ถนนนิตโย
ถนนนิตโย หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 สายอุดรธานี–นครพนม เป็นทางหลวงแผ่นดินแนวตะวันตก–ตะวันออก เชื่อมต่อจังหวัดอุดรธานี จังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนมเข้าด้วยกัน โดยชื่อ“นิตโย”ได้รับการตั้งชื่อดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่นายโสภณ นิตตะโย อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางชุมแพ โดยมีระยะทางรวมประมาณ 240.746 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 15
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 | |
---|---|
ถนนนิตโย | |
ถนนนิตโย ฝั่งมุ่งหน้าทิศตะวันตก บริเวณสามแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2028 ในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ส่วนหนึ่งของ | |
ความยาว | 240.746 กิโลเมตร (149.593 ไมล์) |
ประวัติ | |
มีขึ้นเมื่อ | ก่อน พ.ศ. 2480–ปัจจุบัน |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศตะวันตก | ถ.ทหาร ใน อ.เมือง จ.อุดรธานี |
| |
ปลายทางทิศตะวันออก | ถ.สุนทรวิจิตร ใน อ.เมือง จ.นครพนม |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | |
ระบบทางหลวง | |
รายละเอียดของเส้นทาง
แก้ถนนนิตโยเริ่มจากบริเวณห้าแยกวงเวียนน้ำพุ ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนทหาร ถนนอุดรดุษฎี ถนนอดุลยเดช และถนนโพศรีทั้งฝั่งทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของวงเวียน (ถนนทหาร และถนนอุดรดุษฎี เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีเส้นทางไปทางทิศตะวันออก ในช่วงแรกมีชื่อว่าถนนโพศรี และเปลี่ยนเป็นชื่อถนนนิตโยเมื่อข้ามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านเทศบาลตำบลหนองบัวในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี ผ่านอำเภอหนองหาน อุทยานประวัติศาสตร์บ้านเชียง และเข้าสู่เขตจังหวัดสกลนครที่อำเภอสว่างแดนดิน ผ่านอำเภอสว่างแดนดิน อำเภอพังโคน อำเภอพรรณานิคม อำเภอเมืองสกลนคร เทศบาลตำบลท่าแร่ อำเภอกุสุมาลย์ และเข้าสู่เขตจังหวัดนครพนมที่อำเภอเมืองนครพนมไปบรรจบเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 (ถนนสุนทรวิจิตร) ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 240.746 กิโลเมตร
ถนนนิตโยเดิมมีชื่อเรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี-ธาตุนาเวง-นครพนม"[1] ได้รับการตั้งชื่อดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493[1] ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่นายโสภณ นิตตะโย อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางชุมแพ[1]
แต่เดิมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจรเท่านั้น โดยได้เริ่มขยายเป็น 4 ช่องจราจรในช่วงอำเภอเมืองอุดรธานีถึงอำเภอหนองหาน, อำเภอพรรณานิคมถึงบ้านท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร และช่วงท่าอากาศยานนครพนมถึงอำเภอเมืองนครพนม ต่อมาช่วงอำเภอพังโคนถึงอำเภอพรรณานิคมได้รับการขยายเป็นช่วงแรก และช่วงอำเภอหนองหานถึงอำเภอพังโคน และช่วงบ้านท่าแร่ถึงท่าอากาศยานนครพนมได้รับการขยายจนแล้วเสร็จตลอดสายในปี พ.ศ. 2564[2]
รายชื่อทางแยก
แก้จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
ถนนโพศรี ห้าแยกน้ำพุ - ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ | |||||
อุดรธานี | 0.000 | ห้าแยกน้ำพุ | ถนนอุดรดุษฎี ไป จังหวัดหนองคาย | ถนนทหาร ไป จังหวัดขอนแก่น | |
เชื่อมต่อจาก: ถนนโพศรี จาก แยกบ้านเลื่อม | |||||
อุดรธานี−สกลนคร | |||||
อุดรธานี | 3.910 | แยกสันตพล | ถนนเลี่ยงเมืองอุดรธานี ไป จังหวัดหนองคาย | ถนนเลี่ยงเมืองอุดรธานี ไป จังหวัดขอนแก่น | |
33.833 | ทล.2324 ไป อำเภอหนองหาน | ไม่มี | |||
34.801 | แยกหนองหาน | ทล.2312 ไป อำเภอพิบูลย์รักษ์, อำเภอเพ็ญ | ทล.2350 ไป อำเภอกุมภวาปี | ||
36.029 | ทล.2324 ไป อำเภอหนองหาน | ไม่มี | |||
42.687 | แยกหนองเม็ก | ทล.2096 ไป อำเภอบ้านดุง | อด.2015 ทางหลวงชนบท อด.2015 ไป อำเภอไชยวาน | ||
52.060 | แยกบ้านต้อง | ไม่มี | ทล.2239 ไป อำเภอไชยวาน | ||
สกลนคร | 76.867 | ทล.2091 ไป อำเภอเจริญศิลป์ | ไม่มี | ||
77.068 | แยกสว่างแดนดิน | ถนนเจริญชัย ไปวิทยาลัยเทคนิคสว่างแดนดิน | ทล.2342 ไป อำเภอส่องดาว | ||
94.500 | แยกดอนเขือง | สน.2042 ทางหลวงชนบท สน.2042 ไปบ้านเดื่อศรีคันชัย บรรจบ ทล.222 | สน.2041 ทางหลวงชนบท สน.2041 ไปบ้านโคกกลาง, บ้านเหล่าใหญ่ บรรจบ ทล.2342 | ||
107.299 | แยกพังโคน | ทล.222 ไป จังหวัดบึงกาฬ | ทล.227 ไป จังหวัดกาฬสินธุ์ | ||
121.325 | ทล.2094 ไป อำเภออากาศอำนวย | ไม่มี | |||
122.400 | − | เข้า อำเภอพรรณานิคม | ไม่มี | ||
137.743 | แยกสูงเนิน | ทล.2355 ไป อำเภออากาศอำนวย | ไม่มี | ||
139.350 | แยกนาหัวบ่อ | ถนนนิตโยสายใน เข้าบ้านดงมะไฟ | ไม่มี | ||
140.810 | แยกดงมะไฟ | ถนนนิตโยสายใน เข้าบ้านดงมะไฟ | ไม่มี | ||
155.030 | แยกบ้านธาตุ | ถนนนิตโย ไป จังหวัดนครพนม | ทล.241 ไป อำเภอธาตุพนม | ||
ตรงไป: ทล.2347 ไป จังหวัดสกลนคร | |||||
สกลนคร-นครพนม | |||||
สกลนคร | 156.650 | แยกสนามบินสกลนคร | ไม่มี | 2427 ทล.2427 ไป ท่าอากาศยานสกลนคร | |
160.43 | แยกหนองศาลา | สน.2056 สน.2056 ไปบ้านหนองศาลา | ไม่มี | ||
172.161 | แยกดอนเชียงบาน | ทล.2346 ไป อำเภอนาหว้า | ไม่มี | ||
176.859 | แยกท่าแร่ | ทล.2132 ไป อำเภอศรีสงคราม | ไม่มี | ||
173.003 | − | ไม่มี | สน.2013 ทางหลวงชนบท สน.2013 ไป อำเภอโพนนาแก้ว, อำเภอโคกศรีสุพรรณ | ||
192.200 | ทล.2028 ไป อำเภอโพนสวรรค์ | ไม่มี | |||
นครพนม | 213.993 | ไม่มี | ทล.2276 ไป อำเภอปลาปาก | ||
236.072 | แยกบ้านหนองญาติ | ไม่มี | ทล.2033 ไป อำเภอนาแก | ||
240.553 | แยกบ้านน้อยหนองเค็ม | ถนนเลี่ยงเมืองนครพนม ไป จังหวัดบึงกาฬ | ถนนเลี่ยงเมืองนครพนม ไป จังหวัดมุกดาหาร | ||
240.746 | ถนนสุนทรวิจิตร ไป จังหวัดบึงกาฬ | ถนนสุนทรวิจิตร ไป จังหวัดมุกดาหาร | |||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินและสะพานขนาดใหญ่ - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493
- ↑ ทางหลวงหมายเลข 22 : ถนนนิตโยที่เปลี่ยนไป
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22
- ระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง เก็บถาวร 2016-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน