วราเทพ รัตนากร
วราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตที่ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 สมัยจากจังหวัดกำแพงเพชรและแบบบัญชีรายชื่อตามลำดับ อดีตแกนนำ สส.กลุ่ม 16[1] ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสำนักงานพรรคพลังประชารัฐ
วราเทพ รัตนากร | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล พิสิฐ ลี้อาธรรม |
ถัดไป | สมหมาย ภาษี |
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ก่อนหน้า | สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล |
ถัดไป | อรรคพล สรสุชาติ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2531–2534) สามัคคีธรรม (2534–2535) ชาติไทย (2535–2539) ความหวังใหม่ (2539–2543) ไทยรักไทย (2543–2550) พลังประชาชน (2549–2551) เพื่อไทย (2551–2561) พลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | อรอุมา รัตนากร |
ประวัติ
แก้วราเทพ รัตนากร เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 ที่ตำบลท่าพุทรา อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร สมรสกับนางอรอุมา รัตนากร มีบุตร-ธิดา 3 คน
การศึกษา
แก้- นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2529
- ประกาศนียบัตรสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความจากสภาทนายความ
- ปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) วิทยาลัยแทมป้าฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2535
- ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) พ.ศ. 2554
- หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่น10
- ดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมือง มหาวิทยาลัยรามคำแหง [2]
การทำงาน
แก้นายวราเทพ รัตนากร มีผลงานจากการที่ลงพื้นที่มาต่อเนื่องตั้งแต่เป็นผู้แทนฯสมัยแรก พ.ศ. 2535 เริ่มทำงานฝ่ายบริหารเมื่อปี 2538ในตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โฆษกรัฐบาลสมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และสร้างผลงานเข้าตาประชาชนตามนโยบายพรรคไทยรักไทยสมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในยุคนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3] ในช่วงนั้นนายวราเทพได้ใช้เวลาศึกษาจากทั้ง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.), สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) และปริญญาเอกคณะรัฐศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์การเมืองจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[4]จนจบการศึกษา
หลังจากพ้นเวลา 5 ปี ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)[5] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกตำแหน่งหนึ่ง ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556[6]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 18[7]
นายวราเทพ ได้รับมอบหมาย แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ
- พ.ศ. 2538-2541 กรรมการบริหารองค์การรัฐสภาอาเซียน
- พ.ศ. 2538 เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2539 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)
- พ.ศ. 2542 กรรมการบริหารและโฆษกพรรคความหวังใหม่
- พ.ศ. 2544-2548 และ 2549 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สมัยแรก สมัยที่สอง) [8]
- พ.ศ. 2550 กรรมการมูลนิธิไทยคม และ เจ้าของสำนักงานกฎหมาย วราเทพ รัตนากร
- พ.ศ. 2555 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)
- พ.ศ. 2556 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ออกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 2/2557 เรียกให้ไปรายงานตัว และ พี่ชายเขา นาย สุนทร รัตนากร ถูก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่ง ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร อยู่เป็นการชั่วคราวโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน[9]ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2567 นาย สุนทร รัตนากร ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร อีกครั้งหนึ่ง
คดีหวยบนดิน
แก้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาให้จำคุกนายวราเทพ รัตนากร จำเลยในคดีทุจริตโครงการออกสลากเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว (หวยบนดิน) ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นเวลา 2 ปี ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.info.ru.ac.th/Vol46/01_46.pdf
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ [1]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/161/11.PDF
- ↑ จำเลยหวยบนดินรอดคุก-รอลงอาญา ปรับแค่ 2 หมื่น![ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
ก่อนหน้า | วราเทพ รัตนากร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล | โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540) |
นายอรรคพล สรสุชาติ |