เทียบจุฑา ขาวขำ
เทียบจุฑา ขาวขำ (เกิด 27 ธันวาคม พ.ศ. 2498) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย เลขานุการกรรมาธิการการกระจายอำนาจท้องถิ่นและการปกครองรูปแบบพิเศษ อดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี[1] และเป็นอดีตหนึ่งในแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
เทียบจุฑา ขาวขำ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | |
ก่อนหน้า | วิเชียร ขาวขำ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2498 อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | วิเชียร ขาวขำ |
ประวัติ
แก้ชีวิตครอบครัว
แก้เทียบจุฑา ขาวขำ เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี สมรสกับนายวิเชียร ขาวขำ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี 2 สมัย
การศึกษา
แก้- ศิลปศาสตรบัณฑิต (การบริหารทรัพยากรมนุษย์) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
- รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การทำงาน
แก้เทียบจุฑา ขาวขำ เป็นนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี และเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี (อบจ.) ต่อมาในปี 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต 9 สังกัดพรรคเพื่อไทย และในปี 2562 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต 8 สังกัดพรรคเพื่อไทย
เทียบจุฑา ขาวขำ เป็นประธานชมรมแม่บ้านท้องถิ่นไทย[2]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้เทียบจุฑา ขาวขำ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 3 สมัย
1.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย
2.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อไทย
3.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประชา"ชน"ไชยยศ"สนามอุดรฯ
- ↑ “ส.ส.เทียบจุฑา ขาวขำ” ประธานชมรมแม่บ้านท้องถิ่นไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔