โรงเรียนสตรีราชินูทิศ
โรงเรียนสตรีราชินูทิศ เป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดอุดรธานี ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เดิมชื่อ "'โรงเรียนอุปถัมภ์นารี'" ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี โดยมีคุณหญิงศรีสุริยราชวรานุวัตรเป็นผู้นำการบริจาคทรัพย์และก่อตั้งโรงเรียนขึ้น เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2468
โรงเรียนสตรีราชินูทิศ Satri Rachinuthit School | |
---|---|
![]() | |
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 17°24′31″N 102°46′43″E / 17.408502°N 102.778645°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 17°24′31″N 102°46′43″E / 17.408502°N 102.778645°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ร.น. (R.N.) |
ประเภท | โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดของรัฐ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | สุทธิ อสุทธิ ปจฺจตฺตํ (ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์เป็นปัจจัยที่เกิดจากตนเอง) |
สถาปนา | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1009410102 |
ผู้อำนวยการ | ดร.ธิดาวรรณ นาคเสน |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมหญิงล้วน |
จำนวนนักเรียน | 3,567 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2562)[1] |
ภาษา | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
![]() |
สี | ██████ เหลือง - ฟ้า |
เพลง | มาร์ชสตรีราชินูทิศ |
ผู้ก่อตั้ง | สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชทานนาม) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระราชทานตราโรงเรียน) |
เว็บไซต์ | www.rachinuthit.ac.th |
ปัจจุบัน ตั้งอยู่ ณ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นหนึ่งในโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทยที่ยังคงเปิดทำการสอนในประเภทของโรงเรียนหญิงล้วน
ข้อมูลพื้นฐานแก้ไข
- ตราสัญลักษณ์
โรงเรียนได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรให้ใช้พระนามาภิไธยย่ออักษรไขว้ “ส.ผ.” ภายใต้มหามงกุฎ อันเป็นพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถใน รัชกาลที่ 5 พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง ในรัชกาลที่ 6 และ 7 เป็นตราประจำโรงเรียน โดยกำหนดให้มหามงกุฎเป็น สีเหลือง อักษร “ ส ” สีเหลือง “ ผ ” สีฟ้า และรองรับด้วยแพรแถบสีฟ้ามีอักษรว่า “สตรีราชินูทิศ” เป็นสีเหลือง[2]
- สีประจำโรงเรียน “ เหลือง – ฟ้า ” ( สีเหลืองอนุโลมให้เป็นสีทองได้)
- สีเหลืองเป็นสีแห่งความสูงศักดิ์ มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์
- สีฟ้าเป็นสีประจำวันศุกร์ อันเป็นวันประสูติของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
- ปรัชญา “สุทธิ อสุทธิ ปจฺจตฺตํ ” ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์เป็นปัจจัยที่เกิดจากตนเอง
- คำขวัญ เรียนเด่น วินัยดี มีศีลธรรม
ประวัติแก้ไข
โรงเรียนสตรีราชินูทิศ เดิมชื่อ "โรงเรียนอุปถัมภ์นารี" เป็นโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงในมณฑลอุดรธานี โดยคุณหญิงศรีสุริยราชวรานุวัตร ภริยาพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร สมุหเทศาภิบาลมณฑล เห็นความสำคัญในการศึกษาของกุลธิดาในมณฑล จึงได้ใช้เรือนที่อยู่ภายในจวนสมุหเทศาภิบาลเป็นโรงเรียนเปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พุทธศักราช 2460 มีนักเรียน 30 คนและมีหม่อมหลวงสาย วัชโรทัย ซึ่งได้เล่าเรียนมาจาก โรงเรียนสตรีวิทยา กรุงเทพมหานคร เป็นครูสอนโดยได้รับเงินเดือน ๆ ละ 30 บาท
ต่อมาในปี 2462 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต คุณหญิงศรีสุริยราชวรานุวัตร จึงออกแจ้งความเชิญชวนข้าราชการพ่อค้า ประชาชนในมณฑลอุดรธานี ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลถวายแด่พระองค์ เป็นการสนองพระราชดำริที่ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ทรงตั้งพระทัยที่จะบริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียนสตรีขึ้นในมณฑลอุดรธานี แต่สวรรคตเสียก่อน
เมื่อรวบรวมทรัพย์ที่บริจาคได้จึงมีหนังสือถึงกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 27/4326 ลงวันที่ 11ตุลาคม 2462 เพื่อนำกราบบังคมทูลถึงการถวายพระราชกุศล และขอรับพระราชทานนามโรงเรียนด้วยกระทรวงศึกษาธิการจึงมีหนังสือแจ้งถึงราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบ เมื่อพระองค์ทรงทราบจึงให้กรมอาลักษณ์คิดชื่อโรงเรียนจากนั้นทรงเลือกพระราชทานนามโรงเรียนว่า "ราชินูทิศ" ตามหนังสือแจ้งพระราชทานนามโรงเรียน ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2463 ซึ่งทางโรงเรียนถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนาโรงเรียนเป็นต้นมา
ต่อมาในปี 2468 ได้มีการก่อสร้างอาคารใหม่บริเวณริมหนองประจักษ์ชื่อว่าอาคาร "ราชินูทิศ" โดยสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ (กรมพระนครสวรรค์วรพินิต)เสด็จมาเปิดอาคาร
ในปี 2497 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม มาประกอบพิธีเปิดสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี ซึ่งใช้อาคาร "ราชินูทิศ" เป็นที่ตั้งสมาคมและท่านเห็นว่าอาคารหลังเล็กไป ประกอบกับมีน้ำล้อมรอบตั้ง 3 ด้านขยายออกไปอีกไม่ได้ จึงอนุมัติเงินสลากกินแบ่งรัฐบาลจำนวน 5,760,000 บาท สร้างอาคารใหม่บนถนนศรีสุขในเนื้อที่ 43 ไร่ 1 งานและสร้างเสร็จในปี 2499 และเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2500 ซึ่งเป็นอาคาร 1 ในปัจจุบัน ส่วนอาคารริมหนองประจักษ์ใช้เป็นสำนักงานการศึกษา เขต 9 และพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดในกาลต่อมา
โรงเรียนได้รับพระราชทานเครื่องหมายประจำโรงเรียนเป็นพระนามาภิไธยย่อ ของ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 จาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527 ซึ่งก่อนที่จะเป็นตราสัญลักษณ์ดังปัจจุบัน ทางโรงเรียน ได้มีตราสัญญลักษณ์ใช้อยู่ก่อน 2 แบบ
ในวันที่ 3 มกราคม 2523 นายสมภพ จันทรประภา ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มาตรวจเยี่ยมโรงเรียน และได้ท้วงถึงเกี่ยวกับตราประจำโรงเรียนว่า เป็นการไม่ถูกต้องควรทำการ ปรึกษาสำนักพระราชวัง เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป ทางโรงเรียนได้มีหนังสือไปยังสำนักราชเลขาธิการ ซึ่งทางสำนักราชเลขาธิการ(กรมราชเลขานุการในพระองค์ ในปัจจุบัน)แจ้งว่า อักษรย่อ ร.น. อยู่ภายใต้มหามกุฎนั้นไม่เหมาะสม จึงได้เปลี่ยน จาก ร.น.มาเป็น "โรงเรียนสตรีราชินูทิศ"
ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2526 นางสาวสมจิตต์ บุตรดีมี ผู้อำนวยการโรงเรียนขณะนั้น ได้มีหนังสือนำความกราบบังคมทูล ขอพระราชทานตราสัญลักษณ์ และได้รับพระบรมราชานุญาต เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2527 โดยใช้พระนามาภิไธยย่อ อักษรไขว้ "ผ.ส." ภายใต้มหามงกุฎอันเป็นพระนามาภิไธย ของ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีอักษรคำว่า "สตรีราชินูทิศ" บนแพรแถบสีฟ้า[2]
สิ่งที่เคารพนับถือแก้ไข
- พระบรมราชานุเสาวรีย์ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง "สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี" ทุกๆ ปีจะมีการบ่วงสรวงพระบรมราชานุเสาวรีย์ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี คือวันสถาปนาโรงเรียน
- หอพระพุทธชินราชจำลอง ตั้งอยู่หน้าอาคาร 4
- ลานต้นโพธิ์ (ลานปฏิบัติธรรม) ตั้งอยู่หน้าอาคาร เมตตา
- ศาลเจ้าแม่ทับทิม เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่โรงเรียน สตรีราชินูทิศ[3]
รายชื่ออาคารโรงเรียนสตรีราชินูทิศแก้ไข
- อาคารหลังแรก 2460
- อาคารราชินูทิศ อาคารแบบตะวันตกที่สวยงามนี้ เมื่อ 70 กว่าปี แต่ก่อนเคยเป็นสถานศึกษาของกุลสตรีชาวอุดรและใกล้เคียงแทนโรงเรียนอุปถัมภ์นารี เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมอุทิศพระราชกุศลถวาย สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ผู้ริเริ่มให้มีการสร้างสถานศึกษาแห่งนี้คือ พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร นามเดิม โพธิ์ เนติโพธิ์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร และคุณหญิงของท่าน โดยชักชวนข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ช่วยกันบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธา เมื่อสร้างแล้วเสร็จได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอพระราชทานนามโรงเรียน ทรงอนุโมทนาในส่วนกุศล และทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามว่า โรงเรียนราชินูทิศ เช่นเดียวกับสถานศึกษาในหัวเมืองต่างๆ ที่สร้างในโอกาสเดียวกัน ต่อมาโรงเรียนราชินูทิศ ย้ายไปยังที่ตั้งใหม่ อาคารนี้จึงใช้เป็นสำนักงานศึกษาธิการเขตระยะหนึ่งปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เพื่อเตรียมสร้างเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุดรธานี สร้างด้วยเงินบริจาคของสมาคม ฯ มี 2 ชั้น ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี[4]
- อาคาร 1 - อาคารสตรีราชินูทิศ
- อาคาร 2
- อาคาร 3
- อาคาร 4
- อาคาร 5
- อาคารเอนกประสงค์
- อาคารเมตตา
- อาคารศรีพิกุล
- อาคาร 80 ปี
- สระว่ายน้ำ
รายนามผู้บริหารโรงเรียนสตรีราชินูทิศแก้ไข
แผนการเรียนแก้ไข
มัธยมศึกษาตอนต้นแก้ไข
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - ม.3) 14 ห้องเรียน แผนการเรียน มีดังนี้
- ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ 1 ห้อง
- ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ 1 ห้อง
- ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมอัจฉริยภาพทางภาษาอังกฤษสู่มาตรฐานสากล 1 ห้อง
- ห้องเรียนทั่วไป 11 ห้อง
มัธยมศึกษาตอนปลายแก้ไข
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.4-ม.6) 16 ห้องเรียน แผนการเรียน มีดังนี้
- ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ (Gifted-Math) 2 ห้อง
- ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สควท.) 1 ห้อง
- ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางภาษาอังกฤษสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 1 ห้อง
- แผนการเรียนที่ภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์ 1 ห้อง
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 6 ห้อง
- แผนการเรียนคณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ 2 ห้อง
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน 2 ห้อง
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาฝรั่งเศส 1 ห้อง
- แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาญี่ปุ่น 1 ห้อง
คณะสีโรงเรียนสตรีราชินูทิศแก้ไข
โรงเรียนสตรีราชินูทิศ ได้จัดสีตามหมู่คณะสีให้กับนักเรียนขึ้นเพื่อให้มีความสามัคคีในหมู่คณะทั้งระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย มีกิจกรรมร่วมกันในโรงเรียนและนอกโรงเรียนและให้นักเรียนหญิงทุกคนได้รู้จักความรักและสามัคคีในหมู่คณะ โรงเรียนสตรีราชินูทิศได้แบ่งคณะสีออกเป็น 7คณะสี ดังนี้
องค์กรภายในโรงเรียนแก้ไข
- สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสตรีราชินูทิศ
- สมาคมศิษย์สตรีราชินูทิศ
- มูลนิธิศิษย์เก่าสตรีราชินูทิศ
- เครื่อค่ายสมาคมผู้ปกครอง
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงแก้ไข
- เตือนใจ นุอุปละ อดีตรัฐมนตรี และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
- ฝน ธนสุนทร - เตือนใจ ศรีสุนทร
- สิปโปทัย ฉันทะสิริวัฒน์ - จิ๋วจิ๋ว วีอาร์โซ VRZO
- วริศรา นาคำ - แตงไทย AF10
- เจนนิเฟอร์ โจนส์ - เจนนี่ มิสทีนไทยแลนด์ ปี2016
- อิษยา ฮอสุวรรณ - อุ้ม นักแสดงช่อง 3
- จิรประภา ขาววิสุทธิ์ - ปราดเปรียว นางแบบ/นักแสดงอิสระ
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ จำนวนนักเรียน[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 "สารสนเทศโรงเรียนสตรีราชินูทิศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-07. สืบค้นเมื่อ 2017-10-06.
- ↑ บทความโรงเรียนสตรีราชินูทิศ
- ↑ พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
บทความเกี่ยวกับสถานศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |