ถวิล สุนทรศารทูล
ถวิล สุนทรศารทูล เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร 2 สมัย และเป็นอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
ถวิล สุนทรศารทูล | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลถนอม กิตติขจร |
ดำรงตำแหน่ง 19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลถนอม กิตติขจร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2450 จังหวัดนครปฐม |
เสียชีวิต | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 (68 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงมาลินี ทองหยิบ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กระทรวงมหาดไทย กองอาสารักษาดินแดน |
ประจำการ | พ.ศ. 2472 – พ.ศ. 2511 |
ยศ | รองอำมาตย์โท[1] นายกองเอก[2] |
บังคับบัญชา | กระทรวงมหาดไทย กองอาสารักษาดินแดน |
ประวัติ แก้ไข
นายถวิล สุนทรศารทูล เกิดวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2450 ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2519[3] เป็นชาวนครปฐมโดยกำเนิดและเป็นนายกสมาคมชาวนครปฐมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ตราบจนถึงแก่อนิจกรรมเป็นบุตรนายสุด และ นางทิม สุนทรศารทูล
การทำงาน แก้ไข
ถวิล สุนทรศารทูล เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่ง นายอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี[4], นายอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง[5] ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นครพนม[6] อธิบดีกรมที่ดิน และเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2506 ถึงปี พ.ศ. 2511[7] เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2511[8] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2512 ได้รับการแต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งมีจอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย บทบาทสำคัญคือ การได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งองค์การเก็บค่าผ่านทาง (ต่อมาคือ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย)[9] แต่รัฐบาลชุดดังกล่าวสิ้นสุดลงเพราะจอมพลถนอม นายกรัฐมนตรี ปฏิวัติยึดอำนาจรัฐบาลของตนเอง เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514[10]
หลังจากนั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกครั้ง ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร อีกเช่นเคย จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
ถวิล สุนทรศารทูล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้ไข
- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[14]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[15]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[16]
- พ.ศ. 2509 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[17]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2505 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้ไข
- ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2508 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว ชั้นที่ 1 (ชั้นสายสะพายชั้นพิเศษ)[18]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศพลเรือน, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๘๔, ๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๔๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๑ มิถุนายน ๒๔๙๘
- ↑ ประวัติเมืองนครปฐมพิมพ์แจกเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพนาย ถวิล สุนทรศารทูล
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ข้าราชการลาออกและย้ายบรรจุราชการ
- ↑ จังหวัดตรัง
- ↑ "ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-01. สืบค้นเมื่อ 2019-10-04.
- ↑ ประวัติศาสตร์ 117 ปี สิงห์ขาว ยึดคลองหลอด
- ↑ วุฒิสภาชุดที่ 3
- ↑ "ประวัติ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-27. สืบค้นเมื่อ 2019-10-04.
- ↑ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑ (ยึดอำนาจการปกครอง)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๔๐ ง หน้า ๑๒๑๙, ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒๓, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๘ กรกฎาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑ ตุลาคม ๒๕๐๙