ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร

ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน) รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม เขต 3 สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม 2555 – 30 มิถุนายน 2556
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ถัดไปวราเทพ รัตนากร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 เมษายน พ.ศ. 2515 (52 ปี)
จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2544 - 2552)
เพื่อไทย (2552 - ปัจจุบัน)
คู่สมรสสิริยา จรัสเสถียร

ประวัติ แก้

ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร (ชื่อเล่น : โจ้) เกิดวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2515 ที่ ตำบลปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นบุตรชายคนโตของ นายศุภกร จรัสเสถียร หรือ กำนันตง อดีตนักธุรกิจใหญ่ใน จ.มหาสารคาม เจ้าของโรงสีข้าวแหลมทอง (ถูกลอบยิงเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2543) และนางเตือนใจ จรัสเสถียร

จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ รุ่น 29 - 32 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2538 และปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ CLAREMONT GRADUATE UNIVERSITY ในปี พ.ศ. 2543

งานการเมือง แก้

นายยุทธพงศ์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวตรวจสอบการทุจริตในหลายโครงการ จนขึ้นชื่อเป็น "จอมแฉ"[1] คนหนึ่งของพรรคประชาธิปัตย์ เช่น เมื่อปี พ.ศ. 2545 เคยเปิดโปงเรื่อง พ.ต.อ.ชิต ศรีบัวพันธ์ ผกก.สภ.พยัคฆภูมิพิสัย รับส่วยหวยใต้ดิน ในปี พ.ศ. 2549 เดินทางไป กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม กรณีทุจริตโครงการซื้อรถดับเพลิงของ กรุงเทพมหานคร และต้นปี พ.ศ. 2550 เคยเคลื่อนไหวให้มีการตรวจสอบ โครงการผลิตน้ำมันดิบ จากแหล่งนางนวล ของ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ที่พบความไม่โปร่งใสในการจัดจ้างบริษัท อ่าวสยาม มารีน จำกัด ขุดเจาะน้ำมัน เป็นต้น ที่น่าสนใจคือนายยุทธพงศ์ทำการตรวจสอบโดยไม่แบ่งฝ่ายแม้แต่ ส.ส. พรรคเดียวกันก็ถูกตรวจสอบด้วยเช่นเดียวกัน

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 นายยุทธพงษ์ ลงสมัคร ส.ส. มหาสารคาม เขตเลือกตั้งที่ 2 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และเข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคเพื่อไทย[2] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดมหาสารคาม เขต 3 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[3] (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) ซึ่งได้รับการคัดค้านจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยหลายคน[4] ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เขาถูกปรับออกจากตำแหน่ง[5]

ในปี พ.ศ. 2563 เขาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[6] ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2566 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 มีมติแต่งตั้งให้เขาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[7]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วทั้งหมด 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคเพื่อไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ยุทธพงศ์ จรัสเสถียรจากเว็บไซต์ไทยรัฐ
  2. เปิดตัว'ยุทธพงษ์ จรัสเสถียร'เป็นสมาชิกพท.[ลิงก์เสีย]
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
  4. ส.ส.อีสานเพื่อไทยฮึ่ม บี้พรรคแจงตั้ง 'ยุทธพงศ์' นั่งรมต.ข้ามอาวุโส
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
  6. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  7. "ครม.ตั้ง 'ยุทธพงศ์' นั่งที่ปรึกษานายกฯ 'สยาม บางกุลธรรม' อยู่ สลน". มติชน. 10 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔