จังหวัดมหาสารคาม
บทความนี้มีอ้างอิงมากเกินไป |
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
บทความนี้ต้องการข้อความอธิบายความสำคัญที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ |
มหาสารคาม (เดิมชื่อ มหาสาลคาม) เป็นจังหวัดหนึ่งทางตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีอาณาเขตติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดขอนแก่น
จังหวัดมหาสารคาม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Maha Sarakham |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดมหาสารคามเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | วิบูรณ์ แววบัณฑิต[1] (ตั้งแต่ พ.ศ. 2566) |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 5,291.683 ตร.กม. (2,043.130 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 40 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[3] | |
• ทั้งหมด | 937,915 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 23 |
• ความหนาแน่น | 177.24 คน/ตร.กม. (459.0 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 16 |
รหัส ISO 3166 | TH-44 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | สารคาม ตักสิลานคร |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | พฤกษ์ (มะรุมป่า) |
• ดอกไม้ | ลั่นทมขาว (จำปาขาว) |
• สัตว์น้ำ | ปูทูลกระหม่อม |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ภายในศูนย์ราชการจังหวัดมหาสารคาม หมู่ที่ 11 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 291 ตำบลแวงน่าง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000 |
• โทรศัพท์ | 0 4377 7356 |
• โทรสาร | 0 4377 7460 |
เว็บไซต์ | www |
เมืองศูนย์กลางของจังหวัด คือ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[4]
ประวัติศาสตร์
แก้จังหวัดมหาสารคามนอกจากจะมีฉายาเป็น "ดินแดนแห่งสะดืออีสาน" หรืออยู่จุดกึ่งกลางของภาคอีสานแล้ว (จุดกึ่งกลางของภาคอีสาน ตั้งอยู่ที่ บึงกุย หมู่ 13 ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย)[5]นอกจากนี้ยังมีฉายาอีกว่า "ตักสิลานคร" หรือแปลตามตัวคือนครแห่งการศึกษา หรือเมืองแห่งการศึกษาของภาคอีสาน มีสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพและระดับสูงสุดอยู่หลายแห่งและมีมากที่สุดแห่งหนึ่งของภาคอีสาน อีกทั้งยังมีมากเป็นอันดับต้นๆของประเทศไทย[6]
การล่มสลายของอาณาจักรล้านช้าง และ การอพยพของกลุ่มเจ้านายล้านช้างลงไปตั้งเมืองท่งศรีภูมิ เมืองบรรพชนของชาวอีสาน (ขึ้นต่ออาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์และกรุงศรีอยุธยา)
แก้เมื่อประมาณพุทธศักราช 2231 หลังการสวรรคตของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช มหาราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง อันมีกรุงเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง ตรงกับ สมัยของสมเด็จพระเพทราชา แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เกิดการแย่งชิงอำนาจกันขึ้นภายในอาณาจักร เนื่องจากพระองค์ทรงประหารชีวิตองค์รัชทายาท และไม่มีผู้สืบทอดตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ฝ่ายทายาทและขุนนางต่างแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เพื่อแย่งกันเป็นใหญ่ จนในที่สุดอาณาจักรล้านช้างที่ยิ่งใหญ่จึงถึงคราวล่มสลาย โดยแตกแยกออกเป็น 3 อาณาจักรเล็กอาณาจักรน้อย ได้แก่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิราช พระองค์ทรงมีพระราชโอรส พระองค์หนึ่งนามว่า “เจ้าองค์หล่อ” อันเกิดแต่พระนางสุมังคละ พระมเหสี ขณะนั้นมีพระชนมายุได้ 3 พรรษา อีกทั้งพระนางสุมังคละ กำลังทรงตั้งพระครรภ์ ขณะนั้นมีขุนนางเสนาบดี นามว่า พระยาเมืองแสน ผู้มีอำนาจบาดใหญ่ สนับสนุนให้เจ้าองค์หล่อได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์หุ่นเชิดของตน โดยให้ตัวเองเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทน และใช้อำนาจในทางที่ไม่ชอบ ภายหลังเมื่อเจ้าองค์หล่อเติบใหญ่ขึ้น พระยาเมืองแสนไม่ยอมคืนอำนาจให้ อีกทั้งยังขับเจ้าองค์หล่อออกจากราชบัลลังก์โดยมิให้ใครรู้ ต่อมาคิดที่จะบีบบังคับให้พระนางสุมังคละมาเป็นภรรยาของตน แต่พระนางไม่ยอม พระนางจึงพาเจ้าองค์หล่อ อพยพหนีไปพึ่งเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็ก (พระสังฆราช แห่งเวียงจันทน์) ซึ่งเป็นที่นับถือของเหล่าบรรดาลูกศิษย์และเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก จึงมีบรรดาเชื้อพระวงศ์มาขอเป็นลูกศิษย์ของท่านมากมาย ซึ่งในนั้นมีเจ้าแก้วมงคลและเจ้าจันทรสุริยวงศ์ เชื้อสายกษัตริย์ราชวงศ์ล้านช้าง พระญาติผู้ใหญ่ของเจ้าองค์หล่อ เป็นศิษย์เอกอยู่ด้วย ต่อมาเจ้าราชครูหลวงคิดว่าถ้าหากให้พระนางมาอาศัยอยู่ด้วยก็เกรงผู้อื่นจะครหานินทา อันเนื่องจากความไม่เหมาะสมและสถานที่อาศัยอยู่โจ่งแจ้งเกินไปและไม่ค่อยปลอดภัยจึงส่งไปไว้ที่ตำบลภูชะง้อหอคำ ต่อมาพระนางสุมังคละทรงได้ประสูติพระโอรสอีกองค์หนึ่ง โดยตั้งพระนามว่า “เจ้าหน่อกษัตริย์” ณ.ที่นั้น[7]
ต่อมาฝ่ายพระยาเมืองแสนเห็นว่า เจ้าราชครูหลวงมีผู้ติดตามและมีผู้เคารพนับถือเป็นจำนวนมาก คิดเกรงกลัวไปเองว่าท่านจะนำศิษย์ซ่องสุมที่จะแย่งชิงอำนาจไปจากตน จึงคิดที่จะกำจัดทิ้ง แต่ทางเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็กรู้ตัวเสียก่อน จึงนำลูกศิษย์ลูกหาและผู้ศรัทธากว่า 3,000 ชีวิต ลี้ภัยหนีลงใต้ ระหว่างทางก็มีผู้คนมาสมัครขอเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก เมื่อเดินไปถึงเขตแดนเมืองบันทายเพชร์ ซึ่งเป็นดินแดนของอาณาจักรเขมรอุดง เมื่อข่าวไปถึงหูกษัตริย์เขมร กษัตริย์เขมรจึงมีการสั่งให้กลุ่มเจ้าราชครูหลวงจ่ายค่าทำเนียม ครัวละ 2 ตำลึง จึงจะสามารถไปตั้งถิ่นฐานที่นั้นได้ เจ้าราชครูหลวงจึงเห็นว่า เป็นการเดือดร้อนแก่ผู้ติดตาม อีกทั้งยังเป็นการขูดเลือดขูดเนื้อมากจนเกินไป ท่านจึงสั่งอพยพขึ้นไปทางเหนือ จนถึงบริเวณเมืองเก่าทางตอนใต้ของอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเคยรุ่งเรืองถึงขีดสุดจนถึงขั้นเคยเป็นศูนย์กลางของเขมรโบราณในช่วงยุคเจนละมาก่อน นามว่า “เมืองเศรษฐปุระ”[8] จนผ่านมาหลายยุคหลายสมัย จนมีนามเมืองว่า “เมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี” ในการเดินทางอพยพลี้ภัยลงมายังดินแดนลาวใต้จนถึงถิ่นเมืองเก่าแห่งนี้นี้เอง เจ้าราชครูหลวงโพนเสม็กมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยศิษย์เอก อย่าง เจ้าแก้วมงคล เป็นแม่กองใหญ่ และจารย์หวด เป็น รองแม่กอง คอยควบคุมดูแลบริวารและไพร่พลของท่านมาตลอดทาง[7][9]
ภายหลังการมาถึงของกลุ่มเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็ก นางแพง นางเภา คู่แม่ลูก ผู้ครองเมืองอยู่ขณะนั้น ก็มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อเจ้าราชครูหลวง จึงพากันอาราธนาเจ้าราชครูหลวงให้มาปกครองเมืองแทนพวกตนโดยให้ท่านได้ใช้หลักธรรมค้ำจุนเหล่าชาวเมือง ต่อมาเมื่อเจ้าองค์หล่อเติบโตขึ้นได้ไปพำนักที่แดนญวน ภายหลังได้กองกำลังสนับสนุนกลับไปยึดเมืองเวียงจันทน์คืน ได้เป็นผลสำเร็จ ประมาณปี พ.ศ. 2245 แล้วทรงจับพระยาเมืองแสนสำเร็จโทษ เจ้าองค์หล่อจึงได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรล้านช้างสืบต่อมา[10]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2252 เกิดเหตุวุ่นวายขึ้นที่นครกาละจำบากนาคบุรีศรี เจ้าราชครูหลวงพยายามจัดการปัญหาด้วยวิธีละมุนละม่อมโดยใช้หลักการทางศาสนาแต่กลับไม่เป็นผล ท่านจึงส่งจารย์จันทร์ให้ไปอัญเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์ซึ่งอยู่ที่ตำบลงิ้วพันลำน้ำโสมสนุก ให้ลงมาปกครองเมืองนครกาละจำบากนาคบุรีศรี อภิเสกขึ้นเป็นกษัตริย์อย่างเป็นทางการ เจ้าราชครูหลวงถวายพระนามท่านว่า “พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร” และได้เปลี่ยนนามเมือง ว่า “นครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรี” และให้ชื่ออาณาจักรคือ “อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์” เป็นเอกเทศต่างหากจากเวียงจันทน์ มีกษัตริย์เอกราช ปกครองด้วยระบอบการปกครองเช่นกับอาณาจักรล้านช้างโบราณทุกประการ (ระบบอาญาสี่) หลังจากท่านได้เป็นกษัตริย์ได้ไม่นานก็สามารถปราบปรามปัญหาความวุ่นวายลงได้อย่างง่ายดาย โดยการช่วยของเจ้าจารย์แก้ว (เจ้าแก้วมงคล) เป็นกำลังสำคัญในการปราบปรามปัญหาความวุ่นวายภายในอาณาจักรจนเป็นผลสำเร็จ[7]
ภายหลังอาณาจักรสงบสุขเรียบร้อยแล้ว เพื่อสร้างความมั่นคงและความเข้มแข็งของอาณาจักร พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร จึงขยายอำนาจโดยการส่งเหล่าบรรดาขุนนางและพระญาติไปสร้างเมืองขึ้นใหม่และให้ปกครองเมืองนั้นๆ โดย ให้จารย์หวดไปสร้างเมืองโขง ให้เจ้าจันทร์สุริยวงศ์ (นับว่าเป็นน้องเจ้าจารย์แก้ว และเป็นบรรพบุรุษของสายเจ้าเมืองมุกดาหาร) ไปรักษาเมืองตะโปน เมืองพิน เมืองนอง ส่วนเจ้าจารย์แก้วหรือเจ้าแก้วมงคลให้ไปสร้างเมืองท่งศรีภูมิ (ปัจจุบันคืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด)[7][9][11][12] ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งทรัพยากรเกลือสินเธาว์ที่สำคัญของโลก 1 ใน 5 แห่ง และใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่ยุคสมัยโบราณ (เป็นแหล่งทรัพยากรที่หล่อเลี้ยงชาวอาณาจักรเจนละหรือเศรษฐปุระ จนพัฒนาก่อเกิดเป็นจักรวรรดิขอมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจักรวรรดิหนึ่งของภูมิภาคเอเชียอาคเณย์)[13][14][15] โดยให้จารย์แก้วเป็นเจ้าผู้ครองเมืองเสมอกษัตริย์ประเทศราช มีอำนาจสิทธิ์ขาดจัดราชการบริหารบ้านเมืองตามแบบอาญาสี่เช่นเดียวกับนครจำปาศักดิ์ทุกประการ[16][17]และมีการตรากฎหมายหรืออาณาจักร์หลักคำไว้ใช้ในการปกครองบ้านเมืองของตนเอง[18][19][20][21] (พระนามของเจ้าแก้วมงคลภายหลังมีการได้นำมาใช้เป็นชื่อเจ้าเมือง คือ “รัตนวงษา”) และแต่งตั้งให้เจ้ามืดคำดลเป็นเจ้าอุปราช
ต่อมา เจ้าแก้วมงคลผู้ครองเมืองท่งศรีภูมิได้ถึงแก่พิราลัยลง ในปีพ.ศ. 2268 มีพระโอรสรวม 3 ท่าน คือ
1) เจ้าองค์หล่อหน่อคำ (หลานเจ้านครน่าน) เกิดแต่พระชายาท่านแรกซึ่งเป็นเจ้าหญิงนครน่าน เมื่อครั้ง พระเจ้าวิชัยหรือศรีวิชัย กษัตริย์ล้านช้าง พระองค์ที่ 30 ได้ส่งพระราชโอรส ก็คือ เจ้าแก้วมงคล ไปเกี่ยวดองกับกษัตริย์นครน่าน เพื่อกระชับอำนาจระหว่างทั้ง 2 นครรัฐ ต่อมาเจ้าองค์หล่อหน่อคำได้ไปปกครองนครน่าน และได้เปลี่ยนพระนามเมื่อครั้งได้ครองเมืองน่าน ภายหลังเกิดภัยการเมืองถูกพระยาเมืองแสนยึดอำนาจพระเจ้าวิชัยพร้อมด้วยเจ้าแก้วมงคลและเจ้าจันทร์สุริยวงศ์ จึงลี้ภัยไปพึ่งเจ้าราชครูหลวงโพนสเม็กและออกผนวช พร้อมทั้งพากันเปลี่ยนพระนามเพื่อหลีกเลี่ยงฝ่ายพระยาเมืองแสนจากการถูกปองร้ายหรือถูกตามลอบปลงพระชนม์ ซึ่งเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับเจ้าองค์หล่อหน่อคำ มีการระบุใน "พงศาวดารภาคอีสาน ฉะบับของ พระยาขัติยวงษา (เหลา ณร้อยเอ็จ)" หรือพระยาขัติยวงศา เอกาธิกสตานันท์ ผู้สำเร็จราชการเมืองร้อยเอ็จ เชื้อสายเจ้าเมืองร้อยเอ็ดซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่เจ้าจารย์แก้ว โดยแต่เดิม ท่านได้เขียนมอบถึงหลวงจรูญชวนะพัฒน์ ข้าหลวงธรรมการ มณฑลอิสาน อุบลฯ พิมพ์ครั้งแรกในงานปลงศพนางศรีสุภา (โต เอี่ยมศิริ) มารดาของหลวงจรูญชวนะพัฒน์ ณ เชิงบรมบรรพต วัดสระเกศ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ได้กล่าวถึง สระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก ไว้ว่า ".........ครั้นต่อมา เจ้าองค์หล่อหน่อคำ ซึ่งเป็นบุตรจารแก้ว หลานเจ้าเมืองน่าน พาไพร่พลมาสืบหาบิดา ซึ่งรู้ข่าวว่าบิดามาเป็นเจ้าเมือง อยู่ริมสระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก ครั้นมาถึงเขตต์เมืองทุ่ง ตั้งค่ายอยู่ระหว่างปากเสียวน้อย ซึ่งเรียกว่าวังหม่านจนบัดนี้นั้น เจ้าองค์หล่อจับได้เพี้ยบุตรตะพานบ้านโนนสูง กวนหมื่นหน้าบ้านเบน ซึ่งยกทัพออกมาต่อสู้กันนอกเมือง เมื่อได้ตัวแม่ทัพสองคนนี้แล้ว จึงซักไล่ไต่ถามหาสระสี่แจง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก แม่ทัพทั้งสองได้แจ้งความให้เจ้าองค์หล่อหน่อคำทราบตลอดแต่ต้นจนถึงปลาย เจ้าอค์หล่อหน่อคำจึงได้ทราบว่าเป็นเมืองบิดาของตน แล้วปล่อยให้แม่ทัพสองคนเข้าไปบอกแก่ท้าวมืดน้องชายให้ทราบทุกประการโดยแน่นอนแล้ว ท้าวมืดรู้ว่าพี่ชายแห่งตน จึงได้แต่งให้แสนท้าวออกไปอัญเชิญเจ้าองค์หล่อหน่อคำให้เข้ามายังเมืองทุ่ง แล้วจัดการรับรองให้เป็นเกียรติยศอันดี แล้วท้าวมืดพร้อมกับเจ้าองค์หล่อหน่อคำ จัดการปลงศพจารแก้วผู้เป็นบิดาตามประเพณีผู้ครองบ้านเมืองมาแต่ก่อน เสร็จแล้วเจ้าองค์หล่อหน่อคำก็ลาท้าวมืดน้องชายกลับคืนไปเมืองน่านตามเดิม........." จึงสรุปได้ดังนี้จากประโยคที่ว่า “สระสี่แจ่ง แฮ้งสี่ตัว แม่หญิงเอาผัว พ่อชายออกลูก” เป็นการกล่าวถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นเมืองท่งตามกุศโลบายวิธีทางภาษาของชาวลาว-อีสาน[22][23][24][25][26][27]
2) เจ้ามืดดำดล หรือ ท้าวมืด เกิดแต่พระชายาท่านที่ 2 ชาวเวียงจันทน์[7]
3) เจ้าสุทนต์มณี หรือท้าวทนต์ เกิดแต่พระชายาท่านที่ 2 ชาวเวียงจันทน์[7]
หลังจากการพิราลัยของเจ้าแก้วมงคล เจ้ามืดดำดลจึงได้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองแทนพระบิดา ส่วนเจ้าสุทนต์มณีเป็นเจ้าอุปราช ปกครองเมืองท่ง หลังจากได้ครองเมืองท่ง เจ้ามืดคำดลได้ตั้งแข็งเมืองเป็น เอกราช ไม่ได้ขึ้นแก่นครจำปาศักดิ์ เพราะเหตุว่านครจำปาศักดิ์พี่กับน้องเกิดวิวาทเเย่งชิงสมบัติแก่กันจึงหาได้ติดตามมาว่ากล่าวเอาส่วยสาอากรไม่ ต่อมา เจ้ามืดดำดลผู้พี่ถึงแก่พิราลัยลง เจ้าสุทนต์มณีผู้น้อง จึงได้เป็นเจ้าเมืองท่งสืบต่อแทน[7]
ต่อมาในปีพ.ศ 2308 เจ้าเซียง พระโอรสองค์โตของเจ้ามืด เป็นเจ้าอุปราช และให้เจ้าสูนพระโอรสองค์รองของเจ้ามืด เป็นราชวงศ์ ซึ่งทั้งคู่ล้วนเป็นหลานชายของเจ้าทนต์ ทั้งคู่ต่างมีความอิจฉาเจ้าอาว์ที่ได้เป็นเจ้าเมืองและร่วมมือกันนำเอาทองคำแท่งไปขอสวามิภักดิ์ต่อ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์อยุธยาพระองค์สุดท้าย เพื่อขอกองทัพจากอยุธยาให้ไปช่วยยึดเมืองท่งจากเจ้าอาว์ของพวกตน พระเจ้าเอกทัศ จึงโปรดเกล้าส่ง พระยาพรหม พระยากรมท่า ออกไปรวบรวมกำลังพลจากหัวเมืองขึ้นใกล้บริเวณ (เมืองท่ง) ของกรุงศรีอยุธยา เมื่อรวบรวมกำลังพลได้แล้วจึงเข้าไปสมทบกับกองทัพของเจ้าเซียงและเจ้าสูน เพื่อที่จะยึดเมืองจากเจ้าทนต์ ทางฝ่ายเจ้าทนต์เจ้าเมืองท่ง ขณะนั้น เมื่อทราบข่าวว่าหลานร่วมมือกับกองทัพอยุธยาจะเข้ามาตีเมืองท่ง เจ้าทนต์เมื่อเห็นว่ากำลังของพวกตนไม่น่าจะพอสู้ได้ อีกทั้งเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร กษัตริย์ล้านช้างจำปาศักดิ์ ทรงพระประชวร (อ่อนแอ) ไม่สามารถส่งกองกำลังมาช่วยเจ้าทนต์ได้ เจ้าทนต์จึงได้พาไพร่พลของตนอพยพหลบหนีออกจากเมือง ไปซ่อนตัวที่บ้านดงเมืองจอก (ในพื้นที่ของอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน) ซึ่งขณะนั้นเป็นเขตแดนของเมืองท่ง ต่อมาฝ่ายเจ้าเซียงและทัพอยุธยาสามารถบุกเข้ายึดเมืองท่งได้อย่างง่ายดาย (เจ้าเมืองหนีไปแล้ว) ภายหลังจึงมีใบบอกตั้งให้เจ้าเซียงเป็นเจ้าผู้ครองเมือง ท่านที่ 4 และเจ้าสูนเป็นเจ้าอุปราช ครองเมืองท่งสืบต่อมา เมืองท่งศรีภูมิจึงกลายมาเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา และส่งบรรณาการแก่อยุธยา และตัดขาดจากอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์มานับแต่บัดนั้น[7][17] เมื่อเรียบร้อยแล้ว พระยาพรหม พระยากรมท่า จึงตั้งสำนักที่ทุ่งสนามโนนกระเบาซึ่งอยู่ในท้องที่เมืองท่ง เพื่อคอยสังเกตการณ์เจ้าเซียงและเจ้าทนต์ 2 อาว์หลาน ต่อมา ทัพพม่าราชวงศ์คองบอง สามารถตีกรุงศรีอยุธยาแตก อาณาจักรอยุธยาจึงเสียกรุง ในปี พ.ศ. 2310
ยุครัฐอิสระ และภายใต้อาณาจักรกรุงธนบุรี
แก้หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า ในปีพ.ศ. 2310 ส่งผลให้เมืองท่งศรีภูมิ จึงกลายเป็น รัฐอิสระ อย่างน้อย 7 เดือน[28] เนื่องจากพม่ารุกรานเข้ามาไม่ถึงถิ่นเมืองท่ง พม่ารุกรานเพียงแต่ทางฝั่งเมืองหลวง อย่างกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น และเนื่องจากการล่มสลายของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เมืองขึ้นที่สำคัญต่างๆซึ่งเคยขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ต่างล้วนแยกตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันและกัน จึงเกิดเป็นก๊กต่างๆหรือชุมนุมขึ้น ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพิมาย ชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมพระยาตาก (เป็นก๊กที่แข็งแกร่งที่สุด) ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก และชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช[29] ซึ่งก๊กต่างๆเหล่านี้ (ยกเว้นชุมนุมพระยาตาก) ต่างพยายามแข็งเมืองต่อกลุ่มอำนาจใหม่ที่แข็งแกร่งของพระยาตาก ซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจที่พยายามจะรวบรวมชาติขึ้นใหม่ให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวอีกครั้ง ณ.เวลานี้เมืองท่งศรีภูมิ จึงเปรียบเหมือนเป็นอีกรัฐหรืออีกประเทศหนึ่งที่มีอิสรภาพอย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ขึ้นตรงกับรัฐอื่นรัฐใด เจ้าเซียงจึงเป็นเจ้าผู้ครองรัฐอิสระซึ่งมีอำนาจในการบริหารจัดการและปกครองบ้านเมือง-ประชาชนของตนเองได้อย่างเต็มที่ และมีการตรากฎหมายไว้ใช้ในรัฐของตน ซึ่งเรียกว่า "อาณาจักร์หลักคำเมืองสุวรรณภูมิ" ซึ่งถูกตราขึ้นมาครั้งแรกโดยเจ้าสุทนต์มณี เจ้าเมืองท่งคนที่ 3 ในปีพ.ศ. 2307 โดยดัดแปลงมาจาก คัมภีร์โบราณธรรมศาสตร์หลวง กฎหมายล้านช้างโบราณ ซึ่งถูกตราขึ้นโดยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช มหาราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง จึงบอกได้ว่าตั้งแต่สร้างเมืองท่งศรีภูมิในปีพ.ศ. 2256 ในยุคเจ้าจารย์แก้ว จนถึงปีพ.ศ. 2307 มีการใช้กฎหมายล้านช้างโบราณอย่างคำภีร์โบราณธรรมศาสตร์หลวงในการปกครองบ้านเมือง และจึงมีการตราเป็นรูปแบบของตัวเองอย่างเป็นทางการหลังจากปีพ.ศ. 2307 เป็นต้นมา ซึ่งอาณาจักร์หลักคำเมืองสุวรรณภูมินี้เองยังเป็นต้นแบบของ หลักคำเมืองร้อยเอ็ด หรือ กฎหมายของเมืองร้อยเอ็ดในเวลาต่อมา โดยหลักคำเมืองสุวรรณภูมิมีการใช้งานและมีความสำคัญมาโดยตลอดจนถึงยุคร.5 เมื่อยุบเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมืองจึงมีการเลิกใช้อาณาจักร์หลักคำและหันมาใช้กฎหมายจากส่วนกลางแทน[18][19][20][21]
ในระหว่างปี พ.ศ. 2310-2311 รัฐท่งศรีภูมิในขณะนั้นมีฐานะเทียบเท่ารัฐเอกราชอื่นๆทุกประการ[28] และต่อมาเมืองท่งได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับก๊กพิมาย เพื่อหาพันธมิตรและกำลังสนับสนุนมาคานอำนาจและป้องกันปัญหาเมื่อหากถูกรุกรานจากข้าศึกหรือศัตรูเก่า โดยเฉพาะกลุ่มเจ้าอาว์หรือกลุ่มเจ้าสุทนต์มณีที่ยังคงฝักใฝ่และจงรักภักดีกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแห่งนครจำปาสักซึ่งยังคงที่จะซ่องสุมกำลังและรอคอยโอกาศเพื่อที่จะทวง (ยึด) เมืองคืน นอกจากนี้ก็อาจยังมีกลุ่มจากทางอาณาจักร์ล้านช้างจำปาศักดิ์โดยตรงและอาณาจักร์ล้านเวียงจันทน์ของพระเจ้าสิริบุญสารที่ควรระแวดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งแต่เดิมก็มีปัญหากันมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล ซึ่งอาจจะสบโอกาสแว้งมารุกรานและบีบบังคับให้เมืองท่งกลับไปขึ้นต่ออำนาจอาณาจักร์ของตน ในเวลาเมื่อใดไม่ทราบก็เป็นได้ (ซึ่งในเวลาต่อมา ประมาณประมาณปีพ.ศ. 2314 ทางกรุงเวียงจันทน์ได้ร่วมมือกับกองทัพพม่าคองบองจากเชียงใหม่ ทำลายเมืองหนองบัวลำภู และสังหารพระตาซึ่งเป็นเสนาบดีเก่าของเวียงจันทน์และมีปัญหาความบาดหมางกันมาก่อนตายคาสนามรบ) ถือว่าเป็นความฉลาดหลักแหลมของเจ้าผู้ครองเมืองอย่างเจ้าเซียงในการป้องกันและบริหารจัดการบ้านเมืองให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข จึงทำให้ในเวลาตลอดเกือบกว่า 1 ปี เมืองท่งศรีภูมิรอดพ้นจากภัยข้าศึกศัตรูรอบข้างที่อาจจะเข้ามารุกราน
จนกระทั่ง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สามารถกู้กรุงสำเร็จ และทำลายก๊กพิมายหรือชุมนุมพิมายและเมืองพิมาย จับตัวกรมหมื่นเทพพิพิธ เจ้าเมืองพิมาย ซึ่งเป็นเจ้าชายอยุธยา เชื้อกษัตริย์อยุธยา ได้ พระยาตากจึงเกลี้ยกล่อมให้กรมหมื่นเทพพิพิธสวามิภักดิ์แก่ตน แต่กรมหมื่นเทพพิพิธไม่ยอมสวามิภักดิ์จึงถูกพระยาตากสำเร็จโทษ (ประหารชีวิต)[30] ต่อมาไม่นานพระยาตากสามารถรวบรวมก๊กต่างๆที่กระจัดกระจายให้กลับมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เป็นผลสำเร็จ และสถาปนาอาณาจักร์ขึ้นใหม่นามว่า "อาณาจักร์กรุงธนบุรี" และสถาปนาตนเองเป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งมีพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" และในปีเดียวกันนั้น หลังจากเมืองท่งศรีภูมิ เป็น อิสระ ได้ไม่นาน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้สถาปนาอาณาจักรธนบุรี เสร็จสิ้นแล้ว จึงรับสั่งให้เมืองประเทศราชทุกเมือง ที่เคยสวามิภักดิ์ ต่อ อาณาจักรอยุธยา ให้อยู่ภายใต้อำนาจดังเดิม เจ้าเซียง จึงได้สวามิภักดิ์ขอเป็นเจ้าเมืองประเทศราช ดังเดิม ต่อมา พระยาพรหม พระยากรมท่า ได้ปรึกษากับเจ้าเซียงเจ้าเมืองท่ง ได้ความว่า ที่ตั้งของเมืองท่งศรีภูมิเดิม มีน้ำกัดเซาะ และมีปัญหาน้ำท่วมเกือบทุกปี อันเนื่องมาจากที่ตั้งเมืองใกล้ลำน้ำเสียวมากเกินไป จึงเป็นการดีถ้าหากมีการย้ายที่ตั้งเมืองไปยังดงเท้าสาร (ที่ตั้งที่ทำการอำเภอสุวรรณภูมิ ในปัจจุบัน) เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นเป็นดินเนินสูง ปลอดภัยจากภัยพิบัติน้ำท่วม จึงมีใบบอกขอโปรดเกล้าให้ย้ายที่ตั้งเมืองใหม่ พระเจ้าตากจึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตามดังนั้น และได้พระราชทานนามเมืองใหม่ ว่า “เมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ประเทศราช” พร้อมทั้งสถาปนาพระยศ ให้แก่เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ อย่าง เจ้าเซียง เป็นที่ "พระรัตนวงษา" และให้ใช้พระนามดังกล่าวแก่เจ้าเมืองสุวรรณภูมิทุกท่านที่ได้สืบต่อเป็นเจ้าเมืองสืบต่อไป (ซึ่งพระยศนี้หมายถึง ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าแก้วมงคล ผู้เป็นปฐมราชวงศ์เจ้าผู้ครองเมืองท่งศรีภูมิ พระองค์แรก)
ส่วนทางฝั่งเจ้าสุทนต์มณีซึ่งยังคงมีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ล้านช้างจำปาศักดิ์อยู่เนืองๆ นับตั้งแต่หลังพ่ายแพ้สงครามและเสียเมืองท่งให้แก่หลานของตนจึงยังคงกบดานอยู่แถวบริเวณบ้านดงเมืองจอก (บริเวณ ตำบลบ้านดู่ อำเภออาจสามมารถ จังหวัดร้อยเอ็ด) ซึ่งยังอยู่ในอาณาเขตของเมืองท่งศรีภูมิ ผ่านเลยจากยุคอยุธยาตอนปลาย ยุครัฐอิสระ จนถึงยุคกรุงธนบุรี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2308 - พ.ศ. 2318 รวมระยะเวลากว่า 10 ปี
สร้างเมืองร้อยเอ็ด (สมัยกรุงธนบุรี)
แก้ต่อมาในปี พ.ศ. 2318 ต่อมาไม่นาน พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดเกล้า ส่งพระยาพรหม พระยากรมท่า ขึ้นมาที่ตั้งสำนัก (ทุ่งสนามโนนกระเบา) อีกครั้ง เพื่อให้มาว่ากล่าวประนีประนอมให้อาว์ (เจ้าทนต์) หลาน (เจ้าเซียงและเจ้าสูน) คืนดีต่อกันและกัน จนเป็นผลสำเร็จ อีกทั้ง พระยาพรหม พระยากรมท่าเล็งเห็นว่าเจ้าสุทนต์มณี เป็นผู้มีความสามารถ มีผู้จงรักภักดีและมีไพร่พลในสังกัดเป็นจำนวนมาก และคาดว่าน่าจะเป็นกำลังสำคัญต่อกรุงธนบุรีได้ในอนาคต จึงมีใบบอกโปรดเกล้าตั้ง บ้านกุ่มฮ้างซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเมืองโบราณและรกร้างไป อย่าง “เมืองสาเกตุนครร้อยเอ็ดผักตู” ขึ้นเป็นเมืองใหม่ ให้นามว่า เมือง “ร้อยเอ็ด” ส่วนชาวท้องถิ่นมักเรียกว่า “ฮ้อยเอ็ด” ตามแบบภาษาไท-ลาว โดยแยกเอาดินแดนทิศเหนือจากเมืองสุวรรณภูมิทั้งหมด แล้วยกฐานะเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นต่อกรุงเทพฯ และโปรดเกล้าให้เจ้าสุทนต์มณีเป็นเจ้าเมือง มีพระยศว่า “พระขัติยะวงศา” อันหมายถึง ผู้ที่สืบเชื้อสายมาแต่พระมหากษัตริย์ (เจ้าแก้วมงคลพระบิดาสืบมาแต่กษัตริย์ล้านช้าง) ซึ่งเมืองร้อยเอ็ด ณ.ขณะนี้จึงมีฐานะขึ้นตรงต่อกรุงธนบุรี เช่นเดียวกับเมืองท่งศรีภูมิหรือเมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ประเทศราช เมืองแม่มาแต่เดิม นับแต่บัดนั้น ต่อมาเจ้าทนต์ได้มีการสร้างวัดวาอาราม ปกครองและปรับปรุงบ้านเมืองให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข โดยเจ้าสุทนต์มณีได้มีการตรากฎหมายขึ้นมาใหม่ ใช้ในการปกครองเมืองร้อยเอ็ดโดยเฉพาะ เรียกว่า “หลักคำเมืองร้อยเอ็ด” อันดัดแปลงและได้รับอิทธิพลมาจาก อาณาจักร์หลักคำเมืองสุวรรณภูมิ (กฎหมายเมืองท่ง) และ คัมภีร์โบราณธรรมศาสตร์หลวง (กฎหมายล้านช้างโบราณ)
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
แก้เจ้าทนต์ หลังจากปกครองเมืองร้อยเอ็ดเกือบ 10 ปี จึงแก่ชราภาพ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าเมืองอีกต่อไปได้ จึงลาออกจากราชการ ในปีพ.ศ. 2326 รัชการที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าทนต์ เป็นที่ “พระนิคมจางวาง” และโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสีลัง บุตรชายของเจ้าทนต์ เป็นที่ “พระขัติยวงศาพิสุธาธิบดี” เจ้าเมืองร้อยเอ็ด คนที่ 2 แต่งตั้งให้ท้าวภูเป็นเจ้าอุปราช และเจ้าอ่อนเป็นราชวงศ์ ต่อมาท้าวสีลัง มีความชอบจากการช่วยราชการสงคราม จึงโปรดเกล้า ให้เลื่อนพระยศเป็นที่ “พระยาขัติยะวงศาพิสุทธาธิบดี” พระยาชั้นพานทอง
ต่อมาทางฝั่งเมืองสุวรรณภูมิ ในปี พ.ศ. 2330 หลังจากเจ้าสูนได้เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ คนที่ 5 เจ้าสูนจึงส่งท้าวเพ บุตรชายของเจ้าเซียง และแบ่งไพร่พล ให้ จำนวน 600 คน ไปตั้งเมืองบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานโบราณ อย่าง เมืองหนองหานน้อยและชุมชนเก่า(ชุมชนเก่าบ้านเชียง) แยกออกไปตั้งเมืองใหม่ ให้ชื่อเมืองว่า “เมืองหนองหาน” (อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี) โดยขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เพื่อป้องกันไม่ให้หลานของตนคิดที่จะแย่งชิงตำแหน่งเจ้าเมือง[31] ต่อมา ในปี พ.ศ. 2335 เจ้าสูนถูกทิดโคตรลอบฟันจนถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าเมืองจึงว่าง
ต่อมาเจ้าอ่อนผู้เป็นบุตรของเจ้าทนต์ได้รับโปรดเกล้าจารึกพระสุพรรณบัฏเป็นเจ้าประเทศราชครองเมืองสุวรรณภูมิราชบุรียประเทศราช แทนที่เจ้าสูนเจ้าเมืองเดิมที่พึ่งถูกทิตโคตรลอบสังหารจนถึงแก่พิราลัยจึงส่งผลให้ขั้วการเมืองสุวรรณภูมิถูกเปลี่ยนจากฝ่ายเจ้าเซียงเปลี่ยนเป็นฝ่ายเจ้าสุทนต์มณี อันเป็นผลให้ ลูกหลานเจ้าเซียง เจ้าเมืองท่งศรีภูมิ ท่านที่ 4 ไม่พอใจ และรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อครอบครัวของตน (เกรงว่าทางฝ่ายเจ้าสุทนต์จะกลับมาแก้แค้น) จึงต่างพร้อมใจพากันไม่สมัครทำราชการขึ้นต่อท้าวอ่อน ในสมัยนี้จึงมีการแยกกันไปสร้างเมืองที่สำคัญขึ้นใหม่หลายแห่ง เช่น เมืองชลบทวิบูลย์ (อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น) ในปีพ.ศ. 2335 เมืองขอนแก่น (จังหวัดขอนแก่น) ในปีพ.ศ. 2340 เมืองพุทไธสง (อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์) ในปีพ.ศ. 2342 เป็นต้น[24][32][33][31]
ต่อมาหลังจากเสร็จศึกปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ. 2371 ต่อมาในปี พ.ศ. 2372 รัชการที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้า ให้ท้าวภู บุตรชายของเจ้าทนต์และยังเป็นน้องชายของท้าวสีลังและท้าวอ่อนไปเป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ สืบต่อมา เนื่องด้วยความดีความชอบจากการช่วยราชการสงครามครั้งไปช่วยรบในคราวศึกปราบเจ้าอนุวงศ์
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนปลาย และสร้างเมืองมหาสารคามแยกออกจากเมืองร้อยเอ็ด (รัชกาลที่4)
แก้หลังจากที่พระยาขัติยะวงศา(สีลัง) ถึงแก่พิราลัย เจ้าอุปราชสิงห์ พร้อมด้วยราชวงศ์อิน กรมการเมืองร้อยเอ็ด บุตรชายท้าวสีลัง ได้นำใบบอกไปขอศิลาหน้าเพลิง ที่กรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพิสัยสรเดช (ท้าวตาดี) เจ้าเมืองโพนพิสัยคนแรก (ปัจจุบันคือ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย) ซึ่งถูกเรียกลงไปยังกรุงเทพ ให้ไปเป็นผู้รักษาราชการเมืองร้อยเอ็ดแทนพระบิดาของตน (ท้าวตาดี เป็นบุตรชายคนโตของท้าวสีลัง) ต่อมาหลังจากจัดการพระราชทานเพลิงศพท้าวสีลัง พระบิดาของพวกตน เรียบร้อยแล้ว เจ้าอุปราชสิงห์ได้มีการจัดให้มีการเล่นโปขึ้น ที่หอนั่งในจวนเจ้าเมือง อุปราชสิงห์จึงชักชวนให้พระพิสัยฯ (พี่ชาย) ให้ไปร่วมเล่นด้วย พระยาพิสัยฯจึงตอบตกลง ระหว่างที่กำลังเล่นกันอยู่นั้นก็มีคนร้ายลอบแทงพระยาพิสัยฯ โดนที่สีข้างด้านซ้ายจนถึงแก่ความตาย ซึ่งในขณะเดียวกัน ท้าวภู หรือพระรัตนวงษา(ภู) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ น้องชายของท้าวสีลัง ก็ขึ้นมาปลงพระศพของผู้เป็นพี่ชายด้วย ท้าวภูจึงพร้อมกับกรมการเมืองได้พยายามทำการสืบหาเสาะหวตัวคนร้าย จึงได้ความว่า มีชายเชื้อสายจีนคนหนึ่งนามว่า “จั๊น” หรือมีฉายาว่า ”เจ๊กจั๊น” ซึ่งเคยเป็นคู่อริกับพระพิสัยฯมาก่อนหน้านั้น เป็นคนร้ายที่ลอบแทงพระพิสัยฯจนถึงแก่ความตาย อีกทั้งท้าวภู มีความสงสัยในเจ้าอุปราชสิงห์หลานชายของตน เนื่องจากเป็นผู้อยู่ร่วมในเหตุการณ์และเป็นผู้จัดงานในการเล่นโปจนเป็นที่มาของเหตุโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นนี้ และท้าวภูยังคิดว่าการที่ท้าวตาดีซึ่งได้เป็นเจ้าเมืองโพนพิสัยอยู่แล้วกลับได้รักษาการเมืองร้อยเอ็ด แทนที่จะเป็นอุปราชสิงห์ อาจเป็นเหตุให้เจ้าอุปราชสิงห์มีความอิจฉาและอาจวางแผนที่จะสังหารพี่ชายของตน จึงจับตัวท้าวสิงห์พร้อมกับเจ๊กจั๊นส่งลงไปยังกรุงเทพฯ ระหว่างการเดินทางใกล้ที่จะถึงเมืองนครราชสีมานั้น ท้าวสิงห์ได้กินยาพิษจนถึงแก่ความตายก่อน ซึ่งยังไม่ได้มีการไต่สวนพิพากษาคดีให้ชัดแจ้งแต่ประการใด คดีจึงเป็นอันระงับและเป็นที่กังขาต่อลูกหลานของท่านตลอดมา
ต่อมาท้าวกวดบุตรชายของท้าวสิงห์ ซึ่งมีอายุ 11 ขวบ ในขณะที่บิดาของตนกำลังถูกส่งไปยังกรุงเทพฯ (ไปไม่ถึงกรุงเทพฯ) ผู้เป็นมารดาและญาติที่ใกล้ชิดหวาดระแวงและเกรงกลัวว่าท้าวกวดจะได้รับอันตรายตามบิดาของตนไปด้วย จึงส่งตัวท่านให้ไปอยู่ที่เมืองสุวรรณภูมิ ต่อมาพระญาติเกรงว่าถ้าหากท้าวกวดยังอยู่ใกล้กับถิ่นฐานของตนมากเกินไปอาจจะเกิดภัยอันตรายขึ้นได้ง่าย (อาจมีคนที่ใกล้ชิดคิดปองร้าย) ท้าวกวดจึงถูกส่งตัวไปยังเขตแขวงเมืองยโสธรโดยพระญาติมิได้มีการฝากฝังไว้กับใครเลย ท้าวกวดจึงกลายเป็นคนพเนจร เดินทางอย่างโดดเดี่ยวเพียงลำพัง อาศัยนอน กิน อยู่ตามถนนหนทาง และศาลาวัด (วัดใกล้เมืองยโสธร) ขอเศษข้าวเศษอาหารจากญาติโยมที่เอานำไปถวายวัด ไปวันๆ มีความทุกข์ทรมาณ จากลูกผู้ดี ชนชั้นเจ้านาย มีอันจะกิน ต้องตกระกำลำบาก เช่นนี้ นานถึง 6 เดือนกว่า จึงจะโชคดี และได้พบกับสมภารทองสุก (ชาวยโสธร) ขณะที่ ท้าวกวดกำลังนอนหลับบนศาลา สมภารทองสุกจึงปลุกและถามสารทุกข์สุขดิบกับท้าวกวดว่าเหตุใดจึงมานอนบนศาลาเช่นนี้ ท้าวกวดจึงเล่าความจริงให้แก่สมภารทองสุกให้ได้ทราบ สมภารทองสุกจึงเกิดความสงสาร จึงได้ทำการบรรพชาให้ท้าวกวดเป็นสามเณร เล่าเรียนภาษาบาลีและภาษาไทย ศึกษาพระธรรมวินัย จนรู้ลึกและแตกฉาน ต่อมาได้อุปสมบทต่อได้ประมาณ 2 พรรษา ก็ได้ลาสิกขา ออกไปทำราชการขึ้นกับเมืองอุบลราชธานี ได้รับการดูแลอย่างดีจากกรมการเมืองอุบลฯ จนมีความดีความชอบจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ “ท้าวมหาชัย”
จนต่อมา ท้าวกวดได้รับจดหมายจากพระขัติยะวงศา (จันทร์) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด เรียกตัวให้กลับไปทำงานรับราชการที่เมืองร้อยเอ็ดท้าวกวดจึงได้กลับไปรับราชการที่เมืองร้อยเอ็ดและอยู่กับพระญาติของตน เมื่อราวประมาณปี พ.ศ. 2399 และในปีพ.ศ. 2402 รัชการที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ข้าหลวงกองสักออกไปสักเลขทางหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือ กรมการเมืองร้อยเอ็ดได้นำตัวเลขไปสัก ปรากฏว่ามีจำนวนมากถึง 13,000 คนเศษ ท้าวจันทร์ เจ้าเมืองร้อยเอ็ดจึงคิดว่า พลเมืองของเมืองร้อยเอ็ดมีจำนวนมากอีกทั้งท้าวกวดมีความชอบในราชการมากมาย ทั้งซื่อสัตย์ มีสติปัญญาที่ดี สมควรได้แยกออกไปตั้งเมืองใหม่ เป็นเจ้าเมือง ท้าวจันทร์จึงถกกันกับกรมการเมืองร้อยเอ็ด ผลปรากฏว่า ต่างเห็นดีเห็นชอบให้แยกออกไปตั้งเมืองใหม่ ท้าวจันทร์เจ้าเมืองร้อยเอ็ดจึงเห็นชอบ ให้ท้าวกวดแยกออกไปตั้งเมืองใหม่ขึ้น ซึ่งท้าวมหาชัยหรือกวดนี้เอง เป็นต้นตระกูล ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม
ภายหลังจากการเห็นดีเห็นชอบ ต่อมาท้าวกวดตัดสินใจเสนอที่ตั้งเมืองในสองบริเวณ คือ บ้านลาดและกุดยางใหญ่ ขึ้นเป็นเมืองมหาสารคาม โดยคำว่า ”กุด” ภาษาลาวอีสานโบราณแปลว่า “แหล่งน้ำ” ดังนัน กุดยางใหญ่ จึงแปลว่า แหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยต้นยางขนาดใหญ่ ส่วนบ้านลาดนั้นเป็นบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึงเนื่องจากเป็นเนินดินสูง ต่อมา รัชกาลที่ 4 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยก “บ้านลาดกุดยางใหญ่” หรือที่แผลงมาเป็น “บ้านลาดกุดนางใย” เป็น เมืองมหาสาลคาม (ภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น “มหาสารคาม”) แปลงจากชื่อภาษาไท-ลาว เป็น ภาษาบาลี-สันสกฤต ซึ่งแปลตามตัวได้ดังนี้ มหา แปลว่า “ใหญ่” สาล แปลว่า ต้นยาง และ คาม แปลว่า “กุฏิ” หรือที่อยู่อาศัย แต่ส่วนกลางน่าจะเข้าใจผิด เข้าใจไปเองว่า กุด แปลว่า “กุฏิ” แต่แท้ที่จริง กุด แปลว่า “แหล่งน้ำ” ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้ ท้าวมหาชัย (กวด) เป็นที่ พระเจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืองมหาสารคามท่านแรก โดยตั้งให้ ท้าวบัวทอง (พานทอง) เป็นอรรคฮาช ท้าวไชยวงศา (ฮึง) ซึ่งเป็นบุตรท้าวสีลัง เป็นอรรควงศ์ ท้าวเถื่อน ซึ่งเป็นบุตรท้าวจันทร์ เป็นอรรคบุตร ยกเมืองมหาสารคาม เป็นเมืองขึ้นของเมืองร้อยเอ็ด ในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2408
ต่อมาในปี พ.ศ. 2412 ให้แยกเมืองมหาสารคามออกจากเมืองร้อยเอ็ดและยกฐานะเมืองมหาสารคามขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และเปลี่ยนตำแหน่งยศ ของอรรคฮาช อรรควงศ์ และ อรรคบุตรให้เลื่อนขึ้นเป็นอุปฮาช(อุปราช) ราชวงศ์ ราชบุตร ตามลำดับ
ศึกปราบฮ่อที่เมืองหนองคาย และการยกฐานะเจ้าเมืองมหาสารคามในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนปลาย
แก้ต่อมา พ.ศ. 2418 พวกฮ่อได้ยกทัพมาตีหัวเมืองขึ้นและประเทศราชของไทย ยึดเมืองหลวงพระบางและเมืองพวนได้จึงรุกต่อมาจะยึดบริเวณที่เคยเป็นเมืองเวียงจันทน์ (เดิม) แต่ร้างไป ซึ่งเป็นเขตแดนของเมืองหนองคายในขณะนั้นและจะยึดเมืองหนองคายอย่างต่อเนื่อง รัชการที่ 5 ทรงโปรดเกล้าให้ พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) ขึ้นไปปราบโจรฮ่อที่เมืองหนองคาย พระยามหาอำมาเขา (ชื่น) ได้สั่งให้พระเจริญราชเดช (กวด) เป็นแม่ทัพหน้า และให้ราชบุตรเสือ เมืองร้อยเอ็ดเป็นนายกองผู้ช่วยพระเจริญราชเดช (กวด) เกณฑ์กำลังเมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม ยกไปสมทบกับทัพเมืองอุบลราชธานีและเมืองกาฬสินธุ์ ทัพไทยได้ยกไปตีจนฮ่อแตกพ่าย ซึ่งระหว่างการทำศึก ราชบุตร (เสือ) ถูกฮ่อยิงโดนมือขวาจนเลือดไหล ไพร่พลจึงช่วยกันพยุงพากลับเมือง ส่วนทางฝั่งพระเจริญราชเดช (กวด) ได้ถูกฮ่อยิงที่แขนซ้ายและต้นขาซ้าย อาการสาหัส ไพร่พลจึงพากันช่วยพยุงจะพากลับ แต่พระเจริญราชเดช (กวด) ไม่ยอมกลับ อ้างว่า “กลับไปก็อายเขา เมื่อถึงที่ตายก็ขอให้ตายในที่รบ” จึงสั่งให้ไพร่พลพาขึ้นหลังม้าและออกไปรบต่อ
ต่อมากองทัพไทยได้ชัยชนะ ตีพวกฮ่อจนแตกหนีไป ทัพไทยจับพวกฮ่อเป็นเชลยได้จำนวนมากพร้อมอาวุธมากมาย หลังจากเสร็จศึกปราบฮ่อเรียบร้อยแล้ว. พระยามหาอำมาตย์(ชื่น) ข้าหลวงใหญ่ภาคอีสานกลับไปจัดราชการอยู่ที่เมืองร้อยเอ็ดต่อ ส่วนพระเจริญราชเดช (กวด) ซึ่งถูกยิงจนอาการสาหัส มีอาการป่วยได้กลับมาพักรักษาตัวที่เมืองมหาสารคาม
ด้วยคุณงามความดีของท่าน รัชการที่ 5 จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเลื่อนฐานะยกย่องท้าวกวดให้สูงขึ้นกว่าเดิม เปรียบเสมือนดั่งเจ้าประเทศราช พระราชทานนามบรรดาศักดิ์ ให้แก่ พระเจริญราชเดช (มหาชัยกวด) เป็นที่ พระเจริญราชเดชวรเชษฐมหาขัติยพงศ์สุรชาติ ประเทศราชธำรงค์รักษ์ ศักดิ์กิติยศเกรียงไกร ศรีพิชัยเทพวราฤทธิ์พิษณุพงศ์ปรีชา สิงหบุตรสุวัฒนา นคราภิบาล ถือได้ว่าท่านได้รับพระราชทินนามที่สมศักดิ์ศรีของเจ้าเมืองที่ได้กระทำคุณงามความดีให้แก่แผ่นดินไทย และต่อมา เป็นผลมาจากความบอบช้ำสาหัสจากสงคราม ท่านจึงได้ถึงแก่พิราลัยลง ในปีพ.ศ. 2421 สิริมายุรวม 43 ปี พระเจริญูราชเดช หรือท้าวมหาชัย (กวด) มีอีกพระนามว่า "อาชญาพ่อหลวงมหาชัย" อันเนื่องมาจากท่านเป็นที่เคารพนับถือของลูกหลานชาวมหาสารคาม จากคุณงามความดีที่ท่านได้ทำไว้แก่ชาติบ้านเมือง ปกป้องบ้านเมืองด้วยชีวิต อย่างกล้าหาญและไม่กลัวตาย
หลังศึกปราบฮ่อ
แก้ต่อมา เจ้าอุปราชฮึง เล็งเห็นว่า ท้าวสุพรรณ บุตรพระเจริญราชเดชสมควรที่จะขึ้นเป็นเจ้าเมืองต่อไป จึงร่วมกันปรึกษากับกรมการเมือง จึงเป็นที่แน่ชัดว่าควรให้ท้าวสุพรรณลงไปกรุงเทพฯ เพื่อขอพระราชทานเป็นเจ้าเมือง แต่ปรากฏว่าระหว่างการเดินทางลงกรุงเทพท้าวสุพรรณได้ถึงแก่กรรมเสียก่อนในระหว่างทาง ตำแหน่งเจ้าเมืองมหาสารคามจึงได้ว่างเว้นไปถึง 2 ปี โดยมีผู้รักษาการคือเจ้าอุปราช(ฮึง)
พ.ศ. 2422 ขุนหลวงสุวรรณพันธนากร (คำภา) และขุนสุนทรภักดี ผู้ที่หลอกตัวเองว่าเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์เที่ยวอ้างไปทั่ว โดยอ้างว่าตนขึ้นมาช่วยชำระคดีแก่ราษฎร เจ้าอุปราช (ฮึง) ไม่เชื่อจึงจับตัวทั้งคู่ ส่งตัวลงไปยังกรุงเทพฯ ในปีเดียวกัน ผลปรากฏว่าเป็นพวกหลอกลวงต้มตุ๋นจริง จากความดีความชอบ รัชการที่ 5 จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เจ้าอุปราช (ฮึง) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองมหาสารคาม เป็นที่ “พระเจริญราชเดช” (ฮึง) และในปีเดียวกันได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองพยัคฆภูมิพิสัย ขึ้นเป็นเมืองชั้นตรีขึ้นกับเมืองชั้นเอกอย่างเมืองสุวรรณภูมิ แรกเริ่มตั้งเมืองเลยเขตแดนมายังเขตเมืองมหาสารคาม ภายหลังถูกเจ้าเมืองมหาสารคามท้วงติง จึงถอยกลับไปตั้งเมืองในเขตแดนเมืองสุวรรณภูมิแทน เนื่องด้วยสาเหตุดังกล่าว เพื่อความได้เปรียบในการรับรองเขตแดน
ปี พ.ศ. 2425 เจ้าเมืองมหาสารคาม มีใบบอกขอโปรดเกล้า ยกบ้านนาเลาขึ้นเป็นเมือง “วาปีปทุม” แต่ไม่ได้ไปตั้งเมืองที่บ้านนาเลา ตามที่ร้องขอไว้ แต่กลับไปตั้งที่บ้านหนองแสงแทน (แย่งเขตแดนของเมืองสุวรรณภูมิ) และต่อมาโปรดเกล้า ให้ยกบ้านวังทาหอขวาง (บึงกุย) ขึ้นเป็นเมือง “โกสุมพิสัย”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 เจ้าอุปราชเมืองสุวรรณภูมิ (รักษาการ) มีใบบอกกล่าวโทษต่อ เมืองมหาสารคาม เมืองศรีสะเกษ เมืองสุรินทร์ ว่าแย่งเอาเขตของตนไปตั้งเป็นเมือง กล่าวคือ เมืองมหาสารคาม ขอเอาบ้านนาเลาตั้งเป็นเมืองวาปีปทุมขึ้นเมืองมหาสารคาม (ซึ่งไม่ได้ตั้งตามที่ขอไว้ แต่ไปตั้งเมืองล้ำเข้าไปในเขตเมืองสุวรรณภูมิจริง) เมืองศรีสะเกษ ขอเอาบ้านโนนหินกองตั้งเป็นเมืองราษีไศลขึ้นเมืองศรีสะเกษ และเมืองสุรินทร์ ขอเอาบ้านทัพค่ายตั้งเป็นเมืองชุมพลบุรีขึ้นเมืองสุรินทร์ จึงได้โปรดเกล้า ให้ข้าหลวงนครจำปาศักดิ์ ข้าหลวงอุบลราชธานี ให้ทำการไต่สวนว่ากล่าวในเรื่องนี้ ผลการสอบสวนปรากฏว่าได้คำสัตย์จริงดังที่เจ้าเมืองสุวรรณภูมิได้กล่าวโทษไว้ แต่เมืองเหล่านี้ได้ตั้งมานานหลายปีแล้ว อีกทั้งยังมีชุมชนตั้งเป็นหลักเป็นแหล่งอย่างเข้มแข็ง จึงรื้อถอนได้ยาก จึงทรงโปรดเกล้า ให้เมืองวาปีปทุม เมืองราษีไศล เมืองชุมพลบุรี เป็นเมืองขึ้นของเมืองมหาสารคาม เมืองศรีสะเกษ เมืองสุรินทร์ ตามลำดับตามเดิม โดยมิให้โยกย้ายหรือรื้อถอนแต่ประการใด
การลดทอนอำนาจของเจ้าเมืองประเทศราชและเมืองขึ้นในดินแดนภาคอีสานให้มาอยู่ในการกำกับดูแลของข้าหลวงต่างพระองค์ และการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
แก้ต่อมาในปีพ.ศ. 2433 โปรดเกล้า ส่งข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์ ไปกำกับราชการ(หัวเมืองตะวันออก) แบ่งออกแป็น 4 ส่วน คือ 1.หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ 2.หัวเมืองลาวฝ่ายกลาง 3.หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก 4.หัวเมืองลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเมืองมหาสารคามขึ้นกับหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ โดยข้าหลวงถูกส่งมาจากส่วนกลางให้มาช่วยกำกับดูแลเจ้าเมือง (การจะกระทำการอันใดจะต้องผ่านความเห็นชอบของข้าหลวงกำกับเมืองด้วย จึงจะพึงปฏิบัติได้) ถือว่าเป็นการลดทอนอำนาจของเจ้าเมืองพื้นถิ่นลงไปอย่างมาก กล่าวคือ เมืองประเทศราชหรือฐานะของความเป็นเมืองประเทศราชของเมืองต่างๆภายในภาคอีสานต่างถูกยุบและยกเลิกอย่างเป็นทางการและขึ้นกับส่วนกลางโดยตรงตั้งแต่ครั้งที่ส่วนกลางส่งข้าหลวงมากำกับดูแลเจ้าเมืองนั้นเอง (ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2433 เป็นต้นมา) ส่วนข้าหลวงกำกับเมืองก็ขึ้นตรงกับข้าหลวงใหญ่แต่ละฝ่าย และข้าหลวงใหญ่ขึ้นตรงกับส่วนกลางอีกที ซึ่ง เมืองมหาสารคาม ร้อยเอ็ด และเมืองกาฬสินธุ์ ขึ้นอยู่ในความปกครองของข้าหลวงเมืองอุบลฯ(ในกรณีเมืองชั้นเอกจะขึ้นกับทั้งข้าหลวงที่ถูกส่งไปกำกับและขึ้นกับกรุงเทพควบคู่กัน ในส่วนเมืองชั้นตรีโทจัตวาจะขึ้นกับเมืองชั้นเอกอีกทีหนึ่ง และเมืองชั้นเอกไม่ได้ขึ้นตรงต่อกันและกันแม้ว่าเมืองชั้นเอกเมืองใดจะเป็นที่ตั้งศูนย์บัญชาการข้าหลวงก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น เมืองกาฬสินธุ์ซึ่งเป็นเมืองชั้นเอกขึ้นกับข้าหลวงเมืองอุบลโดยข้าหลวงท่านหนึ่งสามารถกำกับและมีเจ้าเมืองชั้นเอกขึ้นตรงได้หลายเมือง แต่เมืองกาฬสินธุ์ไม่ได้ขึ้นกับเมืองอุบลราชธานีแต่ขึ้นกับกรุงเทพฯ (เพราะเมืองอุบลราชธานีก็คือเมืองชั้นเอกที่ต้องขึ้นกับข้าหลวงกำกับและขึ้นกับกรุงเทพฯด้วยเช่นกัน) และเมืองกุดสิมนารายณ์ซึ่งเป็นเมืองชั้นตรีก็ขึ้นกับเมืองกาฬสินธ์อีกที เป็นต้น ดังนั้น ตำแหน่งข้าหลวงกำกับชื่อเมืองนั้นๆ,ข้าหลวงใหญ่,ข้าหลวงประจำบริเวณหรือมณฑลนั้นๆที่มีชื่อต่อท้ายด้วยชื่อเมืองนั้นๆ จึงเป็นเพียงแค่การใช้พื้นที่หรือเขตแดนของเมืองนั้นๆบางส่วนไปตั้งกองบัญชาการข้าหลวง (ศูนย์กลาง) ขึ้นและเมืองหรือเจ้าเมืองที่กองบัญชาการข้าหลวงนั้นๆได้ไปตั้งก็ต้องขึ้นกับกองข้าหลวงนั้นๆที่ได้ไปตั้งในพื้นที่เมืองของตนด้วยเฉกเช่นเดียวกัน)
ต่อมา ส่วนกลางส่งให้นายรองชิต (เลื่อง ณ นคร ) เป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองร้อยเอ็ดและเมืองมหาสารคาม ซึ่งตั้งที่ทำการข้าหลวงอยู่ที่เมืองมหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2435 (เป็นครั้งแรก)
พ.ศ. 2437 มีการโอนเมืองชุมพลบุรีจากแขวงเมืองสุรินทร์ให้มาขึ้นตรงต่อเมืองมหาสารคามชั่วคราว ต่อมาประมาณ 6 ปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2443 มีการยุบเมืองชุมพลบุรีเป็นอำเภอชุมพลบุรีแล้วจึงโอนย้ายกลับไปขึ้นกับเมืองสุรินทร์เหมือนเดิม) ในปีเดียวกันนั้น มีการแบ่งหัวเมืองในมณฑลอีสานออกเป็นบริเวณ 5 บริเวณ(ซึ่งเมืองในสังกัดบริเวณไม่จำเป็นจะต้องขึ้นตรงหรือกลายเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองที่ถูกตั้งเป็นศูนย์กลางบริเวณเสมอไป) โดยแบ่งออกเป็นได้ดังนี้ คือ 1) บริเวณอุบล 2) บริเวณจำปาศักดิ์ 3) บริเวณร้อยเอ็ด 4) บริเวณบริเวณขุขันธ์ 5) บริเวณสุรินทร์ โดยที่บริเวณร้อยเอ็ดมีเมืองที่สังกัดต่อข้าหลวงประจำบริเวณ ทั้งหมด คือ 5 หัวเมือง คือ 1) เมืองร้อยเอ็ด 2) เมืองมหาสารคาม 3) เมืองกาฬสินธุ์ (ถูกยุบลงเป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด ภายหลังเมื่อมีการตั้งมณฑลร้อยเอ็ดขึ้น จึงถูกยกฐานะเป็นจังหวัดอุทัยกาฬสินธุ์ แล้วต่อมาถูกยุบเป็นอำเภอหลุบขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม อีกครั้งใน ปี 2474 ในยุคข้าวยากหมากแพง แล้ว กลับตั้งเป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ขึ้นใหม่ เมื่อปี 2490) 4) เมืองสุวรรณภูมิ (ภายหลังถูกยุบลงเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด) 5) เมืองกมลาไสย (ภายหลังถูกยุบลงเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดกาฬสินธุ์)
ในปี พ.ศ. 2440 ได้มีการให้ยุบตำแหน่งเจ้าเมือง เป็น ผู้ว่าราชการเมือง ลดบทบาทเจ้าเมืองลงให้มาขึ้นกับส่วนกลางอย่างเต็มที่
พ.ศ. 2443 อุปฮาด (เถื่อน รักษิกจันทร์) ได้รักษาการเมืองมหาสารคาม เป็นผู้ว่าราชการเมือง หรือ เจ้าเมืองคนที่ 3
พ.ศ. 2444 เมืองมหาสารคาม มีอำเภอภายใต้การปกครอง ทั้งหมด 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออุทัยสารคาม อำเภอประจิมสารคาม อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอวาปีปทุม
พ.ศ. 2446 มีการยุบตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองทิ้ง และในปีเดียวกัน พระพิทักษ์นรากร(อุ่น) ได้เป็นผู้ว่าราชการเมือง ต่อมาภายหลัง ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองมหาสารคามคนที่ 4 มีทินนามว่า "พระเจริญราชเดช(อุ่น)"
พ.ศ. 2451 ส่วนกลางเปลี่ยน บริเวณ เป็น เมือง กล่าวคือ ให้บางบริเวณที่เป็นที่ตั้งศูนย์กลางบริเวณ (เมืองใหญ่ที่สุดในบริเวณ) ให้เปลี่ยนเป็นเมือง (เทียบเท่าจังหวัด) และให้เมืองบริวาร (เมืองรองในบริเวณ) ลดฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองที่เป็นที่ตั้งศูนย์กลางบริเวณ และในปีเดียวกัน ภายหลังมีการยุบเมืองสุวรรณภูมิให้กลายเป็นอำเภอขึ้นตรงต่อจังหวัดร้อยเอ็ด จึงมีการโอนอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของเมืองสุวรรณภูมิ ให้โอนไปขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด
ในปี พ.ศ. 2456 มีการเปลี่ยน ที่ว่าการเมือง เป็น ศาลากลางจังหวัด และเปลี่ยนคุ้มของเจ้าเมือง เป็น จวนผู้ว่าราชการเมือง
พ.ศ. 2454 ย้ายอำเภอประจิมสารคาม ไปทางทิศตะวันตก และเปลี่ยนนาม เป็น อำเภอท่าขอนยาง และเปลี่ยนนามอำเภออุทัยสารคาม เป็น อำเภอเมืองมหาสารคาม
พ.ศ. 2459 มีการยกเลิกตำแหน่งปลัดมณฑลประจำจังหวัด และในปีเดียวกัน มีการเปลี่ยนชื่อผู้ว่าราชการเมือง เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด
พ.ศ. 2456 รัชการที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งมณฑลใหม่ขึ้นเป็น ”มณฑลร้อยเอ็ด” ตั้งที่ทำการมณฑลที่เมืองร้อยเอ็ด ซึ่งมณฑลร้อยเอ็ดประกอบด้วย จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์ ในปีนี้ได้มีการจัดตั้งศาลยุติธรรมขึ้นเป็นครั้งแรกของจังหวัดมหาสารคาม มีการโอนอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยจากจังหวัดร้อยเอ็ดให้มาขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม และโอนอำเภอกันทรวิชัย (อำเภอโคกพระ) จากจังหวัดกาฬสินธุ์ให้มาขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม ในปีเดียวกันนี้ จังหวัดมหาสารคามจึงมีอำเภอภายใต้การปกครองรวมทั้งหมด 6 อำเภอ ได้แก่ 1) อำเภอเมืองมหาสารคาม 2) อำเภอโกสุมพิสัย 3) อำเภอเมืองวาปีปทุม 4) พยัคฆภูมิพิสัย 5) อำเภอท่าขอนยาง (อำเภอบรบือ) 6) อำเภอกันทรวิชัย (อำเภอโคกพระ)
ในปี พ.ศ. 2457 ได้มีการสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นใหม่ ก่อสร้างเสร็จในปี 2467
พ.ศ. 2459 มีการเปลี่ยนเเปลงรูปเเบบการปกครองเปลี่ยนจากการใช้คำว่า เมือง เปลี่ยน เป็น จังหวัด อย่างเป็นทางการ ทั่วประเทศ เมืองมหาสารคาม จึงถูกเปลี่ยนเป็น จังหวัดมหาสารคาม มาตั้งเเต่บัดนั้น
ต่อมา พ.ศ. 2468 โปรดเกล้าฯ ให้ยุบมณฑลร้อยเอ็ดเป็นจังหวัด โอนจังหวัดทั้งหมดที่เคยขึ้นตรงต่อมณฑลร้อยเอ็ด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้ไปขึ้นอยู่กับมณฑลนครราชสีมา
พ.ศ. 2474 ในยุคข้าวยากหมากแพง ส่งผลให้ต้องมีการลดค่าใช้จ่ายและงบประมาณลง จึงได้มีการยุบจังหวัดกาฬสินธุ์ (หรืออุทัยกาฬสินธุ์) ลงเป็นอำเภอ ให้มารวมกับจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งอำเภอเมืองอุทัยกาฬสินธ์จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ”อำเภอหลุบ” ขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม และโอนอำเภอที่เคยขึ้นต่อจังหวัดกาฬสินธุ์มาขึ้นกับจังหวัดมหาสารคามทั้งหมด รวมอำเภอที่ขึ้นกับจังหวัดมหาสารคามได้ทั้งหมดเป็น 11 อำเภอ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่อาณาเขตของจังหวัดมหาสารคามมีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา (รวมพื้นที่ทั้งจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน)
การเปลี่ยนแปลงการปกครองหลัง การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
แก้ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็น ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยคณะราษฎร์ ซึ่งนำโดย พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช และพระยาฤทธิอาคเณ
ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 รัชการที่ 7 ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ชาวสยาม ในปีเดียวกัน จังหวัดมหาสารคามได้จัดตั้ง “สาขาสมาคมคณะราษฎร์” ประจำจังหวัดมหาสารคาม ขึ้นเป็นครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2476 เดือนกันยายน จังหวัดมหาสารคาม มีการจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนตำบล เป็นครั้งแรก และ ในปีเดียวกัน เดือน พฤศจิกายน จังหวัดมหาสารคาม มีการจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร เป็นครั้งแรก โดยให้ผู้แทนตำบลทั่วทั้งจังหวัดเป็นผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง และต่อมา ได้เปลี่ยน ”ผู้ว่าราชการจังหวัด” เป็น “ข้าหลวงประจำจังหวัด” ภายหลังได้เปลี่ยนกลับมาใช้คำว่า” ผู้ว่าราชการจังหวัด” อีกครั้ง
ในปีพ.ศ. 2490 แยกอำเภอกาฬสินธุ์(หลุบ) และบางอำเภอ ออกจากจังหวัดมหาสารคาม และยกฐานะอำเภอกาฬสินธุ์ขึ้นเป็นจังหวัดกาฬสินธุ์มาตั้งแต่บัดนั้น
ต่อมาใน พ.ศ. 2496 ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม สร้างเสร็จสิ้น และใช้งานเรื่อยมาจนจวบปัจจุบัน โดยจังหวัดมหาสารคาม ในปีเดียวกันนี้ มีเขตการปกครอง ทั้งหมด 10 แห่ง โดย แบ่งเป็น อำเภอ 9 แห่ง และกิ่งอำเภอ 1 แห่ง ได้แก่ 1.อำเภอเมืองมหาสารคาม 2.อำเภอบรบือ 3.อำเภอกันทรวิชัย 4.อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย 5.อำเภอนาดูน 6.อำเภอวาปีปทุม 7.อำเภอนาเชือก 8.อำเภอเชียงยืน 9.อำเภอโกสุมพิสัย 10.กิ่งอำเภอแกดำ (ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอแกดำ)[34]
เมืองมหาสารคามได้สร้างวัดดอนเมือง ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดข้าวฮ้าว (วัดธัญญาวาส) และได้ย้ายกองบัญชาการไปอยู่ริมหนองกระทุ่มด้านเหนือของวัดโพธิ์ศรีปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2456 หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัด โดยความเห็นชอบของพระมหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิริยะศิริ) ได้ย้ายศาลากลางไปอยู่ที่ตั้งศาลากลางหลังเดิม (ที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคามปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2542 ได้ย้ายศาลากลางไปอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง หรือผู้ว่าราชการจังหวัด รวม 46 คน[35]
ความเปลี่ยนแปลง
แก้สรุปความเปลี่ยนแปลงเด่นๆของเมืองมหาสารคาม ระหว่างปี พ.ศ. 2408-2500 นับจากวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2408 ถึงปี พ.ศ. 2500 เมืองมหาสารคามมีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประการคือ
- พ.ศ. 2408 ขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด
- พ.ศ. 2412 ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2419 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เลื่อนฐานะพระเจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืองมหาสารคาม ให้มีพระราชทินนามว่า พระเจริญราชเดช วีรเชษฐ์มหาขัติยพงศ์ รวิวงศ์สุรชาติ ประเทศราชธำรงรักษ์ ศักดิ์กิติยศเกรียงไกร ศรีพิชัยเทพวรฤทธิ์ พิศอนุพงศ์ปรีชา สิงหบุตรสุวัฒนา นคราภิบาล ชาญพิชัยสงคราม
- พ.ศ. 2422 พระเจริญราชเดช (ฮึง) เป็นเจ้าเมืองมหาสารคาม คนที่ 2
- พ.ศ. 2425 ตั้งบ้านนาเลาขึ้นเป็นเมืองวาปีปทุม และตั้งบริเวณบึงกุย เป็นเมืองโกสุมพิสัย ขึ้นกับเมืองมหาสารคาม
- พ.ศ. 2443 ส่วนกลางให้ยุบตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง(ลดทอนอำนาจของเจ้านายท้องถิ่น) ในปีเดียวกันนั้นได้มีการแบ่งเมืองมหาสารคามออกเป็น 2 อำเภอ คือ อำเภออุทัยสารคาม และอำเภอประจิมสารคาม
- พ.ศ. 2446 พระพิทักษ์นรากร(อุ่น) ได้เป็นผู้ว่าราชการเมือง ต่อมาภายหลัง ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองมหาสารคามคนที่ 4 มีทินนามว่า "พระเจริญราชเดช(อุ่น)"
- พ.ศ. 2455 ยุบตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมี หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามคนแรก
- พ.ศ. 2459 มีการเปลี่ยนเเปลงรูปเเบบการปกครองเปลี่ยนจากการใช้คำว่า เมือง เปลี่ยน เป็น จังหวัด อย่างเป็นทางการ ทั่วประเทศ เมืองมหาสารคาม จึงถูกเปลี่ยนเป็น จังหวัดมหาสารคาม มาตั้งเเต่บัดนั้น
- พ.ศ. 2475 เปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และในปีเดียวกันนั้น ให้ยุบจังหวัดอุทัยกาฬสินธุ์ให้ลงเป็นอำเภอหลุบขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม และโอนทุกอำเภอที่เคยขึ้นกับจังหวัดอุทัยกาฬสินธ์ให้โอนมาเป็นอำเภอขึ้นตรงต่อจังหวัดมหาสารคาม
- พ.ศ. 2477 มีการขุดคลองสมถวิล เพื่อสร้างเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ ของชาวชุมชนเมืองมหาสารคาม
- พ.ศ. 2478 จังหวัดมหาสารคามมีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามขึ้น
- พ.ศ. 2490 แยกอำเภอกาฬสินธุ์(หลุบ) และบางอำเภอ ออกจากจังหวัดมหาสารคาม และยกฐานะอำเภอกาฬสินธุ์ขึ้นเป็นจังหวัดกาฬสินธุ์มาตั้งแต่บัดนั้น
- พ.ศ. 2498 จังหวัดมหาสารคามมีการจัดตั้งเทศบาลเมืองมหาสารคาม
- พ.ศ. 2500 มีการสร้างหอนาฬิกาขึ้นเพื่อเป็นแลนด์มาร์กใจกลางตัวเมืองของจังหวัด
ภูมิศาสตร์
แก้ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้จังหวัดมหาสารคามตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 5,300 ตารางกิโลเมตร (3,307,300 ไร่) ระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร 475 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้[36]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดกาฬสินธุ์
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดร้อยเอ็ด
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดบุรีรัมย์
จังหวัดมหาสารคามมีฉายาเป็น "ดินแดนแห่งสะดืออีสาน" เนื่องจากตั้งอยู่ที่จุดกึ่งกลางของภาคอีสาน ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านบึงกุย หมู่ 13 ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย)[37]
ภูมิประเทศ
แก้โดยทั่วไป จังหวัดมหาสารคามมีพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130 – 230 เมตร ทิศตะวันตกและทิศเหนือเป็นที่สูงในเขตอำเภอโกสุมพิสัย อำเภอเชียงยืน และอำเภอกันทรวิชัย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัด และค่อย ๆ เทลาดมาทางทิศตะวันออกและทิศใต้[36]
สภาพพื้นที่แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ [36]
- พื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ — ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มริมน้ำ เช่น ที่ราบลุ่มริมแม่น้ำชี ในบริเวณอำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอโกสุมพิสัย และทางตอนใต้ของจังหวัดแถบชายทุ่งกุลาร้องไห้
- พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบสลับกับลูกคลื่นลอนลาด — ตอนเหนือของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เป็นแนวยาวไปทางตะวันออก ถึงอำเภอเมืองมหาสารคาม]
- พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดสลับกับพื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน — ตอนเหนือและตะวันตกของจังหวัด บริเวณนี้มีเนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัด
ภูมิอากาศ
แก้ลักษณะภูมิอากาศในเขตจังหวัดมหาสารคาม เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มีฝนตกสลับกับอากาศแห้ง ในปี พ.ศ. 2555 มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือน 118.1 มิลลิเมตร และปริมาณน้ำฝนมากที่สุดที่ 414.9 มิลลิเมตร ในเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคม-กรกฎาคม ที่ 27.91 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39.3 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด 15.0 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย ประมาณ 73.55 % (เดือนมกราคม - กรกฎาคม)[36]
การเมืองการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้จังหวัดมหาสารคามแบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ, 133 ตำบล, 1,804 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอดังนี้
แผนที่ | ||||
---|---|---|---|---|
เลข | ชื่ออำเภอ | จำนวนตำบล | พื้นที่ (ตร.กม.) |
ระยะห่าง จาก ศาลากลาง (กม.) |
1 | อำเภอเมืองมหาสารคาม | 14 | 556.697 | — |
2 | อำเภอแกดำ | 5 | 149.521 | 26 |
3 | อำเภอโกสุมพิสัย | 17 | 827.876 | 30 |
4 | อำเภอกันทรวิชัย | 10 | 372.221 | 17 |
5 | อำเภอเชียงยืน | 8 | 289.027 | 37 |
6 | อำเภอบรบือ | 15 | 681.622 | 26 |
7 | อำเภอนาเชือก | 10 | 528.198 | 58 |
8 | อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย | 14 | 409.783 | 84 |
9 | อำเภอวาปีปทุม | 15 | 605.774 | 42 |
10 | อำเภอนาดูน | 9 | 248.449 | 67 |
11 | อำเภอยางสีสุราช | 7 | 242.507 | 75 |
12 | อำเภอกุดรัง | 5 | 267 | 40 |
13 | อำเภอชื่นชม | 4 | 113.008 | 56 |
รวม | 133 | 5,291.683 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้จังหวัดมหาสารคามมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 143 แห่ง เป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง ประกอบด้วย เทศบาล 47 แห่ง เป็นเทศบาลเมือง 1 แห่ง คือเทศบาลเมืองมหาสารคาม และเทศบาลตำบล 18 แห่ง ที่เหลือเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 123 แห่ง[38] โดยเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม มีดังนี้
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด
แก้ลำดับ | ปี พ.ศ. | พระนาม / ชื่อ เจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการจังหวัด |
---|---|---|
1 | 2408 - 2422 | พระเจริญราชเดช (ท้าวมหาชัย กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม ต้นตระกูล ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) |
2 | 2422 - 2443 | พระเจริญราชเดช (ท้าวไชยวงษา ฮึง ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) |
3 | 2443 - 2444 | อุปฮาด (เถื่อน รักษิกจันทร์) |
4 | 2444 - 2455 | พระเจริญราชเดช (ท้าวโพธิสาร อุ่น ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) |
5 | 2455 - 2459 | หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน |
6 | 2460 - 2462 | พระยาสารคามคณาพิบาล (พร้อม ณ นคร) |
7 | 2462 - 2466 | พระยาสารคามคณาพิบาล (ทิพย์ โรจน์ประดิษฐ์) |
8 | 2466 - 2468 | พระยาประชากรบริรักษ์ (สาย ปาละนันทน์) |
9 | 2468 - 2474 | พระยาสารคามคณาพิบาล (อนงค์ พยัคฆันต์) |
10 | 2474 - 2476 | พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพย์สาร) |
11 | 2476 - 2482 | หลวงอังคณานุรักษ์ (สมถวิล เทพาคำ) |
12 | 2482 - 2484 | หลวงประสิทธิ์บุรีรักษ์ (ประสิทธ์ สุปิยังตุ) |
13 | 2484 - 2486 | หลวงบริหารชนบท (ส่าน สีหไตร) |
14 | 2486 - 2489 | ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี ไมตรีประชารักษ์) |
15 | 2489 - 2490 | ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์) |
16 | 2490 - 2493 | ขุนพิศาลาฤษดิ์กรรม (ทองใบ น้อยอรุณ) |
17 | 2493 - 2495 | นายเชื่อม ศิริสนธิ |
18 | 2495 - 2500 | หลวงอนุมัติราชกิจ (อั๋น อนุมัติราชกิจ) |
19 | 2500 - 2501 | ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์) |
20 | 2501 - 2506 | นายนวน มีชำนาญ |
21 | 2506 - 2510 | นายรง ทัศนาญชลี |
22 | 2510 - 2513 | นายเวียง สาครสินธุ์ |
23 | 2513 - 2514 | นายพล จุฑางกูร |
24 | 2514 - 2517 | นายสุจินต์ กิตยารักษ์ |
25 | 2517 - 2519 | นายชำนาญ พจนา |
26 | 2519 - 2522 | นายวุฒินันท์ พงศ์อารยะ |
27 | 2522 - 2523 | นายสมภาพ ศรีวรขาน |
28 | 2523 - 2524 | ร้อยตรีกิตติ ปทุมแก้ว |
29 | 2524 - 2526 | นายธวัช มกรพงศ์ |
30 | 2526 - 2528 | นายสมบูรณ์ พรหมเมศร์ |
31 | 2528 - 2531 | นายไสว พราหมมณี |
32 | 2531 - 2534 | นายจินต์ วิภาตะกลัศ |
33 | 2534 - 2535 | นายวีระชัย แนวบุญเนียร |
34 | 2535 - 2537 | นายภพพล ชีพสุวรรณ |
35 | 2537 - 2538 | นายประภา ยุวานนท์ |
36 | 2538 - 2540 | นายวิชัย ทัศนเศรษฐ |
37 | 2540 - 2542 | นายเกียรติพันธ์ น้อยมณี |
38 | 2542 - 2544 | นางศิริเลิศ เมฆไพบูลย์ |
39 | 2544 - 2546 | นายสมศักดิ์ แก้วสุทธิ |
40 | 2546 - 2548 | นายวิทย์ ลิมานนท์วราไชย |
41 | 2548 - 2550 | นายชวน ศิรินันท์พร |
42 | 2550 - 2551 | นายรังสรรค์ เพียรอดวงษ์ |
43 | 2551 - 2552 | นายพินิจ เจริญพานิช |
44 | 2552 - 2554 | นายทองทวี พิมเสน |
45 | 2554 - 2555 | นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน |
46 | 2555 - 2557 | นายนพวัชร สิงห์ศักดา |
47 | 2557 - 2558 | นายชยาวุธ จันทร |
48 | 2558 - 2559 | นายโชคชัย เดชอมรธัญ |
49 | 2559 - 2561 | นายเสน่ห์ นนทะโชติ |
50 | 2561 - 2563 | นายเกียรติศักดิ์ จันทรา |
51 | 2563 - 2566 | นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ |
52 | 2566 - ปัจจุบัน | นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต |
การคมนาคม
แก้ทางบก
แก้- รถยนต์ส่วนตัว
เส้นทางที่สะดวกและสั้นที่สุด คือใช้เส้นทางถนนพหลโยธินเข้าสู่จังหวัดสระบุรี และเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนมิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา เข้าสู่จังหวัดขอนแก่น แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนแจ้งสนิท จนกระทั่งเข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม
- รถโดยสารประจำทาง
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่บริเวณถนนเลียบคลองสมถวิล ผู้ให้บริการรถโดยสารจากกรุงเทพฯ อาทิ บริษัท ขนส่ง จำกัด, นครชัยแอร์, เชิดชัยทัวร์, รุ่งประเสริฐทัวร์ และชาญทัวร์ นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการรถโดยสารไปยังจังหวัดข้างเคียง อาทิ สหพันธ์ร้อยเอ็ดทัวร์, แสงประทีปทัวร์ และอื่น ๆ
จากอำเภอเมืองมหาสารคาม มีรถโดยสารประจำทางให้บริการไปยังอำเภอต่าง ๆ ได้แก่ พยัคฆภูมิพิสัย วาปีปทุม นาดูน นาเชือก บรบือ กุดรัง และเชียงยืน
จังหวัดมหาสารคามมีสถานีขนส่งผู้โดยสารหลายแห่ง ได้แก่ที่เทศบาลเมืองมหาสารคาม, บรบือ, พยัคฆภูมิพิสัย, วาปีปทุม และโกสุมพิสัย
- ทางรถไฟ
ในปัจจุบัน จังหวัดมหาสารคามยังไม่มีทางรถไฟตัดผ่าน สถานีรถไฟที่อยู่ใกล้ที่สุด ได้แก่ สถานีรถไฟขอนแก่น (71 กิโลเมตร) และสถานีรถไฟบ้านไผ่ (69 กิโลเมตร) ซึ่งทั้งสองสถานีนั้นอยู่ในจังหวัดขอนแก่น
ในอนาคต จะมีโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-นครพนม ซึ่งจะผ่านหลายจังหวัดในอีสานตอนกลาง รวมถึงมหาสารคามด้วย
ทางอากาศ
แก้จังหวัดมหาสารคามไม่มีท่าอากาศยาน จึงต้องใช้บริการท่าอากาศยานของจังหวัดข้างเคียง ได้แก่ ท่าอากาศยานขอนแก่น (82 กิโลเมตร), ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด (59 กิโลเมตร) และท่าอากาศยานบุรีรัมย์ (121 กิโลเมตร)
เศรษฐกิจ
แก้ประเพณีและวัฒนธรรม
แก้สถานที่สำคัญ
แก้โบราณสถาน
แก้- ดูเพิ่มเติมที่หัวข้อ รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดมหาสารคาม
พระอารามหลวง
แก้- วัดมหาชัย (พระอารามหลวง) พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- อำเภอเมืองมหาสารคาม
- ปรางค์กู่บ้านเขวา
- อ่างเก็บน้ำหนองแวง
- หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง
- แก่งเลิงจาน
- วัดมหาชัย (พระอารามหลวง)
- พิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม เทศบาลเมืองมหาสารคาม
- ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน
- สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
- พระพุทธกันทรวิชัยอภิสมัยธรรมนายก
- หอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
- หมู่บ้านปั้นหม้อ
- อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย
- วัดป่าวังน้ำเย็น (พระธาตุศรีสารคาม)
สถานที่สำคัญอื่น
แก้
|
งานกลองยาว
|
สถานพยาบาล
แก้- โรงพยาบาลมหาสารคาม (โรงพยาบาลทั่วไปขนาด 580 เตียง)
- โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- โรงพยาบาลมหาสารคามอินเตอร์เนชั่นแนล (เอกชน)
สถานศึกษา
แก้- ดูเพิ่มเติมที่หัวข้อ หมวดหมู่: สถาบันการศึกษา, สถาบันอุดมศึกษา ในจังหวัดมหาสารคาม,รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคามมีฉายาว่าเป็น "ตักสิลานคร" หรือแปลตามตัวคือ นครแห่งการศึกษา หรือเมืองแห่งการศึกษาของภาคอีสาน เนื่องจากมีสถาบันการศึกษาอยู่หลายแห่งและมีมากที่สุดแห่งหนึ่งของภาคอีสาน อีกทั้งยังมีมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ทำให้เป็นจังหวัดที่ได้รับความนิยมจากประชาชนในภาคอีสานทางด้านการศึกษา[39]
|
|
บุคคลที่มีชื่อเสียง
แก้พระภิกษุสงฆ์
แก้- พระธรรมวัชราจารย์ (น้อย ญาณวุฑฺโฒ) เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ฝ่ายมหานิกาย
- พระเทพสิทธิมงคล (พรหมา จนฺทโสภโณ) ป.ธ.5 อดีตเจ้าคณะจังหวัดเลย
- พระเทพวัชราภรณ์ (เฉลิม วีรธมฺโม)ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ฝ่ายธรรมยุต
- พระศรีวรญาณ วิ.(ไหล โฆสโก ป.ธ.๙)ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ฝ่ายมหานิกาย
- พระสารคามมุนี (บุญเรือง ฐานทตฺโต ป.ธ.๕)รองเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ฝ่ายมหานิกาย
- พระสุทธิธรรมโสภณ (สุทธิพงศ์ ชนุตฺตโม)อดีตเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ฝ่ายธรรมยุต
- พระวชิรญาณวิศิษฏ์ (สุริยันต์ โฆสปญฺโญ)
- พระครูโสภณสราธิการ (ขำ เกสาโร)
นักการเมือง ข้าราชการ
แก้- จำลอง ดาวเรือง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- รัชนี ศรีไพรวรรณ อดีตศึกษานิเทศก์ กระทรวงศึกษาธิการ
- สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย
- ศรีเมือง เจริญศิริ อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
- ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ส.ส.เเบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
- กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต1
- ไชยวัฒนา ติณรัตน์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต2
- ลัทธชัย โชคชัยวัฒนากร ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เขต3
- สรรพภัญญู ศิริไปล์ ส.ส.พรรคเพื่อไทยเขต4
- จิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต5
- รัฐ คลังแสง ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต6
- นายกองโท คมคาย อุดรพิมพ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
- ยิ่งยศ อุดรพิมพ์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ศิลปิน นักแสดง
แก้- ส้ม พฤกษา
- ศักดิ์สยาม เพชรชมภู
- เดือนเพ็ญ อำนวยพร
- ภูมิภาฑิต นิตยารส
- ลำยอง หนองหินห่าว
- ศร สินชัย
- เจนนิเฟอร์ คิ้ม
- รณวีร์ เสรีรัตน์
- สมบูรณ์ ปากไฟ
- บอย ศิริชัย หมอลำใจเกินร้อย
- ไพบูลย์ เสียงทอง
- ปรัชญากาญจน์ พรมกลิ้ง
- กฤษกร กนกธร
- พร ภิรดี หมอลำเพชรลำเพลิน
- โจ ยมนิล หมอลำสาวน้อยเพชรบ้านแพง และ หมอลำสาวน้อยลำเพลินโชว์
- หมอลำบัวริมบึง
นักกีฬา
แก้นักเรียบเรียงดนตรี
แก้ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 245 ง หน้า 4 วันที่ 2 ตุลาคม 2566
- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2565.
- ↑ "MSU at a glance". Mahasarakham University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-16. สืบค้นเมื่อ 6 December 2020.
- ↑ "สะดืออีสาน". www.m-culture.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-30. สืบค้นเมื่อ 2022-01-30.
- ↑ esan108.com (2015-10-10). "ทำไมจังหวัดมหาสารคาม ถึงได้ชื่อว่า "ตักสิลานคร"". อีสานร้อยแปด.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 "จำปานคร: ประวัติความเป็นมา". จำปานคร.
- ↑ “มรดกโลกที่วัดพู” ฟื้นฝอยหามรดกยุคอาณานิคมของอินโดจีนแห่งฝรั่งเศส เก็บถาวร 2021-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มูลนิธิ-ประไพร วิริยพันธุ์. 2016-2-1
- ↑ 9.0 9.1 สิลา วีระวงส์. พงศาวดารลาว. เวียงจันทน์: กระทรวงศึกษาธิการ, 2500.
- ↑ "ยาคูขี้หอม พระครูโพนสะเม็ก หรือเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก สปป.ลาว". ๑๐๘ พระเกจิ. 2020-10-29.
- ↑ คัมภีร์ใบลานเรื่อง พงสาวดารเมือง (บั้งจุ้มหรือตำนานเมือง) ฉบับวัดโพนกอก บ้านปากกะยุง เมืองทุละคม นครเวียงจัน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อักษรธรรมลาว มี ๓๕ หน้าลาน
- ↑ "หอพุทธศิลป์ มจร.วิทยาเขตขอนแก่น :::". www.mcukk.com.
- ↑ "ดอนขุมเงิน และบ่อพันขัน : เกลือ และน้ำศักดิ์สิทธิ์ สร้างอาณาจักรขอมโบราณ". matichonweekly.com. 2018-05-31.
- ↑ https://www.facebook.com/Sriphoum/posts/1551242851919445
- ↑ "ภูมิบ้านภูมิเมือง : เมืองร้อยเอ็ด ภูมิแห่งชัยชนะของพระเจ้าจิตรเสน". naewna.com. 2014-09-07.
- ↑ "เจ้าแก้วมงคล", วิกิพีเดีย, 2021-12-28, สืบค้นเมื่อ 2022-02-05
- ↑ 17.0 17.1 Unknown, เขียนโดย. "ประวัติอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด".
- ↑ 18.0 18.1 รัตนธรรม, อัญชลี; นิลวรรณาภา, ราชันย์ (2021-12-23). "การนำเสนออุดมการณ์ทางสังคมในกฎหมายโบราณอีสาน". วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9 (7): 3083–3095. ISSN 2539-6765.
- ↑ 19.0 19.1 "โครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน มมส". www.facebook.com.
- ↑ 20.0 20.1 ชวนากร จันนาเวช. (2560). กดหมายโบราณจากเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เอกสารวิชาการลำดับที่ 26 กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
- ↑ 21.0 21.1 https://web.facebook.com/Sriphoum/photos/a.722488601461545/1344327505944315/
- ↑ https://web.facebook.com/swp.pr/posts/614168832070117/?_rdc=1&_rdr
- ↑ "แจ่ง - GotoKnow". www.gotoknow.org.
- ↑ 24.0 24.1 ขัติยวงษา (เหลา ณร้อยเอ็จ), พระยา, พงศาวดารภาคอีสาน ฉะบับของ พระยาขัติยวงษา (เหลา ณร้อยเอ็จ): พิมพ์ในงานปลงศพ นางศรีสุภา (โต เอี่ยมศิริ) ณเชิงบรมบรรพต วัดสระเกศ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2472, จัดพิมพ์โดยจรูญชวนะพัฒน์, พระ, (พระนคร: ศรีหงส์, 2472)
- ↑ https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b1275880
- ↑ หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร), ตำนาน เมืองนครจำปาศักดิ์ (อุบลราชธานี : ในงานฌาปนกิจศพ นายวิจิตรศักดิ์ สาระโสภณ ณ เมรุวัดเเจ้ง, ๒๕๒๗) น. ๔
- ↑ https://finearts.go.th/storage/contents/file/S7yoBa3aJe2AkCKdVqwQCKbvlt16f6i01xIy9q3Z.pdf
- ↑ 28.0 28.1 "อำเภอสุวรรณภูมิ", วิกิพีเดีย, 2021-12-26, สืบค้นเมื่อ 2022-02-05
- ↑ Ltd, BECi Corporation. "5 ชุมนุมใหญ่ "ไทยแบ่งไทย" ยุคกรุงแตก". www.ch3thailand.com.
- ↑ พระจรัสชวนะพันธ์ เจ้ากรมราชบัณฑิต. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (พระเจ้าตากสิน). กรุงเทพฯ : กรมตำรา กระทรวงธรรมการ. ๒๔๗๒
- ↑ 31.0 31.1 https://web.facebook.com/Sriphoum/posts/1176559959387738?_rdc=1&_rdr
- ↑ https://web.facebook.com/722488218128250/posts/1180913005619100/?_rdc=1&_rdr
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-20. สืบค้นเมื่อ 2022-02-05.
- ↑ ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : โรงพิมพ์ปรีดาการพิมพ์, 2542
- ↑ "ประวัติเมืองมหาสารคาม". จังหวัดมหาสารคาม. 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-10. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 36.0 36.1 36.2 36.3 "ข้อมูลทั่วไปจังหวัดมหาสารคาม". จังหวัดมหาสารคาม. 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-10. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภ่าคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-30. สืบค้นเมื่อ 2022-01-30.[URL เปล่า]
- ↑ ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
- ↑ https://esan108.com/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3.html[URL เปล่า]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ จังหวัดมหาสารคาม เก็บถาวร 2019-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
16°11′N 103°17′E / 16.18°N 103.29°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดมหาสารคาม
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย