โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล (อังกฤษ: Udon Pittayanukoon School) เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดอุดรธานี ประเภทสหศึกษา ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ถนนศรีสุข ตรงข้ามสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี บนถนนเส้นเดียวกับโรงเรียนอนุบาลอุดรธานี โรงเรียนสตรีราชินูทิศ และโรงเรียนบ้านหมากแข้ง ด้านหลังติดกับถนนศรีชมชื่น มีชื่อเรียกอย่างย่อว่า อุดรพิทย์ อักษรย่อ อ.พ. หรืออักษรย่อภาษาอังกฤษ UP
โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล | |
---|---|
Udon Pittayanukoon School | |
ตราประจำโรงเรียน | |
ที่ตั้ง | |
77 ถนนศรีสุข ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | อ.พ. / UP |
ประเภท | โรงเรียนสังกัด สพฐ. โรงเรียนประจำจังหวัด โรงเรียนประเภทสหศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คติพจน์ | นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี |
ก่อตั้ง | 21 กันยายน พ.ศ. 2444 (พ.ศ. 2445 ถ้านับตามสากล) (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) |
ผู้ก่อตั้ง | พันเอก มหาอำมาตย์ตรี พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา |
ผู้อำนวยการโรงเรียน | ดร.ลำเพย พิเคราะห์แนะ |
ครู/อาจารย์ | 235 คน[1] |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย |
จำนวนนักเรียน | 4,516 คน ปีการศึกษา 2564[2] |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม |
สี | น้ำเงิน-ชมพู |
เพลง | มาร์ชโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล |
คติพจน์ | อุดรพิทย์คือผืนนา ลูกศิษย์ลูกหาคือต้นกล้า มวลประชา ครูอาจารย์ ลูกจ้าง คือน้ำและปุ๋ย |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน | ตะแบก |
เว็บไซต์ | www.Udonpit.ac.th |
แผนการเรียน
แก้มัธยมศึกษาตอนต้น
แก้- โครงการส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ (สคว.ม.ต้น)
- โครงการเรียนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (EP : English Program)
- ห้องเรียนโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ(ม.ต้น)
- ห้องเรียนปกติ
มัธยมศึกษาตอนปลาย
แก้- โครงการส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สควท.)
- ห้องเรียนโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ(ม.ปลาย)
- แผนการเรียนเน้นความสามารถทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (แผน 1 / แผนวิทย์-คณิต)
- แผนการเรียนเน้นความสามารถทางคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ (แผน 2 / แผนอังกฤษ-คณิต)
- แผนการเรียนเน้นความสามารถทางภาษาอังกฤษและภาษาจีน (แผน 3 / แผนจีน)
- แผนการเรียนเน้นความสามารถทางภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น (แผน 4 / แผนญี่ปุ่น)
ชื่อ "อุดรพิทยานุกูล" มีปรากฏครั้งแรกในใบบอกมณฑลอุดรที่ 121/1207 ลงวันที่ 9 ตุลาคม ร.ศ.121 ที่พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลอุดร กราบทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เรื่องขอถวายพระราชกุศลในการจัดสร้างโรงเรียนหนังสือไทยบ้านหมากแข้ง
ช่วงที่ 1 : จากโรงเรียนหนังสือไทย สู่ โรงเรียนประจำมณฑล
แก้โรงเรียนหนังสือไทยที่แต่เดิมพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (ในขณะนั้น) ทรงสร้างไว้นั้นเกิดเพลิงไหม้ การฝึกสอนนักเรียนต้องอาศัยสอนอยู่ที่เรือนพักข้าราชการ พระองค์เจ้าวัฒนาจึงได้โปรดให้พนักงานจัดสร้างโรงเรียนขึ้นที่ด้านเหนือที่ว่าการมณฑลข้างวัดมัชฌิมาวาส เป็นอาคารหนึ่งหลัง ยาว 10 วา 2 ศอก กว้าง 4 วา พื้นกระดาน ฝากระดานมุงแฝก
ครั้นวันที่ 20 กันยายน ร.ศ.121 พระองค์ได้อาราธนาพระสงฆ์ 7 รูป เจริญพระพุทธมนต์ แล้วในวันรุ่งขึ้น ได้เสด็จไปทรงบาตรเป็นการฉลองโรงเรียน โดยพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา ได้ประทานนามโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล" และได้เปิดสอนนักเรียน ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน ร.ศ.121 (พุทธศักราช 2445) เป็นต้นมา
ในโอกาสเดียวกัน ข้าราชการ พ่อค้า ราษฎร ได้พร้อมใจกันออกเงินบำรุงอุดหนุนซื้อเครื่องเล่าเรียน วัสดุใช้สอยในโรงเรียน และเป็นค่าจ้างครูสำหรับสอนนักเรียน รวมเงิน 1,146 บาท 24 อัฐ ผู้ที่ออกทรัพย์ได้พร้อมใจกันขอพระราชทานถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระองค์ทรงอนุโมทนาในการกุศลนี้ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 19 หน้า 739 ฉบับวันที่ 14 ธันวาคม ร.ศ. 121 นอกจากนี้ ยังปรากฏหลักฐานที่มีการออกทรัพย์และบริจาคทรัพย์เพื่อบำรุงโรงเรียนเรื่อยมา ทั้งใน ร.ศ. 126 ร.ศ. 129 และใน พ.ศ. 2469 เป็นต้น
ช่วงที่ 2 (พ.ศ. 2477 - 2510) : ศรีสุขสุขีแล้ว เพริศแพร้วพิทยา
แก้เวลาล่วงเลยมาจนถึงต้นปีพุทธศักราช 2477 โรงเรียนอุดรพิทยานุกูลได้รับอนุญาตให้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 และ 8 ถือเป็นโรงเรียนแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดสอนระดับดังกล่าว ทั้งนี้ ก็โดยการผลักดันของ ม.ล.มานิจ ชุมสาย ศึกษาธิการภาคและครูใหญ่ในขณะนั้น
เมื่อเวลาผ่านไปสถานที่เรียนเริ่มคับแคบจึงได้ย้ายมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบันนี้
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2478 มีการสร้างอาคารเรียนหลังแรก เป็นอาคารไม้ใต้ถุนโล่ง ลักษณะเป็นรูปตัวอี สร้างอาคารไม้ 2 ชั้นจำนวน 8 ห้องเรียน โรงฝึกพลศึกษา อาคารห้องสมุด อาคารสังคม และดนตรี หอประชุม และโรงอาหาร (ทั้งหมดนี้รื้อถอนไปหมดแล้วในช่วงต่อมา)
ช่วงที่ 3 (พ.ศ. 2511 - 2520) : สู่ความทันสมัย ก้าวไกลการศึกษา พัฒนาวิชาชีพ
แก้ช่วงนี้โรงเรียนเริ่มใช้หลักสูตรโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสม - Comprehensive School(คมส.) แบบ 1 รุ่นที่ 2 (ปีการศึกษา 2511) ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามโครงการพัฒนาการของกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้ได้รับงบประมาณเพื่อก่อสร้างและปรับปรุงอาคารสถานที่ ให้เอื้อต่อการเรียนการสอนทางด้านวิชาชีพ มีการสร้างอาคารเพิ่ม เช่น อาคารวิทยาศาสตร์และห้องสมุด (อาคาร 5 เดิม) อาคารธุรกิจศึกษา (อาคาร 2) โรงฝึกพลศึกษา โรงฝึกงานช่างทั่วไป ช่างเขียนแบบ ช่างไฟฟ้าวิทยุ ช่างยนต์และช่างกล (กลุ่มอาคารโรงฝึกงานในปัจจุบัน) รวมทั้งบ้านพักครูและเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ มีการสร้างห้องสุขาเพิ่มเติม และปรับปรุงรั้วและประตูโรงเรียนอีกด้วย มีการสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น 24 ห้องเรียน (อาคาร 4 ในปัจจุบัน) โดยได้ดำเนินการก่อสร้างเป็น 2 ตอน ครึ่งแรกสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2518 ครึ่งหลังสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2520
โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2518 นี้เองโรงเรียนได้รับความกรุณาจากกระทรวงมหาดไทยยกที่ดินบริเวณบ้านพักอัยการพิเศษประจำ เขต 4 เนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา ด้านทิศตะวันตกของโรงเรียน เพื่อขยายบริเวณที่จะปรับปรุงเป็นสนามกีฬาระดับมาตรฐาน จากนั้น ได้ปรับปรุงและสร้างสนามบาสเก็ตบอล อัฒจันทร์เชียร์ และสร้างหลังคาสำหรับทางเดินเชื่อม ระหว่างอาคารเรียนตามลำดับ
ช่วงที่ 4 (พ.ศ. 2521 - 2542) : ยุคแห่งพระกรุณา คุณธรรมนำหน้า วิชาตามหลัง
แก้ได้ดำเนินการสร้างอาคารสหกรณ์โดยได้รับการอนุเคราะห์เงินบริจาคสมทบส่วนหนึ่งจากคณะครู-อาจารย์ และ ผู้ปกครองนักเรีย รวมทั้งอาคารธรรมสถาน หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งเป็นอาคารธรรมสถานหลังแรกของประเทศไทยที่สร้างในสถานศึกษาตามนโยบายนำวัดและศาสนาเข้ามาสู่โรงเรียน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบแปลนให้แก่ทางโรงเรียน และพระราชทานนามพระพุทธรูปองค์ประธานแห่งธรรมสถานนี้ว่า "พระพุทธศรีอุดรมงคล ทศพลธรรมะประภัสสร"
ในช่วงนี้มีการสร้างอาคาร "รัตนโกสินทร์สมโภช 2525" ขึ้น และได้มีการจัดสร้างสนามหญ้าและสวนหย่อมขนาดใหญ่หน้าอาคารรัตนโกสินทร์สมโภชฯ ในบริเวณอาคารไม้รูปตัว อี ที่ถูกรื้อถอนย้ายไปปลูกสร้างใหม่ (อาคาร 3 ในปัจจุบัน) และได้จัดสร้างอาคารอเนกประสงค์เพื่อใช้ เป็นอาคารห้องสมุดและหอประชุม แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2531
ช่วงนี้มีการสร้างอัฒจรรย์ขนาดใหญ่ด้านทิศตะวันตก และติดตั้งหลอดไฟสปอตไลท์รอบสนามฟุตบอล สร้างทางเดินระหว่างอาคารเพิ่มเติม พ.ศ. 2533 ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารอาคาร 6 ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกตามแนวรั้วโรงเรียน ด้านถนนอุดรพิทย์ ท้ายที่สุดของช่วงนี้ ได้ก่อสร้างอาคารศูนย์กีฬาแบบมาตรฐาน ในบริเวณอาคารเกษตรและอาคาร คหกรรมเดิม
ช่วงที่ 5 (พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน) : ศตวรรษแห่งปัญญา อนุสรณ์แห่งประชา อุดรพิทยานุกูล
แก้พ.ศ. 2544 โรงเรียนจัดงานฉลอง "100 ปี อุดรพิทยานุกูล" อย่างยิ่งใหญ่ มีการสร้างอาคารโรงอาหารแห่งที่สอง บริเวณหลังโรงฝึกพลศึกษา
พ.ศ. 2547 ก่อสร้างอาคารเรียนสามชั้น บริเวณสนามเทนนิสด้านทิศเหนือ ให้ชื่อว่า "อาคาร 100 ปี อุดรพิทยานุกูล" โดยศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ร่วมกันสมทบทุนก่อสร้าง หลังจากนี้ ได้มีการรื้อถอนอาคาร 5 และสร้างอาคารเรียนสามชั้น เป็นอาคารวิทยาศาสตร์ เริ่มใช้ปีการศึกษา 2549 นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงทางเดินระหว่างอาคาร ถนนทางเข้า-ออกโรงเรียน และสร้างที่จอดรถเพิ่มเติม รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ศาลพระภูมิประจำโรงเรียน
พ.ศ. 2550-2551 ได้ปรับปรุงโรงอาหารใหม่ให้เป็นโรงอาหารสองชั้น ปรับปรุงอัฒจรรย์เชียร์และปะรำพิธีบริเวณสนามฟุตบอลแล้ว และล่าสุด ในปี 2552 ก็ได้จัดสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ คืออาคาร 8 (อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา) ตั้งอยู่หลังอาคาร 5 ทางประตูด้านทิศตะวันออก บนสระมรกตเดิม เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนที่มากขึ้นในปัจจุบัน และสร้างอาคารเพิ่มเติมข้างอาคารอเนกประสงค์ แทนที่ร้านค้าสหกรณ์โรงเรียน เพื่อใช้เป็นสำนักงานของสหกรณ์ออมทรัพย์เสมาธรรมจักร
พ.ศ. 2556 โรงเรียนจัดงานฉลอง "111 ปี อุดรพิทยานุกูล" อย่างยิ่งใหญ่และได้จัดตั้งมูลนิธิ "111ปีอุดรพิทย์เพื่อการศึกษา"ภายใต้การนำของ ฯพณฯ อำนาจ ผการัตน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายประยูร ธีระพงษ์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล และนายวัชรินทร์ ศรีบุรินทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอุดรพิทยานุกูลในขณะนั้น
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน
แก้ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | วุฒิการศึกษา | ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง | ตำแหน่ง |
1 | นายสุข นิจมานพ | - | พ.ศ. 2445 - 2446 | ครูใหญ่ |
2 | ขุนบำรุงนิการกิจ | - | พ.ศ. 2447 - 2448 | ครูใหญ่ |
3 | นายทอง อนงค์ไทย | - | พ.ศ. 2449 - 2450 | ครูใหญ่ |
4 | พระสิมมา | - | พ.ศ. 2451 - 2451 | ครูใหญ่ |
5 | นายเจิม | - | พ.ศ. 2452 - 2454 | ครูใหญ่ |
6 | ขุนดรุณการวรสาสน์ | - | พ.ศ. 2455 - 2457 | ครูใหญ่ |
7 | นายทัด วีระกุล | - | พ.ศ. 2458 - 2459 | ครูใหญ่ |
8 | ขุนอักษรสรรค์ (เฮง สีตะธนี) | - | พ.ศ. 2460 - 2463 | ครูใหญ่ |
9 | ขุนชำนาญขบวนสอน | - | พ.ศ. 2464 - 2465 | ครูใหญ่ |
10 | ขุนประสมคุรุการ | - | พ.ศ. 2466 - 2470 | ครูใหญ่ |
11 | นายวงศ์ พิรานนท์ | - | พ.ศ. 2471 - 2472 | ครูใหญ่ |
12 | นายเอื้อ จันทรวงศ์ | - | พ.ศ. 2473 - 2473 | ครูใหญ่ |
13 | ขุนวิจักษ์จรรยา | - | พ.ศ. 2474 - 2476 | ครูใหญ่ |
14 | หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย | - | พ.ศ. 2477 - 2479 | ครูใหญ่ |
15 | นายเทือก กุสุมา ณ อยุธยา | ป.ม., อ.บ. | พ.ศ. 2480 - 2482 | ครูใหญ่ |
16 | นายกนก มาณวิท | ป.ม., อ.บ. | พ.ศ. 2483 - 2483 | ครูใหญ่ |
17 | นายแบน ตุงคะสมิต | ป.ม. | พ.ศ. 2484 - 2486 | ครูใหญ่ |
18 | นายเดช เดชกุญชร | ป.ม. | พ.ศ. 2487 - 2489 | ครูใหญ่ |
19 | นายวิศาล ศิวารัตน์ | ป.ม. | พ.ศ. 2490 - 2491 | ครูใหญ่ |
20 | นายผ่อน ชีวะประเสริฐ | ป.ม. | พ.ศ. 2492 - 2495 | ครูใหญ่ |
21 | นายสิทธิ์ บัณฑิตวงศ์ | ป.ม. | พ.ศ. 2496 - 2502 | อาจารย์ใหญ่ |
22 | นายแก้ว อุปพงศ์ | ป.ม. | พ.ศ. 2503 - 2510 | อาจารย์ใหญ่ |
23 | นายประยูร ธีระพงษ์ | พ.ม., น.บ., Grad., Dip., Ed. (Alta) | พ.ศ. 2511 - 2516 | อาจารย์ใหญ่ |
23 | นายประยูร ธีระพงษ์ | พ.ม., น.บ., Grad., Dip., Ed. (Alta) | พ.ศ. 2517 - 2521 | ผู้อำนวยการ |
24 | นายสนิทพงษ์ นวลมณี | กศ.บ., น.บ. | พ.ศ. 2522 - 2526 | ผู้อำนวยการ |
25 | นายดิลก วัจนสุนทร | M.Ed. | พ.ศ. 2527 - 2527 | ผู้อำนวยการ |
26 | นายอนันต์ มาศยคง | พ.ม., ศศ.บ. | พ.ศ. 2527 - 2529 | ผู้อำนวยการ |
27 | นายมงคล สุวรรณพงศ์ | นบ.ท., Grad., Dip., Ed. (Admin) | พ.ศ. 2529 - 2532 | ผู้อำนวยการ |
28 | นายคำพันธุ์ คงนิล | กศ.บ., Grad., Dip., Ed. (Alta) | พ.ศ. 2532 - 2536 | ผู้อำนวยการ |
29 | นายประดิษฐ์ ศรีวรมาศ | พ.ม., กศ.บ., พบ.ม. | พ.ศ. 2536 - 2537 | ผู้อำนวยการ |
30 | นายวิเชียร ชูประยูร | วท.บ., พ.ม., ค.บ. (เกียรตินิยม (จุฬา) | พ.ศ. 2537 - 2540 | ผู้อำนวยการ |
31 | นายมณเฑียร ศรีภูธร | พ.ม., วท.บ., น.บ., นศ.บ., ศษ.บ., รป.บ., ค.ม. (บริหารการศึกษา) | พ.ศ. 2540 - 2543 | ผู้อำนวยการ |
32 | นายณรงค์ ชาติภรต | กศ.บ., น.บ. | พ.ศ. 2543 - 2552 | ผู้อำนวยการ |
33 | นางสาวนิวรณ์ สุทธิบุญ | - | พ.ศ. 2553 - 2553 | ผู้อำนวยการ |
34 | นายวันชัย วิเศษโพธิศรี | - | พ.ศ. 2554 - 2555 | ผู้อำนวยการ |
35 | นายวัชรินทร์ ศรีบุรินทร์ | - | พ.ศ. 2555 - 2556 | ผู้อำนวยการ |
36 | นายประมวล โสภาพร | - | พ.ศ. 2556 - 2557 | ผู้อำนวยการ |
37 | นายสุจินต์ ขาวแก้ว | - | พ.ศ. 2557 - 2560 | ผู้อำนวยการ |
38 | ว่าที่ร้อยตรี บรรจง มูลตรีแก้ว | - | พ.ศ. 2561 - 2563 | ผู้อำนวยการ |
39 | นายธวัช ทุมมนตรี | - | พ.ศ. 2563 - 2566 | ผู้อำนวยการ |
40 | นายสุวิทูรย์ ภักดีสมัย | - | พ.ศ. 2566 - 2567 | ผู้อำนวยการ |
41 | ดร.ลำเพย พิเคราะห์แนะ | - | พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน | ผู้อำนวยการ |
บุคคลจากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
แก้- พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา
- กิตติ เชี่ยววงศ์กุล
- โกสินทร์ ราชกรม
- กฤตพรต ทีบุญมา
- ณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช
- เดียร์น่า ฟลีโป
- เตียง ศิริขันธ์
- เตือนใจ นุอุปละ
- ธง แจ่มศรี
- แนบ ผ่องแผ้ว
- ปวริศร์ ศรีชัยชนะ
- ประยูร สุรนิวงศ์
- ประเสริฐ โศภน
- ปราโมทย์ นาครทรรพ
- พงศ์ทิวัตถ์ ตั้งวันเจริญ
- พิพัฒน์ ต้นกันยา
- มนตรี เจนอักษร
- หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย
- ระดับดาว ศรีระวงศ์
- วิเชียร ขาวขำ
- วิศรุต หิมรัตน์
- วิสุทธ์ บุษยกุล
- สมคิด ศรีสังคม
- สุรเดช ทับทิมใส
- สุริยา ชินพันธุ์
- แสวง พิบูลย์สราวุธ
- อนุสรา วันทองทักษ์
- อรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์
- อาณัตพล ศิริชุมแสง
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์หลักโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล เก็บถาวร 2013-01-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน