.7) |
21.0 (69.8) |
20.5 (68.9) |
16.4 (61.5) |
8.4 (47.1) |
6.2 (43.2) |
4.5 (40.1) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 6 (0.24) |
19 (0.75) |
36 (1.42) |
83 (3.27) |
220 (8.66) |
231 (9.09) |
222 (8.74) |
276 (10.87) |
254 (10) |
84 (3.31) |
9 (0.35) |
3 (0.12) |
1,443 (56.81) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 1 | 2 | 3 | 6 | 14 | 15 | 15 | 17 | 15 | 7 | 1 | 0 | 96 |
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[32] |
ประชากร
แก้ชื่อ | จำนวนหมู่บ้านที่ครอบคลุม | จำนวนประชากร (ธันวาคม พ.ศ. 2560) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม พ.ศ. 2560) |
---|---|---|---|
เทศบาลตำบลกุมภวาปี (เมืองใหม่) | 10 หมู่บ้าน | 8,497 | 4,387 |
เทศบาลตำบลพันดอน (เมืองเก่า) | 6 หมู่บ้าน (หมู่ที่14 บางส่วน) | 5,668 | 2,486 |
เทศบาลตำบลห้วยเกิ้ง | 8 หมู่บ้าน | 5,424 | 1,616 |
เทศบาลตำบลปะโค | 17 หมู่บ้าน | 11,304 | 3,277 |
เทศบาลตำบลกงพานพันดอน | 15 หมู่บ้าน | 11,742 | 3,169 |
เทศบาลตำบลเวียงคำ | 18 หมู่บ้าน | 10,496 | 3,068 |
เทศบาลตำบลเชียงแหว | 13 หมู่บ้าน | 8,633 | 2,252 |
เทศบาลตำบลหนองหว้า | 11 หมู่บ้าน | 8,072 | 1,959 |
เทศบาลตำบลแชแล | 14 หมู่บ้าน | 10,311 | 2,865 |
องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใต้ | 9 หมู่บ้าน | 7,042 | 1,992 |
องค์การบริหารส่วนตำบลเสอเพลอ | 19 หมู่บ้าน | 11,959 | 3,342 |
องค์การบริหารส่วนตำบลสีออ | 8 หมู่บ้าน | 4,546 | 1,138 |
องค์การบริหารส่วนตำบลผาสุก | 10 หมู่บ้าน | 6,379 | 1,793 |
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลี่ | 14 หมู่บ้าน | 9,775 | 2,506 |
องค์การบริหารส่วนตำบลกุมภวาปี | 4 หมู่บ้าน | 4,393 | 1,529 |
ทั้งหมด | 174 | 124,214 | 37,379 |
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรอำเภอกุมภวาปี | |
---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร |
2551 | 125,193 |
2552 | 125,040 |
2553 | 125,095 |
2554 | 124,823 |
2555 | 125,036 |
2556 | 124,907 |
2557 | 125,090 |
2558 | 125,001 |
2559 | 124,599 |
2560 | 124,214 |
เศรษฐกิจ
แก้อำเภอกุมภวาปีมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 312,162 ไร่ และมีครอบครัวเกษตร 15,826 ครอบครัว ผลผลิตทางการเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ปอแก้ว และอื่น ๆ ส่วนในด้านอุตสาหกรรม มีโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 3 แห่งดังนี้
การขนส่ง
แก้อำเภอกุมภวาปีมีเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางรางที่สามารถเดินทางได้สะดวก ทั้งในรูปแบบของการเดินทางของประชาชนและการขนส่งสินค้า
ทางบก
แก้- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) เป็นเส้นทางจากกรุงเทพมหานคร ผ่านจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา, จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดอุดรธานี และสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย ระยะทางถึงอำเภอกุมภวาปีประมาณ 549 กิโลเมตร
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2023 (ถนนน้ำฆ้อง-วังสามหมอ) เชื่อมระหว่างอำเภอกุมภวาปี–อำเภอวังสามหมอ โดยปลายทางที่อำเภอวังสามหมอ มีระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากถนนมิตรภาพจรดถึงถนนพังโคนพัฒนา
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2025 (ถนนห้วยเกิ้ง-กุมภวาปี)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2316 (ถนนปะโค/ห้วยเกิ้ง-หนองแสง)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2350 (ถนนกุมภวาปี-หนองหาน)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2393 (ถนนกุมภวาปี-หนองกุงทับม้า)
ในอำเภอกุมภวาปีมีสถานีขนส่งผู้โดยสาร 1 แห่ง ได้แก่ สถานีขนส่งผู้โดยสารพันดอน ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพในตำบลพันดอน
ทางราง
แก้- สถานีรถไฟกุมภวาปี ตั้งอยู่ที่ตำบลพันดอน มีขบวนรถที่ผ่านต่อไปยังจังหวัดหนองคายให้บริการทุกวัน อาทิเช่น สายกรุงเทพ–หนองคาย, กรุงเทพ–อุดรธานี, นครราชสีมา–หนองคาย, นครราชสีมา–อุดรธานี และในช่วงเทศกาล อาทิ สงกรานต์และปีใหม่ จะมีการเปิดเดินขบวนรถสายกรุงเทพ–อุดรธานีเพิ่มเติม
- สถานีรถไฟห้วยเกิ้ง ตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
การศึกษา
แก้โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2
- สถาบันอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดอุดรธานี
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศูนย์วิทยพัฒนาจังหวัดอุดรธานี
- สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี
- วิทยาลัยเทคโนอีสานเหนือ 2 กุมภวาปี
- โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20
- โรงเรียนกุมภวาปี ตำบลกุมภวาปี
- โรงเรียนกุมภวาปีพิทยาสรรค์ ตำบลพันดอน
- โรงเรียนสีออศิลปศาสตร์ ตำบลท่าลี่
- โรงเรียนเสอเพลอพิทยาคม ตำบลเสอเพลอ
- โรงเรียนหนองแดงวิทยาคม ตำบลสีออ
- โรงเรียนห้วยเกิ้งพิทยาคาร บ้านโนนวัฒนา
- โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี
- โรงเรียนแชแลพิทยานุสรณ์ ตำบลแชแล
- โรงเรียนพันดอนวิทยา ตำบลพันดอน
- สังกัดเอกชน
- โรงเรียนมหาไถ่ศึกษา ตำบลกุมภวาปี
- โรงเรียนเทพปัญญา ตำบลกุมภวาปี
- โรงเรียนมัธยมน้ำตาลอนุสรณ์ ตำบลกุมภวาปี
- โรงเรียนเทคโนโลยีอีสานเหนือ 2 ตำบลตูมใต้
วัฒนธรรม
แก้อำเภอกุมภวาปีมีประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ดังนี้
- งานประเพณีแข่งเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดแข่งขันในช่วงหลังออกพรรษาของทุกปีที่ลำน้ำปาว บริเวณท่าน้ำศาลเจ้าปู่ย่า ตำบลกุมภวาปี
- ประเพณีสรงน้ำพระมหาธาตุเจดีย์บ้านดอนแก้ว จัดขึ้นที่วัดมหาธาตุเจดีย์ บ้านดอนแก้ว ตำบลกุมภวาปี
- งานสงกรานต์วัดจอมศรี บ้านน้ำฆ้อง จัดขึ้นที่วัดจอมศรี บ้านน้ำฆ้อง หมู่ที่ 15 ตำบลพันดอน
- งานบุญบั้งไฟแสน จัดขึ้นในวันที่ 28-29 พฤษภาคมของทุกปี ที่สวนธรรมชาติเทศบาลตำบลกุมภวาปีและวัดศรีนคราราม
- ประเพณีลอยกระทง จัดขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายนของทุกปี ที่ลำน้ำปาว เทศบาลตำบลกุมภวาปี
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ [1]แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนท้องที่อำเภอหนองหาร ๕ ตำบล คือ ตำบลบ้านจำปี ๑ ตำบล นายุง ๑ ตำบล สาแล ๑ ตำบลเชียงแหว ๑ ตำบลบ้านอุ่มจาร ๑ รวม ๕ ตำบลมาขึ้นในอำเภอกุมภาวาปี
- ↑ [2]ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในตำบลนาเพ็ญ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี และหมู่บ้านท่าลี่ บ้านดอกจันทน์ และบ้านนาทันของตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งโอนไปรวมขึ้นตำบลตูมใต้ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลตูมใต้ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): 53–54. 17 กันยายน 2498.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): 35–36. 30 พฤษภาคม 2499.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์, อำเภอเมืองขอนแก่น และกิ่งอำเภอกระนวน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น, อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ, อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย, อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี, อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม, อำเภอกบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์, อำเภอลำปลายมาศ และกิ่งอำเภอกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก, อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์,อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอพนมไพร และอำเภอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอสังขะ และอำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี, อำเภอพิบูลย์มังสาหาร และอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (107 ง): 2901–2928. 17 ธันวาคม 2500.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ กับอำเภอกุมภวาปี และอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (107 ง): 3052–3061. 16 ธันวาคม 2501.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภวาปี อำเภอบ้านดุง อำเภอโนนสัง และอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (29 ง): 884–898. 31 มีนาคม 2507.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (66 ง): 2126–2127. 17 สิงหาคม 2508.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโพธิศรีสำราญ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (102 ง): 3359–3360. 15 พฤศจิกายน 2509.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองหาร อำเภอหนองบัวลำภู อำเภอเพ็ญ อำเภอบ้านดุง กิ่งอำเภอนากลาง และกิ่งอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (36 ง): 1293–1330. 25 เมษายน 2510.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอกุมภวาปี และกิ่งอำเภอนากลาง จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (53 ง): 1652–1663. 11 มิถุนายน 2511.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (98 ง): 3115–3117. 29 ตุลาคม 2511.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลจำปี กิ่งอำเภอศรีธาตุ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (58 ง): 2016–2017. 24 มิถุนายน 2512.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภวาปี อำเภอบ้านผือ และอำเภอนากลาง จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (73 ง): 2401–2409. 5 สิงหาคม 2512.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อสุขาภิบาลโพธิศรีสำราญ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เป็นสุขาภิบาลโนนสอาด อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (4 ง): 119. 20 มกราคม 2513.
- ↑ [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภาวาปี อำเภอหนองหาน อำเภอเพ็ญ อำเภอโนนสัง อำเภอบ้านตุง กิ่งอำเภอศรีธาตุ และกิ่งอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงสุขาภิบาลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (198 ง): 3066–3067. 26 ธันวาคม 2515.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาพนม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแม่อาย อำเภอขามสะแกแสง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอหนองพอก อำเภอละอุ่น อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอศรีธาตุ พ.ศ. 2516" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (75 ก): 32–36. 28 มิถุนายน 2516. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2018-01-24.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่นแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภวาปี และอำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (112 ง): 2773–2279. 4 กันยายน 2516.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอโนนสะอาด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (9 ง): 185. 22 มกราคม 2517. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2018-01-09.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลายพระยา อำเภอห้วยเม็ก อำเภอละแม อำเภอแม่จริม อำเภอหนองกี่ อำเภอโคกปีบ อำเภอเกาะพะงัน อำเภอสนม อำเภอโซ่พิสัย อำเภอโนนสะอาด และอำเภอนาจะหลวย พ.ศ. ๒๕๒๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (31 ก): 326–330. 12 เมษายน 2520. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-12-03. สืบค้นเมื่อ 2018-01-24.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองแสง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (1 ง): 5. 1 มกราคม 2524. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2018-01-09.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (45 ง): 1073–1076. 30 มีนาคม 2525.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนากลาง อำเภอบ้านดุง อำเภอกุมภวาปี อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอวังสามหมอ และอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (175 ง): 162–184. 10 ตุลาคม 2529.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอนามน อำเภอพระยืน อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอจะแนะ อำเภอหนองหงส์ อำเภอนาโพธิ์ อำเภอเกาะยาว อำเภอแกดำ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโนนคูณ อำเภอควนโดน อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง และอำเภอตาลสุม พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (278 ก): 33–37. 31 ธันวาคม 2530.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอนากลาง อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองบัวลำภู อำเภอกุมภวาปี และอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): 153–186. 15 กันยายน 2532.
- ↑ "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (20 ง): 7. 11 มีนาคม 2540.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (51 ง พิเศษ): 23. 25 มิถุนายน 2540. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2018-01-31.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลตูมใต้ เป็นเทศบาลตำบลกุมภวาปี พ.ศ. ๒๕๔๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (84 ก): 1–2. 11 มีนาคม 2540. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-04-10. สืบค้นเมื่อ 2018-04-17.
- ↑ [4]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอซำสูง อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านแฮด อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง อำเภอซับใหญ่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่ออน อำเภอหาดสำราญ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง อำเภอวังเจ้า อำเภอวังยาง อำเภอเทพารักษ์ อำเภอบัวลาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสีดา อำเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน อำเภอภูเพียง อำเภอแคนดง อำเภอบ้านด่าน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอกุดรัง อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอหนองฮี อำเภอสุขสำราญ อำเภอเขาชะเมา อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอบ้านคา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอหนองหิน อำเภอเอราวัณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอศิลาลาด อำเภอมะนัง อำเภอบางเสาธง อำเภอโคกสูง อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอพนมดงรัก อำเภอศรีณรงค์ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอนาตาล อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2018-01-09.
- ↑ "Climate Normals for Udon Thani". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ผลผลิตโรงงานน้ำตาลเกษตรผล[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลผลิตโรงงานน้ำตาลกุมภวาปี[ลิงก์เสีย]
- ↑ ผลผลิตโรงงานน้ำตาลทรายแดง[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ของชาวอำเภอกุมภวาปี เก็บถาวร 2019-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์ประวัติอำเภอกุมภวาปี
- เว็บไซต์เกี่ยวกับวัฒนธรรมอำเภอกุมภวาปี เก็บถาวร 2021-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน